๑. เกริ่นนำ นักการเมือง นักการศึกษา และนักวิชาการด้านสันติภาพในสังคมไทยได้นำเสนอคำว่า “สันติวิธี” ในสังคมหลายมิติ และหลายสถานการณ์ด้วยกัน เช่น ประเวศ วะสีได้แนะนำรัฐบาลเกี่ยวสถานการณ์ภาคใต้ว่า “รัฐบาลควรถอนกำลังทหารออกมา โดยปรับแนวทางแก้ปัญหาด้วยการใช้ ‘สันติวิธี’” หรือ กรณีที่ นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ได้กล่าวถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่า “อยากให้อโหสิกรรมกันและพยายามเจรจาด้วย ‘สันติวิธี’… และควรจะปรึกษาหารือกันด้วย ‘สันติวิธี’ ” ประเด็นที่น่าสนใจในสถานการณ์ปัจจุบันนี้คือ นักคิด และนักปฏิบัติการด้านสันติวิธีได้ตีความสันติวิธี และการปฏิบัติบนบาทฐานของสันติวิธีในแง่มุมที่หลากหลาย ด้วยเหตุนี้ จึงก่อให้เกิดคำถามที่นำไปสู่การเขียนบทความในครั้งนี้ และพบคำตอบที่สำคัญว่า สันติวิธีในสังคมไทยปัจจุบันนี้ “เปรียบประดุจทางสามแพร่ง” เพราะเป็น “สามแพร่ง” ที่มีแง่มุมในการตีความและการปฏิบัติที่มีลักษณะเหมือนกันและแตกต่างกันในบางประเด็น และบางครั้งดูประหนึ่งว่า “ยากที่จะบรรจบ และค้นพบทางออกร่วมกัน” การทำความเข้าใจสันติวิธีบนเส้นทางสามแพร่ง จะทำให้เราได้มองเห็นมุม หรือเหลี่ยมต่างๆ ของสันติวิธีที่เป็นพื้นฐานของการตีความและปฏิบัติการในบริบทต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบันนี้ว่า “สันติวิธีในเส้นทางสามแพร่งนั้นมีความหมายอย่างไร และมีความเป็นมาอย่างไร วิธีคิดและแนวปฏิบัติเหมือนกัน หรือสอดคล้องกันอย่างไร มีแนวทางที่จะบรรสานสอดคล้องกันได้หรือไม่ อย่างไร อ่านบทความฉบับเต็ม