Mahachulalongkornrajavidyalaya University
|
|
ประวัติศาสตร์พุทธศานา |
|
พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
กำเนิดพระพุทธศาสนา
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยมและเป็นหนึ่งในสามของศาสนาโลก ศาสนาพุทธเกิดจากพระปัญญาตรัสรู้
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน
๖ ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบล อุรุเวลาเสนานิคม แคว้น
มคธ ประเทศอินเดีย ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้
เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ ๑๑ กิโลเมตร เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว
ได้เสด็จไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เพื่อโปรดปัญจวัคคีย์พระพุทธเจ้าทรงแสดง
ปฐมเทศนาแก่พวกปัญจวัคคีย์ ชื่อ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ผลก็คือทำให้พระอัญญาโณทัญญะได้เป็นพระโสดาบัน
แล้วทูลขอ
อุปสมบทในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ จึงเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก
และพระรัตนตรัยจึงเกิดขึ้นในโลกเช่นกันในวันนั้น ต่อมาได้
ทรงแสดงธรรมอื่นโปรดพระอีก ๔ องค์ จนเป็นพระโสดาบัน และเมื่อพระปัญจวัคคีย์เป็นพระโสดาบันหมดแล้ว
ทรงแสดงธรรมอนัตตลักขณสูตร ผลปรากฎว่า พระปัญจวัคคีย์เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
ต่อจากนั้นได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระยสะ
และพวกอีก ๕๔ ท่านจนเป็นพระอรหันต์หมดจึงมีพระอรหันต์ทั้ง
สิ้น ในครั้งนั้นรวมทั้งพระองค์ด้วยเป็น ๖๑ พระองค์ พระพุทธเจ้าจึงสั่งสาวกออกประกาศศาสนา
โดยมีพระปฐมวาจาในการส่ง
พระสาวกออกประกาศศาสนาว่า ดูก่อนพระภิกษุทั้งหลาย เราหลุดพ้นจากบ่วงทั้งปวง
ทั้งที่เป็นของทิพย์ และของมนุษย์ แม้
พวกเธอได้หลุดพ้นจากบ่วงทั้งปวงทั้งของทิพย์และของมนุษย์เช่นกัน
พวกเธอจงเที่ยวไปเพื่อประโยชน์ และความสุขแก่มหาชน
เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์
พวกเธออย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป จงแสดง
ธรรมให้งามในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะให้ครบถ้วนบริบูรณ์ สัตว์
์ทั้งหลายผู้มีธุลี คือ กิเลส ในจักษุเพียงเล็กน้อยมีอยู่ แต่เพราะโทษที่ยังไม่ได้สดับธรรม
จึงต้องเสื่อมจากคุณที่พึงจะได้รับ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ผู้รู้ทั่วถึงธรรมมีอยู่ แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
เพื่อแสดงธรรม (พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับ
หลวง (เล่ม ๔) ๒๕๒๕ ; ๓๒/๓๒) จึงทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายไปในชมพูทวีปอย่างรวดเร็ว
ชาวชมพูทวีปพากันละทิ้งลัทธิเดิมแล้วหันมานับถือเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้นโดยลำดับ
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว
ฐานะของพระพุทธศาสนาเดิมไม่แน่นอน เจริญบ้างเสื่อมบ้าง อันเนื่องมาจาก
เหตุภายใน คือพุทธบริษัทแตกสามัคคี ส่วนเหตุภายนอก คือ ถูกผู้มีอำนาจในศาสนาอื่นเบียดเบียนทั้งในรูปโดยตรง
คือใช้กำลัง
เข้าทำลาย และโดยอ้อม คือ การกลืนศาสนาในรูปแบบต่าง ๆ แต่ในทางพระพุทธศาสนาได้หาทางแก้ไข
เช่นมีการจัดทำสังคยนา ร้อยกรองพระธรรมวินัย ที่ถูกต้องไว้เป็นหลักฐานสำหรับยึดถือเป็นแบบแผนต่อไป
สังคยนาที่ทำในประเทศอินเดียมี ๓ ครั้ง คือ
ครั้งที่
๑ ได้จัดทำขึ้น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วได้
๓ เดือน โดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธาน พร้อม
ด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น ร่มจัดทำสังคยนา
โดยปรารภเหตุที่สุภัททะวุฑฒบรรพชิต จ้วงจาบ
พระธรรมวินัย การสังคยนาครั้งนี้ทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภูเขาเวภภารบรรพต
นครราชคฤห์ แคว้นมคธ โยมีพระเจ้าอชาตศัตรู
ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ กรำทำอยู่ ๗ เดือนจึงเสร็จ
ครั้งที่
๒ ได้จัดทำหลังจากพุทธปรินิพพานแล้ว ๑๐๐ ปี โดยมีพระยศกากัณฑบุตร
เป็นประธานพร้อมด้วยภิกษุ
สงฆ์ ๗๐๐ องค์ ปรารภพวกภิกษุวัชชีบุตร ผู้ถือวินัยผิดเป็นเหตุ
สังคยนาครั้งนี้การะทำที่วาลุการาม นครไพศาลี โดยมีพระเจ้า
กาลาโศกราชทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ จัดทำอยู่ ๘ เดือน จึงเสร็จ
ครั้งที่
๓ ได้จัดทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วประมาณ ๒๓๔
หรือ ๒๓๕ ปี โดยมีพระโมคคัลลีบุตรเป็นประ
ธาน พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๑,๐๐๐ องค์ เนื่องจากพวกเดียรถีร์มาปลอมบวชเป็นเหตุ
สังคยนาครั้งนี้กระทำที่อโศการาม นคร
ปาตลีบุตร สังคยนาครั้งนี้มีพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้อุปถัมภ์
กระทำอยู่ ๙ เดือน จึงเสร็จ
ครั้งที่
๔ ได้จัดทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วประมาณ ๒๓๘
ปี โดยมีพระหินทรเถระเป็นประธาน พร้อม
ด้วยพระภิกษุ ๖๘,๐๐๐ องค์ เพื่อให้พระพุทธศาสนาเกิดความมั่นคงในประเทศลังกา
สังคยนาครั้งนี้การะทำที่ ถูปาราม เมือง
อนุราชบุรี ประเทศลังกา โดยมีพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์
กระทำอยู่ ๑๐ เดือน จึงเสร็จ
ครั้งที่
๕ ได้จัดทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วประมาณ ๔๔๓
