หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » พระศรีคัมภีรญาณ » พุทธวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยกรอบแห่งอธิกรณสมถะ ๗ : ศึกษาแนวการประยุกต์ใช้สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกาวินัย
 
เข้าชม : ๒๖๓๗๒ ครั้ง

''พุทธวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยกรอบแห่งอธิกรณสมถะ ๗ : ศึกษาแนวการประยุกต์ใช้สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกาวินัย ''
 
พระศรีคัมภีรญาณ

ลักษณะและสาเหตุของปัญหาความขัดแย้งตามกรอบธรรมเนียมขององค์กรสงฆ์
       สิ่งที่เป็นปัญหาหรือบางทีไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นกิจที่จะต้องได้รับการบริหารจัดการให้สำเร็จ ลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบาย เรียกตามภาษาพระพุทธศาสนาว่า  อธิกรณ์ พระพุทธศาสนาพูดถึงอธิกรณ์  ๔  อย่าง ๒  ในที่นี้จะอภิปรายเฉพาะ วิวาทาธิกรณ์ ว่าด้วยปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับหลักการในองค์กรสงฆ์
       วิวาทาธิกรณ์ คือ กรณีที่แสดงออกทางกายและวาจา แสดงถึงความบาดหมาง ความ ทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความกล่าวต่างกัน ความกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อ ความกลัดกลุ้มใจ  การด่าทอในเรื่องนั้นๆ  เรียกรวมๆว่า  ความคิดเห็นขัดแย่งกันในเรื่องที่ว่า (๑)  นี้ธรรม  (๒)  นี้อธรรม  (๓)  นี้วินัย  (๔)  นี้ไม่ใช่วินัย  (๕)  นี้ตถาคตภาษิตไว้ตรัสไว้  (๖)  นี้ ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้ตรัสไว้ (๗) นี้จริยาวัตรที่ตถาคตได้ประพฤติมา (๘) นี้จริยาวัตรที่ตถาคต ไม่ได้ประพฤติมา (๙) นี้ตถาคตบัญญัติไว้ (๑๐) นี้ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ (๑๑) นี้อาบัติ (๑๒) นี้ อนาบัติ (๑๓) นี้อาบัติเบา (๑๔) นี้อาบัติหนัก (๑๕) นี้อาบัติมีส่วนเหลือ (๑๖) นี้อาบัติไม่มีส่วน เหลือ (๑๗) นี้อาบัติชั่วหยาบ (๑๘) นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
       ความขัดแย้งในประเด็นดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ใน ๒ ลักษณะ คือ
       ลักษณะที่ ๑ เกิดจากคน ๒ คนหรือฝ่ายมีความคิดเห็นแตกต่างตรงกันข้ามกัน โดย หาข้อยุติไม่ได้ เช่น ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า นี้ธรรม อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า นี้อธรรม ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า นี้วินัย อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า นี้ไม่ใช่วินัย ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า นี้เป็นอาบัติ อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า นี้ไม่เป็นอาบัติ ลักษณะที่  ๒  เกิดจากคน  ๒  คนหรือฝ่าย  คือ  ฝ่ายที่แสดงความเห็นบิดเบือน  เช่น แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย แสดงวินัย ว่ามิใช่วินัย แสดงกรณีที่เป็นอาบัติว่าไม่เป็นอาบัติ แสดงกรณีที่ไม่เป็นอาบัติว่าเป็นอาบัติ กับฝ่าย ที่แสดงความเห็นตามความเป็นจริง เช่น แสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม แสดงธรรมว่าเป็นธรรม รวมเป็น ๙ คู่กรณี ๑๘ ประเด็น ปัญหาความขัดแย้งอย่างนี้ในองค์กรสงฆ์ ถือเป็นเรื่องใหญ่เพราะ เกี่ยวกับหลักการ เป็นทิฏฐิในกระบวนการกลุ่ม เป็นกระแสที่มีพลังมากในสังคมสงฆ์ ถ้าจัดการ ไม่เป็นระบบ จะทำให้เกิดความลุกลามใหญ่โตนำไปสู่ความแตกแยกในองค์กรหรือสังคมประเทศ ชาติ และท้ายที่สุดอาจทำให้เกิดความล้มสลายได้

       เรื่องของภิกษุชาวกรุงโกสัมพีเป็นกรณีที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง เรื่องมีอยู่ว่า  ณ อาวาสแห่งหนึ่งในกรุงโกสัมพี มีภิกษุอยู่ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มสุตตันติกะ สุตตันติกะเข้าห้องสุขา (วัจกุฎี) เหลือน้ำชำระไว้ในภาชนะแล้วออกมา พระอุปัชฌาย์ของพวก วินัยธรเข้าไปทีหลัง เห็นน้ำนั้นจึงออกมาถามภิกษุสุตตันติกะว่า "ท่านเหลือน้ำไว้หรือ ?"
            ภิกษุสุตตันติกะตอบว่า "ผมเหลือน้ำไว้"
            ภิกษุวินัยธรถามว่า "ในกรณีนี้ ท่านไม่รู้ว่าเป็นอาบัติหรือ ?"
