หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูพิสิฐสรภาณ (นิรันดร์ ศิริรัตน์ )
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๒ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์หลักการปฏิบัติธรรมในภัทเทกรัตตสูตร
ชื่อผู้วิจัย : พระครูพิสิฐสรภาณ (นิรันดร์ ศิริรัตน์ ) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาชิต ญานชิโต ป.ธ.๗, ศน.บ., M.A., Ph.D.
  พระศรีสุธรรมมุนี ป.ธ.๘, ศน.บ.
  ดร.นันทพล โรจนโกศล วศ.บ., พธ.ม., พธ.ด.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                       วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์หลักการปฏิบัติธรรมในภัทเทกรัตตสูตร  มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ  เพื่อศึกษาความเป็นมา  ความสำคัญและเนื้อหาของภัทเทกรัตตสูตร   เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักการปฏิบัติในภัทเทกรัตตสูตร และเพื่อศึกษาภัทเทกรัตตสูตรกับการบรรลุธรรม โดยที่การศึกษาครั้งนี้ ได้พบประเด็นคำตอบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

                       ผลการศึกษาวิจัยพบว่า  ความเป็นมา  ความสำคัญและเนื้อหาของภัทเทกรัตตสูตร เป็นพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติธรรมให้บรรลุถึงความเป็นผู้เจริญในธรรม พระพุทธเจ้าทรงแสดงกับพระภิกษุกลุ่มหนึ่ง เพราะทรงเล็งเห็นอัชฌาสัยของภิกษุเหล่านั้นว่าพอที่จะตรัสรู้ได้ โดยมีพระประสงค์ให้เร่งปฏิบัติธรรมเพื่อผลในปัจจุบัน โดยที่รายละเอียดของเนื้อหาเป็นบาทฐานในการศึกษาหลักปฏิบัติตามพระสูตรนี้และความเกี่ยวข้องของพระสูตรนี้กับการบรรลุธรรม   

                       หลักการปฏิบัติที่ปรากฏในภัทเทกรัตตสูตร คือหลักการระลึกรู้อย่างชัดเข้าใจชัดเห็นแจ้งธรรมอยู่กับปัจจุบัน  ซึ่งธรรมปัจจุบันนี้ หมายถึง ขันธ์ ๕ หลักการใช้ความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่และหลักการระลึกถึงความตาย  โดยเน้นไปที่หลักการระลึกรู้อย่างชัดเข้าใจชัดเห็นแจ้งธรรมอยู่กับปัจจุบัน  ซึ่งผู้ปฏิบัติจะสามารถเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันได้อย่างชัดเจนนั้น จะต้องประกอบไปด้วยหลักการย่อย ๓ หลักการ คือ (๑) การไม่คำนึงถึงสิ่ง (ขันธ์ ๕) ที่ล่วงไปแล้ว  (๒) การไม่ควรหวังสิ่ง (ขันธ์ ๕) ที่ยังไม่มาถึง (๓) การเห็นแจ้งธรรม (ขันธ์ ๕) ที่เป็นปัจจุบันไม่ง่อนแง่น  ไม่คลอนแคลน คือหลักการมั่นคงในธรรมปัจจุบัน

                       หลักการมั่นคงอยู่กับธรรมปัจจุบัน  และหลักการมีความเพียร เป็นหลักปฏิบัติใน        ภัทเทกรัตตสูตร คือสติปัฏฐาน ๔ และสัมมัปปธาน ๔ ซึ่งเป็นหัวข้อธรรมที่ปรากฏในหลักปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรม เมื่อปฏิบัติตามหลักปฏิบัติที่ปรากฏในภัทเทกรัตตสูตรอย่างสมบูรณ์ย่อมครอบคลุมหลักการปฏิบัติทั้ง ๓๗ ประการ ซึ่งสามารถจัดเป็น ๑๔ องค์ธรรม  โดยมีสัมมัปปธาน ๔ เป็นตัวขับเคลื่อนให้องค์ธรรมที่เหลือทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ และเกือบทั้งหมดจะปฏิบัติการพร้อมกันในขณะบรรลุธรรม  หากปฏิบัติตามหลักธรรมในภัทเทกรัตตสูตรจะสามารถเป็นผู้บรรลุธรรมได้

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