หรือ ๔๕๐ปี โดยมีพระพุทธทัตตะเภระ เป็น
ประธาน พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๑,๐๐๐ องค์ เนื่องจากความเสื่อมถอยกำลังสติปัญญาของมนุษย์
สัคยนาครั้งนี้ทำที่อาโลกเลณ
สถาน มตเลชนบท ประเทศลังกา โดยมีพระเจ้าวัฎฎคามินีอภัย ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์
จัดทำอยู่ ๑๒ เดือน จึงเสร็จ
ครั้งที่
๖ ได้กระทำเมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๐ ณ วัดโพธาราม หรือวัดเจ็ดยอด
เมืองเชียงใหม่ โดยมีพระธรรมทินเถระเป็น
ประธาน และพระเจ้าติโลกราชทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ จัดทำอยู่ ๑๒ เดือน
จึงเสร็จ
ครั้งทึ่
๗ ได้กระทำเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ ณ วัดศรีสรรเพชร หรือวัดมหาธาตุยุวราชชรังสฤษดิ์กรุงเทพฯ
พระพุทธ
ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเป็นผู่อุปถัมภ์ โดยทรงอารธนาพระสงฆ์
๒๑๘ องค์ และฆราวาสราชบัณฑิต ๓๒ คน ช่วยกันชำระ
พระไตรปิฎกแล้วให้จารึกลงในแผ่นใบลานปิดทองทึบ เรียกว่า ฉบับทอง
ทำอยู่ ๕ เดือน จึงเสร็จ
ครั้งที่
๘ กระทำเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
โยมีสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ทวาสโน) เป็นประธาน พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์และฆราวาสบัณฑิตเป็นจำนวนมากร่วมกันชำระพระไตรปิฎก
สังคยนาครั้งนี้พระบาทสม
เด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์
การทำสังคยนาทำให้พระคัมภีร์พระไตรปิฎก
ยังคงรักษาความหมดจดผ่องใส ความถูกต้องไว้ได้ จึงเป็นเหตุให้
พระพุทธศาสนามั่นคง และเจริญเติบโต ทำให้พระพุทธศาสนาแผ่เข้าไปในประเทศต่าง
ๆ เช่นประเทศลังกา พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม ธิเบต สิขิม ภูฐาน
จีน มองโกเลีย เกาหลี และญี่ปุ่น พระพุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลรอบด้านต่อชาวเอเชียจนได้
นามว่า ประทีปแห่งทวีปเอเชีย
พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
สมัยก่อนสุโขทัย
ในพุทธศตวรรษที่
๓ พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์เมารยะ ซึ่งตั้งราชธานีอยู่ที่กรุงปาฏลีบุตรแคว้นมคธใน
อินเดีย ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากจึงโปรดให้ส่งธรรมทูต
อัญเชิญพระพุทธศาสนาจาริกเผยแผ่ไปทั่วทิศานุทิศ ทั้งใน
อินเดียและประเทศอื่นๆ พระองค์ได้จัดคณะพระธรรมทูตออกเป็น ๙
คณะแล้วส่งไปประกาศพระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ ดังนี้
สายที่
๑ มีพระมัชฌันติกเถระเป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ
แคว้นกัษมิระ คือ รัฐแคชเมียร์ ประเทศ
อินเดียปัจจุบัน และแคว้นคันธาระในปัจจุบัน คือ รัฐปัญจาป ทั้งของประเทศอินเดียและประเทศปากีสถาน
สายที่
๒ พระมหาเทวเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นมหิสมณฑ
ปัจจุบันได้แก่ รัฐไมเซอร์
์และดินแดนอถบลุ่มแม่น้ำโคธาวรี ซึ่งอยู่ในตอนใต้ของประเทศอินเดีย
สายที่
๓ พระรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วนวาสีประเทศ
ในปัจจุบันได้แก่ ดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย
สายที่
๔ พระธรรมรักขิตเถระ หรือพระโยนกธรรมรักขิตเถระ (ซึ่งเข้าใจว่าเป็นชาวต่างชาติชาวกรีกที่ได้เข้าบวชใน
พระพุทธศาสนา) เป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ อปรันตกชนบท
ปัจจุบันสันนิษฐานว่า เป็นดินแดนแถบชายทะเล
เหนือเมืองบอมเบย์หรือมุมไบในปัจจุบัน
สายที่
๕ พระมหาธรรมรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ณ แคว้นมหาราษฎร์ ปัจจุบัน ได้แก่ รัฐมหาราษฎร์ของประเทศอินเดีย
สายที่
๖ พระมหารักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเอซัยกลาง
ปัจจุบัน ได้แก่ ดินแดนที่เป็นประเทศอิหร่านและตุรกี
สายที่
๗ พระมัชฌิมเถระ พร้อมด้วยคณะ คือ พระกัสสปโคตรเถระ พระมูลกเทวเถร
พระทุนทภิสสระเถระ และ
พระเทวเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนแอถบภูเขาหิมาลัย สันนิษฐานว่า
เป็นประเทศเนปาล
สายที่
๘ พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่ง
ปัจจุบัน คือ ประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน เช่น ไทย พม่า ลาว เขมร
เป็นต้น
สายที่
๙ พระมหินทเถระ (โอรสพระเจ้าอโศกมหาราช) พร้อมด้วยคณะ คือ พระอริฏฐเถระ
พระอุทริกเถระ พระสัม
พลเถระ และพระหัททสารเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป
ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ กษัตริย์แห่ง
ลังกาทวีป ปัจจุบัน คือ ประเทศศรีลังกา
ชาวสุวรรณภูมิไม่รังเกียจพระพุทธศาสนาที่ชาวอินเดียนำมาเผยแผ่
ส่วนสุวรรณภูมินี้มีศูนย์กลางที่สำคัญอยู่ที่จังหวัด
นครปฐมซึ่งมีพวกมอญและละว้าเป็นคนพื้นเมือง เนื่องจากบริเวณจังหวัด
ดังกล่าวปรากฏซากโบราณสถานมากมายล้วนแต่ใหญ่
่โต สร้างตามคติเก่า เช่น พระสถูปพระปฐมเจดีย์องค์เดิมซึ่งอยู่ภายในพระสถูปใหญ่ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
ตามรูปเดิมสร้างเป็นทรง
โอคว่ำอย่างพระสถูปสัญจิในอินเดีย นอกจากนี้ยังพบธรรมจักรศิลากับกวาง
พระแท่นต่าง ๆ และรอยพระบาท เป็นหลักฐานว่า พระพุทธศาสนาได้มาตั้งมั่นลง
ณ ภาคกลางแห่งประเทศไทย แล้วเจริญงอกงามพัฒนาตลอดมาและได้พัฒนารุ่งเรืองแพร่หลาย
ทั่วไปในแหลมอินโดจีน ยกเว้นดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรนี้ซึ่งเป็นดินแดนเวียดนามตอนเหนือ
