การสอนนั้นมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน นับว่าการสอนนั้น ได้มีการวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการมาเรื่อยๆ เป็นลำดับตามพัฒนาการของการศึกษาของแต่ละสมัย โดยเฉพาะการสอนในสมัยโบราณนั้น มนุษย์มีการเรียนรู้จากผู้ใหญ่ จากพ่อแม่ ตลอดถึงการเรียนจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเรา มนุษย์ได้รับความรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
การสอนนั้น ช่วยให้มนุษย์รู้จักการพัฒนาตัวเอง ปรับปรุงตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมให้ได้ และสามารถที่จะทำให้มนุษย์รู้จักปรับสิ่งแวดลอมให้เหมาะสมกับตัวเองด้วย ลักษณะการเรียนรู้ในสมัยก่อนนั้น ใช้วิธีการเรียนรู้ คือ เอาผิดเป็นครู ทดลองทำดูถ้าทำผิดก็ไม่เอาเป็นตัวอย่างกับสิ่งนั้นๆ อีกต่อไป จนในที่สุดก็จะทำถูกเอง เป็นการสอนแบบง่ายๆ ไม่มีความซับซ้อนอะไรมากนัก ครูผู้สอนนั้นไม่ต้องคิดอะไรมากด้วย
การสอนนับว่ามีบทบาทสำคัญมากและมีความสำคัญต่อการศึกษา เพราะว่าการสอนนั้นเป็นเครื่องมือทีจะส่งเสริมให้ผู้เรียนรักการเรียน โดยเฉพาะพวกเด็กๆ นั้น จะมีการตั้งใจเรียน ถ้าการสอนมีรูปแบบที่ดีๆ การที่เด็กเกิดการเรียนรู้โดยเกิดจากการสอนของครู จะเป็นการส่งเสริมให้เด็กมีความพร้อมที่จะสามารถมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทาง คือ ความสำเร็จ ในชีวิต และเขาสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และมีคุณค่า
ความหมายของการสอน
Carter v. Good ได้ให้ความหมายที่เกี่ยวกับการสอนไว้ใน Dictionary of Educatiion เป็น ๒ นัย คือ
๑. การสอน หมายถึง การกระทำอันเป็นการอบรมสั่งสอนนักเรียนตามสถานศึกษาทั่วๆ ไป
๒. การสอน หมายถึง การจัดสภาพการณ์ สถานการณ์ หรือกิจกรรมเพื่อช่วยให้นักเรียน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเกิดการเรียนรู้โดยง่าย
ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้ให้ความหมายของการสอนว่า การสอน คือ การนำทางวิญญาณ
พระพุทธศาสนาถือกำเนิดที่ประเทศอินเดีย เมื่อประมาณ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว โดยถือกำเนิดจากผู้ที่สืบเชื้อสายจากชนชาติอารยัน คือ เจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งคำว่า สิทธัตถะ ที่แปลว่า ผู้ประสบผลสำเร็จทุกอย่าง ต่อมาเจ้าชายสิทธัตถะ ได้เสด็จออกผนวชที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา หลังจากการเสด็จออกผนวช พระองค์ก็พยายามทำทุกวิถีทาง ที่จะพ้นทุกข์ให้ได้ สุดท้ายพระองค์ได้ตรัสรู้ด้วยอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
หลักจากพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงเสวยวิมุตติสุข และใคร่ครวญอยู่เนื่องๆ อยู่นานถึง ๗ สัปดาห์ด้วยกัน พระองค์จึงตัดสินพระทัยในการที่จะนำหลักธรรม ที่พระองค์ได้ตรัสรู้นำไปโปรดเวไนยสัตว์ ให้เห็นรู้จริงตามพระองค์ ตามความสามารถที่เรียนรู้ของแต่ละบุคคล หรือที่เรียกว่า ดอกบัว ๔ เหล่า นั่นเอง พระองค์ทรงมีพระปรีชาที่จะนำหลักธรรมไปเผยแผ่แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
