หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาติ่ง มหิสฺสโร (ทองหล่อ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๑ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ด้านการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาติ่ง มหิสฺสโร (ทองหล่อ) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระหัสดี กิตฺตินนฺโท, ดร. พธ.บ. , M.A. , Ph.D.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรพงษ์ คงสัตย์ ป.ธ. ๔, พธ.บ. , M.A , ปร.ด.
  .
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ด้านการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท โดยแบ่งประเด็นการศึกษาออกเป็น ๓ ประการ คือ () หลักจริยศาสตร์ด้านการปกครองที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท  () หลักจริยศาสตร์ด้านการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช () วิเคราะห์หลัก                 จริยศาสตร์ด้านการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท                           ผลการศึกษาพบว่า

หลักจริยศาสตร์ด้านการปกครองที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นหลักการปกครองเกี่ยวกับความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ตัดสินความถูกต้อง ข้อสำคัญการปกครองจึงอยู่ที่ความเป็นมนุษย์ เพราะมนุษย์มีองค์ประกอบทางร่างกาย และจิตใจ ในการตัดสินความถูกต้อง ดีชั่ว ซึ่งถือเป็นหลักการปกครองตามหลักพระพุทธศาสนาที่อาศัยหลักธรรมในพัฒนาทางสังคม เพื่อให้เกิดความสงบสุข หลักธรรมการปกครองที่ปกรากฎในพุทธปรัชญาเถรวาท ได้แก่ หลักทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร ราชสังคหวัตถุ ๔ พรหมวิหาร ๔ อธิปไตย ๓ อปริหานิยธรรม ๗ และสัปปุริสธรรม ๗

หลักจริยศาสตร์ด้านการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตามหลักศิลาจารึก              หลักที่ ๑ มีทั้งหมด ๔ ด้าน ซึ่งได้แสดงเรื่องราวที่อุดมด้วยคุณค่าทางด้านการปกครอง ทั้งในด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภาษา วรรณคดี ศาสนา และจารีตประเพณี รายละเอียดในด้านที่ ๑ กล่าวถึงการปกครองในการช่วยเหลือชาวสุโขทัยให้อยู่เย็นเป็นสุขด้วยการให้มีอิสระในการค้าขาย ด้านที่ ๒ กล่าวถึงการให้ทาน รักษาศีล ด้านที่ ๓ กล่าวถึงความเชื่อทางศาสนาความตั้งตนยึดมั่นในพระราชศรัทธาต่อศาสนาพุทธ และด้านที่ ๔ ทรงใช้สติปัญญาในการอบรมสั่งสอนให้ความรู้กับประชาชนชาวสุโขทัยทุกหมู่เหล่า

การวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ด้านการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชตามแนวพุทธปรัชญา ซึ่งได้ปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ใน ๔ ด้าน พบว่า ในแต่ละด้านนั้นได้กล่าวถึง                     จริยศาสตร์การปกครองของพ่อขุนรามแหง ความว่า ด้านที่  ๑ พระองค์ทรงมีความกตัญญูต่อบิดามารดา และมีความเมตตาต่อชาวสุโขทัย ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองของชาวสุโขทัย ทำให้มองเห็นถึงจริยศาสตร์การปกครองตามหลักพุทธปรัชญา คือ หลักพรหมวิหารธรรม ด้านที่ ๒ พบว่า พระองค์ทรงให้ชาวสุโขทัยรู้จักการโอยบุญทาน และรักษาศีล ทำให้ทราบถึงหลักการปกครองตามหลักพุทธปรัชญาในหลักทศพิธราชธรรม ด้านที่ ๓ พระองค์ทรงประกอบความเชื่อในทางพระพุธสาสนา และตั้งตนไว้ในทางที่ชอบประกอบด้วยคุณความดีอยู่เสมอโดยการชักชวนชาวสุโขทัยร่วมกันทำความดี ซึ่งเข้าในหลักพุทธปรัชญาหลักสัปปุริสธรรม และด้านที่ ๔ พระองค์ทรงเป็นครูผู้สอนด้วยการสงเคราะห์ให้ความรู้ทางภาษา และส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ทำให้ทราบถึงการปกครองตามหลักพุทธปรัชญาตามหลักราชสังควัตถุ

ดังนั้นจึงอาจจะกล่าวได้ว่า หลักจริยศาสตร์การปกครองของพ่อขุนราชคำแหงมหาราชเป็นการสะท้อนให้เห็นคุณค่า อันเกิดจากพุทธปรัชญา ที่ทำให้เกิดความสงบสุขต่อการอยู่ร่วมกัน เพราะการปกครองที่ประกอบด้วยคุณธรรมย่อมจะส่งผลให้เกิดสันติภาพปราศจากความขัดแย้งทางสังคม และเป็นผลดีต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีสันติภาพและสันติสุขตลอดไป

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