หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวีรชน อุตฺตโร (ชัชวาลย์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๐ ครั้ง
การศึกษาเชิงวิเคราะห์การบริโภคปัจจัย ๔ เพื่อสนับสนุนการบรรลุธรรม ในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระวีรชน อุตฺตโร (ชัชวาลย์) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีสุตาภรณ์, ดร. ป.ธ.๙, พ.ม., M.A., Ph.D.
  ดร.เสรี ศรีงาม, ป.ธ. ๔, พธ.บ., M.A., Ph.D.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ ตันยะ, กศ.บ., กศ.ม., กศ.ด.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                  วิทยานิพนธ์ฉบับนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริโภคปัจจัย    ในพระพุทธศาสนาเถรวาท  บทบัญญัติเกี่ยวกับการบริโภคปัจจัย    และการบริโภคปัจจัย    สามารถสนับสนุนให้เกิดการบรรลุธรรม  โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร  

                  ผลการวิจัยพบว่า  การบริโภคปัจจัย    ในพระพุทธศาสนา คือ การใช้สอยผ้าจีวร กิน ดื่ม อาหารบิณฑบาต  ใช้สอยที่อาศัยเสนาสนะ  และใช้ยารักษาโรค ตามหลักธรรมวินัย เพื่อสนองความต้องการพื้นฐานที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อสนองกิเลสตัณหา
ความอยาก
จึงเป็นไปอย่างสันโดษ ไม่ฟุ่มเฟือย

   บทบัญญัติเกี่ยวกับการบริโภคปัจจัย    ในพระพุทธศาสนาปรากฏอยู่ใน
พระวินัยปิฎก ทรงอนุญาตไตรจีวรและผ้าอื่นๆ เท่าที่จำเป็นสำหรับนุ่งห่มปกปิดร่างกาย
ทรงบัญญัติการบิณฑบาตและข้อวัตรเกี่ยวกับการบริโภคอย่างผู้มีมารยาทที่ดีในสังคม
ทรงอนุญาตเสนาสนะที่สงบสงัดบนพื้นฐานที่มักน้อยสันโดษรบกวนผู้อื่นน้อยและใช้ประโยชน์ได้สูงสุด และทรงอนุญาตคิลานเภสัชเฉพาะที่จำเป็นแก่การรักษาโรคที่เกิดขึ้นเท่านั้น

    การบริโภคปัจจัย ๔ เพื่อสนับสนุนการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา ได้แก่
เมื่อรับปัจจัย ๔ มาก็พิจารณาโดยความเป็นธาตุเท่านั้น ขณะบริโภคใช้สอยก็พิจารณาใช้สอยอย่างมีสติรู้คุณค่าแท้ของปัจจัยนั้นๆ และเมื่อใช้สอยแล้วก็พิจารณาถึงความจำเป็นที่ต้องบริโภคใช้สอย เพื่อไม่ให้เกิดความประมาทในกาลทั้ง ๓ นอกจากนี้ยังมีวิธีการปฏิบัติที่เป็นการขัดเกลากิเลสเพิ่มเติมในธุดงควัตร ในส่วนที่เกี่ยวการบริโภคจีวร การบริโภคบิณฑบาต และการบริโภคเสนาสนะตามสมควร การบริโภคบิณฑบาตควรใช้หลักโภชเนมัตตัญญุตา เลือกโภชนะสัปปายะและเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญาจะสนับสนุนการบรรลุธรรมได้เป็น
อย่างดี การบริโภคเสนาสนะควรพิจารณาเลือกเสนาสนะสัปปายะจะสนับสนุน
การบรรลุธรรมได้ และการบริโภคคิลานเภสัชที่ควบคู่กับการใช้ธรรมโอสถจะเกื้อกูลสนับสนุนแก่การบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาได้

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