การที่พระองค์มีพระปรีชาสามารถมากมายอย่างนี้ พระองค์จึงได้รับขนานพระนามถวายจากนักปราชญ์ทั้งหลาย พุทธศาสนิกชนนิยมกล่าวเรียกพระองค์เสมอ คือ คำว่า พระบรมศาสดา หรือ พระบรมครู ซึ่งแปลว่า พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยม หรือ ผู้เป็นยอดแห่งครู ในภาษาบาลีก็มีบทพุทธคุณถวายพระเกียรติว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ แปลว่า พระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย และยังมีคำเสริมเพื่อที่ยกย่องพระองค์อีกว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ แปลว่า เป็นสารถีฝึกคนได้ไม่มีใครยิ่งกว่า ซึ่งพระนามเหล่านี้ เป็นเครื่องบอกถึงความหมายที่ยิ่งใหญ่และมีความหมายอยู่ในตัวว่า ไม่ว่าจะเป็นนักปราชญ์และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรที่จะเคารพบูชายกย่องสรรเสริญ เทิดทูนบูชาพระองค์ ในฐานะที่พระองค์เป็นนักการสอนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งหาที่เปรียบมิได้ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถอย่างยอดเยี่ยมในการอบรมสั่งสอน ที่จะทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่พระองค์ทรงสอนได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน และในที่สุดแห่งการเรียนรู้ทุกสิ่งทั้งหลายทั้งมวล ก็สามารถประสบผลสำเร็จในชีวิต สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแต่ละสถานที่ได้อย่างมีความสุขทั้งกายและใจ ถือได้ว่าพระองค์มีหลักการสอนที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก
หลักการสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าพระองค์จะมีหลักการเผยแผ่ศาสนาของพระองค์ ซึ่งพระองค์นั้นไม่เคยทรงตรัสไว้หรือแสดงไว้ในที่ไหนๆ ว่า พระองค์จะมีหลักการสอนมากมายหลายประการ แต่พระองค์ได้ทรงทำ หรือได้ทรงแสดงตัวอย่างให้ผู้ที่ฟังนำไปปฏิบัติจับหลักเองจากปฏิปทาของพระองค์ นักปราชญ์ทั้งหลายได้รวบรวมเอาไว้ที่ปรากฏในหนังสือหลายๆ เล่ม เช่น พระองค์ทรงยึดหลักการสอนทั่วไปของพระองค์ดังต่อไปนี้
ประการที่ ๑ เกี่ยวกับเนื้อหาหรือเรื่องที่จะสอน ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอนนี้ พระองค์จะมีหลักการสอนสาวกของพระองค์ ด้วยวิธีการต่างๆ กันแล้ว แต่ทว่า ผู้ที่จะรับหลักธรรมนั้น จะมีสติปัญญามากน้อยหรือเหมาะสมกับเนื้อหาที่จะถ่ายทอดให้หรือไม่นั้น ถ้าพระองค์เห็นว่า ผู้ที่จะรับหลักธรรมนั้น ๆ เหมาะสม พระองค์ก็จะแสดงหลักธรรมให้ผู้นั้นฟัง ซึ่งเกี่ยวกับเนื้อหาหรือเรื่องที่จะสอนนั้น พระองค์ทรงยึดหลักดังต่อไปนี้
๑. สอนจากสิ่งที่รู้เห็น เข้าใจง่ายหรือรู้อยู่แล้ว ไปยังสิ่งที่รู้เห็นเข้าใจยาก หรือยังไม่รู้ไม่
เห็น ไม่เข้าใจ เช่น อริยสัจทรงเริ่มสอนจากความทุกข์ ความเดือดร้อน เพราะความทุกข์ ใครๆ ก็รู้และเคยประสพมา จากนั้นจึงนำไปหาสาเหตุ ซึ่งใครๆ รู้ได้ยาก เพราะลึกซึ้ง เมื่อรู้สาเหตุของทุกข์แล้ว ก็ทรงสอนทางปฏิบัติเพื่อขจัดทุกข์หรือแก้ไขมิให้ทุกข์เกิดต่อไป
๒. สอนเนื้อเรื่องให้ยากขึ้นตามลำดับขั้น และต่อเนื่องเป็นลำดับไป ดังที่เรียกว่า