ในราวพุทธศตวรรษที่
๖ ทางประเทศอินเดีย พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้เจริญขึ้น พุทธมามกะชาวอินเดียได้นำ
ลัทธิมหายานออกมาสั่งสอนแพร่หลายในคาบสมุทรแห่งนี้ โดยเดินทางมาทางบกผ่านแคว้นเบงกอล
เข้ามาทางพม่าตอนเหนือก็มี เดินทางมาทางทะเลขึ้นที่แหลมมลายู
สุมาตรา และแล่นเรืออ้อมอ่าวเข้ามาทางประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน
ในระหว่างนั้นได้เกิดมี
อาณาจักรฟูนันคือบริเวณดินแดนกัมพูชาในปัจจุบัน และเลยเข้ามาในประเทศไทยตอนกลางและถึงภาคอีสานด้วย
ปรากฏว่า
ประชาชนชาวฟูนันนับถือ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน
จนถึงกับมีสมณทูตชาวฟูนันเดินทางไปแปลพระคัมภีร์
ในประเทศจีน ถึงศตวรรษที่ ๑๑ อาณาจักรฟูนันก็เสื่อมโทรมไป ด้วยถูกอาณาจักรเจนละซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นฟูนันมาก่อนแย่ง
อำนาจ พวกเจนละนับถือศาสนาพราหมณ์ ฉะนั้นพระพุทธศาสนาจึงชะงักความเจริญระยะหนึ่ง
สมัยทวารวดี
ในยุคพุทธศตวรรษที่
๑๑ ขณะที่อิทธิพลของฟูนันสั่นคลอนก็ปรากฏว่าพวกมอญในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถือโอกาสประกาศ
อิสรภาพตั้งเป็นอาณาจักรทวารวดี แล้วเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วทั้งในด้านศิลปะและการพระศาสนา
โดยรักษาจารีตของพระ
พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ซึ่งรับมาแต่ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชไว้อย่างเคร่งครัด
ศูนย์กลางของทวารวดีก็คงอยู่ที่นครปฐมนั่น
เอง ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ปรากฏว่าอานุภาพของทวารวดีได้ขยับขยายเหนือขึ้นไปจนถึงลพบุรี
และได้แผ่ขึ้นไปจนถึงภาค
เหนือของประเทศไทยเป็นเหตุหนึ่งที่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทจากทวารวดีได้ไปตั้งมั่นทางภาคเหนือ
ตกราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ อาณาจักรเจนละ ได้เปลี่ยนเป็นประเทศเขมรโบราณ
อิทธิพลของเขมรโบราณได้แผ่ครอบงำแทนที่อาณาจักรทวารวดี
สมัยศรีวิชัย
ราวพระพุทธศตวรรษที่
๑๒ ในสมัยที่อาณาจักรทวารวดีกำลังรุ่งเรืองอยู่นั้นปรากฏว่าทางภาคใต้ของประเทศไทยได
้เกิดอาณาจักรศรีวิชัยขึ้นที่แหลมมลายู มีอาณาเขตทางเหนือติดกับอาณาจักรทวารวดี
เดิมพลเมืองในอาณาจักรศรีวิชัยนับถือพระ
พุทธศาสนาฝ่ายสาวกยาน ต่อมาราชวงศ์ปาละแห่งมคธอินเดียตอนใต้มีอำนาจขึ้น
กษัตริย์ราชวงศ์นี้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ลัทธิมหายานโดยเฉพาะคือ นิกายมนตรยาน ราชวงศ์ไศเลนทระแห่งอาณาจักรศรีวิชัยซึ่ง
ณบัดนั้นได้แผ่อำนาจราชศักดิ์ครอบงำ
ทั่วคาบสมุทรทะเลใต้และแหลมมลายูแล้วได้มีสัมพันธไมตรีกับราชสำนักปาละ
จึงพลอยได้รับลัทธิมหายานนิกายมนตรยานเข้า
มานับถือด้วย ลัทธิมหายานได้เป็นศาสนาประจำของจักรวรรดิศรีวิชัยซึ่งเป็นจักรวรรดิมลายูตลอดระยะกาลแห่ง
พ.ศ.๑๒๐๐ - ๑๗๐๐ ปีเศษ
ทางตอนเหนือของมลายูในขณะนี้คือ
นครศรีธรรมราช ซึ่งมีชื่อเรียกในยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ว่า เมืองตามพรลิงค์
เป็น
ประเทศราชของจักรวรรดิ์ศรีวิชัย นอกจากนี้อาณาจักรศรีวิชัย ยังเป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาพระปริยัติธรรมที่โด่งดัง
จนถึง
สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ตามเรื่องราวที่ปรากฏในตำนานว่า อิทธิพลศรีวิชัยได้ขยายรุกขึ้นมาถึงประเทศกัมพูชาและบรรดา
ประเทศราชของเขมรในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ๒ คราว เมื่อกลางพุทธศตวรรษที่
๑๓ คราวหนึ่ง และเมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ อีกคราวหนึ่ง พระเจ้าสุริยวรมันที่
๑ ปรากฎว่า น่าจะมีเชื้อสายสืบมาจากพวกศรีวิชัย ดังนั้น ประเทศกัมพูชาและประเทศไทยจึง
ได้รับนับถือลัทธิมหายานตามแบบอย่างศรีวิชัยอีกตั้งแต่พุทธศตวรรษที่
๑๓ เป็นต้นมา พระสงฆ์ฝ่ายมหายานได้สร้างเจดีย์ใหญ่
่ไว้ ๒ แห่ง คือ พระธาตุเมืองไชยา กับพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช
ซึ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญของภาคใต้จนทุกวันนี้
สมัยลพบุรี
ในยุคที่จักรวรรดิ์เขมรมีอำนาจครอบงำประเทศไทย
เราเรียกว่า ยุคลพบุรี มีระยะเวลาราว พ.ศ.๑๕๐๐ - ๑๘๐๐ ปี กษัตริย์เขมรบางพระองค์ก็เป็นพุทธมามกะ
บางพระองค์ก็เป็นพราหมณมามกะ แต่พระพุทธศาสนา ซึ่งแพร่หลายอยู่ในสมัย
ลพบุรีนี้ ปรากฎว่า มีทั้งลัทธิฝ่ายเถรวาทและลัทธิฝ่ายมหายาน
แต่ลัทธิมหายานนิกายมนตรยานได้เจริญงอกงามขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในประเทศกัมพูชาเองและในประเทศไทย
ตั้งแต่ตอนกลางและอีสานบางส่วนลงไป สถานที่สำคัญเกี่ยวกับลัทธิมหายานนิกาย
มนตรยาน เช่น ปราสาทหินพิมาย และพระปรางค์สามยอดที่ลพบุรี เป็นต้น
ราวพุทธศตวรรษที่
๑๖ ชาวไทยได้ตั้งอาณาจักรเป็นปึกแผ่นขึ้นในลานนาภาคเหนือและพายัพของประเทศไทย ปัจจุบันนี้
พระพุทธศาสนาที่ชาวไทยในขณะนั้นนับถือเรียกได้ว่า นับถือรวม
ๆ กันไปทั้งเถรวาทแบบมอญกับลัทธิมหายานแบบเขมร แต่
อิทธิพลของลัทธิเถรวาทมีสูงกว่าลัทธิมหายานมาก
สมัยล้านนา
สมัยล้านนามีนครเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง
สมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.๑๙๗๕๒๐๒๐) ถือว่าเจริญที่สุด นับเป็นยุคทอง
แห่งพระพุทธศาสนา ผลงานด้านศาสนา ได้แก่
ก.
