หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
Mahachulalongkornrajavidyalaya University


ข้อมูลเรื่อง


มหาวิทยาลัย


การบริหาร

วิชาการ

การวิจัย

หลักสูตรมหาวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย

วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ

คณะและส่วนงาน

ทำบุญกับมหาจุฬาฯ

งานบริการวิชาการแก่สังคม

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กฎระเบียบและประกาศ


ข้อมูลสำหรับ

อาจารย์/บุคลากร

นิสิต

สมาคมศิษย์เก่า



  สถิติเข้าชมส่วนงาน  
ของวิทยาเขต
คลิ๊กเพื่อเลือกส่วนงาน
กรุงเทพ ฯ
คณะ/บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาเขต
วิทยาลัยสงฆ์
ห้องเรียน
         หมวดหมู่ >

คำถาม : พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คืออะไร

ตอบ : พุทธศาสนิกชนต้องนับถือพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสมณะ (ที่พึ่ง ที่ระลึก)

พระพุทธ หมายถึง พระผู้ตรัสรู้ คือรู้อย่างจำรัส หรือแจ่มแจ้ง

พระธรรม หมายถึง ความจริง หรือสัจธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และนำมาสั่งสอน

พระสงฆ์ หมายถึง พระพุทธสาวก ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระสงฆ์ ในระดับสูงได้แก่ ท่านผู้บรรลุความเป็นพระอริยบุคคล ๔ ประเภท

ความหมายของพระรัตนตรัย หรือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จัดได้ ๓ ระดับ ดังต่อไปนี้

ระดับที่ ๑
พระพุทธ คือ ท่านผู้ตรัสรู้ ซึ่งมีพระพุทธรูปเป็นองค์แทน
พระธรรม คือ ความจริงหรือสัจธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และนำมาสั่งสอนซึ่งมีพระไตรปิฎก หรือคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเป็นองค์แทน
พระสงฆ์ คือ พระอริยสาวกของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีภิกษี ภิกษุณี โดยทั่วไปเป็นองค์แทน ผู้ซึ่งยังไม่เป็นพระอริยบุคคล ๔ พระสงฆ์ในระดับนี้ เรียกว่า สมมติสงฆ์

ระดับที่ ๒
พระพุทธ หมายถึง พระผู้ตรัสรู้เอง พระองค์คือ เจ้าชายสิทธัตถะ แห่งวงศ์ศากยะ ผู้สละละทิ้งชีวิตแบบชาวโลกเพื่อแสวงหาสัจธรรม หลังจากที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว ก็ได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาขึ้น
พระธรรม หมายถึง ความจริง หรือสัจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ และเผยแผ่ให้พุทธศาสนิกชนทั้งบรรพชิต และคฤหะสถ์ได้เรียนรู้และปฏิบัติ
พระสงฆ์ หมายถึง สาวกของพระพุทธองค์ผู้เป็นพระอริยบุคคลแล้ว

ระดับที่ ๓
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมเป็นหนึ่งเดียวในระดับนี้
พระพุทธ ก็คือ พระธรรมคำสั่งสอน ดังพระพุทธวัจนะที่ว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา" แสดงว่า พระพุทธภาวะ คือ พระธรรม และพระธรรมก็คือพุทธภาวะนั่นเอง พระสงฆ์ในอุดมคติก็คือพระธรรมที่ปรากฏในตัวท่านั้นเอง

Last update:16/03/2548 08:54:06
Author: webmaster

กลับหน้าหลักคำถามที่พบบ่อย
     

 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