            ภิกษุสุตตันติกะตอบว่า "ผมไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ"
            ภิกษุวินัยธรกล่าวว่า "ท่าน ในกรณีนี้มีอาบัติอยู่"
            ภิกษุสุตตันติกะกล่าวว่า "ถ้ามีอาบั ติ ผมจะแสดงอาบัติ"
            ภิกษุวินัยธรกล่าวว่า "ท่าน ถ้าไม่จงใจ ไม่มีสติ ก็ไม่มีอาบัติ" 
       เมื่อภิกษุวินัยธรกล่าวอย่างนี้ ภิกษุสุตตันติกะจึงมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัต ฝ่ายภิกษุวินัยธรบอกพวกนิสิต(ศิษย์)ของตนว่า "ภิกษุสุตตันติกะนี้ แม้ต้องอาบัติก็ไม่รู้" พวกนิสิต ของภิกษุวินัยธรจึงไปกล่าวกะพวกภิกษุสุตตันติกะว่า "อุปัชฌาย์ของพวกท่าน แม้ต้องอาบัติแล้ว ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ" พวกภิกษุสุตตันติกะจึงไปบอกแก่พระอุปัชฌาย์ของตน
       พระอุปัชฌาย์ของพวกภิกษุสุตตันติกะกล่าวว่า  "ในตอนต้น  ภิกษุวินัยธรนี้กล่าวว่า 'ไม่มีอาบัติ' แต่ตอนนี้กลับกล่าวว่า 'มีอาบัติ' ภิกษุวินัยธรนี้พูดเท็จ" พวกภิกษุสุตตันติกะจึงไป กล่าวกะพวกภิกษุวินัยธรว่า "อุปัชฌาย์ของพวกท่านพูดเท็จ"   ในขณะเดียวกัน ภิกษุวินัยธรก็ลง  ทั้ง ๒ กลุ่มก็ก่อความทะเลาะกันขยายวงกว้างออกไปจนถึงพวกอุบาสกอุบาสิกาผู้ถวายความอุปถัมภ์ แก่พวกภิกษุ ๒ กลุ่มนี้
       ปัญหาความขัดแย้งในหมู่ภิกษุชาวกรุงโกสัมพีเกี่ยวข้องกับการแสดงความเห็นว่า นี้ธรรมนี้ อธรรมนี้วินัยนี้ไม่ใช่วินัยนี้อาบัติ(เป็นอาบัติ) นี้อนาบัติ(ไม่เป็นอาบัติ) นี้อาบัติเบา นี้อาบัติหนัก เป็นต้นดังกล่าวมานั้น ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ เป็นพฤติกรรมกลุ่มไม่ใช้ปัจเจกะ
       ในองค์กร สังคม ประเทศชาติก็เช่นเดียวกัน ถ้าเป็นเรื่องของสามีกับภรรยาทะเลาะกัน พี่น้องทะเลาะกัน เพื่อนบ้านทะเลาะกัน อย่างนี้ถือเป็นเรื่องปัจเจกะ ไม่ใช่เรื่องที่มีนัยสำคัญอะไร ถึงจะลุกลามใหญ่โตแต่ก็ไม่มีผลทำให้องค์กร สังคม ประเทศแตกแยกล่มสลาย เพราะเป็นเพียง อารมณ์ความรู้สึกที่ชอบไม่ชอบ เป็นเรื่องผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว เป็นเรื่องการแก่งแย่งอะไรบางอย่าง แต่ปัญหาความขัดแย่งที่ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ก็คือที่เกี่ยวกับหลักการ เช่น หลักศาสนา แนวความ คิดทางการเมือง ซึ่งบางทีสาเหตุไม่ได้มาจากผลประโยชน์ ไม่ได้มาจากความโลภ ความโกรธ ความ หลง ไม่ได้มาจากกิเลสตัณหาอื่นใดเลย แต่มาจากความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มที่ไม่ตรงกันจริง ๆ 
      เมื่อนำเอากรอบหรือวังวนความขัดแย้ง ๙ กรณี ๑๘ ประเด็นรวมทั้งกรณีความขัดแย้ง ของพวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพี ๒ กลุ่มมาวางทาบกับเหตุการณ์ความขัดแย่งในสังคมปัจจุบัน จะเห็น ได้ชัดว่า อยู่ในกรอบหรือวังวนเดียวกัน   แต่จะมีข้อแตกต่างกันตรงที่วิธีการตัดสินขั้นสุดท้ายว่า "ฝ่ายไหนถูก ฝ่ายไหนผิด" ซึ่งจะอภิปรายในโอกาสต่อไป ขอยกกรณีความขัดแย้งทางการเมือง เป็นตัวอย่าง
       ฝ่ายรัฐบาลบอกว่า "นโยบายนี้ถูกต้อง เป็นธรรม" ฝ่ายค้านบอกว่า "นโยบายนี้ไม่ถูก ต้อง ไม่เป็นธรรม" ฝ่ายรัฐบาลบอกว่า "นโยบายนี้ถูกต้อง สอดคล้องกับกฎหมาย" ฝ่ายค้านบอกว่า "นโยบายนี้ไม่ถูกต้อง ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย"
       ฝ่ายรัฐบาลบอกว่า "นโยบายนี้รัฐบาลชุดก่อนได้ทำมาแล้ว" ฝ่ายค้านบอกว่า "นโยบาย นี้ รัฐบาลชุดก่อนไม่ได้ทำมา" ฝ่ายรัฐบาลบอกว่า "กฎหมายนี้รัฐบาลชุดก่อนตราเอาไว้" ฝ่ายค้าน บอกว่า "กฎหมายนี้ รัฐบาลชุดก่อนไม่ได้ตราไว้"
       ฝ่ายรัฐบาลบอกว่า "นโยบายนี้ถูกกฎหมาย" ฝ่ายค้านบอกว่า "นโยบายนี้ผิดกฎหมาย" หรือบางกรณีฝ่ายรัฐบาลอาจจะบอกว่า "ผิดกฎหมาย" แต่ฝ่ายค้านบอกว่า "ถูกกฎหมาย" โดยสรุป ก็คือมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับหลักการ นโยบาย วิธีคิด ซึ่งกล่าวเฉพาะในด้านความรู้สึกแล้ว ตัดสินไม่ได้ว่าฝายไหนถูก ฝ่ายไหนผิด  ทุกฝ่ายล้วนเห็นว่าตัวเองถูกทั้งสิ้น
