หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระตี๋ สีลเปโม (เซิน)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องนิรามิสสุขในพุทธปรัชญาเถวาท กับแนวคิดเรื่องความสุขตามแนวอสุขนิยมแบบปัญญานิยม
ชื่อผู้วิจัย : พระตี๋ สีลเปโม (เซิน) ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ ผศ.ดร. ป.ธ.๓, พธ.บ. (ปรัชญา), Ph.D.
  ผศ.ดร. ประเวศ อินทองปาน ป.ธ.๕, พธ.บ. (ศาสนาและปรัชญา), Ph.D.
  ผศ. ชำนะ พาซื่อ ป.ธ. ๔, พธ.บ.(ศาสนาและปรัชญา), MA. (Philosophy)
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

               

ผู้วิจัยได้วิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้

๑.   เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องนิรามิสสุขในพุทธปรัชญาเถรวาท

๒. เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความสุขตามแนวปรัชญาอสุขนิยมแบบปัญญานิยม

๓. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องนิรามิสสุขในพุทธปรัชญาเถรวาทกับความสุขตามแนวปรัชญาอสุขนิยมแบบปัญญานิยม

จากการศึกษาวิจัยพบว่านิรามิสสุขในพุทธปรัชญาเถรวาทนั้นหมายถึง  ความสุขที่ไม่ต้องอิงอาศัยสิ่งใดเป็นความสุขที่สามารถสร้างขึ้นเองได้ เป็นอิสระตามสภาวะวิสัย ได้แก่ ฌานสุข และ นิพพานสุข  ส่วนความสุขตามแนวคิดอสุขนิยมแบบปัญญานิยม คือ ความสุขทางจิตใจ  สำหรับความสุขทางร่างกายไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด  ถือว่าการแสวงหาความสุขสบายให้แก่ร่างกายเป็นของต่ำ  ความสุขทางด้านจิตใจต่างหากที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง  ด้วยการใช้ปัญญาในการแสวงหาคุณธรรมเพื่อให้เข้าถึงสัจธรรมความจริง และคุณธรรมทางปัญญา การกระทำของมนุษย์ที่สอดคล้องตามคุณธรรมทางศีลธรรมและคุณธรรมทางปัญญา ย่อมนำไปสู่ความสุขเสมอ ชีวิตมนุษย์ที่มีการกระทำโดยใช้คุณธรรมจะต้องพบกับความสุขในปัจจุบัน ดังนั้นชีวิตที่มีความสุขเกิดจากการไตร่ตรองพิจารณา เป็นชีวิตที่สอดคล้องกับเหตุผล  เพราะว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้นมุ่งสู่สิ่งที่ดีที่สุด (Supreme Good) สำหรับตัวมนุษย์มีการพัฒนา จิตให้มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (Self - Sufficiency) ซึ่งอยู่บนทางสายกลางไม่มากไปหรือน้อยไป

จากการเปรียบเทียบนิรามิสสุขตามทรรศนะพุทธปรัชญาเถรวาทกับความสุขตามแนวอสุขนิยมแบบปัญญานิยมพบว่า  นิรามิสสุขกับความสุขตามแนวอสุขนิยมแบบปัญญานิยม  ต่างถือว่า ความสุขสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ด้วยการทำความดีที่เกิดจากปัญญาที่ไตร่ตรองด้วยเหตุผล  ย่อมส่งผลให้จิตใจนั้นเกิดความสุขไปด้วย  แต่ที่แตกต่างกัน  คือ นิรามิสสุขในพุทธปรัชญาเถรวาทนั้น เกิดจากการปฏิบัติตามสัจธรรมตามความเป็นจริง ไม่อิงอามิส เกิดขึ้นได้จากปฏิบัติตามคำสอนในพุทธปรัชญา เมื่อุคคลเรียนรู้ปฏิบัติตามแล้วย่อมทำให้ได้ผล คือเข้าสู่นิพพานสุข  สำหรับความสุขตามแนวอสุขนิยมแบบปัญญานิยม เกิดขึ้นจากการคิดด้วยเหตุผล  ไม่ได้ปฏิบัติตาม เพื่อรู้ถึงแก่นแท้ของสัจธรรม

ดาวน์โหลด 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