Mahachulalongkornrajavidyalaya University
|
|
พุทธประวัติ |
|
พระพุทธประวัติ
พระพุทธศาสนามีแหล่งกำเนิดอยู่ในดินแดนที่รู้จักกันในครั้งพุทธกาลว่า
ชมพูทวีป อันได้แก่ทวีปที่มีลักษณะสัณ
ฐาณคล้ายใบชมพูหรือใบหว้า ในปัจจุบัน ชมพูทวีปมีฐานะเป็นเพียงอนุทวีป
(Subcontinent) แห่งเอเชียใต้ ประกอบด้วยดิน
แดนของประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาล และบังคลาเทศ แต่ในครั้งพุทธกาลภาคพื้นชมพูทวีปถูกแบ่งเป็นประเทศใหญ่น้อยซึ่ง
เรียกกันว่ารัฐหรือแคว้นจำนวนไม่น้อยกว่า 21 แคว้น เฉพาะแคว้นมหาอำนาจในสมัยนั้นมี
4 แคว้นคือ มคธ โกศล วังสะ และอวัน
ตี
ในภูมิภาคด้านเหนือของชมพูทวีปอันเป็นดินแดนรอยต่อระหว่างอินเดียและเนปาลในปัจจุบันมีแคว้นเล็กแคว้นหนึ่ง
ชื่อว่า สักกชนบทเป็นดินแดนของชนชาติผู้เรียกตนเองว่า ศากยะ
พระราชาผู้ปกครองแคว้นนี้ในครั้งนั้นมีพระนามว่า พระเจ้า
สุทโธทนะ พระองค์มีชื่อโคตรหรือสกุลว่า โคตมะ บางครั้งมีผู้เรียกพระองค์ด้วยพระนามเต็มว่า
พระเจ้าสุทโธนะ โคตมะ ราช
สำนักของพระองค์ตั้งอยู่ในเมืองหลวงชื่อว่า กรุงกบิลพัสดุ์
ประสูติ
พระเจ้าสุทโธทนะมีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่า
มหามายาเทวี ทั้งสองพระองค์ทรงอยู่ร่วมกันมาด้วยความผาสุก
จนกระทั่งพระเทวีทรงมีพระครรภ์ เมื่อพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ
พระนางได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระสวามีให้แปร
พระราชฐานไปประทับที่กรุงเทวทหะเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ก็เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมสมัยนั้น
พระ
เทวีเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยข้าราชบริพารในเวลาเช้าของวันเพ็ญเดือน
6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เมื่อขบวนเสด็จ
ผ่านมาถึงสวนลุมพินี อันตั้งอยู่กึ่งกลางทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะต่อกัน
พระนางทรงมีพระประสงค์จะประ
พาสอุทยาน ข้าราชบริพารจึงเชิญเสด็จแวะไปประทับพักผ่อนอิริยาบถใต้สาละ
ขณะประทับอยู่ที่สวนลุมพินีนั้น พระนางได้
ประสูติ3พระโอรสภายใต้ต้นสาละ เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทราบข่าวประสูติจึงตรัสสั่งให้เชิญเสด็จพระนางพร้อมด้วยพระราช
กุมารกลับคืนกรุงกบิลพัสดุ์โดยด่วน
ข่าวประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส
ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย ดาบสท่านนี้มีความคุ้นเคยกับราชสำนักของ
พระเจ้าสุทโธทนะ พอทราบข่าวประสูติของพระราชกุมาร ดาบสจึงลงจากเขาเข้าไปเยี่ยมเยียนราชสำนัก
ท่านมีความรู้เกี่ยวกับ
การทำนายมหาปุริสลักษณะ พอเป็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า
นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์
์ว่า พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธ์อย่างยิ่ง
ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย
แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะ
ทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ
ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่าง
ดาบส
เมื่อพระกุมารประสูติได้
5 วัน พระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้ประกอบพิธีเฉลิมฉลองรับขวัญและขนานพระนาม
โดย
เชิญพราหมณ์ 108 คนผู้เชี่ยวชาญไตรเพทมาบริโภคโภชนาหาร ที่ประชุมของพราหมณ์ได้ถวายพระนามว่า
สิทธัตถะ แปล
ว่า สมประสงค์ กล่าวคือพระราชกุมารจะทรงปรารถนาสิ่งใด ก็จะได้สิ่งนั้นตามความปรารถนา
คนส่วนมากมักเรียกพระองค์
์ตามชื่อโคตรว่า โคตมะ ต่อจากนั้นพราหมณ์ 8 คนผู้รู้การทำนายลักษณะได้ตรวจสอบลักษณะของพระกุมารแล้วพบว่าพระ
กุมารมีลักษณ์มหาบุรุษ 32 ประการ จงให้คำทำนายชีวิตในอนาคตของพระกุมาร
พราหมณ์ 7 คน ทำนายว่าพระสิทธัตถราช
กุมารนี้ ถ้าอยู่ครองเพศฆราวาสจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่ถ้าออกผนวช
จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสดาเอกของโลก แต่พราหมณ์คนที่
8 ชื่อว่าโกณฑัญญะให้คำทำนายยืนยันหนักแน่นเป็นคติเดียวว่า พระกุมารจะต้องออกผนวชและตรัสรู้เป็นพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันที่
7 นับแต่วันประสูติ พระนางมหามายาเทวีผู้เป็นพระชนนีของพระกุมารได้ทิวงคต
ทั้งนี้เพราะมารดาของ
พระโพธิสัตว์มีอายุน้อยนัก เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้ 7 วัน
มารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมทิวงคตไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
นับแต่นั้นมาพระสิทธัตถราชกุมารจึงอยู่ในความดูแลของพระนางมหาปชสบดีโคตมี
พระน้านางของพระองค์ซึ่งเป็นพระมเหสี
ีของพระเจ้าสุทโธทนะสืบต่อมา
ดรุณวัย
คำพยากรณ์ของพราหมณ์ที่ว่า
ถ้าพระราชกุมารอยู่ครองเพศฆราวาสจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นสร้างความปีติ
ยินดีแก่พระเจ้าสุทโธทนะผู้ปรารถนาจะเห็นสักกชนบทซึ่งเป็นอาณาจักรเล็กที่ต้องสยบยอมต่ออำนาจของมหาอาณาจักรเพื่อน
บ้านชื่อแคว้นโกศล พระองค์ปรารถนาจะเห็นพระโอรสสร้างสักกชนบทให้มีอำนาจเกรียงไกรเหนือแคว้นมหาอำนาจในสมัยนั้น
แต่พระองค์ยังทรงหวั่นพระทัยว่า พระราชโอรสอาจเลือกการออกบรรพชาเป็นจุดหมายสำคัญกว่าการครองราชย์ตามคำพยา
กรณ์ในมติที่สอง เพราะพระองค์เป็นกษัตริย์จึงต้องพยายามดำเนินการให้พระกุมารได้ขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์
และทรง
กระทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันพระราชโอรสมิให้มีพระทัยน้อมไปในการบรรพชา
ทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารบำรุงบำเรอโลกียสุข
แก่พระสิทธัตถราชกุมารอย่างเต็มที่ ไม่มีอะไรที่พระกุมารปรารถนาแล้วจะไม่ได้
พระกุมารจึงเป็นพระยุพราชผู้สุขุมาลชาติอย่าง
ยิ่ง ดังมีบันทึกกล่าวถึงไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย!