       ความเห็นขัดแย่งกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือส่วนรวม ในเบื้องต้น ล้วนแล้วแต่เกิด จากลักษณะนิสัยส่วนบุคคลหรือปัจเจกะทั้งสิ้น เช่น ความเป็นผู้มีลักษณะนิสัยโกรธง่ายหายยาก ชอบลบหลู่ตีเสมอคนอื่น มีนิสัยริษยา อวดดี ปรารถนาชั่ว มีความเห็นผิด ยึดถือความเห็นของ ตนเป็นใหญ่  คนเช่นนี้มักไม่มีความเคารพ  ไม่มีความยำเกรงในพระรัตนตรัย  ไม่หมั่นปฏิบัติ บำเพ็ญในไตรสิกขา ผู้ที่มีจิตประกอบด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง เมื่อถึงคราวแสดง ความคิดเห็นก็แสดงความคิดอันนำไปสู่ความขัดแย้ง เมื่อตกอยู่ในอำนาจกิเลสเหล่านี้มาก ๆ เข้า ก็ทำให้ขาดความอดทน(ขันติ)  และความสงบเสงี่ยม(โสรัจจะ)  แสดงอารมณ์ฉุนเฉียวรุนแรง ใส่กันและกัน เหล่านี้เป็นสาเหตุฝ่ายอกุศลคือฝ่ายชั่ว
       ไม่เพียงแต่เท่านั้น เฉพาะในประเด็นความเห็นเกี่ยวกับหลักการที่ว่า นี้ธรรม นี้อธรรม นี้วินัย นี้ไม่ใช่วินัย   นี้เป็นอาบัติ นี้ไม่เป็นอาบัติ นี้อาบัติเบา นี้อาบัติหนัก นโยบายนี้เป็นธรรม นโยบายนี้ไม่เป็นธรรม นโยบายนี้ถูกกฎหมาย นโยบายนี้ไม่ถูกกฎหมาย เป็นต้นนี้ แม้แต่ผู้มีจิต ปราศจากความโลภ ปราศจากความโกรธ ปราศจากความหลงก็ยังมีความคิดเห็นขัดแย่งกันได้ ทั้ง ๆ ที่มีจิตเป็นกุศล เพราะอย่างที่กล่าวแล้วนั่นเองว่า "หลักการของแต่ละบุคคลเป็นเรื่องความคิดเห็น และความเชื่อในความคิดเห็นนั้นจนเกิดความยึดมั่นถือมั่นขึ้นมา เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน" ปัญหาที่ เกิดขึ้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเห็น(ทิฏฐิ)  เป็นหลัก  ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานด้านผลประโยชน์ ส่วนตน  อาจมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องเล็กน้อย  มีกรณีตัวอย่างในวงการศาสนาสมัย พระพุทธเจ้า เช่น ความคิดเห็นแย้งกันของภิกษุกลุ่มต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง หรือ ความขัดแย้งระหว่างเจ้าลัทธิต่าง ๆ กรณีตัวอย่างในวงสังคมหรือการเมือง เช่น ความขัดแย้งระหว่าง พรรคการเมือง ระหว่างองค์กรที่ไม่มีผลประโยชน์ (NGO) กับหน่วยงานราชการ ระหว่างผู้นำ ทางศาสนากับผู้นำทางการเมือง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งตามกรอบธรรมเนียมขององค์กรณ์สงฆ์
       ปัญหาความขัดแย้งในสังคมมีอยู่หลายระดับและหลายลักษณะ ความขัดแย้งบางกรณี ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องดำเนินการให้แก้ไขตามกรอบทฤษฎีใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นหลักพระธรรมวินัยหรือ ทฤษฎีของนักคิดตะวันตก เช่น พระ ก. ขัดแย้งกับพระ ข. บิดามารดากับลูกขัดแย้งกัน พี่ชาย น้องชายทะเลาะกัน พี่สาวน้องสาวทะเลาะกัน  ความขัดแย้งแบบนี้เป็นเรื่องปัจเจกะ ถ้าถึงขั้นที่ จะมีการฟ้องร้องกันตามกระบวนการแห่งกฎหมายบ้านเมืองก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง จะไม่นำมากล่าว ในที่นี้
       ปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับหลักการทางศาสนา  แนวคิดทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งวิธีคิดของคนในองค์กร ในสังคมประเทศชาติดังที่กล่าวมาแล้ว ที่เรียกว่าวิวาทาธิกรณ์ จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ ตามหลักการและวิธีการที่นักคิดแนว สันติวิธีวางกรอบเอาไว้บ้าง ที่นักรัฐศาสตร์วางกรอบเอาไว้บ้าง ที่นักการศาสนาวางกรอบเอาไว้ บ้าง ในที่นี้จะเสนอธรรมพื้นฐานเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี พร้อมกับหลักการและวิธีการที่พระพุทธเจ้าได้วางเอาไว้และถือปฏิบัติในสมัยพุทธกาล

          ๑  . ธรรมพื้นฐาน
       เมื่อกรณีความขัดแย้งของภิกษุชาวกรุงโกสัมพี  ๒  กลุ่มลุกลามใหญ่โตมากขึ้น  พระ พุทธเจ้าทรงพยายามไกล่เกลี่ยโดยตรัสถึง ๓ ครั้งว่า "อย่าเลย ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าบาดหมาง อย่าทะเลาะ อย่าขัดแย้ง อย่าวิวาทกันเลย" ก็ไม่มีผลทำให้ภิกษุเหล่านี้หันมาสมานสามัคคีกัน และ มีทีท่าจะลุกลามใหญ่โตออกไปเรื่อย ๆ ภิกษุผู้เป็นธรรมวาทีรูปหนึ่ง ไม่ประสงค์จะให้พระพุทธองค์ ต้องมาลำบากกับการไกล่เกลี่ยพวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพี ๒ กลุ่มนี้ จึงกราบทูลตอบพระพุทธองค์ ๓ ครั้งเช่นเดียวกันว่า
       ขอพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นธรรมสามีทรงโปรดรอไปก่อน ขอพระองค์จงทรง ขวนขวายน้อยประกอบตามสุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด  พวกข้าพระ พุทธเจ้าจะปรากฏเพราะความบาดหมาง เพราะความทะเลาะ เพราะความ ขัดแย้ง เพราะการวิวาทนั้นเอง พระพุทธเจ้าข้า พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าภิกษุเหล่านั้นดื้อด้าน  ทำให้สามัคคีกันไม่ได้ง่าย  จึงเสด็จ หลีกไป เมื่อเสด็จไปถึงที่แห่งหนึ่งชื่อปาจีนวังสทายวัน   ซึ่งเป็นที่พักจำพรรษาของพระอนุรุทธะ พระนันทิยะ และพระกิมพิละ ทั้ง ๓ ท่านมีความสามัคคีกันอย่างยิ่ง เป็นแบบอย่างด้านความ สามัคคีของพระสงฆ์ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าตรัสถามวิธีการอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี ภิกษุ ทั้ง ๓ รูปกราบทูลถึงวิธีคิดในการอยู่ร่วมกันก้อนว่า "พวกข้าพระองค์จะคิดอยู่เสมอว่า 'นับเป็น โชคเป็นลาภ เป็นความดีงามแล้วที่ได้อยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจารีนี้" ต่อจากนั้น ได้กราบทูลวิธีการสรุปความได้ดังนี้ 
        พระพุทธเจ้าข้า  พวกข้าพระองค์นั้นได้เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม  เมตตา วจีกรรม  เมตตามโนกรรมทั้งต่อหน้าและลับหลังในกันและกัน  เอาใจใส่ ถนอมน้ำใจกันและกัน  ช่วยกันทำงานคนละไม้คนละมือ  และนั่งประชุม สนทนาธรรมกันทุก ๆ ๕ วัน ธรรมเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานแห่งความสามัคคีทั้งในองค์กรสงฆ์และสังคมคฤหัสถ์ นัยหนึ่งเหมือนกับเป็นปุ๋ยที่ทำให้ความสามัคคีเจริญงอกงาม อีกนัยหนึ่งก็เป็นเหมือนยาที่จะกำจัด หรือละลายเชื้ออันจะนำไปสู่ความขัดแย้งซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในเวลาใดเวลาหนึ่ง  วันนี้ไม่เกิด วัน หน้าอาจจะเกิดถ้าไม่มีธรรมพื้นฐานคือเมตตาทางกาย วาจา ใจ การถนอมน้ำใจ การช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน และการนั่งสนทนาเกี่ยวกับความดีงามทุก ๆ ๕ วัน

            ๒  . หลักการและวิธีการ
        ๒.๑ สัมมุขาวินัย
       อย่างที่อภิปรายไว้ในตอนต้นว่า เหตุการณ์ความขัดแย้งในองค์กรสงฆ์กับสังคมคฤหัสถ์จะอยู่ในกรอบหรือวังวนเดียวกัน แต่จะมีข้อแตกต่างกันตรงที่วิธีการตัดสินขั้นสุดท้ายว่า "ฝ่ายไหน ถูก  ฝ่ายไหนผิด"  และก็อย่างที่บอกไว้แล้วเช่นกันว่า  "ในด้านความรู้สึกแล้ว  ตัดสินไม่ได้ว่า ฝ่ายไหนถูก ฝ่ายไหนผิด  ทุกฝ่ายล้วนเห็นว่าตัวเองถูกทั้งสิ้น" ในการหาข้อยุติ จะอภิปรายกรณี ขององค์กรสงฆ์ก่อน เมื่อเกิดกรณีความขัดแย้งจะใช้วิธีการที่เรียกว่า สัมมุขาวินัยอย่างไร ?
       ว่าด้วยหลักการก่อน  สัมมุขาวินัย  แปลว่า  ระงับปัญหาความขัดแย้งในที่พร้อมหน้า หมายถึงการที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาประชุมพร้อมหน้ากัน นำประเด็นปํญหามาพูดคุยกันแล้วหา ข้อยุติและมีความเป็นธรรม ประเด็นสำคัญอยู่ที่ "ความเป็นธรรม" ข้อนี้มีนัยที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง ความเป็นธรรมหรือความไม่เป็นธรรมขึ้นอยู่กับคุณลักษณะและบทบาทขององค์ประชุม  คือผู้ที่ เข้าร่วมประชุมเป็นธรรมวาทีหรืออธรรมวาที และฝ่ายไหนมีบทบาทนการชี้นำมากกว่าระหว่าง ธรรมวาทีกับอธรรมวาที
       คำว่า "ธรรมวาที" แปลว่า ผู้มักกล่าวถูกต้องตามหลักการ
       คำว่า "อธรรมวาที" แปลว่า ผู้มักกล่าวไม่ถูกต้องตามหลักการ
       สัมมุขาวินัยที่ชื่อวาไมเปนธรรม อาจแยกพิจารณาไดเปน ๓ กรณี ดังนี้
