หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสิริรัตนานุวัตร (ผศ.ดร.) และคณะ
 
เข้าชม : ๔๖๕ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์คุณค่าทางจริยธรรมของประเพณีสงกรานต์
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสิริรัตนานุวัตร (ผศ.ดร.) และคณะ ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๑๑/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

                                                       บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์คุณค่าทางจริยธรรมของประเพณีสงกรานต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการพัฒนาการ กิจกรรม กระบวนการและคติความเชื่อ  และศึกษาคุณค่าทางจริยธรรมของประเพณีสงกรานต์ ทำการศึกษาครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย ได้แก่ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคใต้ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายภูมิภาค
         ผลการวิจัย พบว่า 
         ภาคกลาง สงกรานต์มีประวัติและพัฒนาการมาจากประเพณีการละเล่นในฤดูแล้ง เป็นช่วงที่สิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลจากกสิกรรมและเป็นการเตรียมที่จะทำในปีต่อไป มีกำเนิดจากประเทศอินเดีย กิจกรรมพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงคือการแข่งขันขาหย่าง สะบ้า ซักเย่อ แสดงผีตาโขน มีกระบวนการประจำวันคือทำบุญตักบาตร  สรงน้ำพระสงฆ์  รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ทำบุญอุทิศส่วนกุศล  ประกวดนางสงกรานต์  มีคติความเชื่อว่าเป็นการเปิดโลกมนุษย์และโลกนรกทั้งหมด  มีคุณค่าทางจริยธรรมจากปัญหา 3 ราศี  เป็นประเพณีที่ให้กำเนิดแก่วันประมงแห่งชาติ  วันครอบครัว
    
         ภาคอีสาน  สงกรานต์มีประวัติและพัฒนาการจากประเพณีฮิตสิบสองคลองสิบสี่ หรือประเพณีสิบสองเดือนของไทย  มีกิจกรรมที่มีชื่อเสียงคือ เล่นโก่งกบ สะบ้า  ผีตาโขน ขาโทกเทค มอญซ่อนผ้า ซักเย่อ  ก่อเจดีย์ทราย  มีกระบวนการปฏิบัติกัน คือในตอนเช้าเข้าวัดทำบุญตักบาตร  ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพระสงฆ์และพระพุทธรูป ตอนเย็นก็เวียนเทียนแห่ต้นดอกไม้รอบ ๆ  องค์พระประธานในวัดใกล้บ้าน มีคติความเชื่อว่าเป็นการเปิดประตูนรก ปล่อยสัตว์นรกทำให้สัตว์นรกได้รับอาหารที่ญาติทำบุญอุทิศให้ เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีของลูกหลาน  มีคุณค่าทางจริยธรรมในการสร้างจิตสำนึกต่อการรดน้ำดำหัว ก่อเจดีย์ทราย ไม้ค้ำต้นโพธิ์ และผีตาโขน รวมถึงถือเป็นวันประมงแห่งชาติ  วันครอบครัว  วันอภัยโทษซึ่งกันและกัน 
   
        ภาคเหนือ  สงกรานต์มีประวัติและพัฒนามาจากประเพณีฮิตสิบสองคลองสิบสี่ และมีตำนานสืบทอดมาจากประเทศอินเดีย ลาว  พม่า มอญ  มีกิจกรรมการละเล่นหลากหลาย โดยแห่ดอกไม้ทรงประสาทหรือทรงพระปรางค์  การแสดงผีตาโขน ทำบุญตักบาตร  ปล่อยนกปล่อยปลา  สรงน้ำพระ  รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่  ประกวดนางสงกรานต์ มีความเชื่อว่าเปิดโลกของเทวดาโลกมนุษย์และโลกนรก  มีแหล่งจริยธรรมจากปัญหา 3 ราศี  ผีตาโขน รดน้ำดำหัว ขอศีลขอพรจากผู้ใหญ่ของลูก ๆ หลาน ๆ 
    
       ภาคใต้  สงกรานต์มีความเป็นมาและมีกำเนิดมาจากการบรรจบกันของราศีเมษกับราศีมีน  ซึ่งเป็นหนึ่งในราศีสิบสองราศี มีกิจกรรมแสดงเต้นรำมโนราห์   สรงน้ำพระพุทธเจ้า  สรงน้ำพระสงฆ์  แห่ประสาทดอกไม้ แห่ประสารทผึ้ง ก่อเจดีย์ทราย  รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่  ทำบุญตักบาตร  ปล่อยนกปล่อยปลา   มีความเชื่อว่า เป็นประเพณีทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้แด่ญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว  มีคุณค่าทางจริยธรรมสูงที่สร้างจิตสำนึกในวัฒนธรรมอันเป็นภูมิปัญญาของไทย 

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