เราเป็นผู้ละเอียดอ่อน ละเอียดอ่อนมาก ละเอียดอ่อนที่สุด พระชนกรับสั่งให้ขุดสระโบกขรณี
3 สระ
สำหรับเราไว้ในพระราชวัง ให้ปลูกอุบลบัวขาบสระหนึ่ง ปลูกปทุมบัวหลวงสระหนึ่ง
ปลูกปุณฑริกบัวขาวสระหนึ่ง ไม่เพียงแต่
เราจะใช้ไม้จันทน์แคว้นกาสีเท่านั้น ทั้งผ้าโพก เสื้อ ผ้านุ่ง
ผ้าห่มของเราล้วนทำในแคว้นกาสี มีคนคอยกั้นเศวตฉัตรให้เราตลอด
คืนตลอดวัน ด้วยหวังว่า หนาวร้อน ธุลี หญ้า หรือน้ำค้างอย่าได้กล้ำกรายเรา
แม้พระราชบิดาจะได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อชักจูงพระกุมารให้คิดอยู่ในเสน่ห์ยั่วยวนใจของเพศคฤหัสถ์
ก็ดูเหมือนว่า
ความพยายามนั้นจะไม่สามารถทำลายพระอุปนิสัยใฝ่ธรรมของพระกุมาร
ดังมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น กล่าวคือ ครั้งหนึ่งมีการจัด
งานพืชมงคลแรกนาขวัญ พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จแรกนาด้วยพระองค์เอง
โปรดให้เชิญเสด็จพระกุมารไปด้วย และให้แต่งที่
ประทับอยู่ภายใต้ต้นหว้า ครั้นถึงเวลาแรกนาขวัญ พวกนางสนมพี่พี่เลี้ยงนางนมพากันไปดูพิธีแรกนาขวัญ
ปล่อยพระกุมารเพียง
ลำพัง พระกุมารประทับนั่งขัดสมาธิเจริญอานาปานสติกรรมฐานจนได้ปฐมฌาน
ขณะนั้นเป็นเวลาบ่าย เงาของต้นไม้อื่นได้ชายไป
ตามดวงตะวัน ยกเว้นเงาของต้นหว้าซึ่งหยุดอยู่กับที่เสมือนหนึ่งเป็นเงาขณะเที่ยงวัน
ปรากฏเป็นอัศจรรย์ประจักษ์แก่พี่เลี้ยงนาง
ที่กลับมาเห็น จึงรีบนำความไปกราบบังคมทูลพระราชบิดา พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จไปทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์
ทรงเลื่อมใส
พระโอรสเป็นอย่างมาก ถึงกับยกพระหัตถ์ขึ้นถวายอภิวาทพระราชกุมารอันเป็นการอภิวาทครั้งที่
2 นับแต่การอภิวาทครั้งแรก
เมื่อวันที่อสิตดาบสเข้าเยี่ยมพระกุมาร
เมื่อพระราชกุมารทรงเจริญวัยพอที่จะเข้ารับการศึกษาได้
พระราชบิดาทรงพาไปมอบไว้ในสำนักครูวิศวามิตรเพื่อให้
ทรงศึกษาศิลปวิทยาต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับรัชทายาททั้งหลาย พระราชกุมารทรงศึกษาอย่างรวดเร็วมาก
ไม่นานนักก็จบหลัก
สูตร ครั้นถึงคราวต้องแสดงความสามารถต่อหน้าพระที่นั่ง พระองค์ก็แสดงได้ดีเลิศล้ำหน้าพระราชกุมารอื่นๆ
อันนำความชื่น
ชมโสมนัสมาสู่พระราชบิดาและพระประยูรญาติ
เมื่อพระสิทธัตถราชกุมารมีพระชนมายุครบ
16 พรรษา เป็นเวลาสมควรแก่การอภิเษกสมรส พระราชบิดาตรัสสั่งให้
สร้างปราสาท 3 หลังชื่อว่า สุจันทะ โกกนุทะ และโกญจะ เพื่อเป็นที่ประทับของพระราชโอรสใน
3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน
ฤดูฝน แล้วทรงขอเจ้าหญิงยโสธรา (พิมพา) พระราชบุตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะในเทวทหนครมาอภิเษกเป็นพระชายาของพระ
กุมาร ชีวิตของพระสิทธัตถราชกุมารในช่วงนี้เพียบพร้อมด้วยโลกียสุข
ดังพระพุทธดำรัสตรัสเล่าภายหลังว่า เมื่อก่อนสมัยเรา
เป็นคฤหัสถ์ครองเรือน เป็นผู้อิ่มหนำเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า
บำเรอตนด้วยรูป เสียง กลิ่น รสสัมผัสที่น่าปรารถนารักใคร่ชอบ
ใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ปราสาทของเรานั้นมีถึงสามหลัง
คือ ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน ปรา
สาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน
เรานั้นถูกบำเรอด้วยดนตรี มีแต่สตรี ไม่มีบุรุษเจือปนอยู่บนปรา
สาทสำหรับฤดูฝนตลอดสี่เดือน ไม่เคยลงจากปราสาทเลย
ออกบรรพชา
แม้พระสิทธัตถราชกุมารจะทรงดำเนินชีวิตอันสมบูรณ์พูนสุขอย่างนั้น
ความเบื่อหน่ายในเพศฆราวาสก็เกิดขึ้นได้ จน
ทำให้พระองค์ตัดสินพระทัยออกบรรพชาเมื่อมีพระชนมายุได้ 29 พรรษา
อะไรคือสาเหตุที่แท้จริงของการออกบรรพชายังเป็น
ปัญหาที่ยังไม่มีข้อยุติ นักปราชญ์ส่วนใหญ่เชื่อตามแนวทางมหาปทานสูตร13
ที่ว่าพระสิทธัตถราชกุมารเสด็จประพาสพระ
อุทยาน 4 ครั้ง ทรงพบเทวทูต 4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะตามลำดับในการประพาสแต่ละครั้ง
การพบเทวทูตหรือ
ความทุกข์ 4 มิติของชีวิตทำให้พระเนตรสว่างพอที่จะหยั่งรู้ถึงความไม่เที่ยงแท้และไร้แก่นสารของชีวิต
พระองค์ทรงเก็บเอา
ภาพของคนแก่ คนเจ็บและคนตายมาเป็นเรื่องที่จะต้องครุ่นคิดจริงจัง
ทำให้ลดความมัวเมาในความเป็นหนุ่ม ความมีสุขภาพดี
และความมัวเมาในชีวิต ทรงเตือนพระองค์เองว่า พระองค์หนีความแก่
ความเจ็บและความตายไม่พ้น14 แต่ยังมีทางหลุดพ้น
เหลืออยู่สายหนึ่งนั่นคือการเลือกใช้ชีวิตแบบสมณะนักบวชอันปลอดจากภารกิจที่เป็นเครื่องถ่วงไม่ให้ค้นพบโมกษธรรม
พระองค์
ทรงดำริว่า ชีวิตฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งฝุ่นละออง การบวชเป็นทางสะดวกปลอดโปร่ง
การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะ
ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์เต็มที่เหมือนสังข์ขัดไม่ใช่ทำได้ง่าย
อย่างไรก็ดีเราควรจะปลงผมโกนหนวด นุ่งห่มผ้า
กาสาวพัสตร์ สละบ้านเรือนออกบวชเป็นบรรพชิต
เมื่อได้ทรงตัดสินพระทัยออกผนวชแล้ว
พระสิทธัตถราชกุมารทรงรอเวลาอยู่จนกระทั่งทราบข่าวพระนางพิมพา
ประสูติพระโอรสผู้ต่อมาได้พระนามว่า ราหุล เพราะในวันประสูติ
พระสิทธัตถราชกุมารทรงเปลงอุทานว่า ราหุลํ ชาตํ พนฺธนํ
