หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวณัฏฐนันท์ มันตะพงศ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๔ ครั้ง
ประสิทธิภาพการบริหารงานของโรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ จังหวัดนนทบุรี
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวณัฏฐนันท์ มันตะพงศ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อาจารย์ ดร.พิเชฐ ทั่งโต พ.ม.ช., พธ.บ.,MA.,Ph.D.(Pub.Admin.)
  อาจารย์พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ประโยค ๑ - ๒,น.ธ.เอก, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ ๑), ศศ.ม. (พัฒนาสังคม)
  ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง, พ.ม., พธ.บ, M.A., Ph.D.(Sociology)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงานของโรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ จังหวัดนนทบุรี  ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของโรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ จังหวัดนนทบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาการบริหารงานของโรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ จังหวัดนนทบุรีให้มีประสิทธิภาพ ดำเนินการโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มศึกษาที่เป็น บุคลากรในโรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ จังหวัดนนทบุรี จำนวน ๙๔ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๙๖๒ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยประชากร (m) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) นำเสนอในรูปตารางประกอบคำบรรยายและใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

 

 

 

 

 

ผลการวิจัย พบว่า

         ๑. บุคลากรมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของโรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ๔.๑๒ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นว่า ประสิทธิภาพการบริหารงาน อยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงบประมาณ

๒. ผลการเปรียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของโรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ จังหวัดนนทบุรี โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรที่มี เพศ อาชีพ รายได้ สถานภาพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของโรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ จังหวัดนนทบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนบุคลากรที่มี อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน

๓. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารงานของโรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ จังหวัดนนทบุรีนั้น พบว่าปัญหา อุปสรรค ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ จังหวัดนนทบุรี คือ บุคลากรบางส่วนมีทักษะการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ มีการผลิตสื่อการเรียนการสอนน้อย โรงเรียนขาดงบประมาณในการส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอนให้กับนักเรียน บุคลากรขาดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุงการบริหารงานในโรงเรียน บุคลากรมีอิสระในการตัดสินใจในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายไม่มาก และการบริหารงานบุคคลมีระบบการบริหารจัดการในการใช้อาคารสถานที่ ไม่เป็นระเบียบจึงส่งผลให้การจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนไม่เอื้อประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน

ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารและบุคลากรควรมีการส่งเสริมพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกชุมชน รวมทั้งควรจัดสรรสรรงบประมาณส่งเสริมบุคลากรไปอบรมความรู้ การผลิตสื่อการสอน ส่วนด้านการบริหารงานงบประมาณ และด้านการบริหารงานทั่วไป ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้บุคลากรมีบทบาทของการเสนอความคิดเห็นต่อที่ประชุม หรือต่อผู้บริหารในเรื่องการพัฒนาและปรับปรุงการบริหารงานโรงเรียน

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