เมื่อ พ.ศ. ๑๙๘๕ ทรงบำเพ็ญกุศลบวชพระชาวเชียงใหม่จำนวน ๕๐๐ รูป
ริมฝั่งแม่น้ำพิงค์
ข.
ทรงสร้างสถูปบรรจุพระอัฐิของพระบิดา ณ วัดป่าแดง สร้างอารามต่าง
ๆ
ค.
ทรงให้ทำสังคายนา คือประชุมตรวจชำระพระไตรปิฎกให้ถูกต้อง การทำสังคยานาฝ่ายหินยานนี้
เคยทำในอินเดีย ๓ ครั้ง ในลังกา ๔ ครั้ง ที่ล้านนาถือเป็นครั้งที่๘
จ.
สร้างโลหะปราสาทและรัตนมาลีเจดีย์
ง.
วรรณคดี คณะสงฆ์ล้านนาแตกฉานในพระไตรปิฎกมาก คัมภีร์ที่แต่งในครั้งนั้นบางเรื่องยังใช้เป็นหลักสูตรของพระ
สงฆ์ในปัจจุบัน และยังมีบทสวดชนิดต่าง ๆ อีกหลายบท เช่น บทสวด
พาหุง เป็นต้น
สมัยสุโขทัย
พระพุทธศาสนาที่ชาวไทยนับถือมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็น
พระพุทธศาสนาฝ่ายหินยานลัทธิลังกาวงศ์ ที่กรุงสุโขทัยได้
้รับมาจากประเทศลังกาผ่านนครศรีธรรมราช เหตุการณ์ตอนที่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์แพร่เข้าสู่สุโขทัยมีรายละเอียดพอ
สรุปได้ดังต่อไปนี้
หนึ่งศตวรรษก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยพระเจ้า
ปรักกมพาหุเสด็จขึ้นครองราชย์ในประเทศลังกาใน พ.ศ. ๑๖๙๖ ทรงฟื้นฟูทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์ด้วยการทำสังคายนา
พระธรรมวินัยครั้งที่ ๗ พระพุทธศาสนาจึงเจริญรุ่งเรือง
ในประเทศลังกาทั้งในด้านการศึกษาและปฏิบัติธรรม กิตติศัพท์ได้เลื่องลือไปถึงประเทศพม่า
พระสงฆ์จากพุกามและมอญได้เดิน
ทางไปศึกษาพระธรรมวินัยและบวชแปลงใหม่ในคณะสงฆ์ลังกา จากนั้นพระสงฆ์ผู้ออกบวชแปลงใหม่ได้พาพระสงฆ์ลังกากลับ
เมืองพุกามและเมืองมอญ ตั้งคณะลังกาวงศ์ขึ้นจนได้รับความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนในเมืองทั้งสอง
ต่อมาพระสงฆ์ชาว
ลังกาชื่อ ราหุล ได้จาริก จากเมืองพุกามมาตั้งคณะลังกาวงศ์ขึ้นที่เมืองนครศรีธรรมราช
และประสบความสำเร็จในการสร้าง
ศรัทธาให้กับประชาชนจนพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์เจริญรุ่งเรืองที่เมืองนครศรีธรรมราช
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงเคารพนับถือนิกายหินยานมากกว่านิกายอื่น
ทั้งนี้อาจจะเป็นเหตุผลทางการเมืองก็ได้ เพราะว่า
กลุ่มคนไทยนับถือหินยาน ส่วนพวกขอมเดิมนับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธมหายาน
เมื่อกำจัดอำนาจขอมออกไป ก็ไม่ต้องการ
สนับสนุนลัทธินิกายของเขาด้วย แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม กลิ่นไอของพราหมณ์กับมหายานยังคงติดแน่นกับชาวสุโขทัยมิได้เสื่อมสิ้น
ไปเสียทีเดียว จะเห็นได้ว่าพระนามของกษัตริย์ สถานที่ ยังเป็นแบบพราหมณ์และแบบของพุทธฝ่ายมหายานอยู่
ครั้นต่อมาถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง
มหายานซึ่งรุ่งเรืองอยู่ทางใต้ คืออาณาจักรศรีวิชัยและที่รุ่งเรืองอยู่ทางตะวันออก
คือ ในประเทศเขมรได้ค่อยๆ เสื่อมลง ประกอบเวลานั้นพระองค์ทรงทราบกิตติศัพท์ว่าพระสงฆ์ที่ได้ไปร่ำเรียนจากลังกา
มาอยู่ที่
นครศรีธรรมราชนั้น ปฏิบัติธรรมวินัยกันเคร่งครัด จึงได้โปรดอาราธนาพระสงฆ์เหล่านั้น
ขึ้นไปตั้งลังกาวงศ์และเผยแผ่ที่กรุง
สุโขทัย
จากการที่คณะสงฆ์ลังกาวงศ์ได้มาร่วมเผยแผ่กิจการด้านศาสนาในกรุงสุโขทัยครั้งนี้
ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงก้าว
หน้าในด้านต่างๆ เช่น
ก.
ด้านการศึกษา พระไตรปิฎกของกรุงสุโขทัยครั้งแรกได้มาจากมอญสมัยทวารวดียังขาดความสมบูรณ์
เมื่อถึงสมัย
ลังกาวงศ์นี้ พระไตรปิฎกคงจะสมบูรณ์ เพราะได้จากลังกามาเพิ่ม
ฉะนั้นการศึกษาของสงฆ์จึงเป็นแบบลังกา คัมภีร์ต่างๆ คงจะ
เป็นอักษรสิงหล คงจะต้องถ่ายทอดอักษรสิงหลเป็นอักษรขอม
ข.
ด้านศิลปะ การสร้างปูชนียสถานแต่ก่อนมามักสร้างตามแบบมหายานเป็นรูปปรางค์
เช่น ปรางค์ วัดพระศรีรัตรมหา
ธาตุ สวรรคโลก ปรางค์สามยอด วัดศรีสวาย และปรางค์วัดพระพายหลวง
สุโขทัย เป็นต้น พ่อขุนรามคำแหงได้ให้เปลี่ยนเป็น
แบบเจดีย์ทั้งสิ้น เช่น พระมหาธาตุ วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว
เป็นต้น
การสร้างพระพุทธรูปของไทยครั้งเก่าไม่เคยมีเปลวรัศมีสูง
ต่อมาพ่อขุนได้พระพุทธสิหิงค์จากลังกา แนวทางสร้างพระ
พุทธรูปได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบลังกา ดังนั้นพระพุทธรูปสุโขทัยเป็นทรงที่สวยงามที่สุด
มีลักษณะอ่อนไหวเหมือนมีชีวิตชีวา
จริงๆ จนได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองแห่งศิลปพุทธศาสนา พระมหาธรรมราชาลิไท
ได้ทรงสร้างปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ
ไว้มากมาย เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระเจดีย์ ต้นโพธิ์
และรอยพระพุทธบาท วัดพระศรีมหาธาตุ พิษณุโลก เป็น
ต้น
ค.