       กรณีที่ ๑  ผู้เข้าร่วมประชุมเกือบจะทั้งหมดเป็นธรรมวาที  มีเพียงหนึ่งรูปเท่านั้นเป็น อธรรมวาที แต่อธรรมวาทีเป็นผู้มีบารมีมีอิทธิพล เป็นที่เกรงใจของผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด หรือ มีวาทะเฉียบคม สามารถจัดระบบความคิดแสดงเหตุผลได้ชัดเจน จึงมีบทบาทในการชี้นำที่ประชุม ให้ยินยอมเห็นคล้อยตาม จนกระทั่งปัญหายุติ อย่างนี้ชื่อว่าสัมมุขาวินัยที่ไม่เป็นธรรม
       กรณีที่ ๒ ผู้เข้าร่วมประชุมเกือบจะทั้งหมดเป็นธรรมวาที มีเพียงสองถึงสามรูปเท่านั้น เป็นอธรรมวาที  แต่พวกอธรรมวาทีเป็นผู้มีบารมีมีอิทธิพล  เป็นที่เกรงใจของผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งหมด หรือมีวาทะเฉียบคม สามารถจัดระบบความคิดแสดงเหตุผลได้ชัดเจน จึงมีบทบาทใน การชี้นำที่ประชุมให้ยินยอมเห็นคล้อยตาม จนกระทั่งปัญหายุติ อย่างนี้ชื่อว่าสัมมุขาวินัยที่ไม่เป็น ธรรม
       กรณีที่  ๓  ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนหนึ่งเป็นธรรมวาที  มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นเป็นอธรรมวาที แต่พวกอธรรมวาทีเป็นผู้มีบารมีมีอิทธิพล เป็นที่เกรงใจของผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งหมด  หรือมีวาทะเฉียบคม  สามารถจัดระบบความคิดแสดงเหตุผลไดัชัดเจน  จึงมีบทบาท ในการชี้นำที่ประชุมให้ยินยอมเห็นคล้อยตาม  จนกระทั่งปัญหายุติ  อย่างนี้ชื่อว่าสัมมุขาวินัยที่ไม่เป็นธรรม
       สัมมุขาวินัยที่ไม่เป็นธรรมอย่างนี้ แม้จะทำให้ปัญหาความขัดแย้งยุติก็ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะองค์ประชุมถูกอิทธิพลฝ่ายอธรรมครอบงำ คนดีมีคุณธรรมไม่มีอิสระทางความคิดที่จะกระทำ การใดๆตามที่ตัวต้องการได้
       ส่วนสัมมุขาวินัยที่ชื่อว่าเป็นธรรมนั้น ได้แก้การที่ฝ่ายธรรมวาทีมีจำนวนหนึ่งคน จำนวน สองถึงสามคนหรือจำนวนตั้งแต่ ๔ คนขึ้นไปเป็นผู้มีบารมีมีอิทธิพล เป็นที่เกรงใจของผู้เข้าร่วม ประชุมทั้งหมด หรือมีวาทะเฉียบคม สามารถจัดระบบความคิดแสดงเหตุผลได้ชัดเจน จึงมีบทบาท ในการชี้นำที่ประชุมให้ยินยอมเห็นคล้อยตาม จนกระทั่งปัญหายุติ
       เห็นได้ชัดว่า บทสรุปของการแก้ปัญหาตามกรอบแห่งสัมมุขาวินัยนั้น ไม่ได้ถือเอาตาม มติเสียงข้างมากเป็นประมาณ แต่ยึดถือคุณสมบัติของผู้ลงมติเป็นสำคัญ กล่าวคือ มติที่นำไปสู่การยุติปัญหาต้องมาจากบุคคล คณะ หรือสงฆ์ที่เป็นฝ่ายธรรมวาที ซึ่งอาจเป็นเสียงข้างน้อยหรือ เสียงข้างมากก็ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าปัญหาไม่สามารถให้ยุติได้ตามกระบวนการแห่งสัมมุขาวินัย แนวทางแก้ปัญหาก็จะพัฒนาไปสู่อีกกระบวนการหนึ่ง ซึ่งจะอภิปรายในโอกาสต่อไป
       วิธีการแห่งสัมมุขาวินัยเป็นอย่างไร ? สาระสำคัญในกระบวนการแห่งสัมมุขาวินัย อยู่ที่ความพร้อม ๔ ประการ ประกอบด้วย (๑) ความพร้อมหน้าสงฆ์ (๒) ความพร้อมหน้าธรรม (๓) ความพร้อมหน้าวินัย และ(๔) ความพร้อมหน้าบุคคล
       คำว่า "ความพร้อมหน้าสงฆ์" หมายถึงกรณีความขัดแย้งนั้นๆ ต้องการอค์ประชุมจำนวน เท่าไรมาร่วมประชุมแก้ปัญหา เช่น ๔ รูปขึ้นไป ๕ รูปขึ้นไป ๑๐ รูปขึ้นไป หรือ ๒๐ รูปขึ้นไป  มีผู้มาประชุมครบตามจำนวน ผู้อื่นซึ่งเกินจำนวนองค์ประชุมไปและอยู่ในวิสัยที่จะต้องมาประชุม ด้วยแต่บังเอิญมาประชุมไม่ได้ด้วยเหตุสุดวิสัยก็ได้มอบฉันทามติมาแล้ว และผู้ที่มาร่วมประชุมนั้น ไม่มีแม้แต่คนเดียวที่คัดค้าน
       คำว่า "ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย" หมายถึง กรณีความขัดแย้งนั้น ๆ ระงับโดยธรรม โดยวินัย     โดยสัตถุศาสน์
       คำว่า "ความพร้อมหน้าบุคคล" หมายถึง โจทก์และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่กรณีอยู่พร้อม หน้ากัน
       ในทางปฏิบัติ เมื่อบุคคล ๒ ฝ่ายเกิดกรณีความคิดเห็นขัดแย้งกันเกี่ยวกับหลักการดังกล่าวมา ถ้าสามารถตกลงกันได้ ปัญหาความขัดแย้งยุติ ก็ไม่ต้องใช้กระบวนการสัมมุขาวินัย แต่ถ้า ไม่สามารถตกลงกันได้ ปัญหาความขัดแย้งยังคงมีอยู่ จะต้องนำไปสู่กระบวนการสัมมุขาวินัย โดย ผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายจะทำหน้าที่จัดให้กระบวนแก้ปัญหาดำเนินไป นั่นคือ จัดให้มีการประชุม สงฆ์  (ความพร้อมหน้าสงฆ์)  นำกรณีความขัดแย้งไปเทียบเคียงกับหลักพระธรรมวินัย  (ความ พร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย) และเรียกคู่กรณีมาอยู่พร้อมหน้ากันในที่ประชุมสงฆ์นั้น (ความพร้อมหน้าบุคคล) ทำการวินิจฉัยกรณีความจนกว่าปัญหาจะยุต