อนุพพิกถา อันหมายถึง พระธรรมเทศนาที่แสดงเนื้อหาความลุ่มลึกลงไปโดยลำดับ เพื่อขัดเกลาอัธยาศัยของผู้ฟังให้ประณีตยิ่งขึ้นไปเป็นขั้นๆ จนพร้อมที่จะทำความเข้าใจในหลักธรรมอันลึกซึ้งต่อไป
๓. ถ้าสิ่งที่สอนเป็นสิ่งที่แสดงได้พึงสอนด้วยของจริง ให้ผู้เรียนได้ดู ได้เห็น ได้ฟัง อัน
เป็นประสบการณ์ตรง เช่น สอนพระนันทะซึ่งเป็นพุทธอนุชาที่คิดถึงคู่รัก คนงามมีนามว่า ชนบทกัลยาณี โดยการทรงพาไปชมนางฟ้า นางอัปสร เทพธิดา ให้เห็นด้วยตา เรื่องอาจารย์ทิศาปาโมกข์ให้หมออาชีวกทดสอบตัวเอง เรื่อง นามสิทธิชาดก หรืออย่างที่ให้พระภิกษุเพ่งดูความเปลี่ยนแปลงของดอกบัว เป็นต้น
๔. สอนตรงเนื้อเรื่อง ตรงเนื้อหา คุมอยู่ในเรื่อง มีจุดแน่นอน ไม่วกวน ไม่
ไขว้เขว ไม่ออกนอกเรื่อง โดยไม่มีอะไรเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับเนื้อหา
๕. สอนมีเหตุผล ตรองตามเห็นจริงได้ดี
๖. สอนเท่าที่จำเป็นพอดีเพื่อให้เกิดความเข้าใจให้การเรียนรู้ได้ผลดี ไม่ใช่สอนอย่างตนรู้
สึกหรือสอนโดยแสดงให้เห็นว่าผู้สอนมีความรู้มาก
๗. สอนสิ่งที่มีความหมายซึ่งผู้เรียนรู้และเข้าใจได้ดี เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนมากที่สุด
เพราะพระพุทธองค์ทรงพระเมตตตา หวังประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ
ประการที่ ๒ เกี่ยวกับตัวผู้เรียน ผู้เรียนถือว่ามีส่วนสำคัญที่จะให้การจัดการสอนประสบ
ผลสำเร็จ ฉะนั้น พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถจะทำให้ผู้เรียนรู้แจ่มเจ้งในเนื้อเรื่องหรือเนื้อหาที่พระองค์ทรงสอน โดยที่พระองค์มีหลักการและวิธีการดังต่อไปนี้
๑. ทรงรู้ ทรงคำนึงถึง และทรงสอนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคลและ
ทรงรู้ระดับความสามารถและความพร้อมของบุคคล เช่น ยกตัวอย่าง ดอกบัว ๔ เหล่า
มาเปรียบเทียบกับบุคคล มี ๔ ประเภท เป็นต้น
๒. ปรับปรุงวิธีสอนให้เหมาะสมกับบุคคล แม้จะสอนในเรื่องหรือหัวข้อเดียวกัน แต่ต่าง
บุคคลผู้เรียน อาจจะต้องใช้วิธีสอนที่แตกต่างกัน
๓. คำนึงถึงความพร้อมเป็นสำคัญ ตลอดถึงความสุกงาม ความมีอินทรีย์แก่กล้า ของผู้
เรียนแต่ละคนเป็นรายๆ ไปว่าในแต่ละคราวหรือเมื่อถึงเวลานั้น ผู้เรียนควรจะได้เรียนรู้อะไร และจะเรียนได้แค่ไหน มากน้อยเพียงไร หรือว่าสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนรู้นั้น ควรให้เขาเรียนรู้ได้หรือยัง เช่น พระองค์ทรงรอคอยความพร้อมของราหุล จนถึงได้ทรงชักชนช่วยให้เธอในการกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไป ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จไปบิณฑบาตแสวยเสร็จแล้ว จึงตรัสสอนกพระราหุลให้โดยเสด็จไปพักผ่อนกลางวันในป่าอันธวัน เมื่อถึงโคนต้นไม้แห่งหนึ่งได้ประทับนั่งและทรงสอนธรรมด้วยวิธีสอนทนา วันนั้นเองพระราหุล ก็ได้บรรลุอรหัตผล
๔. สอนโดยให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจได้
ดียิ่งขึ้น เกิดความชำนาญ แม่นยำ และได้ผลจริง เช่น ทรงสอนพระจูฬปันถกผู้โง่เขลาปัญญา ด้วยการให้นำผ้าขาวมาแล้วลูบคลำ จนปรากฎความสกปรกที่ผ้าขาวนั้น อันเปรียบด้วยกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เมื่อกิเลสท่วมทับจิต จิตเกิดความเศร้าหมองย่อมไม่ควรแก่การบรรลุธรรม ผ้าขาวเปรอะเปื้อนด้วยเหงื่อไคล ย่อมไม่ควรที่จะขายได้ราคา