ชาตํ (บ่วงเกิดแล้วเครื่องพันธนาการเกิดแล้ว) ตกเวลากลางคืนของวันประสูตินั้นพระสิทธัตถราชกุมารทรงนัดแนะกับนายฉันนะ
ให้นำม้ากัณฐกะเตรียมรอนำเสด็จออกบรรพชา
พระองค์เสด็จไปทอดพระเนตรพระราหุลกุมารและพระนางพิมพาผู้กำลังบรร
ทมหลับ แล้วทรงม้ากัณฐกะพร้อมนายฉันนะเสด็จออกจากพระราชวัง ในคืนที่เสด็จออกบรรพชานั้น
พระสิทธัตถราชกุมารทรงมี
พระชนมายุ 29 พรรษา
เมื่อเสด็จออกพ้นพระราชวังแล้ว
พระสิทธัตถราชกุมารทรงเข้าเขตแดนแคว้นโกศลและแคว้นวัชชี เวลาใกล้รุ่งเสด็จถึง
ฝั่งแม่น้ำอโนมานที แม่น้ำสายนี้อยู่ระหว่างเขตแดนของสามแคว้นคือ
แคว้นสักกะ แคว้นโกศลและแคว้นวัชชี พระองค์ทรงม้า
ข้ามฝั่งแม่น้ำ แล้วเสด็จลงจากหลังม้าไปประทับนั่งบนกองทราย
ทรงเปลื้องเครื่องทรงมอบให้นายฉันนะนำกลับพระนคร ทรง
ตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ ครองผ้ากาสาวพัสตร์แล้วอธิษฐานใจบวชเป็นบรรชิต
ทรงส่งนายฉันนะกลับ เสด็จลำพังองค์เดียวมุ่ง
พระพักตร์ไปยังแคว้นมคธ
ในที่นี้มีข้อควรสงสัยบางประการเกี่ยวกับอาการกิริยาที่พระสิทธัตถราชกุมารเสด็จออกผนวช
นั่นก็คือ ตามเรื่องราวท
ี่บรรยายมานั้น พระกุมารเสด็จหนีออกผนวชในเวลากลางคืน โดยที่พระราชบิดา
และพระประยูรญาติไม่ทรงทราบ แต่พระ
ไตรปิฎกได้บันทึกไว้ว่า พระราชบิดาและพระประยูรญาติทรงทราบแต่ไม่อาจทักท้วงห้ามปราม
ดังที่พระพุทธเจ้าทรงเล่าไว้ว่า สมัยเมื่อเรายังเป็นหนุ่ม มีผมดำสนิท
อยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโต เป็นปฐมวัย เมื่อมารดาบิดาไม่ปรารถนา(จะให้บวช)
ร้องไห้
น้ำตานองหน้าอยู่ เราได้ปลงผมโกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
สละเรือนออกบวชเป็นบรรพชิต17 พระราชดำรัสนี้แสดงว่า พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบดีว่าพระสิทธัตถราชกุมารจะออกผนวช
แต่ไม่อาจทักท้วงห้ามปรามได้ ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่า ทำไมจึง
ทักท้วงห้ามปรามไม่ได้? คงจะมีเหตุจำเป็นบางประการเกิดขึ้นแต่ไม่ได้รับการบันทึกเป็นหลักฐาน
ถ้าเชื่อตามมติว่าพระกุมาร
เสด็จหนีออกไปผนวช พระราชบิดาทรงทราบก็น่าจะส่งคนไปติดตามอ้อนวอนให้กลับพระนคร
แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำ
เช่นนั้นเลย
อย่างไรก็ตาม
ประเด็นสำหรับประนีประนอมในที่นี้น่าจะเป็นว่า พระสิทธัตถราชกุมารเสด็จหนีไปในเวลากลางคืน
พระราชบิดามาทราบเรื่องราวในเวลาเช้า เมื่อนายฉันนะกลับมากราบทูลว่าพระกุมารได้ปลงผมโกนหนวดอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต
แล้ว พระราชบิดาจึงกรรแสงด้วยความโทมนัส แต่ไม่อาจส่งคนไปตามเสด็จกลับวังได้เพราะพระกุมารตัดพระเมาลีเสียแล้ว
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงประทานการวินิจฉัยไว้ว่า
บางทีการตัดพระเมาลีนั้นเองเป็นเหตุให้
พระราชบิดาและพระญาติวงศ์สิ้นหวังในพระองค์ เพราะได้ยินว่า คนในครั้งนั้นถือการตัดผมว่าเป็นจัญไร
คนผู้ตัดหรือโกนผม
แล้วเป็นที่ดูหมิ่นของคนทั้งหลาย
บำเพ็ญเพียร
ภายหลังการบรรพชา
พระสิทธัตถะได้เสด็จดำเนินถึงแคว้นมคธ แล้วไปสมัครเป็นศิษย์ของคณาจารย์ใหญ่
2 ท่าน คือ อาฬารดาบส และอุทกดาบส ฝึกปฏิบัติกรรมฐานหรือโยคะในสำนักของอาจารย์ท่านแรกจนได้รูปฌาน
4 และอรูปฌาน 3 คือได้
้ขั้นอากิญจัญญายตนะ และได้รูปฌานที่ 4 คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ซึ่งเป็นชั้นที่จบหลักสูตรหมดภูมิรู้ของอาจารย์ แม้อา
จารย์ทั้งสองจะเชิญให้อยู่ในสำนักต่อไปด้วยตำแหน่งฐานะเท่าเทียมอาจารย์
พระสิทธัตถะก็ไม่ทรงปรารถนา ทรงอำลาจากสำนัก
ไปเพราะพิจารณาเห็นว่าลำพังฌานสมาบัติที่ได้มายังไม่ใช่สัมมาสัมโพธิญาณ
หนังสือพุทธประวัติภาษาไทยส่วนมากนิยมกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า
พระโพธิสัตว์ได้ทรงทดลองปฏิบัติในลัทธิทั้ง
สองนั้นแล้ว ทรงดำริว่าทางปฏิบัตินี้มิใช่หนทางพระโพธิญาณ20
การบันทึกเช่นนี้เท่ากับแสดงว่า การบำเพ็ญสมาธิถึงขั้นอรูป
ฌาน 4 ไม่ได้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่การบรรลุพระนิพพาน มีแต่จะออกนอกทางทำให้เสียเวลาไม่ต่างจากการบำเพ้ญทุกกรกิริยา
ในอันดับถัดไป
เมื่อพิเคราะห์ดูแล้วจะพบว่า
การปฏิบัติสมาธิจนได้อรูปฌาน 4 ไม่ถือว่าออกนอกทางนิพพานแต่อย่างใด
แม้ที่จริงนั้นการ
ได้ฌานสมาบัติเป็นการอยู่ครึ่งนิพพาน เพราะได้เพียงสิกขา 2 ข้อ
คือ ศีลกับสมาธิ แต่ยังขาดปัญญา สิ่งที่อาฬารดาบสและอุทก
ดาบสสอนสาวกคือสิ่งที่เรียกว่า โยคะ ซึ่งเป็นวิธีเจริญสมาธิภาวนานั่นเอง
ผลของโยคะ เท่ากับหรือเป็นอันเดียวกันกับผลของ
สมถกรรมฐานในพระพุทธศาสนา อันนี้เป็นการยืนยันว่า สมถกรรมฐานมีอยู่แล้วในศาสนาอื่นสมัยพระพุทธเจ้า
แต่สมถกรรมฐาน
อย่างเดียวไม่ทำให้ถึงนิพพาน พระพุทธองค์ทรงใช้สมาธิที่ได้จากการปฏิบัติสมถกรรมฐานมาเป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนา
กรรมฐาน จึงได้ปัญญาการตรัสรู้ ดังนั้นวิปัสสนากรรมฐานจึงเป็นคำสอนพิเศษที่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น
แต่เนื่องจากพระองค์ไม่ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่อจากการได้อรูปฌานในสำนักของอุทกดาบส
พระองค์จึงไม่ได
้ตรัสรู้ ทรงพิจารณาเห็นว่าอรูปฌานนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อ
ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (แต่)เป็นไปเพียงเพื่อให้อุบัติในแนวสัญญานาสัญญายตนพรหมเท่านั้น
พระองค์ทรงหยุดการบำเพ็ญเพียร
ทางใจซึ่งพาพระองค์มาครึ่งทางนิพพาน ทรงหันไปบำเพ็ญเพียรทางกายซึ่งพาเฉออกนอกทางนิพพาน
การบำเพ็ญเพียรทางกาย
นั้นมีชื่อเรียกว่าทุกกรกิริยา
เมื่อเสด็จออกจากสำนักของดาบสทั้งสองแล้ว
พระสิทธัตถะได้เสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม บำเพ็ญทุกกรกิริยาหรือ
การทรมานตนในที่นั้น การบำเพ็ญทุกกรกิริยานี้แบ่งเป็น 3 ระยะ
คือ
ระยะที่
1 ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุ(เพดาน) ด้วยพระชิวหาไว้ให้แน่นจนพระเสโท(เหงื่อ)
ไหลออก
จากพระกัจฉะ(รักแร้) เสร็จแล้วทรงทดลองทำวิธีที่สอง
ระยะที่
2 ทรงผ่อนกลั้นลมหายใจเข้า-ออก เมื่อลมเดินไม่สะดวกทางช่องพระนาสิกและช่องพระโอษฐ์
ก็เกิดเสียงดังอู้
ทางช่องพระกรรณทั้งสอง ทำให้ปวดพระเศียรอย่างแรง มีอาการเสียดพระอุทรและร้อนพระวรกายเป็นที่สุด
แม้ทรงทรมาน
กายเพียงนี้ก็ยังไม่บรรลุโพธิญาณ จึงเปลี่ยนเป็นวิธีที่ 3
ระยะที่
3 ทรงอดพระกระยาหาร โดยลดอาหารลงทีละน้อย ๆ จนไม่เสวยพระกระยาหารเลย
พระวรกายเหี่ยวแห้ง พระฉวีเศร้าหมอง พระอัฐิปรากฏทั่วพระวรกาย
เมื่อทรงลูบพระวรกาย เส้นพระโลมาก็หลุดติดพระหัตถ์ พระกำลังลดน้อยถอย
ลง เมื่อเสด็จดำเนินไปทางไหนก็ถึงกับซวนเซล้มลงสลบ พอฟื้นคืนสติขึ้นมาทรงดำริว่า
การทรมานตนอย่างมากที่สุดก็ทำได้แค่นี้ เราทำหมดแล้วแต่ยังไม่ตรัสรู้
การบำเพ็ญทุกกรกิริยาจึงไร้ผล ได้ตัดสินพระทัยเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยา
เสวยพระกระยาหารตาม
ปกติ และทรงหันกลับมาบำเพ็ญเพียรทางใจอีก
เมื่อพระสิทธัตถราชกุมารออกผนวช
พราหมณ์โกณฑัญญะผู้เคยทำนายลักษณะพระกุมารในวันขนานพระนามว่า
พระ
กุมารจะต้องออกบวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ชักชวนบุตรของเพื่อน
4 คนออกบวชตามเสด็จเพราะเชื่อมั่นว่า พระสิทธัตถะ
จะต้องได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นักบวชทั้งห้าที่มีโกณฑัญญะ
เป็นหัวหน้ามีชื่อเรียกว่า ปัญจวัคคีย์ พวกปัญจ
วัคคีย์นี้ได้ปรนนิบัติรับใช้พระโพธิสัตว์ขณะที่ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา
จึงสามารถเป็นพยานได้ว่า พระสิทธัตถะทรมานพระองค์
มากน้อยเพียงไร ครั้นเห็นว่า พระสิทธัตถะเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยา
หันกลับมาเสวยพระกระยาหารอีก พระปัญจวัคคีย์ได้ตำหนิ
พระสิทธัตถะว่าล้มเหลวและกลายเป็นคนมักมาก ต่างรู้สึกผิดหวังจึงพากันละทิ้งพระสิทธัตถะหนีไปอยู่
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
การจากไปของพระปัญจวัคคีย์นับเป็นสิ่งที่ดี
เพราะจะได้ไม่มีใครรบกวนสมาธิของพระสิทธัตถะ พระองค์จึงสามารถ
บำเพ็ญเพียรทางใจได้เต็มที่ และการบำเพ็ญเพียรครั้งนี้ทำให้พระองค์ตรัสรู้
ตรัสรู้
ในเวลาเช้าของวันเพ็ญเดือน
6 พระสิทธัตถะประทับนั่งใต้โคนต้นไทร นางสุชาดานำถาดอาหารมาเพื่อแก้บนรุกขเทวดา
ประจำต้นไทร พบพระสิทธัตถะก็เข้าใจว่าเป็นเทวดานั่งรอเครื่องพลีกรรม
จึงนำข้าวมธุปายาสไปถวายทั้งถาด พระสิทธัตถะรับ
ของถวายแล้วถือถาดไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา สรงสนานพระวรกายแล้วขึ้นมาประทับนั่งเสวยข้าวมธุปายาสจำนวน
49 ปั้นจน
หมด จากนั้นเสด็จไปประทับในดงไม้สาละ จนเวลาเย็นจึงเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์
ทรงปูลาดหญ้าคา 8 กำที่โสตถิยพราหมณ์ถวาย
ในระหว่างทางลงใต้ต้นมหาโพธิ์ ประทับนั่งขัดสมาธิ ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
หันประปฤษฎางค์เข้าหาต้นมหาโพธิ์ ทรงอธิษฐานว่า แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไป
เรายังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณตราบใด จะไม่ลุกขึ้นจากที่นี่ตราบนั้น
จากนั้น
ทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน
3 คือ ในยามที่หนึ่งของ
คืนนั้นทรงได้ปุพเพนิวาสนุสติญาณ คือ ระลึกชาติปางก่อนของพระองค์เองได้
ในยามที่ 2 ทรงได้จุตูปปาตญาณ คือมีตาทิพย์ สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
และในยามสุดท้าย ทรงได้อาสวักขยญาณ คือตรัสรู้อริยสัจ 4 ว่าอะไรคือ
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ความรู้นี้ทำให้กิเลสาสวะหมดสิ้นไปจากจิตใจ พระองค์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลาที่แสงเงิน
แสงทองเริ่มจับขอบฟ้า รวบระยะเวลาที่บำเพ็ญเพียรตั้งแต่ออกผนวชจนตรัสรู้ได้
6 ปี ขณะที่ตรัสรู้พระองค์มีพระชนมายุ 35 พรรษา
เสวยวิมุตติสุข
เมื่อตรัสรู้แล้ว
พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นมหาโพธิ์และบริเวณข้างเคียงเป็นเวลา
7 สัปดาห์ คือ
สัปดาห์ที่
1 ประทับนั่งใต้ต้นมหาโพธิ์ต่อไปอีก 7 วัน ทรงใช้เวลาทบทวนปฏิจจสมุปบาทที่พระองค์เพิ่งตรัสรู้
สัปดาห์ที่
2 เสด็จออกจากต้นมหาโพธิ์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ประทับยืนเพ่งต้นมหาโพธิ์โดยมิได้กระพริบ
พระเนตรตลอด 7 วัน สถานที่นั้นมีชื่อในสมัยต่อมาว่าอนิมิสเจดีย์
สัปดาห์ที่