       ในกรณีที่กระบวนการแก้ปัญหากำลังดำเนินไปอยู่ และกำลังมีการวินิจฉัยกรณีความอยู่ มีเสียงคัดค้านหรือสนับสนุนดังเซ็งแซ่จนเกิดความวุ่นวายในที่ประชุม  ที่ประชุมต้องเลือกภิกษุ บางรูปในที่ประชุมนั้นผู้มีคุณสมบัติเช่น เป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต จำปาติโมกข์ได้ รู้กฎระเบียบดี ตั้งเป็นคณะทำงาน    แล้วมอบหมายให้นำกรณีความไปวินิจฉัยเพื่อหาข้อยุติ  แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ  ในกรณีที่แม้จะตั้งคณะทำงานวินิจฉัยแล้วก็ไม่สามารถยุติปัญหาได้จะต้องนำไปสู่กระบวนการขั้นต่อไปที่เรียกว่า "เยภุยยสิกาวินัย"
  
       ๒.๒  เยภุยยสิกาวินัย  
       เยภุยยสิกาวินัย แปลว่า ระงับปัญหาความขัดแย้งตามเสียงข้างมาก เหมือนกระบวน การประชาธิปไตย แต่มีหลักการสำคัญประกอบการพิจารณาดำเนินการอยู่ ๒ ประการ คือ
       ประการที่  ๑  การแต่งตั้งบุคคลขึ้นมาดำเนินการ  โดยสงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุให้เป็นผู้ ดำเนินการจับสลาก ภิกษุผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งต้องมีคุณสมบัติ ๕ อย่างคือ (๑) ไม่ลำเอียง เพราะชอบ  (๒)  ไม่ลำเอียงเพราะชัง  (๓)  ไม่ลำเอียงเพราะหลง  (๔)  ไม่ลำเอียงเพราะกลัว (๕) รู้จักสลากที่จับแล้วและยังมิได้จับ
       ประการที่  ๒  การจับสลากที่ถือว่าไม่ชอบธรรมและชอบธรรม  กรณีที่ต้องนำไปสู่ กระบวนการเยภุยยสิกานั้น สงฆ์ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องใคร่ครวญโดยถ้วนถี่จน (๑) มั่นใจได้ว่า ปัญหาความขัดแย้งนั้น ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย (๒) แต่เป็นเรื่องใหญ่โตลุกลามไปไกล (๓) ตองมั่นใจ ว่าภิกษุคู่กรณีมีสติสัมปชัญญะและมีเหตุผลพอเจรจากันรู้เรื่อง  (๔)  ต้องมั่นใจว่าในหมูภิกษุผูมี ส่วนร่วมในความขัดแย้งนั้น พวกธรรมวาทีมีมากกว่า (๕) ต้องมั่นใจว่าแม้ขณะนั้นธรรมวาทีจะมี น้อยกว่า แต่เมื่อกรณีความเข้าสูกระบวนการจับสลาก ธรรมวาทีจะพึงมีมากกว่า (๖) ต้องมั่นใจ ว่า  เมื่อแก้ปัญหาด้วยกระบวนการนี้  สงฆ์จะไม่แตกกัน  (๗)  รู้วิธีป้องกันไม่ให้สงฆ์แตกกัน (๘) ต้องมั่นใจว่า เมื่อถึงขั้นตอนการจับสลาก  พวกธรรมวาทีจะพร้อมเพรียงกัน (๙) จับสลาก โดยชอบธรรม และ (๑๐) จับตามความคิดเห็นของตัวเอง โดยไม่มีใครชี้นำ เมื่อมั่นใจว่ามีองค์ ประกอบครบถ้วนทั้งหมดดังกล่าวนี้ สงฆ์(ภิกษุ) ค่อยดำเนินการให้จับสลาก จึงจะถือว่าชอบธรรม ถ้าขาดองค์ประกอบข้อใดข้อหนึ่งไปถือว่าการจับสลากนั้นไม่ชอบธรรม
       ในทางปฏิบั ติ เมื่อสงฆ์ได้แต่ตั้งบุคคลผู้มีคุณสมบัติครบ ๕ อย่างด้วยวิธีเป็นทางการ ที่เรียกว่า "ญัตติทุติยกรรมวาจา" แล้ว สงฆ์ต้องทำให้กระบวนการดำเนินไปอย่างชัดเจน มีมติ เห็นชอบรับรองทุกขั้นตอน การจับสลากมี ๓ วิธี คือ (๑) วิธีปกปิด (๒) วิธีกระซิบบอก (๓) วิธี เปิดเผย ทั้งนี้ต้องขึ้นอยูกับความยินยอมของพวก

       ภิกษุคู่กรณี
       วิธีการแบบปกปิดมีหลักการสำคัญ ๓ อย่างคือ (๑) แบ่งสลากออกเป็นสลากมีสีกับไม่มี สี (๒) สลากที่ถูกจับขึ้นต้องปิดเป็นความลับ (๓) ต้องให้แน่ใจว่า ฝ่ายธรรมวาทีมีมากกว่า โดย ภิกษุเจ้าหน้าที่ต้องชี้แจงให้ทุกฝ่ายเข้าใจขั้นตอนอย่างชัดเจน วิธีการกระซิบบอกมีหลักการเหมือน กับวิธีการปกปิด ต่างกันแต่เพียงว่าไม่ต้องทำเป็นสลากมีสีกับไม่มีสี ส่วนวิธีการเปิดเผยก็คือเป็น กระบวนการเปิดเผยทุกขั้นตอน
       กรณีความที่ยุติโดยใช้วิธีการดังกล่าวมานี้ เรียกว่ายุติโดยกระบวนการสัมมุขาวินัยและ
เยภุยยสิกาวินัย

        ๒  .๓  ติณวัตถารกะ
