หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระจำรัส ฐิตธมฺโม (สวาสโพธิ์กลาง)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ๗ ในการบริหารจัดการชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนวัดใหม่พิเรนทร์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : พระจำรัส ฐิตธมฺโม (สวาสโพธิ์กลาง) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol.Sc.)
  อาจารย์พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ประโยค ๑ - ๒,น.ธ.เอก, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ ๑), ศศ.ม. (พัฒนาสังคม)
  อาจารย์วันชัย สุขตาม ประโยค ๑-๒,พธ.บ.(เกียรตินิยมอันดับ ๑), ศศ.บ., รป.ม.(การจัดการทุนมนุษย์)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑)  เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้สัปปุริสธรรม ๗ กับการบริหารจัดการชุมชนวัดใหม่พิเรนทร์ เขตบางกอกใหญ่  กรุงเทพมหานคร  ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม๗ ในชุมชนวัดใหม่พิเรนทร์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา  อุปสรรค  และแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ๗ ในการบริหารจัดการชุมชนวัดใหม่พิเรนทร์ เขตบางกอกใหญ่  กรุงเทพมหานคร    ดำเนินการโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ..(Survey.Research).กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรในพื้นที่ชุมชนวัดใหม่พิเรนทร์ เขตบางกอกใหญ่  กรุงเทพมหานคร จำนวน ๒๓๙ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .๙๗๙ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)

 

ผลการวิจัยพบว่า

               ๑. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ๗ ในการบริหารจัดการชุมชนวัดใหม่พิเรนทร์  เขตบางกอกใหญ่  กรุงเทพมหานคร 

ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน  ๑๓๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๔ มีอายุ ๓๖-๔๕ ปี จำนวน  ๖๕ คนคิดเป็นร้อยละ ๒๗.๒ มีสถานภาพสมรสจำนวน ๑๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๒ มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีจำนวน ๑๖๓ คน คิดเป็นร้อยละ๖๘.๒ มีอาชีพอื่นๆ จำนวน ๙๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๖ มีรายได้รวมต่อเดือน ๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาทจำนวน ๘๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๗ 

              ๒. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ๗ ในการบริหารจัดการชุมชนวัดใหม่พิเรนทร์   เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร  โดยรวม อยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ

๓.๘๐ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกข้อ

             ๓. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ๗

ในการบริหารจัดการชุมชนวัดใหม่พิเรนทร์  เขตบางกอกใหญ่  กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีสถานภาพต่างกันมีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ๗ ในการบริหารจัดการชุมชนวัดใหม่พิเรนทร์  เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร  แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ และบุคคลที่มีอายุ อาชีพต่างกันมีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ๗ ในการบริหารจัดการชุมชนวัดใหม่พิเรนทร์  เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร  แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้  ส่วนประชาชนที่มีเพศ  ระดับการศึกษา รายได้รวมต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

             ๔. แนวทางในการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ๗ ในการบริหารจัดการชุมชนวัดใหม่พิเรนทร์ 

เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร  พบว่า ควรทำงานโดยการนำหลักสัปปุริสธรรมมาประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ คือ ด้านความเป็นผู้รู้จักเหตุ  รู้จักหลักการ  รู้จักหลักเกณฑ์และระเบียบการบริหารจัดการ  ด้านความเป็นผู้รู้จักผล  รู้ความหมาย  รู้ความมุ่งหมาย  รู้หน้าที่และรู้ประโยชน์ที่พึงประสงค์ ด้านความเป็นผู้รู้จักตน  คือ รู้ว่าตัวตนของเราเป็นใคร  มีฐานะหรือทำหน้าที่อะไร  ด้านความเป็นผู้รู้จักประมาณ ความพอเพียงในความเป็นอยู่  ในการใช้จ่ายทรัพย์ ด้านความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันเหมาะสมว่า  เวลาไหนควรทำ เวลาไหนไม่ควรทำและระยะเวลาในการทำงาน  การจัดคนเข้าทำงาน  ด้านความเป็นผู้รู้จักชุมชน  ที่ประชุมการประพฤติตัวในที่ประชุม  การเข้าหาชุมชนหรือกลุ่มคนในสังคม ด้านความเป็นผู้รู้จักบุคคล  ความแตกต่างแห่งบุคคล  ความสามารถ  คุณธรรม  อัธยาศัย  ทำงานเพื่อส่วนรวม ซื่อตรงต่อตนเอง ต่องาน ต่อบุคคลอื่น บริหารจัดการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยในตนเอง รักษากฏระเบียบที่ตั้งไว้ เคารพความคิดเห็นของกันและกัน เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมประชุมเพื่อเสนอปัญหา และความต้องการในชุมชน แสดงความคิดเห็น วิจารณ์การทำงาน และร้องทุกข์เรื่องราวต่างๆ ได้ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาตนเอง และชุมชนอยู่เสมอ


ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