หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายชัยเนตร ระวีวรรณ
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
การศึกษารูปแบบค้าขายและจัดเก็บภาษีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : นายชัยเนตร ระวีวรรณ ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น), ดร.ป.ธ.๗, ร.บ., พช.ม., พธ.ด.
  ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม,อบ.(อภิธรรมบัณฑิต),บ.ศ.๙(บาลีศึกษา ๙ ประโยค),ศศ.บ.(ภาษาอังกฤษ),ศษ.บ.(ภาษาไทย),พธ.ม. (พระพุทธศาสนา),พธ.ด.(พระพุทธศาสนา)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                  งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาการค้าขายและการจัดเก็บภาษีในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวกับการค้าขายและการจัดเก็บภาษีในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

การจัดเก็บภาษีในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และ (๓) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของการค้าขายและการจัดเก็บภาษีตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาทผลการศึกษาวิจัยพบว่า

                 การค้าขายในคัมภีร์พระพุทธศาสนา หมายถึง การซื้อขายแลกเปลี่ยนสิ่งของ สินค้าและเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อเลี้ยงชีพ ทั้งในชุมชน หมู่บ้าน หรือระหว่างรัฐกับรัฐ มีลักษณะเป็นคาราวานเกวียนสินค้าโดยมีวรรณะแพทย์ที่เป็นระบบทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายโดยตรง ประเภทของการค้าขาย ในสมัยพุทธกาลเป็นแบบขายตรง กล่าวคือจากผู้ขายสู่ผู้ซื้อโดยตรงโดยมีตลาดเป็นที่รวมแหล่งการซื้อขาย รวมถึงแบบผ่านพ่อค้าคนกลาง ผู้ขายทำการขนส่งบรรทุกสินค้าด้วยตนเองทางบกคือใช้เกวียน หรือทางน้ำคือใช้เรือบรรทุกสินค้า ประเภทของสินค้าที่ค้าขายกันในครั้งพุทธกาลส่วนใหญ่เป็นผลิตผลทางเกษตรกรรม แบ่งออกเป็น ๓ ประเภทของสินค้าได้แก่ (๑) สินค้าประเภทอุปโภคบริโภคทั่วๆ ไป  (๒) สินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์ และ(๓) สินค้าประเภทบริการ  หลักธรรมที่เกี่ยวกับการค้าขายคือหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ได้แก่ ๑.อุฏฐานสัมปทา (ขยัน)  ๒. อารักขสัมปทา (รักษา)๓. กัลยาณมิตตตา(เพื่อนดี)ง. ๔.สมชีวิตา(ความเป็นอยู่เหมาะสม) คุณสมบัติของพ่อค้าที่ดี ๓ ประการได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ (จกฺขุมา) การมีประสบการณ์ (วิธุโร) และ การมีมนุษย์สัมพันธ์(นิสฺสยสมฺปนฺโน)

 คุณลักษณะของการค้าขายในคัมภีร์พระพุทธศาสนามีดังนี้ คือ ๑.ซื่อสัตย์สุจริตและยุติธรรม            ๒.ประกอบสัมมาอาชีวะ ๓.มีวิสัยทัศน์ดี ๔.ขยันหมั่นเพียร ๕.คืนกำไรให้สังคม 

                  การเก็บภาษีในสมัยพุทธกาลมีอยู่ ๓ ลักษณะ ได้แก่  ๑.รัฐบาลจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการเก็บเอง ๒.คฤหบดีที่เป็นใหญ่ในหมู่บ้านหรือตัวแทนพระราชาเป็นผู้จัดเก็บ ๓ .พระราชาพระราชทานหมู่บ้านให้ผู้อื่นไปเรียกเก็บเอง   หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี แบ่งออกเป็น หลักธรรมสำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีและหลักธรรมสำหรับผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษี หลักธรรมสำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษี มี ๔ ประการได้แก่ (๑) หลักการใช้สอยทรัพย์ (โภคอาทิยะ ๕) (๒) หลักราชพลีกับการเสียภาษี และ (๓) หลักฆราวาสธรรม ๔   ส่วนหลักธรรมสำหรับผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษี ได้แก่ หลักราชสังคหวัตถุ ๔

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