        ตามหลักพระวินัย การแก้ปัญหาความคิดเห็นขัดแย้งกัน มีแนวปฏิบัติให้เลือกได้ ๒ ทาง เท่านี้ คือ สัมมุขาวินัยกับเยภุยยสิกา แต่บางกรณีที่ไม่สามารถแก้ปัญหาจนทำให้ความขัดแย้งยุติ ลงได้ โดยเฉพาะปัญหาความขัดแยงที่มีความซับซอนและจะลุกลามไปสู่ความรุนแรง ทำให้เกิดความแตกแยก และคู่กรณีก็ตระหนักรู้ข้อเท็จจริงนี้  กรณีอย่างนี้อาจนำไปสู่กระบวนการแก้ ปัญหาด้วยวิธีที่ ๓ ก็ได้ นั่นคือการประนีประนอม ที่เรียกว่า ติณวัตถารกะ แปลตามตัวอักษรว่า กลบไว้ด้วยหญ้า มี  ๒  กรณีที่น่าสนใจซึ่งดูเหมือนว่าปัญหาจะยุติลงด้วยติณวัตถารกะ  หนึ่งคือกรณี ความขัดแย้งของพวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพี สองคือกรณีความขัดแย้งระหว่างพวกภิกษุวัชชีบุตร ชาวกรุงเวสาลีกับภิกษุต่างถิ่นมีพระยสกากัณฑกบุตรเป็นต้นเกี่ยวกับวัตถุ ๑๐ ประการ โดยพวก ภิกษุวัชชีบุตรเห็นว่าถือปฏิบัติได้ ไม่ผิดพระวินัย แต่ภิกษุพวกอื่นเห็นว่าถือปฏิบัติไม่ได้ ผิดพระวินัยซึ่งความเห็นแย้งกันนี้นำไปสู่การทำทุติยสังคายนา(สังคายนาครั้งที่ ๒ ในอินเดีย) 
       เฉพาะปัญหาความขัดแย้งของหมู่ภิกษุชาวกรุงโกสัมพีเท่านั้น ที่เนื่องจากเป็นพฤติกรรม กลุ่มจึงเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไขด้วยหลักการและวิธีการที่เป็นระบบใดระบบหนึ่ง ได้มีการใช้หลัก การและวิธีการหลายอย่างผสมกัน เช่น กระบวนการทางสังคมทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ ท้าย ที่สุดแล้วดูเหมือนว่าจะใช้กระบวนการติณวัตถารกะ(แม้จะไม่มีหลักฐานระบุไว้ชัดเจนก็ตาม) โดย ในเบื้องต้น อุบาสกและอุบาสิกาชาวกรุงโกสัมพีครั้นทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จหลีกไปอยู่ที่ป่า ปาริไลยกะและเสด็จต่อไปยังกรุงสาวัตถีเพราะกรณีความขัดแย้งของพวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพี จึงเห็นร่วมกันว่าจะไม่อภิวาท ไม่ลุกรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่ทำสามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่คบหา ไม้บูชาพวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพี ทำให้พวกเธอเกิดความสำนึกผิด จึงชวนกันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและระงับข้อพิพาทในสำนักของพระพุทธองค์ ณ กรุงสาวัตถี   ระหว่างทาง จากกรุงโกสัมพีถึงกรุงสาวัตถีก็ถูกระบวนการทางสังคมลงโทษตามสมควรแก่กรณี เมื่อไปถึงกรุง สาวัตถีแล้ว จึงเริ่มกระบวนการประนีประนอม   โดยยกเลิกอุกเขปนียกรรมที่ลงแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ มีการทำสังฆสามัคคีร่วมกัน ต่อจากนั้นมีการทำอุโบสถยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
       หลักการและวิธีการของติณวัตถารกะเป็นอย่างไร ? หลักการและวิธีการที่สำคัญคือ กรณี ความที่จะระงับด้วยกระบวนการติณวัตถารกะนั้น  ต้องมาจากสาเหตุที่ไม่รุนแรงแต่มีทีท่าว่า จะลุกลาม  (เหมือนกรณีน้ำผึ้งหยดเดียว) เช่นกรณีการปรับอาบัติปาจิตตีย์กันของพวกภิกษุกรุง โกสัมพี ในทางปฏิบัติ มีขั้นตอนดังนี้
       ขั้นที่๑ ภิกษุผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกรูปประชุมกัน ภิกษุรูปหนึ่งในที่ประชุมนั้นซึ่งเป็นคนกลาง ทำหน้าที่ตั้งเรื่อง (จัดวาระหรือตั้งญัตติ) อย่างเป็นทางการให้ที่ประชุมทราบว่า จะมีการระงับกรณี ความด้วยติณวัตถารกะ
       ขั้นที่ ๒ ภิกษุผู้เป็นตัวแทนของคู่กรณีฝ่ายหนึ่งในที่ประชุมนั้น ทำหน้าที่ตั้งเรื่องอย่างเป็น ทางการให้ที่ประชุมทราบว่า  จะมีการระงับกรณีความด้วยติณวัตถารกะ  โดยพร้อมที่จะแสดง อาบัติ(ความผิด) ของกันและกันในที่ประชุมนั้น
       ขั้นที่ ๓ ภิกษุผู้เป็นตัวแทนของคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งในที่ประชุมนั้น ทำหน้าที่ตั้งเรื่องอย่าง เป็นทางการให้ที่ประชุมทราบว่า จะมีการระงับกรณีความด้วยติณวัตถารกะ โดยพร้อมที่จะแสดง
อาบัติ(ความผิด) ของกันและกันในที่ประชุมนั้น
        ต่อจากนั้นก็ประกาศขอมติ ถ้าไม่มีใครคัดค้าน ถือว่ากรณีความนั้น ๆ ยุติ เมื่อนำลำดับขั้นวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งตามกรอบธรรมเนียมสงฆ์  ตั้งแต่ขั้น สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกาวินัย และติณวัตถารกะมาวางทาบกับวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย่งในสังคม ปัจจุบัน จะเห็นความเหมือนและความต่างที่ชัดเจนดังนี้
  
