บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษา ๓ ประการ ได้แก่ (๑) เพื่อศึกษาเวทนานุปัสสนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการเจริญเวทนานุปัสสนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๓)เพื่อศึกษาอานิสงส์การเจริญเวทนานุปัสสนาสำหรับพัฒนาชีวิตและสังคมผลการศึกษาพบว่า
เวทนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า เวทนานุปัสสนาที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎกมีหลายลักษณะ และในพระสูตรต่างๆ เช่น เวทนาในขันธ์ ๕ เป็นต้น ความหมายเวทนาในอรรถกถา คือการมีสติรู้เท่าทันเวทนา เท่าทันขณะเกิดขึ้นบ้างเท่าทันขณะที่กำลังแปรปรวนอยู่บ้าง หรือขณะดับไปบ้าง ดังนั้นเวทนาจึงเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อมีอารมณ์มากระทบจิต ความสำคัญของเวทนานุปัสสนา คือ การใช้สติเข้าไปรู้เห็นเวทนาทั้งหลายอย่างต่อเนื่อง ประเภทของเวทนานุปัสสนา จำแนกการเสวยอารมณ์ ๓ ทาง คือ (๑) ความรู้สึกสุข (๒) ความรู้สึกทุกข์ และ (๓) ความรู้สึกไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ การเจริญสติปัฏฐาน ๔ มี กาย เวทนา จิต ธรรม เมื่อย่อลงแล้ว เหลือนามกับรูป คือ การกำหนดรู้ตามสภาวธรรมที่เกิดขึ้นกาย จัดเป็น “รูป” ส่วน เวทนา จิต ธรรม จัดเป็น “นาม” ที่มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป หากมีการดำเนินตามหลักธรรม ทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการเจริญเวทนานุปัสสนาพบว่า มีอยู่ ๒ ประการ คือ (๑) หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับเวทนานุปัสสนา คือ สิ่งที่เป็นตัวช่วยในการปฏิบัติหรือเป็นกำลังสนับสนุนในการปฏิบัติ เป็นตัวสำคัญในการสร้างสมาธิได้แก่ การมีสติมั่นในการพิจารณาเนือง มีความเพียรสัมปชัญญะ หมายถึงความรู้ตัวทั่วพร้อมความรู้ตะหนักความรู้ชัดเข้าใจชัดซึ่งสิ่งที่นึกได้ (๒)หลักธรรมที่สนับสนุนการเจริญเวทนานุปัสสนา องค์ธรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดญาณ ได้แก่ หลักโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ อันเป็นหลักธรรมที่จะช่วยให้เข้าใจในเวทนานุปัสสนาได้
อานิสงส์การเจริญเวทนานุปัสสนาสำหรับพัฒนาชีวิต กล่าวคือ ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือบรรพชิตก็ต้องมีการฝึกสติปัฏฐาน ๔ โดยเฉพาะในหมวดของเวทนานุปัสสนาจึงจะได้รับอานิสงส์แห่งการปฏิบัติได้ เพราะอานิสงส์ย่อมทำให้เกิดต่อตนเองและพัฒนากายและจิตของคนอื่นด้วย การดำเนินชีวิตด้วยการพิจารณาแบบรู้เท่าทันเวทนาที่เกิดขึ้นกับกายและจิต เมื่อรู้เท่าทันก็ลดปัญหาของเวทนาที่เกิดขึ้นกับกายและจิตของตนได้ อันเป็นหนทางในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข และสามารถบรรลุมรรค ผล นิพพานได้ต่อไป
ดาวน์โหลด |