บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ศึกษาการรับรู้เรื่องสติปัฏฐาน ๔ ของอุบาสก-อุบาสิกา วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร เป็นวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ มี ๒ ประการ เพื่อศึกษาระดับความเข้าใจในหลักปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ของอุบาสก อุบาสิกา วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์การรับรู้ในหลักปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ของอุบาสกอุบาสิกา วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อุบาสก อุบาสิกา วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร จำนวน ๘๐ คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ สถิติที่ใช้ศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรไคสแควร์ (X2) ผลการศึกษาพบว่า
ระดับความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ของอุบาสก อุบาสิกา ในหมวดกายานุปัสสนา หมวดเวทนานุปัสสนา หมวดจิตตานุปัสสนา และหมวดธัมมานุปัสสนา โดยภาพรวมของความเข้าใจในหลักปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ อยู่ในระดับดี( =๓.๕๗,S.D.=๐.๘๙) เมื่อพิจารณาหมวดเวทนานุปัสสนา( =๓.๗๖,S.D.=๐.๘๑) และหมวดกายานุปัสสนา ( =๓.๖๗,S.D.=๑.๐๙) พบว่าอยู่ในระดับดี ส่วนหมวดจิตตานุปัสสนา( =๓.๔๙,S.D.=๐.๖๔) และหมวดธัมมานุปัสสนา( =๓.๓๕,S.D.=๐.๖๔) พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เพศ, ปกติรักษาศีล, อายุ, การศึกษาขั้นสูงสุด, อาชีพ, และจำนวนครั้งที่เคยปฏิบัติกับการรับรู้ในหลักปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ในหมวด กายานุปัสสนา หมวดเวทนานุปัสสนา หมวดจิตตานุปัสสนา และหมวดธัมมานุปัสสนา พบว่า เพศ, ปกติรักษาศีล, อาชีพมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ กับหมวดเวทนานุปัสสนา และตัวแปรอายุมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ กับหมวดจิตตานุปัสสนา ส่วนหมวดกายานุปัสสนาและหมวดธัมมานุปัสสนาพบว่าไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ดาวน์โหลด |