๕. สอนโดยให้ผู้สอนกับผู้เรียนมีบทบาทร่วมกันในบทเรียน เพื่อแสวงหาความจริงขั้นสุด
ท้าย ให้มีการแสดงความคิดเห็นโต้ตอบได้อย่างเสรี อันเป็นการใช้อิสรภาพและเสรีภาพในทางความคิดและวิชาการ
๖. พระองค์เอาใจใส่บุคคลที่ควรได้รับความสนใจพิเศษ หรือผู้มีศรัทธา
อย่างแท้จริง เป็นรายๆ ไปตามสมควรแก่กาลเวลาและสถานที่ตลอดถึงเหตุการณ์ เช่น มีชาวนาคนหนึ่งตั้งใจว่า จะไปฟังธรรมของพระศาสดาในเวลากลางคืน บังเอิญวัวเขาหายจึงตามวัวจนได้รับกลับคืนมา และรีบกลับบ้าน เพื่อที่จะไปฟังธรรมเทศนาของพระองค์ กว่าจะมาถึงวัดก็สายมาแล้วแต่คิดในใจอยู่ว่าแม้ได้ฟังธรรมตอนท้ายๆ ก็ยังดี เมื่อไปถึงวัดปรากฏว่า พระพุทธเจ้ายังประทับนิ่งอยู่ยังไม่ได้ทรงแสดงธรรมเลย และพระองค์ยังรับสั่งให้จัดอาหารใช้ชาวนาคนนั้นรับประทานให้จนอิ่มสบายแล้ว จึงทรงเริ่มแสดงพระธรรมเทศนา
๗. พระองค์ทรงช่วยเหลือเอาพระทัยต่อคนที่มีปัญญาน้อยด้วยเชาว์ปัญญา มีปัญหาใน
ชีวิต เช่น ช่วยเหลือพระจูฬปันถกผู้โง่เขลาถูกพี่ชาย คือ พระมหาปันถกด่าขับไล่ให้สึกจากบรรพชิต สุดท้ายด้วยความช่วยเหลือของพระพุทธเจ้าพระจูฬปันถกก็บรรลุเป็นพระอรหันต์
ประการที่ ๓ เกี่ยวกับวิธีสอนการสอนของครูผู้สอนจะประสบผลสำเร็จได้นั้น จะต้องมี
วิธีสอนที่ดี และนำวิธีการสอนหลายๆ วิธีมาประกอบกันเพื่อที่จะทำให้การสอนประสบผลสำเร็จได้ พระพุทธเจ้า พระองค์เองก็ทรงใช้วีธีการสอนหลายอย่างมาประกอบกัน เพื่อที่จะทำให้การสอนของพระองค์ประสบผลสำเร็จ วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า คือ
๑. พระองค์มีการเริ่มต้นที่ดีมีส่วนช่วยให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ ได้ดี เพราะ
จะดึงดูดใจของผู้เรียนได้ดี แล้วจึงนำเข้าสู่เนื้อหา
๒. พระองค์สร้างบรรยากาศในการสอนให้ปรอดโปร่ง และให้เกียรติผู้เรียน เช่นพระองค์
สอนพราหมณ์ ชื่อว่า โสณทัณฑะ กับคณะที่เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
๓. พระองค์สองมุ่งให้เกิดความรู้ ความเข้าใจสิ่งที่สอนเป็นสำคัญ มิให้กระทบตนข่มผู้อื่น
พระองค์ไม่มุ่งที่จะยกตนไปมุ่งเสียดสีผู้อื่น
๔. พระองค์สอนโดยเคารพ คือ ทรงตั้งใจสอนจริงๆ ทำจริงๆ มองเห็นคุณค่าของการ
เรียนการสอนเป็นสำคัญ เช่น พุทธจริยาที่ว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ตถาคตจะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่องแสดงธรรมโดยเคารพไม่แสดงธรรมโดยไม่เคารพ ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่ ภิกษุณี อุปาสก แก่อุปาสิกา และปุถุชน แม้กระทั้งแก่คนเฒ่าคนแก่และคนยากจนขอทานก็ย่อมแสดงโดยเคารพ หาได้แสดงโดยขาดความเคารพไม่
จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้านั้น พระองค์มีความหลากหลายของวิธีสอนที่จะทำให้การเรียนการสอนของพระองค์นั้นประสบผลสำเร็จ กล่าวคือ เกิดผลดีทั้งฝ่ายพระองค์เองและตัวผู้เรียนก็จะได้นำความรู้ที่ได้ใปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันและอยู่ในสังคมได้