กำเนิดวรรณคดีพระพุทธศาสนา ในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท
มีผู้นำคัมภีร์ทางศาสนาจากลังกามาที่
สุโขทัย ได้แปลเป็นภาษาไทยบ้าง แต่งอธิบายบ้าง แต่น่าเสียดายคัมภีร์เหล่านี้สูญหายหมด
คงเหลือให้เราได้ศึกษาเพียงเรื่องเดียว คือ เตภูมิก๔ หรือ ไตรภูมิพระร่วง
ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของพระองค์เอง
ง.
ด้านประเพณีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ชาวกรุงสุโขทัยมีศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนา
ชีวิตประจำวัน
ผูกพันอยู่กับศาสนา ข้อความในจารึกในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่
๒ ตอนหนึ่งว่า ...คนในเมืองสุโขทัยนี้มักทานมักทรงศีล มัก
โอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัย ทั้งชาวแม่ ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง
ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้หญิงผู้ชาย ฝูง
ท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้ว
เมื่อกรานกฐินมรพนมเบี้ย พนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนนอน
บริพารกฐิน โอยทานแลญิบล้าน ไป สวดญัตติกฐินถึงอรัญญิกพู้น....
จากข้อความในจารึกเราทราบว่า
คนในกรุงสุโขทัยให้ทาน และรักษาศีลเป็นอย่างดี เวลาพรรษาก็รักษาศีลตลอดพรรษา
เมื่อออกพรรษามีประเพณีการทอดกฐิน จัดเบี้ย เครื่องประดับ หมาก
พลู ดอกไม้ หมอน และสิ่งของอย่างอื่นถวายพระ อันแสดง
การเอาใจใส่พระศาสนาเป็นอย่างดี
สมัยอยุธยา
ในสมัยอยุธยาตอนต้น
พระพุทธศาสนารุ่งเรืองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโดยมีผลงานด้านศาสนาดังนี้
ก.
ถวายวังให้เป็นวัด ทรงอุทิศพระราชวังเดิม สร้างเป็นวัด
เดิมคงจะเรียกว่า พุทธาวาส คือ ไม่มีพระสงฆ์ เป็นวัด
ที่อยู่ในกำแพงวังเข่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วย้ายวังขึ้นไปตั้งทางทิศเหนือ
ริมแท่น้ำลพบุรี ต่อมาเรียกวัดนี้ว่า วัด
พระศรีสรรเพชญ์
ข.
ทรงหล่อรูปพระธิสัตว์ ๕๐๐ ชาติ ในปี ๒๐๐๓ มีการละเล่นมหรสพฉลองพระ
และพระราชทานสิ่งของแก่
พระสงฆ์ พราหมณาจารย์ และพสกนิกรทั้งหลาย เป็นการโอยทานครั้งใหญ่
ค.
เสด็จออกผนวช เมื่อพระองค์ได้สร้างวัดเสร็จจุฬามณีเสร็จในปี
พ.ศ. ๒๐๐๘ ได้ทรงออกผนวช ในการบวชครั้งนี้
มีข้าราชการและพระบรมวงศานุวงศ์ออกบวชตามด้วยเป็นจำนวนมากถึง
๒,๓๘๘ รูป เป็นการบวชครั้งยิ่งใหญ่ในประเทศสยาม ในการนี้ทรงสนับสนุนให้เจ้านายและราษฎรเป็นภิกษุสามเณรด้วย
ง.
วรรณคดีศาสนา เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๕ โปรดให้ประชุมสงฆ์และนักปราชญ์ช่วยกันแต่ง
มหาชาติคำหลวง เพื่อสวดให้อุบาสกอุบาสิกาฟัง ซึ่งถือว่ามหาชาติคำหลวงเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาเล่มแรกของสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
หลังจากรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว พระพุทธศาสนาไม่มีจุดเด่นมากนัก
เพพียงแต่ทรงตัวอยู่ได้ตลอดทุกรัชกาล
สมัยกรุงธนบุรี
หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ
พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้ว สภาพของพระพุทธศาสนาซบเซาลงตามสภาพของบ้านเมือง
พระ
สงฆ์ระส่ำระสาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินกอบกู้เอกราชและทรงครองราชแล้ว
ทรงเอาพระทัยใส่ในเรื่องศาสนามาก การทำนุ
บำรุงสังฆมณฑลอยู่ในระยเวลาอันสั้น เพียง ๑๕ ปี เท่านั้น แม้กระนั้นก็ตามในสมัยนี้มีผลงานด้านพระพุทธศาสนาที่แตกต่างไป
จากครั้งกรุงศรีอยุธยาอยู่บ้าง จึงพอสรุปได้ดังนี้
๑.
จัดสังฆมณฑล ทรงให้ประชุมพระเถระทั้งหลายเท่าที่มีอยู่ในราชอาณาจักรณ
วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตา
ราม) เลือกตั้งพระเถระผู้ทรงคุณธรรมที่มีออออายุพรรษาขึ้นไปปเป็นสมเด็จพระสังฆราช
และตั้งพระเถระนุเถระเกล่านั้นเป็น
พระราชาคณะฐานานุกรมใหญ่น้อยตามลำดับ ทรงขอร้องงให้พระภิกษุทั้งปวงอยู่ในพระธรรมวินัย
อย่าให้พระศาสนามัวหมอง หากขัดขัองประสงค์สิ่งใด พระองค์จะทรงอนุเคราะห์
มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า
ถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงมีศีลบริบูรณืในพระพุทธศาสนาแล้ว
แม้จะปรารถนามังสะรุธิระ (เลือด) ของโยม โยมอาจจะ
เชือดเนื้อแลโลหิตออกมาบำเพ็ญทานได้
๒.
ทรงบูรณะพระอารามต่างๆ โปรดให้สร้างพระอุโบสถ วิหาร
เสนาสนะ นะรัอารามทั้งหลาย ประมาณจำนวน
มากกว่า ๒๐๐ หลัง
๓.
บำรุงการเล่าเรียนพระไตรปิฎก โปรดให้สังฆการีธรรมการทำบัญชีพระสงฆ์
หากพระสงฆ์รูปใดบอกเรียนพระ
ไตรปิฎกได้มาก จะทรงถวายไตรจีวรเนื้อละเอียด และพระราชทานจตุปัจจัยแก่พระภิกษุสามเณรตามที่เล่าเรียนได้มากและน้อย
๔.
