หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. » พระพุทธเจ้าในฐานะนักเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง
 
เข้าชม : ๑๙๗๕๕ ครั้ง

''พระพุทธเจ้าในฐานะนักเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง''
 
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร. (2553)

 

พระพุทธเจ้าในฐานะนักเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง
โดย
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร.
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
ผู้อำนวยการสำนักงานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
+++++++++++++

๑. เกริ่นนำ
               นักขัดแย้งวิทยา (Conflict Theorists) ที่จัดอยู่ในกลุ่มของนักสังคมวิทยา (Social Theorists) มองว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” (Social Animals) ที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตจากการคบหาสมาคมซึ่งกันและกันของบุคคลในสังคม ซึ่งการที่มนุษย์จะสามารถดำรงชีวิตอยู่รอดในสังคมได้นั้น ก็จำเป็นที่จะต้องอาศัยปัจจัยทางชีวภาพ และปัจจัยด้านอื่น ๆ เพื่อสนอง “ความต้องการ” ของตนเอง คำถามมีว่า “ความอยาก หรือความต้องการ” ได้เข้าไปสัมพันธ์กับความขัดแย้งอย่างไร เพราะการที่มนุษย์และสังคมไม่เข้าใจธรรมชาติของความอยากหรือความต้องการอย่างแท้จริงใช้หรือไม่ จึงทำให้ “ติดกับดัก” ของความขัดแย้ง

               ในขณะเดียวกัน เมื่อมนุษย์ และสังคมเกิดความขัดแย้ง พระพุทธเจ้าทรงมีพุทโธบายในการจัดการความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการในการทำหน้าหน้าที่นักเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลางอย่างไร เมื่อพระพุทธเจ้าดำรงตนอยู่ในสถานะนักเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง พระองค์สามารถที่จะดำเนินการไกล่เกลี่ยได้ทุกกรณี หรือว่ามีกรณีใดที่พระองค์ไม่สามารถที่จะทำให้คู่กรณีสามารถเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดให้แก่ตัวเอง ฉะนั้น ก่อนที่จะค้นหาคำตอบดังกล่าว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจความขัดแย้งในมิติของพระพุทธศาสนา เพื่อจะตอบประเด็นที่ว่า พระพุทธเจ้าเข้าไปไกล่เกลี่ยคู่กรณีที่เกิดความขัดแย้งอย่างไร
 

อ่านบทความฉบับเต็ม

(ที่มา: บทความทางวิชาการ)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