ความสำเร็จของกระบวนการเรียนการสอนนี้ ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้สอนนั้นมีถ่วงท่าลีลาการสอนแบบไหนบ้าง ที่จะทำให้การสอนของตนเองประสบผลสำเร็จ พระพุทธเจ้านั้น พระองค์มีมีรูปแบบของพุทธลีลาการสอนเฉพาะพระองค์เอง จึงทำให้การสอนของพระองค์ถึงจุดมุ่งหมายทีได้ตั้งไว้
ดังนั้น จึงมีรูปแบบพุทธลีลาการสอนของพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่างของครูผู้สอนทั่วๆ ไป
รูปแบบลีลาการสอนของพระพุทธเจ้า
การสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละครั้ง พระองค์ได้ดำเนินการสอนจนสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้กับสิ่งที่พระองค์ทรงยกขึ้นสอนได้ตามจุดมุ่งหมายทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะว่าพระองค์มีความหลากหลายของรูปแบบลีลาการสอนของพระองค์ ซึ่งลีลาการสอนของพระองค์ที่ท่านนักปราชญ์หลายท่านได้กล่าวไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อที่ ๑ พระองค์ทรงชี้ทางแสดงอย่างละเอียดละออแจ่มแจ้งชัดเจน
ข้อที่ ๒ พระองค์ชักชวนเชิญชวนให้ผู้ฟังโดยบอกว่า สิ่งนี้ดี สิ่งนี้สมควรทำ สิ่งนี้ไม่ดี สมควรไม่กระทำ เชิญชวนให้ผู้ฟังให้ถือปฏิบัติ บอกให้ยึด บอกให้เอาไป ซึ่งเรียกอย่างง่ายๆ ว่า เป็นการหยิบยื่นให้
ข้อที่ ๓ พระองค์กระตุ้นให้เกิดเตชะ (เดช) ภาษาสมัยใหม่ว่า ไฟ พระองค์ทรงจุดประกายให้เกิดความกล้าหาญ ให้เกิดความอึกเหิมคิดจะต่อสู้กับสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
ข้อที่ ๔ พระองค์ให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจ อันที่จะเกิดจากหลักการสอนทั้ง ๓ ข้อ ข้างต้น กล่าว คือ หลักธรรมคำสอนที่พระองค์ ทรงชี้แจง แสดงอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน พร้อมทั้งชักชวนเชิญชวน อันเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความกล้าหาญ และกล้าแสดงออก ซึ่งที่ไม่เข้าใจแจ่มแจ้งวันนี้จะได้เข้าใจอย่างชัดเจน กำจัดความเคลือบแคลงสงสัยไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป พร้อมทั้งกำจัดความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ทำให้ความเห็นตรง จิตใจผ่องใสอย่างรื่นเริงบันเทิงใจ
อาจผูกเป็นคำสั้นๆ ว่า แจ่มแจ้ง จูงใจ หาญกล้า ร่าเริง หรือชี้ชัด เชิญชวน คึกคัก และเบิกบาน
จากหลักการของกระบวนการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ( Child centered) นั้น พระพุทธศาสนานั้นมีหลักการและวิธีสอนแบบนี้มานานแล้ว ตั้งแต่อดีตโดยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบฉบับของการสอนรูปแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนี้ เพราะว่า หลักการสอนพร้อมทั้งวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าก็มีความสมบูรณ์ตรงตามหลักปรัชญาการศึกษาในยุคการปฏิรูปการศึกษาสมัยใหม่ที่ว่า เก่ง ดี และมีสุข ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบกับความหมายของคำว่า นักเรียนเป็นศูนย์กลางในยุคปฏิรูปการศึกษาในสมัยปัจจุบันก็คือ คำว่า ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หมายถึง ผู้เรียนเป็นคนสำคัญที่สุด ในการจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ การให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากที่สุด มีการบันทึกข้อมูลและดึงข้อมูลออกมาใช้ วิธีการเรียนรู้มีผลต่อการจำ การลืม และถ่ายโอนความรู้ แรงจูงใจระหว่างเรียนรู้มีความสำคัญต่อการชี้นำความสนใจมีอิทธิพลต่อกระบวนการจัดข้อมูล และส่งผลโดยตรงต่อรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด
ดังนั้น การที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีหรือไม่นั้น จึงขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ เป็นต้นว่า
๑. ความพร้อมของบุคคล ซึ่งเป็นเรื่องของการบรรลุวุฒิภาวะ และมีแรงจูงใจในการเรียน
รู้นั้นๆ
๒. ทัศนคติ ผู้เรียนควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีทัศนคติในทางบวกมากกว่าทัศนคติในทางลบ
ต่อสิ่งที่จะเรียน เพราะการที่มีความรู้สึกไม่ชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วย่อมทำให้การเรียนรู้ของเราไม่ดีเท่าที่ควรได้ง่าย
๓. การฝึกหัด ย่อมเป็นสิ่งที่แน่นอนว่า ในการเรียนรู้ใดๆ ก็ตาม ถ้ามีการเรียนรู้โดยการ
ฝึกหัด หมั่นทบทวนบ่อยครั้งย่อมทำให้ผู้เรียนจดจำสิ่งนั้นๆ ได้น่าน
๔. การได้รับรางวัลและการลงโทษ ย่อมมีผลต่อการเรียนรู้ทั้งสิ้น ในบางครั้งการได้รับ
รางวัลย่อมทำให้พฤติกรรมครั้งนั้นคงอยู่ ในขณะเดียวกันเมื่อผู้เรียนรู้ถูกลงโทษย่อมจะเรียนรู้ในการหลีกหนีจากสถานการณ์ที่จะก่อให้เกิดการถูกลงโทษได้
๕. การรู้ผลของการเรียน เมื่อผู้เรียนรู้ผลของการเรียน ย่อมทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจเรียนรู้
เพิ่มมากขึ้น เพราะทำให้ผู้เรียนมีโอกาสปรับตัวต่อการเรียน ในสถานการณ์ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามแนวพุทธศาสตร์ในรูปแบบ Child
Cenered นั้นถือได้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นแบบฉบับริเริ่มมาตั้งแต่อดีตกาลแล้ว และผู้เรียน คือ (สาวก) ที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากพระพุทธเจ้านั้น มีแต่ประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้ก็เพราะว่า พระพุทธเจ้ามีทั้งหลักการสอนที่เต็มรูปแบบ มีวิธีสอนที่หลากหลาย มีพุทธลีลาในการสอนแต่ละที่สอน และยังมีรูปแบบการถ่ายทอดความรู้อย่างสมบูรณ์ จึงทำให้การสอนของพระองค์นั้น ถึงจุดมุ่งหมายที่พระองค์ได้ตั้งไว้ทุกประการ
เอกสารอ้างอิง
บุญมี แท่นแก้ว. ปรัชญาฝ่ายบุรพทิศ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๕
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพฯ : สหธัมมิก, ๒๕๔๑
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ :
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๒๗
อบรม สินภิบาล และกุลชลี องค์ศิริพร ประสบการณ์วิชาชีพภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :
โอเดียนสโตร์, ๒๕๒๔
อารี พันธ์มณี. จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : เลิฟ แอนด์ ลิพ เพรส จำกัด,
๒๕๔๐
|