3 เสด็จกลับมาประทับอยู่ในที่กึ่งกลางระหว่างอนิมิสเจดีย์และต้นมหาโพธิ์
ทรงจงกรมอยู่ที่นั่นตลอด 7 วัน ที่จงกรมนั้นมีชื่อเรียกว่า รัตนจงกรมเจดีย์
สัปดาห์ที่
4 เสด็จไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นมหาโพธิ์ประทับนั่งขัดสมาธิพิจารณาอภิธรรมปิฎกตลอด
7 วัน สถานที่นั้นมีชื่อเรียกต่อมาว่า รัตนฆรเจดีย์
สัปดาห์ที่
5 เสด็จไปทางทิศตะวันออกของต้นมหาโพธิ์ ประทับอยู่ใต้ต้นไทรซึ่งเป็นที่พักของคนเลี้ยงแพะอันได้ชื่อว่า
อชปาลนิโครธ ทรงเสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน
สัปดาห์ที่
6 เสด็จไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นมหาโพธิ์ประทับนั่งที่ควงไม้จิกหรือมุจลินท์
เสวยวิมุตติสุขที่
นั่นอีก 7 วัน
สัปดาห์ที่
7 เสด็จไปยังต้นเกดหรือราชายตนะ ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของต้นมหาโพธิ์
ทรงเสวยวิมุตติสุขอยู่ที่นั่นเป็น
สัปดาห์สุดท้ายในสัปดาห์นี้มีพ่อค้า 2 พี่น้องชื่อตปุสสะและภัลลิกะเดินทางผ่านมาพบจึงนำเสบียงกรังเข้าไปถวายแล้วประกาศ
ตนเป็นอุบาสกคนแรกที่เข้าถึงพระรัตนะสองคือพระพุทธและพระธรรมเป็นสรณะ
ครั้นเสวยวิมุตติสุขครบ
7 สัปดาห์แล้ว พระองค์เสด็จกลับมาประทับที่ควงไม้ไทรชื่ออชปาลนิโครธอีก
ทรงดำริว่าธรรม
ที่พระองค์ตรัสรู้เป็นของลึกซึ่งยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม ท้อพระทัยในอันที่จะประกาศธรรม
แต่อาศัยที่ทรงมีพระกรุณาในหมู่สัตว์
์ประกอบกับพิจารณาทราบชัดถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 4 ประเภท
อันเปรียบได้กับบัว 4 เหล่า คือ
1.
อุคฆฏิตัญญู ผู้มีปัญญาดีและมีกิเลสน้อย สามารถเข้าใจฉับพลันเพียงเพราะได้ยินหัวข้อธรรมที่ยกขึ้นแสดง
เหมือน
ดอกบัวที่พ้นน้ำพอต้องแสงอาทิตย์ก็บานทันที
2.
วิปจิตัญญู ผู้มีปัญญาปานกลางและมีกิเลสปานกลาง สามารถเข้าใจธรรมได้ถ้ามีการอธิบายความให้พิสดารออกไป
บุคคลประเภทนี้เปรียบได้กับดอกบัวที่อยู่เสมอน้ำพร้อมจะบานในวันรุ่งขึ้น
3.
เนยยะ ผู้มีปัญญาน้อยแต่มีกิเลสหนา สามารถเข้าใจธรรมได้ก็ต่อเมื่อมีการพร่ำสอนย้ำแล้วย้ำอีก
เหมือนดอกบัวที่อย
ู่ใต้น้ำรอโอกาสบานในวันต่อๆ ไป
4.
ปทปรมะ บุคคลไร้ปัญญา เรียนหัวข้อธรรมได้บ้างแต่ไม่อาจเข้าใจความหมายของคำ
เปรียบได้กับดอกบัวที่เพิ่งงอก
ขึ้นใหม่ ยังอยู่ในโคลนตม มักจะตกเป็นอาหารของปลาและเต่า
ในจำนวนบุคคล
4 ประเภทนี้ สามประเภทข้างต้นยังเป็นผู้ที่พระองค์พอจะสอนให้ตรัสรู้ตามได้
ทรงพิจารณาเห็นดังน
ี้แล้วจึงตัดสินพระทัยแสดงธรรม
ปฐมเทศนา
เมื่อได้ตกลงพระทัยว่าจะประกาศศาสนาแล้ว
ทรงนึกถึงบุคคลที่สมควรจะแสดงธรรมโปรดก่อนซึ่งจะต้องเป็นประเภท
ดอกบัวพ้นน้ำ ทรงนึกถึงอาฬารดาบสและอุทกดาบส แต่ทราบว่าท่านทั้งสองสิ้นชีพแล้ว
จึงตัดสินพระทัยโปรดปัญจวัคคีย์ แล้ว
เสด็จไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ถึงที่นั่นในเวลาเย็นของวันขึ้น
14 ค่ำ เดือน 8 เมื่อแรกพบพระพุทธองค์ พวกปัญจวัคคีย์แสดง
อาการไม่เคารพเชื่อฟังพระศาสดา ต่อเมื่อพระองค์ตรัสเตือนแล้วจึงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
ในวันรุ่งขึ้นมีชื่อว่าธรรมจักกัปปวัตตนสูตร พระสูตรนี้เป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกจึงมีความหมายมาก
เพราะถ้าหากไม่มีใคร
สามารถเข้าใจได้ก็จะทำให้พระองค์ท้อพระทัยไปว่า พระธรรมนั้นลึกซึ้งเกินกว่าคนทั่วไปจะหยั่งถึง
ฉะนั้น เมื่อท่านโกณฑัญญะ
ได้ดวงตาเห็นธรรมสำเร็จเป็นพระโสดาบันในเวลาจบเทศนา พระพุทธองค์จึงเปล่งอุทานว่า
อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ (ท่าน
ผู้เจริญ! โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ) เพราะอุทานนี้ท่านโกณฑัญญะจึงมีชื่อเพิ่มขึ้นว่า
อัญญาโกณฑัญญะ ท่านได้ทูลขอบรรพชา
อุปสมบทในวันนั้นเอง พระองค์ทรงบวชให้ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
โดยเปล่งพระวาจาว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด (เอหิ ภิกฺขุ) ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว
ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด ท่านอัญญาโกณฑัญญะสำเร็จเป็นพระภิกษุ
ด้วยพระวาจานี้ ท่านเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา
อีก
4 วันถัดมาปัญจวัคคีย์ที่เหลือได้บรรพชาอุปสมบททั้งหมดในวันแรม
5 ค่ำ เดือน 9 พระพุทธองค์ทรงแสดงอนัต
ตลักขณสูตรโปรดพระปัญจวัคคีย์จนทั้ง 5 ท่านได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
นับว่ามีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก 6 องค์รวมทั้งพระ
พุทธเจ้า
พุทธกิจ
45 พรรษา
ต่อจากนั้นพระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาโดยไม่มีการหยุดพักเป็นเวลา
45 พรรษา พุทธกิจที่พระองค์บำเพ็ญตลอด
เวลานี้มีมากมาย พอจะสรุปได้ตามลำดับพรรษาดังนี้
พรรษาที่
1 พระพุทธองค์ทรงเสด็จจำพรรษาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันพร้อมพระปัญจวัคคีย์
ขณะประทับอยู่ที่นั้นได้
แสดงธรรมโปรดยสกุลบุตรและให้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่ยสะและสหายอีก
4 คน ทุกคนได้ฟังธรรมสำเร็จเป็นพระ
อรหันต์ส่วนบิดามารดาและอดีตภรรยาของพระยสะได้ประกาสตนเป็นอุบาสกอุบาสิกาผู้ถึงรัตนตรัยเป็นสรณะ