รวบรวมพระไตรปิฎก โปรดสืบหาต้นฉบับพระไตรปิฏกตามหัวเมืองต่างๆ
ยังคงเหลืออยู่นำมาคัดลอกไว้เพื่อ
สร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงขึ้น
๕.
ชำระพระอลัชชี เมื่อครั้งไปปราบเจ้าพระฝางที่อุตรดิตถ์นั้น
ทรงเห็นว่าพระสงฆ์ประพฤตินอกธรรมวินัย จึง
ประกาศให้บรรดาพระสงฆ์หัวเมืองฝ่ายเหนือมาสารภาพผิดแล้วจะให้สึกออกมารับราชการถ้าไม่ยอมรับจะต้องพิสูจน์ความ
บริสุทธิ์กัน
สมเด็จพระเจ้าตากสิน
ทรงสนพระทัยในพระพุทธศาสนาเป็นที่ยิ่ง ได้รับสั่วสนทนาปัญหาธรรมกับพระเถระเป็นประจำ
สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
(รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔)
พระพุทธศาสนาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
เจริญรุ่งเรืองไม่แพ้ยุคใดที่แล้วมา ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าพระมหากษัตริย์ทุก
พระองค์เป็นหลักชัยในการเสริมส่งปรบปรุงทุกๆ ด้าน
สมัยรัชกาลที่
๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕ ๒๓๕๒)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
ได้ทรงบำรุงพระพุทธศาสนาหลายๆ ด้าน ดังนี้
๑.
การสร้างพระอาราม ทรงสร้างวัดหลายแห่ง ที่สำคัญได้แก่
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดสุทัศน์ เป็นต้น และ
ได้ทรงปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมพระอารามอีกมากกว่า ๑๐ วัด แต่ที่สำคัญที่สุด
คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และโปรดให้เจ้า
นาย ขุนนาง ข้าราชการก็พากันสร้างวัด โดยเสด็จพระราชกุศล กันมากเช่น
สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรง
สร้างวัดมหาธาตุฯ เป็นต้น
๒.
ทรงแก้ไขความวิปริตในสังฆมณฑล หลายประการ เช่น เปลี่ยนนามพระราชาคณะที่พ้องกับพระนามพระ
พุทธเจ้าเป็นนามอื่น ตั้งสมเด็จพระสังฆราช ตั้งพระราชาคณะ และตั้งพระราชาคณะฝ่ายรามัญที่ว่างอยู่
๓. การรวบรวมพระพุทธรูปโบราณ ได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำริดใหญ๋น้อยตามวัดร้างในหัวเมืองฝ่ายเหนือลงมา
พระนคร จำนวน ๑.๒๔๘ พระองค์ โปรดให้ปฏิสังขรณ์แล้วนำไปประดิษฐานตามวัดต่างๆ
๔.
ทรงชำระพระไตรปิฎก โดยจัดหาพระผู้รู้บาลีได้ ๒๑๘ รูป
ราชบัณฑิต ๓๒ คน เป็นกรรมการชำระ เริ่มเมื่อ
ปลายปี พ.ศ. ๒๓๓๑ คณะกรรมการชำระอยู่ ๕ เดือนจึงเสร็จ และโปรดให้คัดจำลองสร้างเป็นฉบับหลวงขึ้น
เรียกว่า ฉบับทอง
ใหญ่ เพราะปิดทองทั้งหมดรวม ๓๕๔ คัมภีร์ และยังมีอีก ๒ ฉบับ
คือ ฉบับรองทรง รวม ๓๐๕ และฉบับทองชุบมีเพียง ๓๕ คัมภีร์
สมัยรัชกาลที่
๒ (พ.ศ.๒๓๕๒-๒๓๖๗)
รัชกาลที่
๒ ได้ทรงบำรุงพระพุทธศาสนา ดังนี้ ๑.
การสร้างพระไตรปิฎก โปรดให้สร้างพระไตรปิฎกฉบับใหม่ขึ้นมา
เรียกว่า ฉบับรดน้ำแดง และทรงให้บูรณะ
มหาชาติคำหลวง ที่แต่งครั้งรัชกาลพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งขาดหายไปและชำรุดไปบ้าง
๒.
การปริยัติศึกษา เดิมการเรียนการสอนได้กำหนดไว้เพียง
๓ ขั้น คือ
บาเรียนตรี
เรียนพระสูตร
บาเรียนโท
เรียนพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม
บาเรียนเอก
เรียนพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม
รัชกาลที่
๒ ได้ทรงเปลี่ยนให้เป็น ๙ ประโยค กำหนดหลักสูตรให้ยากขึ้นตามลำดับ
ตั้งสอบได้ ๓ ประโยคก่อน จึงจะได้เป็นเปรียญ (พระมหา) เมื่อสอบได้
๔ ประโยค เรียกว่า เปรียญ ๔ ประโยค ต่อไปจนสอบได้ประโยค ๙ เรียกว่า
เปรียญ
๙ ประโยค
๓.
ประเพณีวิสาขบูชา พิธีนี้ได้มีมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ทรงกำหนดงาน ๓ วัน ตลอด ๓ วันนี้ พระองค์ทรงรัก
ษาศีลอุโบสถ ปรนนิบัติสงฆ์ ปล่อยสัตว์ ห้ามผู้ใดเสพสุรา ฆ่าสัตว์
ได้ถวายประทีป ตั้งโคมแขวนเครื่องสักการบูชาดอกไว้เพลิง
เวียนเทียน มีพระธรรมเทศนาตามพระอารามหลวง ถวายไทยทานครบ ๓วัน
เป็นต้น
๔.
สังคยนาสวดมนตร์ เนื่องจากเกิดอหิวาตกโรคระบาด ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก
จึงโปรดให้แปลพระปริตร ออกเป็นภาษาไทย และโปรดให้เจ้านายและข้าราชการฝ่ายในฝึกหัดสวดพระปริตรที่หอพระและพระที่นั่งไพศาลทักษิณทุกวัน
สมัยรัชกาลที่
๓
พระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงกระทำเพื่อเสริมสร้างพระพุทธศาสนา
สรุปได้ ดังนี้
๑.
การสร้างพระพุทธรูป ทรงสร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก
ที่พิเศษ มี ๒ องค์ คือ พระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต) อยู่ในวิหารวัดกัลยาณมิตร
และพระพุทธไสยาสน์ อยู่ที่วัดพระเชตุพน เป็นพระปางไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดในประ
เทศไทย และอีกองค์หนึ่งทรงสร้างไว้ที่วิหารวัดราชโอรส และสร้างพระพุทธรูปปางเก่าและใหม่รวม
๔๐ ปาง
๒.
