Mahachulalongkornrajavidyalaya University
|
|
วัด โบราณสถาน โบราณวัตถุที่สำคัญในประเทศไทย |
|
พุทธสถานและปูชนียวัตถุที่สำคัญในประเทศไทย
พุทธมณฑล
พุทธมณฑลพุทธานุสรณีย์สถานของชาวไทย
พุทธมณฑลเป็นสถานที่น่าสนใจ
เป็นที่ควรจะได้มีโอกาสไปแวะท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง มีสิ่งต่างๆ
ที่น่าสนใจมากมาย หลายด้าน เหมาะกับการศึกษาหาความรู้และมาพักผ่อนหย่อนใจ
ที่มาและประวัติ
ในวโรกาสมหามงคลกาลที่พระพุทธศาสนาครบ
๒,๕๐๐ ปี ในวันวิสาขบูชา ปี พ.ศ.๒๕๐๐ ได้มีการจัดงานใหญ่
เฉลิมฉลองรัฐบาลสมัย ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม และประชาชนชาวไทยได้ร่วมกันจัดสร้างพุทธมณฑล
เป็นพุทธานุสร
ณีย์ ในวันที่ ๒๙ กรกฏาคม ๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
๙ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบรัฐพิธี
ก่อฤกษ์พุทธมณฑล การก่อสร้างได้ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐
โดยกระทรวงมหาดไทย ต่อมาการจัดสร้างได้ชะงักไประยะหนึ่งจนถึง
พ.ศ. ๒๕๒๑ คณะรัฐมนตรีสมัยพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้มีมติ
มอบให้กรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ รับมอบงานมาดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
องค์พระประธานพุทธมณฑล พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์
วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างพุทธมณฑล
๑.
เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าด้านพระพุทธศาสนา
๒.
เพื่อเป็นศูนย์ร่วมจิตใจของประชาชนชาวพุทธ
๓.
เพื่อเป็นที่สงบร่มรื่นสำหรับพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป
๔.
เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาและวิปัสสนากรรมฐาน
๕.
เพื่อเป็นสำนักงานกลางการบริหารงานของคณะสงฆ์แห่งประเทศไทย
๖.
เพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่พระพุทธศาสนา
๗.
เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางด้านธรรมของพุทธศาสนิกชน
สถานที่สำคัญในพุทธมณฑล
พุทธมณฑลครอบคลุมพื้นที่
๒,๕๐๐ ไร่ นอกจากองค์พระประธานและสังเวชนียสถาน ๔ ตำบลแล้ว ยังมีสถานที่สำคัญ
อื่นๆ คือ
-
วิหาร
-
ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช
-
หอประชุม
-
หอฉัน
-
หอกลอง
-
ศาลาราย
-
ศาลาปฏิบัติธรรม
-
สระน้ำใหญ่
-
วิหารประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อน
-
หอสมุดพระพุทธศาสนา
-
พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนา
-
พันธุ์ไม้ทางพระพุทธศาสนา
พื้นที่และสวนในบริเวณพุทธมณฑล
บริเวณพุทธมณฑลมีพื้นที่
๒,๕๐๐ ไร่ หรือ ๔ ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ริมถนนพุทธมลฑลสาย ๔
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมลฑล จังหวัดนครปฐม พื้นที่มีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส
มีการออกแบบวางผังอย่างประณีตทั้งในเชิง พระพุทธศาสนคติและภูมิสถาปัตย์
พื้นที่แบ่งเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้ ถนนและทางเท้า รวม ๒๔๔ ไร่
พื้นน้ำ รวม ๖๐๐ ไร่ สนามหญ้า รวม ๑๕๖๒ ไร่
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว
ตั้งอยู่ตรงมุมตะวันออกเฉียงเหนือของพระบรมมหาราชวัง เป็นที่ประดิษ
ฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนาที่สำคัญ
วัดพระแก้วสร้างเสร็จในปี พ.ศ.
๒๓๒๗ วัดนี้เป็นวัดพุทธาวาส ภายในพระอุโบสถและระเบียงรอบวัดมีภาพเขียนฝาผนังสวยงามมากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ - ๙ ตลอดทุกรัชกาลสิ่งที่น่าสนใจภายในวัด
ได้แก่ หอพระเทพบิดร
(เปลี่ยนชื่อเป็นปราสาทพระเทพบิดรในสมัยรัชกาลที่ ๖) พระปรางค์
๘ องค์ พระศรีรัตนเจดีย์ ปราสาท-นครวัดจำลอง ฯลฯ พระบรมมหาราชวังเปิดให้เข้าชมได้ทุกวันตั้งแต่เวลา
๐๘.๓๐-๑๑.๓๐ น. และเวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๓๐ น.
วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรวิหาร
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นที่ประดิษฐานองค์พระปฐมเจดีย์
ที่ใหญ่และสูงที่สุดของไทย องค์พระปฐมเจดีย์เป็นเจดีย์ที่เก่าแก่มากที่สุด
จังหวัดนครปฐมได้ใช้ตราพระปฐมเจดีย์เป็นตราประ
จำจังหวัด พระปฐมเจดีย์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นองค์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่
๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๖ โปรดเกล้าให้ครอบองค์
เดิมที่ชำรุดหักพัง-ลง การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่
๕ ปี พ.ศ.๒๔๑๓ มีความสูง ๓ เส้น ๑ คืบ ๑๐ นิ้ว ฐานวัดโดย
รอบได ้๕ เส้น ๑๗ วา ๓ ศอก ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงบูรณะวัดพระปฐมเจดีย์ให้
สง่างามยิ่งขึ้น และถือว่าวัดพระปฐมเจดีย์เป็นวัดประจำรัชกาลที่
๖
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
ตั้งอยู่ริมสนามหลวง ถนนหน้าพระธาตุ เดิมชื่อวัดสลักกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
ทรงปฏิสังขรณ์ แล้วพระราชทานนามว่า "วัดนิพพานาราม"
ภายหลังรัชกาลที่ ๑ ทรงเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดมหาธาตุ"
ต่อมารัชกาล
ที่ ๕ ทรงปฏิสังขรณ์และทรงสร้างมณฑป มีพระเจดีย์ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุมุมหนึ่ง
ด้านหน้าวัดมีอนุสาวรีย์ของกรม
ราชวังสุรสิงหนาทซึ่งทรงสร้างวังหน้าประดิษฐานอยู่ รัชกาลที่
๕ ได้ทรงเติมชื่อเป็น วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือที่เรียกว่าวัดโพธิ์
อยู่ที่ถนนมหาราช เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอด
ฟ้าจุฬาโลกโปรดฯให้สร้างขึ้นเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม
วัดนี้ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ ครั้นถึงสมัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวครองราชย์ได้โปรดฯ ให้บูรณะวัดโพธิ์ใหม่ทั้งหมด
ได้นำเอาตำราวิชาการด้านต่างๆ มาจารึกไว้โดยรอบ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน
ถือได้ว่าวัดโพธิ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย นอกจากนี้วัดโพธิ์
ิ์ยังมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ก่ออิฐถือปูนปิดทอง
ทั้งองค์ยาว ๔๙ เมตร สูง ๑๒ เมตรที่ฝ่าพระบาท
แต่ละข้างมีลวดลายประดับมุกเป็นภาพมงคล ๑๐๘ ประการ อันเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของมหาบุรุษตามคติของอินเดีย
วัดสุทัศนเทพวราราม
วัดสุทัศนเทพวรารามอยู่ที่ถนนบำรุงเมือง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชประสงค์จะสร้างพระ
วิหารให้มีขนาดใหญ่เท่ากับพระวิหารวัดพนัญเชิงเป็นศรีสง่าแก่พระนคร
ได้พระราชทานนามไว้ว่า "วัดมหาสุทธาวาศ" แต่สร้างยังไม่ทันเสร็จ
ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงดำเนินงานต่อ
และพระราชทานนามว่า "วัดสุทัศน์เทพวราราม" สร้างเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่วัดสุทัศน์ไม่มีเจดีย์เหมือนวัดอื่นๆ เพราะมีสัตตมหาสถานเป็นอุเทสิกเจดีย์
(ต้นไม้ สำคัญในพุทธศาสนา ๗ ชนิด) แทนที่อยู่แล้ว สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่
พระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อโต) พระประธานของวัดที่ใด้ชะลอมาจากวิหารหลวงวัดมหาธาตุ
เมืองสุโขทัยและบานประตูพระวิหาร ซึ่งเป็นศิปกรรมชั้นเยี่ยมทางด้านการแกะสลักในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
โดยเฉพาะคู่ที่เป็นฝีพระหัตถ์ของพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้นำไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
วัดสระเกศ
วัดสระเกศอยู่นอกกำแพงเมือง
ริมคลองมหานาค ตรงที่บรรจบกับคลองบางลำพู เดิมเป็นวัดเก่าชื่อวัดสะแก
ได้รับการ
สถาปนาขึ้นใหม่ทั้งพระอารามในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
และพระราชทานนามว่าวัดสระเกศ ส่วน
เจดีย์ภูเขาทองนั้นเริ่มสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยทรงเลียนแบบมาจากภูเขาทองในสมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วเสร็จในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้รับพระราชทานนามว่า "สุวรรณบรรพต" สูง ๗๗ เมตร
บน
ยอดสุวรรณบรรพต เป็นที่ตั้งของพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดค้นพบที่เมืองกบิลพัสดุ์
และพิสูจน์ได้ว่าเป็นของพระ
สมณโคดมซึ่งเป็น ส่วนแบ่งของพระราชวงศ์ศากยราช เพราะมีคำจารึกอยู่
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ขณะนั้นกำลังทรงผนวชอยู่ที่
ี่อินเดียจึงเสนอให้รัฐบาลอินเดียมาเควส เดอลัน อุปราชอังกฤษประจำประเทศอินเดีย
ส่งพระบรมสารีริกธาตุเข้ามาถวายในฐานะ
ที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นกษัตริย์เพียงพระองค์เดียวที่เป็นพุทธมามกะอยู่ในขณะนั้น
วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหารหรือวัดใหญ่
เป็นวัดสำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกริม
ถนนพุทธบูชา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองครับ เป็นวัดหลวงชั้นเอก
"วรมหาวิหาร" ภายในวิหาร ของวัดเป็นที่ประดิษฐาน "พระ
พุทธชินราช" หรือที่ชาวเมืองพิษณุโลกเรียกว่า "หลวงพ่อใหญ่"
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หล่อด้วยทองสำริด
ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ( พญาลิไท ) โปรดให้สร้าง ขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์
ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศน์เทพ
วรารามและพระศรีศาสดาซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุหรือวัดพระบรมธาตุ
เมืองชะเลียง หรือวัดพระปรางค์ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่าศรีสัชนาลัย
ลงไปทางด้านใต้ประมาณ ๓ กิโลเมตร สิ่งสำคัญภายในวัดมีพระปรางค์องค์ใหญ่
ก่อด้วยศิลาแลง มีพระปรางค์องค์เล็กตั้งอยู่
กลางห้อง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ |
|
|