นับเป็นอุบาสก
อุบาสิกาคนแรกที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ในขณะนั้นมีพระอรหันต์ในโลก
11 องค์ มีพุทธบริษัท 3 คือ ภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา
ในพรรษานั้นเองสหายอื่นๆ
ของพระยสะ 50 คนเป็นชาวชนบท ได้ทราบข่าวว่าพระยสะบวชจึงมาขอบรรพชา
อุปสมบทได้ฟังธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ทุกท่าน ทำให้จำนวนพระอรหันต์ในพรรษาที่
1 มีทั้งสิ้นรวม 61 องค์
พอพ้นฤดูฝนปีนั้น
พระศาสดาทรงส่งพระอรหันตสาวก 60 องค์ไปประกาศพระศาสนาด้วยพระดำรัสว่า
ภิกษุทั้ง
หลาย! เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อความเอ็นดูแก่โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าไปทางเดียวกันถึงสองรูป
ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้อง
ต้น ท่ามกลางที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์(ศาสนา) พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลี
ในดวงตาแต่เล็กน้อยก็มีอยู่ สัตว์พวกนี้ย่อมเสื่อมจากคุณที่ควรได้เพราะไม่ได้ฟังธรรม
ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมีเป็นแน่ แม้เราเองก็จะ
ไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเพื่อแสดงธรรม
ครั้นพระสาวกแยกย้ายกันไปประกาศพระศาสนาแล้ว
พระศาสดาเสด็จเพียงลำพังไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ใน
ระหว่างทางทรงแสดงธรรมโปรดชายหนุ่ม 30 คนชื่อว่าพวกภัททวัคคีย์
จนชายหนุ่มทั้งหมดบรรลุอรหัต ประทานอุปสมบท
แล้วส่งไปประกาศพระศาสนา
จากนั้นเสด็จต่อไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ใช้เวลา 2 เดือน จึงปราบทิฐิของหัวหน้าชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปะ
พร้อมทั้ง
บริวาร 500 คน แล้วได้แสดงธรรมสั่งสอนชฎิลน้องชายอีก 2 ท่าน
คือ นทีกัสสปะผู้มีบริวาร 300 คน และ คยากัสสปะ ผู้มี
บริวาร 200 คน ทรงประทานอุปสมบทแก่ชฎิลทั้งหมด ทรงพาภิกษุชฎิล
1,003 รูปไปที่ตำบลคยาสีสะ แสดงอาทิตตปริยาย
สูตรโปรดจนทุกรูปสำเร็จเป็นพระอรหันต์
จากตำบลคยาสีสะ
พระพุทธองค์ทรงพาพระอรหันต์ 1,003 องค์ไปกรุงราชคฤห์นครหลวงแห่งแคว้นมคธ
ประทับอยู่
ในดงตาลหรือลัฏฐิวัน พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบข่าวจึงเสด็จพร้อมด้วยข้าราชบริพารจำนวนมากไปเฝ้าพระศาสดา
เนื่องจาก
ประชาชนที่ไปเฝ้าส่วนมากเคยนับถือลัทธิชฎิลมาก่อน พระพุทธองค์จึงรับสั่งให้พระอุรุเวลกัสสปะแสดงความไม่มีแก่นสารของ
ลัทธิชฎิลให้ที่ประชุมทราบแล้วพระองค์จึงทรงแสดงอนุปุพพิกถา
พระเจ้าพิมพิสารและข้าราชบริพารส่วนมากได้ดวงตาเห็น
ธรรม ส่วนข้าราชบริพารที่ไม่บรรลุธรรมวิเศษก็ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ
วันรุ่งขึ้น
พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ได้ไปฉันในพระราชวังตามคำอาราธนาของพระเจ้าพิมพิสาร
ในวันนั้น
พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายพระราชอุทยานเวฬุวัน (สวนไผ่) เป็นที่อยู่ของพระสงฆ์
วัดเวฬุวันจึงเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธ
ศาสนา
จากเรื่องราวที่บรรยายมา
พอจะจับเป็นประเด็นสำคัญอันเนื่องด้วยวิธีประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้า
ในขั้นต้น
พระองค์มุ่งเอาชนะเจ้าลัทธิอย่างชฎิลสามพี่น้องให้ได้ก่อน จากนั้นจึงแสดงธรรมโปรดพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นกษัตริย์ครองแคว้น
มคธซึ่งมีอำนาจยิ่งใหญ่ไม่แพ้แคว้นโกศล ศรัทธาที่พระองค์ได้รับจากประมุขของอาณาจักรเป็นหลักประกันว่า
พระศาสนาจะ
แพร่หลายไปสู่ประชาชนชาวมคธได้โดยง่าย นี่คือเหตุผลว่าทำไมพระพุทธศาสนาจึงแพร่หลายรวดเร็วจนเอาชนะศาสนา
พราหมณ์ในสมัยนั้นได้ เมื่อผู้นำยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา ประชาชนย่อมดำเนินรอยตาม
ขณะประทับอยู่
ณ พระเวฬุวันวิหารนั้นกลุ่มปริพาชกมีหัวหน้าชื่ออุปติสสะ และโกลิตะได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า
อุปติสสะ
และโกลิตะเคยฟังธรรมจากพระอัสสชิมาก่อนจนได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน
พระพุทธเจ้าประทานอุปสมบทแด่ปริพาชกทั้งหมด
และแสดงธรรมโปรดพระบวชใหม่ทั้งหมดยกเว้นพระอุปติสสะกับพระโกลิตะสำเร็จเป็นพระอรหันต์
พระโกลิตะเป็นพระอร
หันต์เมื่อบวชได้ 7 วัน ส่วนพระอุปติสสะใช้เวลา 15 วันจึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์
ต่อมาพระอุปติสสะได้รับยกย่องเป็นพระอัคร
สาวกเบื้องขวา ได้นามใหม่ว่าพระสาริบุตร ส่วนพระโกลิตะได้นามใหม่ว่าพระโมคคัลลานะ
ได้รับยกย่องเป็นพระอัครสาวกเบื้อง
ซ้าย
เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวันได้มีมหาสันนิบาต
คือการประชุมใหญ่ของพระสาวกเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต
แปลว่า การประชุมประกอบด้วยองค์ 4 อรรถกถาทีฆนขสูตร ได้แสดงไว้ว่า
องค์ 4 นั้น คือ
1.
พระสาวกได้มาประชุมกันในวันมาฆปุณณมี คือวันเพ็ญเดือนมาฆะหรือเดือนสาม
2.
พระสงฆ์ 1,250 องค์มาประชุมในวันนั้นโดยมิได้นัดหมาย
3.
พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6
4.
พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุ คือ ได้รับอุปสมบทที่พระศาสดาประทานเอง
ในโอกาสที่มีการประชุมใหญ่นี้
พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นพุทธกิจในพรรษาที่
1
พรรษาที่
2, 3 และ 4 พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน
พุทธกิจสำคัญในช่วงนี้คือการเสด็จเยือนกรุงกบิล
พัสดุ์ในพรรษาที่ 2 แสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะจนได้บรรลุอนาคามิผล
พระมหาปชาบดีโคตมีและพระนาง
พิมพาได้บรรลุโสดาปัตติผล โปรดให้พระสารีบุตรบรรพชาราหุลกุมารเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา
ในระยะนี้กษัตริย์
6 พระองค์ คือ พระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระภัคคุ พระกิมพิละ
และพระเทวทัต ได้ออกผนวชพร้อมกับช่างกัลบก
ชื่ออุบาลี
ในระยะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่
ณ วัดเวฬุวันนั้น เศรษฐีชาวกรุงสาวัตถี แคว้นโกศล มีชื่อว่า
อนาถปิณฑิกะ ได้เดินทาง
มากรุงราชคฤห์ และได้สดับพระธรรมเทศนาของพระศาสดาจนได้ดวงตาเห็นธรรม
กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จไป
ประทับที่กรุงสาวัตถี ตนเองกลับไปก่อนเพื่อเตรียมสร้างวัดรอรับเสด็จ
บริจาคทรัพย์ 54 โกฏิ ซื้อที่ดินของพระเจ้าเชตกุมารสร้าง
พระเชตวันมหาวิหารถวายเป็นที่ประทับของพระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์
พระพุทธองค์มักประทับจำพรรษาอยู่ที่พระเชตวัน
มหาวิหารนี้นานที่สุดรวมได้ 19 พรรษา
พรรษาที่
5 พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษานี้ที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน
กรุงเวลาลีอันเป็นเมืองหลวงของแคว้นวัช
ชี ในขณะประทับอยู่ในที่นั้น ทรงทราบข่าวประชวรหนักของพระพุทธบิดาคือพระเจ้าสุทโธทนะ
จึงรีบเสด็จพร้อมพระภิกษุ
สงฆ์ไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธบิดาอยู่
7 วัน ในวันสุดท้ายพระเจ้าสุทโธทนะบรรลุพระอร
หัตและนิพพาน ภายหลังการถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระนางมหาปชาบดีทูลขออุปสมบทเป็นภิกษุณีถึงสามครั้งก็ได้รับการ
ปฏิเสธจากพระพุทธเจ้าถึงสามครั้ง เมื่อพระศาสดาเสด็จกลับกรุงเวสาลี
พระนางมหาปชาบดีได้พาเจ้าหญิงสากิยานีเป็นอันมาก
ตามเสด็จไปขออุปสมบทอีก พระอานนท์ได้ช่วยทูลขอให้พระศาสดาอนุญาตการอุปสมบทพระภิกษุณี
ในที่สุดพระพุทธเจ้าทรง
อนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่า พระนางมหาปชาบดีต้องยอมรับครุธรรม 8
ประการ ซึ่งพระนางก็ยินดีรับครุธรรมนั้นและได้อุปสมบท
ด้วยการยอมรับครุธรรมนั่นเองนับว่าพระนางมหาปชาบดีเป็นพระภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา
ในพรรษานี้จึงมีพุทธบริษัท
ครบสี่ในพระพุทธศาสนา คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เมื่อพระมหาปชาบดีผนวชแล้ว
ประชาชนและเสนาอำมาตย์ได้พร้อม ใจกันอัญเชิญพระเจ้ามหานาม โอรสของพระเจ้าอมิโตทนะเป็นกษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์สืบต่อจากพระเจ้าสุทโธทนะ
ฝ่ายพระ
นางพิมพาได้เสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุณีในระยะนี้
พรรษาที่
6 พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาที่มกุฏบรรพต ทรงทรมานหมู่อสูร
เทพยดา และมนุษย์ให้เสียพยศอันร้าย
แล้ว และให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
พรรษาที่
7 พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่กรุงสาวัตถีในวันเพ็ญเดือน
8 จากนั้นเสด็จขึ้นไปประทับจำพรรษา
บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตรัสแสดงอภิธรรมปิฎกทั้ง 7 คัมภีร์แก่เทวดาและพระพุทธมารดาผู้เสด็จมาจากสวรรค์ชั้นดุสิตเพื่อสดับ
ธรรมเมื่อออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ที่เมืองสังกัสสะ
วันที่เสด็จลงมานั้นเรียกว่า วันเทโวโรหณะ
พรรษาที่
8 พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาที่ เภสกฬามิคทายวัน
ป่าไม้สีเสียด เขตนครสุงสุมารคิระ ในแคว้นภัค
คะ ซึ่งในสมัยนั้นโพธิราชกุมารผู้เป็นพระโอรสของพระเจ้าอุเทนเป็นเจ้าครองนคร
พระพุทธเจ้าแสดงโพธิราชกุมารสูตร ในพระ
สูตรนี้พระพุทธเจ้าตรัสประวัติของพระองค์เองตั้งแต่ออกผนวชจนแสดงปฐมเทศนา
พรรษาที่
9 พระพุทธเจ้าทรงรับอาราธนาของโฆสกเศรษฐีไปประทับจำพรรษา
ณ วัดซึ่งเศรษฐีเป็นผู้สร้างชื่อว่า โฆสิ
ตารามที่กรุงโกสัมพี นครหลวงของแคว้นวังสะอันมีพระเจ้าอุเทนเป็นกษัตริย์ปกครอง
ขณะประทับอยู่ที่นั่น พระพุทธเจ้าแสดง
ธรรมโปรดพระนางมาคันทิยา แต่พระองค์ต้องเผชิญการกลั่นแกล้งจากพระนางมาคันทิยา
ผู้จ้างคนตามด่าพระองค์ นอกจากนั้น พระนางมาคันทิยายังจ้างคนวางเพลิงตำหนักของพระนางสามาวดีจนพระนางสามาวดีถูไฟครอกสิ้นพระชนม์
เพราะกรรมอัน
นั้นพระนางคันทิยาถูกลงโทษประหารชีวิต
พรรษาที่
10 พระภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะกันจนแตกเป็น 2 กลุ่มใหญ่
คือฝ่ายพระวินัยธร และพระธรรมธร พระ
พุทธเจ้าตรัสเตือนให้สามัคคีปรองดองกันก็ไม่มีใครเชื่อฟัง ทรงเบื่อหน่ายระอาพระทัยจึงเสด็จไปอาศัยบ้านปาริไลยกะ
เสด็จจำ
พรรษาที่ควงไม้สาละ ในราวป่ารักขิตวัน ช้างปาริไลยกะมาอุปัฏฐาก
พรรษาที่
11 เสด็จไปจำพรรษาที่ใกล้บ้านนาลายพราหมณ์
พรรษาที่
12 ทรงจำพรรษาที่ปุจิมัณฑพฤกษ์ คือร่มไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงอยู่
ใกล้เมืองเวรัญชา ในพรรษานี้ทรง
บัญญัติพระวินัย ตั้งสิกขาบทเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระภิกษุเป็นครั้งแรก
พรรษาที่
13 ทรงจำพรรษาที่ปาลิไลยบรรพต
พรรษาที่
14 เสด็จไปจำพรรษา ณ พระเชตวันมหาวิหาร พระนครสาวัตถี
พรรษาที่
15 เสด็จไปประทับจำพรรษา ที่นิโครธารามริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี
ในพรรษานี้พวกเจ้าศากยะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์
ยกทัพไปประชิดกองทัพของเจ้าโกลิยะแห่งกรุงเทวทหะเพื่อรบแย่งชิงกรรมสิทธิ์เหนือแม่น้ำโรหิณี
พระพุทธเจ้าเสด็จไปห้ามทัพ
ได้สำเร็จ
พรรษาที่
16 เสด็จประทับจำพรรษาที่เมืองอาฬวี ณ อัคคาเสวเจดีย์
เพื่อโปรดอาฬวกะยักษ์ ขณะประทับอยู่ที่นั่น ได้
แสดงเทศนาหลายเรื่องเช่น อาฬวกสูตร นิกขันตสูตร หัตถสูตร วังคีสสูตร
พรรษาที่
17, 18 และ 19 เสด็จประทับจำพรรษาที่วัดเวฬุวันกรุงราชคฤห์
ขณะประทับอยู่ที่นั่นได้แสดงเทศนา
เรื่องหัตถิกสูตรโปรดหัตถกราชกุมารชาวเมืองอาฬวี และได้แสดงธรรมโปรดธิดาของช่างหูกคนหนึ่งในเมืองอาฬว
ี พรรษาที่
20 ถึง พรรษาที่ 44 พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาที่เชตวันมหาวิหารและบุพพารามสลับกัน
กล่าว
คือทรงจำพรรษาที่เชตวันมหาวิหารที่อนาถปิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย
19 พรรษา และที่บุพพารามซึ่งนางวิสาขาสร้างถวาย 6 พรรษา รวมได้
25 พรรษา
ในพรรษาที่
20 มีเหตุการณ์สำคัญคือพระพุทธเจ้าได้แต่งตั้งพระอานนท์ไว้ในตำแหน่งพระอุปัฏฐากประจำพระองค์
และได้ปราบโจรองคุลิมาลจนหมดพยศขออุปสมบทในพระพุทธศาสนาและต่อมาบรรลุอรหัตผล
ในพรรษาที่
35-36 อชาตศัตรูกุมารเชื่อคำยุยงของพระเทวทัตได้แย่งราชสมบัติจากพระเจ้าพิมพิสารและปลงพระชนม์
พระราชบิดาในเวลาต่อมา ขึ้นครองราชย์ในแคว้นมคธ ได้สดับสามัญญผลสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในราวพรรษาที่
37
ในพรรษาที่
44 พระอัครสาวกทั้งสองคือพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะนิพพาน
ในระยะนี้ พระเจ้าวิฑูฑภะอุปราช
แห่งแคว้นโกศลคบคิดกับทีฆการายนะอำมาตย์แย่งชิงราชสมบัติจากพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นผลสำเร็จครั้นได้ขึ้นเสวยราชย์แล้ว
พระเจ้าวิฑูฑภะยกกองทัพไปทำลายล้างพวกเจ้าศากยะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์จนเกือบจะสิ้นราชวงศ์
แล้วยกกองทัพกลับมาพักพลที่
ชายหาดริมฝั่งแม่น้ำอจิรวดี ในเวลากลางคืนถูกน้ำท่วมสิ้นพระชนม์
แคว้นโกศลจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นมคธอันมี
พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นกษัตริย์
ปรินิพพาน
ในพรรษาที่
45 เป็นพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุในขณะนั้นได้
80 พรรษา ในพรรษานี้พระองค์ได
้เสด็จประทับจำพรรษา ณ เวฬุวคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
ในระหว่างพรรษานี้ พระองค์ทรงประชวรอย่างหนัก มีความ
เจ็บปวดอย่างรุนแรงถึงกับจะปรินิพพาน แต่พระองค์ทรงระงับความเจ็บปวดทรมานด้วยการเข้าเจโตสมาธิอันไร้นิมิต
ในวันเพ็ญ
เดือนสามภายหลังพรรษานั้น พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับ ณ ปาวาลเจดีย์
ตรัสบอกพระอานนท์ว่า พระองค์ได้ตัดสินพระทัยว่า
จะปรินิพพานในเวลา 3 เดือนนับแต่วันนั้น การตัดสินพระทัยเช่นนี้เรียกว่า
ปลงพระชนมายุสังขาร
ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
พระพุทธองค์เสด็จออกจากเมืองเวสาลีแสดงธรรมในที่ต่างๆ จนถึงวันขึ้น
14 ค่ำเดือน 6 เหลืออีก
เพียง 1 วันจะครบ 3 เดือน พระองค์เสด็จถึงเมืองปาวา ประทับอยู่ในสวนมะม่วงของนายจุนทะ
ทรงแสดงธรรมโปรดนายจุนทะ
ให้ได้บรรลุโสดาปัตติผล และนายจุนทะได้อาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตนในวัน
รุ่งขึ้น พระพุทธองค์ทรงรับอาราธนา
วันรุ่งขึ้นตรงกับวันเพ็ญเดือน
6 เสด็จไปฉันภัตตาหารที่บ้านนายจุนทะ ซึ่งเป็นการรับบิณฑบาตครั้งสุดท้าย
พระองค์ฉัน
สูกรมัททวะ ที่นายจุนทะทำถวาย ทรงห้ามมิให้ภิกษุอื่นฉันสูกรมัททวะนั้น
หลังจากอนุโมทนาแล้ว เสด็จออกจากบ้านนายจุนทะ
ในระหว่างทางทรงประชวรหนักขึ้นถึงลงพระโลหิต แต่ทรงบรรเทาทุกขเวทนานั้นด้วยกำลังอธิวาสนขันติและฌานสมาบัติ
เสด็จเดินทางต่อไป ทรงพักเหนื่อยเป็นระยะๆ จนลุถึงเมืองกุสินารา
เสด็จเข้าไปยังดงไม้สาละ รับสั่งให้ปูลาดเสนาสนะระหว่าง
ไม้สาละคู่หนึ่งแล้วเสด็จบรรทมสีหไสยาโดยมิได้คิดจะลุกขึ้นอีก
เวลานั้นต้นสาละทั้งคู่ผลิดอกบานเต็มต้นโปรยดอกหล่นต้องพระ
พุทธสรีระ ประดุจเป็นการบูชาพระพุทธองค์
์ ขณะประทับในอิริยาบถนั้นทรงแสดงธรรมตลอดเวลาทรงแนะนำพระอานนท์ให้ปฏิบัติต่อพุทธสรีระเช่นเดียวกับการ
ปฏิบัติพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิ ในคืนนั้นสุภัททปริพาชกได้ขอเข้าเฝ้าทูลถามปัญหาต่างๆ
พระองค์ทรงตอบปัญหา
ให้เป็นที่พอใจ สุภัททปริพาชกเลื่อมใสทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระองค์ทรงอนุญาตการอุปสมบทให้เป็นพิเศษ
สุภัททะจึงได้
บวชเป็นพระภิกษุ นับเป็นสาวกองค์สุดท้าย อันนี้เป็นหลักฐานยืนยันว่าพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจจนนาทีสุดท้ายแห่งพระ
ชนม์ชีพ
จากนั้น
พระพุทธองค์ทรงเปล่งวาจาเป็นปัจฉิมโอวาทว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมี
ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังประโยชน์ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด
สิ้นพระสุรเสียงนี้ก็มีแต่ความเงียบสงบ พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานในยามสุดท้ายแห่งคืนพระจันทร์เต็มดวงของเดือนวิสาขะ
พระพุทธเจ้าประสูติกลางดินภายใต้ต้นสาละในวันเพ็ญเดือนหก
ตรัสรู้กลางดินภายใต้ต้นมหาโพธิ์ในวันเพ็ญเดือนหก และปรินิพพานกลางดินภายใต้ต้นสาละในวันเพ็ญเดือนหก! |
|
|