การพระปริยัติศึกษา ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ส่งเสริมการศึกษา
เรียนพระปริยัติธรรม ภิกษุสามเณรได้
้สนองพระราชศรัทธา เมื่อได้รับความร่มเย็นจากพระจริยาวัตรของพระองค์เช่นนี้
ทำให้พระภิกษุสามเณรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ตามบันทึกของชาวยุโรปว่า
ในกรุงเทพฯ มีพระภิษุสามเณรประมาณหมื่นรูป ทั่วราชอาณาจักรมีประมาณแสนรูป
๓.
การสร้างพระไตรปิฎก มีถึง ๕ ฉบับ คือ ฉบับรดน้ำเอก
ฉบับรดน้ำโท ฉบับชุบย่อ และ ฉบับอักษรรามัญ สร้างด้วยฝีมือปราณีต
ตรวจสอบอักขระพยัญชนะอย่างถี่ถ้วน พระองค์เห็นว่า พระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลีและเป็นอักษรขอม
จึงมีพระราชประสงค์จะให้แปลเป็นภาษาไทย จึงโปรดให้วางฎีกาพระสงฆ์
ที่จะถวายเทศน์เราจึงได้คัมภีร์พระไตรปิฎกเป็น อักษรไทยกันมาก
สมัยรัชกาลที่
๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ ๒๔๑๑)
พระราชกรณียกิจของพระองค์ในด้านศาสนา
สรุปได้ดังนี้
๑.
การก่อสร้างและบูรณะวัด พระอารามหลวงที่ทรงสร้างใหม่ในกรุงมี
๕ พระอาราม คือ วัดบรมนิวาส ทรง
สร้างเมื่อยังผนวชอยู่ วัดโสมนัสวิหาร วัดปทุมวนาราม วัดราชประดิษฐ์มหาสีมาราม
และวัดมกุฏกษัตริยาราม ทรงบูรณะวัดอีก ๒ วัด คือ วัดสระเกศ กับวัดอรุณราชวราราม
และบูรณะเจดีย์หลายองค์ เช่น พระสมุทรเจดีย์ พระพุทธบาท และพระปฐมเจดีย์
เป็นต้น
๒.
กำเนิดประเพณีมาฆบูชา ทรงพิจารณาว่าวันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งทางพระพุทธศาสนา
จึงสมควร
จะให้มีการประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลขึ้น เช่นเดียวกับที่ รัชกาลที่
๒ โปรดให้จัดพิธีบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันวิสาขบูชา ในวัดพระศรี
รัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔ เป็นครั้งแรก และโปรดให้ทางราชการถือเป็นกำหนดตลอดมา
ต่อมาวัดอื่นๆ ทั่วราชอาณาจักร
ได้จัดขึ้นเช่นกัน จึงได้ปฏิบัติสืบมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
๓.
สร้างซ่อมพระไตรปิฎก พระองค์โปรดให้ตรวจสอบจำนวนพระไตรปิฎกในหอพระมนเทียรธรรม
ปรากฏว่า
คัมภีร์หายไปจากบัญชีหลายเล่ม จึงโปรดให้สร้างฉบับที่ขาดหายไปจนครบ
และโปรดให้สร้างพระไตรปิฎกฉบับใหม่อีกฉบับ
หนึ่ง มีชื่อว่า ฉบับล่องชาด
๔.
บำรุงพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เนื่องจากมีพวกญวนที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานอพยพเข้ามา
พึ่งพระบรมโพธิสมภารหลายครั้ง เช่น องเชียงชุน เข้ามาในสมัยกรุงธนบุรี
องเชียงสือ เข้ามาในรัชกาลที่ ๑ กลุ่มชาวญวนเข้ามา
ในรัชกาลที่ ๓ เป็นต้น แต่ละครั้งได้มีพระญวนเข้ามาด้วย สมัยรัชกาลที่
๔ ทรงผนวชอยู่ ได้เคยเสด็จไปมาหาสู่กับพระญวนบ่อย ๆ จนทรงคุ้นเคย
เมื่อพระองค์ได้เสวยราชสมบัติ จึงได้โปรดให้นิมนต์พระญวนมาทำพิธีกงเต็กเป็นครั้งแรก
และเมื่อญวนที่มาตั้ง
บ้านเรือนอยู่บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม ได้สร้างวัดขึ้น ได้พระราชทานนามว่า
วัดสมณานัมบริหาร คือ วัดญวนสะพานขาว นิกายนี้จึงเจริญสืบต่อมา
สมัยรัตนโกสินทร์ตองกลาง
รัชกาลที่
๕ รัชกาลที่ ๘
สมัยรัชกาลที่
๕
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา พระองค์ได้เสด็จออกผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๖ โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ เป็นพระราชอุปัชฌายะ พระองค์มีพระราชกรณียกิจ
ด้านศาสนา คือ
๑.
การสร้างและบูรณะวัด พระองค์ทรงโปรดให้สร้างวัดราชบพิธ
เป็นวัดประจำรัชกาล และวัดเทพศิรินทรา
วาส และวัดเบญจบพิตร ส่วนหัวเมืองไว้ เช่นที่ เกาะสีชัง มีวัดอัษฎางคนิมิตร
และวัดจุฑาทิศราชธรรมสภา และวัดนิเวศน์ธรรม
ประวัติ ที่บางปะอิน และได้ทรงบูรณะพระอารามต่าง ๆ ทั้งในกรุงและนอกกรุงอีกมากมรวมทั้งองค์พระปฐมเจดีย์ด้วย
๒.
ให้วัดเป็นโรงเรียน เนื่องจากในสมัยนั้นโรงเรียนยังไม่แพร่หลายและมีพ่อแม่ได้นำลูกไปฝากวัดเพื่อให้เล่าเรียน
จึงโปรดแต่งตั้งพระราชาคณะ พระครูฐานานุกรม เปรียญ อันดับ ให้เป็นครูวันละ
๕ รูป เป็นอย่างน้อย ทั้งพระอารามหลวงและ
อารามราษฎร์ ถ้าไม่มีพระสงฆ์ จะใช้คฤหัสถ์เป็นครูได้ จะพระราชทานเงินเดือนให้
เนื่องจากพระองค์เห็นความสำคัญในการ
เรียน จะเป็นคุณประโยชน์ที่จะเรียนพระไตรปิฎกต่อไป เพื่อเป็นการเกื้อกูลพระศาสนา
ถ้าเป็นคฤหัสถ์จะได้เป็นกำลังแก่ทาง
ราชการ
๓.
มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย พระองค์ทรงมุ่งหวังที่จะขยายการศึกษาของชาติให้กว้างขวางยิ่งขั้นกว่าเก่า
สมัยรัชกาลที่
๖ ถึงรัชกาลที่ ๘
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ
ได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ พุทธศักราช (พ.ศ.) แทนรัตนโกสินทรศก (ร.ศ.)