       ความเหมือน :
       เมื่อความขัดแย้ง เกิดขึ้นในสังคมคฤหัสถ์ บางครั้งบางกรณีก็ดำเนินการระดับความขัดแย้งโดยการประชุมพร้อมเพรียงกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด (ความพร้อมหน้าสงฆ์และความ พร้อมหน้าบุคคล) มีการนำข้อกฎหมายมาเป็นเกณฑ์วินิจฉัยความถูกความผิด(ความพร้อมหน้าวินัย) กระบวนกานี้เทียบได้กับวิธีสัมมุขา วินัยในธรรมเนียมสงฆ์ บางครั้งบางกรณีมีการแต่งตั้งบุคคล ขึ้นมาดำเนินการ มีการประชุมคู่กรณี ดำเนินการลงมติ(ลงคะแนน) แล้ววินิจฉัยตัดสินโดยเสียง ข้างมาก กรณีนี้เทียบได้กับวิธีเยภุยยสิกาวินัยในธรรมเนียมสงฆ์ บางครั้งบางกรณีมีการเสนอจาก คู่กรณีหรือจากบุคคลใด ๆ ให้มีคนกลางดำเนินการให้คู่กรณีไกล่เกลี่ยยุติความขัดแย้งกัน กรณีนี้ เทียบได้กับวิธีติณวัตถารกะในธรรมเนียมสงฆ์ โดยสรุปคือ กรอบดำเนินการหรือกระบวนการขั้น ตอนในการระงับความขัดแย้งตามธรรมเนียมสงฆ์และสังคมคฤหัสถ์มีความเหมือนกันเป็นส่วนมาก

       ความต่าง :
       ความต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ในธรรมเนียมสงฆ์เน้นความเป็นธรรมในหลักการ ข้อสำคัญ อยู่ที่  "ความเป็นธรรม"   ความเป็นธรรมขึ้นอยู่กับคุณลักษณะและบทบาทขององค์ประชุม กล่าวคือ ในจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมนั้น ฝ่ายธรรมวาทีอาจมีจำนวนน้อยกว่าหรือมากกว่าก็ได้ แต่ จะต้องเป็นผู้มีบทบาทในการชี้นำที่ประชุมมากกว่าฝ่ายอธรรมวาที ในกรณีที่มีการลงคะแนนเสียง ก็เช่นเดียวกัน ก่อนการลงคะแนน ระหว่างลงคะแนน และหลังลงคะแนน จะต้องให้แน่ใจได้ว่า คะแนนเสียงที่มากกว่านั้นมาจากฝ่ายธรรมวาที ไม่ใช่มาจากฝ่ายอธรรมวาที ส่วนสังคมคฤหัสถ์ พูดถึง "ความเป็นธรรม"เหมือนกัน แต่ไม่ได้พูดถึงบทบาทของฝ่ายที่เป็นธรรมวาทีหรืออธรรมวาทีซึ่งเป็นที่มาแห่งความเป็นธรรมหรือความไม่เป็นธรรมอย่างแท้จริง ผู้ที่มีบทบาทชี้นำที่ประชุมจะมี สมบัติหรือลักษณะอย่างไรก็แล้วแต่ ท้ายที่สุด ถ้าที่ประชุมเห็นตามก็ถือเป็นข้อยุติตามนั้น กรณีที่ มีการลงคะแนนเสียงตัดสิน ให้ยึดเอาคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นคะแนน เสียงที่มาจากฝ่ายธรรมวาทีหรืออธรรมวาที นี่เป็นความต่างกัน ประการที่ ๑
       ประการที่ ๒ ในขั้นตอนก่อนนำกรณีความเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยตัดสิน ธรรมเนียม สงฆ์มีหลักอยู่ว่า คู่กรณีต้องมีสติสัมปชัญญะและมีเหตุผลพอเจรจากันรู้เรื่อง จึงจะดำเนินการแก้ ปัญหาตามกระบวนการนั้น ๆ ถ้ารู้ชัดว่าคู่กรณีขาดสติสัมปชัญญะและไม่มีเหตุผล ก็จะปล่อยให้ กรณีความขัดแย้งนั้นได้รับการแก้ไโดยกระบวนการอื่น ๆ เช่น กรณีความขัดแย้งของพวกภิกษุ ชาวกรุงโกสัมพี  ส่วนสังคมคฤหัสถ์มีแนวปฏิบัติที่ตายตัวว่า ความขัดแย้งอย่างนี้  ต้องเข้าสู่ กระบวนการนี้ความขัดแย้งอย่างนั้น  ต้องเข้าสู่กระบวนการนั้น  และมีการผลักดันให้เข้าสู่กระบวนการโดยไม่คำนึงว่าคู่กรณีจะมีสติสัมปชัญญะและมีเหตุผลหรือไม่ก็ตาม
       ประการที่ ๓ ธรรมเนียมสงฆ์ถือเอาความเป็นเอกฉันท์ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ เป็นเกณฑ์  ด้านคุณภาพก็คือ คู่กรณีต้องมีความรู้สึกยินดีพอใจและรู้สึกว่าได้รับความเป็นธรรม กับข้อยุตินั้น บางครั้งแม้ความขัดแย้งจะยุติแล้วตามหลักพระธรรมวินัย แต่ถ้ายังมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่พอใจ ก็ต้องมีการจับสลากตัดสินจนเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย ด้านปริมาณก็คือ กรณีที่มีการลง คะแนนเสียง  ฝ่ายเสียงข้างมากต้องเป็นเอกฉันท์  ส่วนสังคมคฤหัสถ์จะมีลักษณะตรงกันข้าม นั่นคือ เสียงข้างมากไม่จำเป็นต้องเป็นเอกฉันท์ และไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้แพ้ว่าจะพอใจ หรือ ไม่พอใจ 
 

(ที่มา: สารนิพนธ์)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