หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสมุห์อนุกูล อนุวฑฺฒโน (ปานประดิษฐ์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๕ ครั้ง
ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการนำหลักพรหมวิหาร 4 ไปใช้ใน การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสมุห์อนุกูล อนุวฑฺฒโน (ปานประดิษฐ์) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาปรีดา ขนฺติโสภโณ, ดร. (ป.ธ. 3, พธบ., M.A., Ph.D.)
  ผศ.ดร. เดชชาติ ตรีทรัพย์ (พธบ., M.A., Ph.D.)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : 2556
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการนำหลัก      พรหมวิหาร 4 ไปใช้ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา            (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการนำหลักพรหมวิหาร 4 ไปใช้ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ของประชาชน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา  อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน (3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการนำหลักพรหมวิหาร 4 ไปใช้ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จำนวน 377 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .942 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย        ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าซี  (Z- test)  One - Way ANOVA  หรือ (F- test) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference)

 

ผลการวิจัยพบว่า

                ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการนำหลักพรหมวิหาร 4 ไปใช้ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชน มีความคิดเห็นต่อการนำหลักพรหมวิหาร 4 ไปใช้ในการบริหารงาน ด้านเมตตา (ความรักและความหวังดี) ด้านมุทิตา (ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี) ด้านกรุณา (ความสงสาร) และ ด้านอุเบกขา (ความวางเฉยมีใจเป็นกลาง) อยู่ในระดับมากทุกด้าน จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา  อาชีพ และรายได้ต่อเดือน โดยรวม อยู่ในระดับมาก

                ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการนำหลักพรหมวิหาร 4 ไปใช้ใน                การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา พบว่า ประชาชนที่มี           เพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการนำหลักพรหมวิหาร 4 ไปใช้ในการบริหารงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการนำหลักพรหมวิหาร 4 ไปใช้ใน                  การบริหารงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ที่มีอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการนำ    หลักพรหมวิหาร 4 ไปใช้ในการบริหารงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ประชาชนที่มีอายุและรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการนำหลักพรหมวิหาร 4 ไปใช้ในการบริหารงาน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                ข้อเสนอแนะแนวทางส่งเสริมการนำหลักพรหมวิหาร 4 ไปใช้ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นว่า ควรแสดงความยินดีและเชิดชูเกียรติแก่ประชาชนที่กระทำความดีให้แก่ชุมชนควรช่วยปลอบโยนเมื่อเพื่อนร่วมงานกระทำผิดพลาดควรใช้กิริยาวาจา สุภาพไม่เลือกปฏิบัติ ควรมีความเป็นกลาง ให้เกียรติ รักและหวังดีกับประชาชนเหมือนญาติตนเอง ควรเข้าไปดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