ตั้งแต่ วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๖ ดังนั้นวันที่ ๑ เมษายน จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่
ในครั้งนั้น ได้มีเพลงมีเนื้อร้องว่า "วันที่หนึ่ง เมษายน
ตั้งต้นปี
ใหม่..." สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงริเริ่มการศึกษาพระปริยัติธรรมขึ้นอีกหลักสูตรหนึ่ง
เพิ่มเติม
จากการสอนบาลีสนามหลวง เรียกว่า นักธรรม โดยมีการสอบครั้งแรก
เมื่อเดือนตุลาคม ๒๔๕๔
ในปี
พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้จัดระเบียบสมณศักดิ์ใหม่
โดยแยกสมณศักดิ์ออกเป็น ฝ่ายฐานันดร และฝ่ายตำแหน่ง ฝ่ายฐานันดรคือยศจัดเป็น
๒๑ ขั้น ตั้งแต่สมเด็จพระมหาสมณ ไปจนถึงพระพิธีธรรม ดังนี้
สมเด็จพระมหาสมณ
สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะชั้นหิรัญบัตร พระราชาคณะชั้นธรรม
พระราชาคณะ
ชั้นเทพ พระราชาชั้นราช พระราชาคณะชั้นสามัญ พระครูสังฆปาโมกข์หัวเมืองนิตยภัต
๑๒ บาท และพระบาเรียน ๙ ประโยค พระครูนิตยภัต ๘ บาท และพระบาเรียน
๘ ประโยค พระครูนิตยภัต ๖ บาท และพระบาเรียน ๗ ประโยค พระครูเจ้าคณะรอง
หัวเมือง พระครูเจ้าคณะแขวงมีราชทินนาม พระครูปลัดและพระบาเรียน
๖ ประโยค พระครูวินัยธร พระครูวินัยธรรมและพระ
บาเรียน ๕ ประโยค พระครูคู่สวด และพระบาเรียน ๔ ประโยค พระปลัดของพระราชาคณะสามัญและพระบาเรียน
๓ ประโยค พระครูรองคู่สวด พระครูสงฆ์และพระผู้อุปการะโรงเรียนหนังสือไทย
พระครูเจ้าคณะแขวงไม่มีราชทินนาม พระครูสมุห์พระ
ครูใบฎีกา พระสมุห์และพระใบฎีกา พระฐานานุกรมเจ้าอธิการและพระอุปัชฌาย์
พระอธิการ พระพิธีธรรม ฝ่ายตำแหน่ง จัดเป็น ๑๑ ลำดับ คือ สกลสังฆปริณายก
มหาสังฆปริณายกหรือเจ้าคณะใหญ่สังฆนายก หรือเจ้าคณะรอง เจ้าคณะมณฑลและคณาจารย์
์เอก รองเจ้าคณะมณฑล เจ้าคณะเมือง เจ้าคณะแขวงในกรุงเทพฯ ปลัดและคณาจารย์โท
รองเจ้าคณะเมือง เจ้าคณะหมวดใน
กรุงเทพฯ และคณาจารย์ตรีรองเจ้าคณะแขวง เจ้าอาวาสและอาจารย์ใหญ่
รองเจ้าอาวาสและอาจารย์ของ พระบาทสมเด็จพระ
ปกเกล้าฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐจบละ ๔๕
เล่ม พระราชทานไปยังต่างประเทศด้วย ในรัชสมัยพระ
บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
พ.ศ. ๒๔๘๔ มีสาระที่สำคัญคือ จัดการ
ปกครองสงฆ์ให้อนุโลมตามระบอบการปกครองบ้านเมืองเท่าที่ไม่ขัดกับพระธรรมวินัย
สรุปแล้วคณะสงฆ์ไทย
เป็นลัทธิหินยานแบบเถรวาท ยึดถือ พระธรรมวินัย อันเป็นพุทธบัญญัติ
มีพระมหากษัตริย์
์เป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย
เป็นราชธานี จนถึงปัจจุบัน
รัชกาลที่
๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จขึ้นครองราชย์ในระยะที่ประชาธิปไตยกำลังก้าวหน้า พ.ร.บ.
คณะสงฆ์ ๒๔๘๔ ซึ่งเป็น พ.ร.บ. ประชาธิปไตย พึ่งจะใช้มาได้ ๔
- ๕ ปี การคณะสงฆ์ดูเหมือนเป็นเอกภาพพอสมควร แม้จะมี
คลื่นใต้น้ำอยู่บ้างในบางแง่แต่ก็เกิดจากผู้มักใหญ่หรือยึดมั่นในทิฐิของคณะเท่านั้น
เสด็จออกผนวช
รัชกาลที่
๙ ได้เสด็จออกผนวชเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ ประทับ ณ วัดบวรนิเวศเป็นเวลา
๑๕ วัน นับเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๔ ที่เสด็จออกผนวชขณะที่ครองราชย์สมบัติอยู่
พระองค์ได้โปรดให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีเข้าเฝ้าเมื่อวันที่
๑๒
กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ และทรงแจ้งพระราชประสงค์ให้ทราบซึ่งนายกรัฐมนตรีได้แสดงความโสมนัสเป็นที่ยิ่งต่อพระราช
ประสงค์นี้คณะรัฐมนตรีจึงมีมติแต่งตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่งมีพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาภพฤติยากรประธานองคมนตรี
เป็นประธาน เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชประเพณี
วันที่
๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ พระองค์ได้มีกระแสพระราชดำรัสแก่ประชาชน
มีความตอนหนึ่งว่า
อันพระพุทธ
ศาสนาซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของเรา ตามความอบรมที่ได้รับมาก็ดี
ตามศรัทธาส่วนตัวของข้าพเจ้าก็ดี นับเป็นศาสนาหนึ่งที่มี
คำสั่งสอนที่ชอบด้วย เหตุผล ข้าพเจ้าเคยคิดอยู่ว่า ถ้าโอกาสอำนวยก็น่าจะได้อุปสมบทในพระศาสนาตามประเพณีสักเวลาหนึ่ง
ซึ่งจักเป็นทางสนองพระเดชพระคุณราชบุพการีตามคตินิยมอีกโสดหนึ่งด้วย
วันที่
๒๓ ตุลาคม เวลา ๑๔.๐๐ จึงเสด็จไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
โดยมีสมเด็จพระสังฆราชวชิร
ญาณวงศ์ เป็นพระราชอุปัชฌายะ สมเด็จพระวันรัต (ปลด) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
เป็นพระอนุสาสนาจารย์ และพระ
ศาสนโสภณ (จวน) วัดมกุฎฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เสร็จพระราชพิธีเมื่อ
เวลา ๑๗.๔๕ น. ทรงได้รับพระฉายานามว่า ภูมิ
พโล และได้ทรงลาผนวชเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ เวลา ๑๐.๑๕
รวมเป็นเวลาได้ ๑๕ วัน |
|
|