หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » พระพุทธศาสนา » การศึกษาเชิงวิจารณ์เรื่องหลักปฏิจจสมุทปบาท
 
เข้าชม : ๕๓๘๙๐ ครั้ง

''การศึกษาเชิงวิจารณ์เรื่องหลักปฏิจจสมุทปบาท''
 
เพิ่ม รัฐไชย

๑.บทนำ

 

สังฆาธิปไตย   เป็นระบบการปกครองของคณะสงฆ์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ได้ทรงมอบพระราชอำนาจของพระองค์ให้กับคณะสงฆ์  คือกลุ่มพระภิกษุทั้งหมด  มิใช่มอบพระราชอำนาจให้กับภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้ามาผูกขาดอำนาจในการบริหารจัดการ  โดยให้คณะสงฆ์เป็นผู้ปกครองกันเอง  ทั้งนี้มีพระธรรมวินัยเป็นเหมือนรัฐธรรมนูญที่องค์กรสงฆ์จะต้องประพฤติปฏิบัติตามแนวทางที่ได้ทรงบัญญัติเอาไว้ ดังพระดำรัสว่า  ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา    (......................)

                ในสถานการณ์ปัจจุบันแนวคิดทางการเมืองการปกครอง ได้ขยายสู่อาณาจักรต่าง ๆ ทุกรูปแบบไม่เว้นแม้แต่ในอาณาเขตของพุทธจักร หรือในศาสนจักร  ทั้งนี้แนวคิด หรือทฤษฎี ดังกล่าวได้พยายามตีความคำสอนทางพระพุทธศาสนาให้เป็นแนวทางการเมืองการปกครองในหลากหลายมีทั้งลักษณะแง่มุมที่กว้างอันเป็นทฤษฎีและแง่มุมคับแคบที่เป็นเชิงปฏิบัติ ทั้งนี้ การตีความดังกล่าวก็ขึ้นอยู่กับการจับประเด็นทางพระพุทธศาสนาในแง่มุมที่แต่ละท่านมองเห็น หรือมีภูมิหลังทางความรู้ประสบการณ์ของแต่ละท่านมาเป็นเกณฑ์

                สังคมสงฆ์  เป็นสังคมที่น่าศึกษา ทั้งจุดเริ่มต้นที่มีแนวความคิดที่จะปฏิรูปสังคมอินเดียสมัยพุทธกาลที่ผูกโยงชนชั้นทางสังคมเอาไว้กับระบบวรรณะที่ไม่มีความเป็นธรรมจนคนวรรณะต่ำอย่างวรรณะศูทร ไม่สามารถที่จะพัฒนาตัวเองได้, ทางด้านเนื้อหาพระพุทธเจ้าทรงจำลองรูปแบบการปกครองเพื่อให้สังคมได้อยู่ด้วยกันอย่างผาสุก โดยมีรูปแบบของการปกครองสงฆ์ เป็นเหมือนเมืองจำลองให้กับสังคมอื่น ๆ นำไปประยุกต์ใช้, ระยะเวลาที่สถาบันสงฆ์ดำรงตั้งมั่นมาอย่างยาวนาน โดยมีผลกระทบ การปรับรูปแบบเพียงเล็กน้อย ตลอดไปถึงวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของวงการสงฆ์ อย่างน่าสนใจ และสังคมสงฆ์นี้เอง เป็นรูปแบบทางการปกครองอีกแนวทางหนึ่งที่จะเป็นทางเลือกให้กับชุมชน, สังคม, สถาบันทางการศึกษาต่าง ๆ ที่กำลังสับสนในโลกแห่งความวุ่นวายเกร่งแย้งชิงดีชิงเด่นกันในปัจจุบัน  และอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและถูกทางก็ได้ในอนาคตอันใกล้นี้

        อนึ่งพระพุทธเจ้าทรงเห็นความสำคัญของปัจเจกบุคคลแต่ละบุคคลแม้จะรวมกันเป็นคณะ

สงฆ์  แต่ก็ยังให้อิสรภาพเสรีภาพในการประพฤติปฏิบัติ  ฝึกฝนตนเพื่อให้ถึงเป้าหมายทางพระพุทธศาสนา โดยพระองค์ทรงวางกรอบแห่งพระธรรมวินัยเอาไว้และคอยชี้แนะในหลักการ  แต่จะไม่คอยควบคุมหรือตรวจสอบ เพื่อกดขี่บังคับเอาผลประโยชน์จากผู้ใต้ปกครอง  แต่จะให้ประโยชน์ตลอดไปถึงการให้สิทธิในการตรวจสอบตัวเองด้วยตัวเองของบุคคลนั้น ๆ  แทน

๑.๑.แนวคิด / ทฤษฎี

        เมื่อจะศึกษาระบอบการปกครองสงฆ์แล้ว ผู้ศึกษาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจ  เพื่อให้

เข้าถึงทฤษฎีและแนวความคิดของพระพุทธเจ้าเสียก่อน ว่าเป็นมาอย่างไร ?  เป้าหมายคืออะไรกันแน่ ?  มีหลักการเป็นแบบไหนบ้าง ?  เพื่อจะได้เห็นภาพกว้าง ๆ ของกรอบแนวคิดดั่งเดิมและแนวคิดใหม่ ๆ ที่ทรงปรับใช้ให้เข้ากับสังคมสงฆ์เป็นระยะ ๆ   ตลอดถึงการบริหารจัดการองค์กรของพระองค์ที่ได้ทรงกำหนดขึ้นไว้ หลังได้สาวกรุ่นแรก ๆ 

        หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงทดลองทฤษฎีต่าง ๆ ที่ทรงได้ร่ำเรียนมาจากสำนักของ

บูรพาจารย์ต่าง ๆ อย่างที่สุดและจริงจังรวมเป็นระยะเวลานานถึง    ปี อย่างไรก็ตาม  วิธีการต่าง ๆ เหล่านั้นก็หาได้ทำให้พระองค์ทรงประสบความสำเร็จตามที่ปรารถนาไม่  ในที่สุดพระองค์ก็ทรงเปลี่ยนแนวคิดทฤษฎีเสียใหม่จากทฤษฎีกามสุขัลลิกานุโยค ที่มุ่งสนองตอบต่อความต้องการของตัวเองอย่างเต็มที่โดยการบำรุงบำเรอตนให้ได้รับความสุขทางเนื้อหนังเพื่อหวังว่า เมื่อร่างการได้รับการสนองแล้วก็จะเกิดการตั้งมั่นเพื่อนำดวงจิตสู่โมกขธรรม  คือความหลุดพ้นกับทฤษฎีอัตตกิลมถานุโยคที่ทรมานตัวตนให้ลำบากโดยมีความคิดว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมบาปกรรม จึงต้องทรมานตนให้ได้รับความทุกข์ทรมานก่อนแล้วจึงจะนำไปสู่การหลุดพ้นโดยการรับพรจากเทพเจ้าเบื้องบน  มาเป็น ทฤษฎีมัชฌิมาปฏิปทา  ซึ่งเป็นการปฏิเสธแนวคิดที่สุดโต่ง    ด้าน  ดังกล่าวแล้วทรงนำมาประยุกต์ใช้ให้เป็นทางสายกลาง  เพื่อมุ่งทำลายล้างอัตตาคือความเป็นตัวตนที่ทะยานอยากทางจิตใจมากกว่ามุ่งทำลายตัวตนที่เป็นเนื้อหนัง หรือร่างกายคน

 

๑.๒. จุดประสงค์

จุดประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้มีอยู่    ประการ  มีดังนี้

                  ก.เพื่อให้ทราบว่าสังคมสงฆ์คือระบอบการปกครองรูปแบบใดกันแน่?

                        ดังที่กล่าวมาแล้วว่านักวิชาการทั้งหลายได้พยายามหยิบประเด็นในเรื่องของธรรมาธิปไตย  ว่าเป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุด ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติเอาเมื่อ  ๒๕๕๐  ปีที่แล้ว แต่หากศึกษาลึกลงไปแล้วทำให้เห็นว่าธรรมาธิปไตย  ไม่ใช่ระบอบการปกครองที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติและประกาศว่าดีที่สุด  ธรรมาธิปไตยเป็นแต่เพียงธรรมรัฐ ที่ใช้หลักธรรมะในการกำกับการบริหารจัดการเพื่อให้นักการเมืองหรือผู้ปกครองบ้านเมืองนำไปใช้เป็นกรอบแนวคิด โดยมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นธงนำทาง 

เมื่อเป็นเช่นนี้  ผู้เขียนจึงได้ศึกษาค้นคว้าและนำเสนอแนวคิดการปกครองทาง

พระพุทธศาสนาเสียใหม่  จึงได้หยิบเอาประเด็นการปกครองสงฆ์ที่มีรูปแบบชัดเจนกว่ามาเขียนโดยใช้ชื่อว่า  สังฆาธิปไตย 

        ระบอบการปกครองดังกล่าวนี้อาจจะมีความคล้ายคลึงกับระบอบการปกครองที่เรียกว่าประชาธิปไตย, สังคมนิยม, คอมมิวนิสต์, เสรีนิยม  เป็นต้น  แต่ในที่นี้จะศึกษาเปรียบเทียบเฉพาะระบอบประชาธิปไตยกับสังฆาธิปไตยเท่านั้น

 

ข.เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านพุทธศาสนาในมุมที่กว้างยิ่งขึ้น

                        ในสถานการณ์ปัจจุบันได้มีนักวิชาการหลายสถาบัน ได้หันมาสนใจรูปแบบการ

ปกครองใหม่ ๆ เพื่อต้องพัฒนาศาสตร์ทางการปกครองอย่างรัฐศาสตร์ให้มีความกว้างและลึกมากยิ่งขึ้น  ประกอบกับมหาวิทยาลัยสงฆ์เองก็พยายามที่จะเปิดเวทีให้กับผู้คนที่สนใจในเรื่องของพระพุทธศาสตร์ประยุกต์ได้มีโอกาสในการศึกษาเปรียบเทียบให้เกิดความหลายหลาย  และที่สำคัญย่อมจะเป็นช่องทางหนึ่งที่ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่สถาบันการศึกษาได้มากขึ้น  กว้างขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง  ในหนังสือเล่มนี้ก็จะเน้นการศึกษาเชิงสถาบันสงฆ์ (institutional  approach)  โดยพยายามที่จะศึกษาเกี่ยวกับสถาบันทางการปกครองสงฆ์อันเป็นโครงสร้างทางอำนาจและหน้าที่อย่างเป็นทางการ  (formal  power)  ตลอดไปถึงการควบคู่ไปกับการศึกษาแนวประวัติศาสตร์ [๑] เพื่อที่จะทำให้ได้เห็นถึงวิวัฒนาการความเป็นมาทั้งอดีตอันจะแสดงให้เห็นถึงการปะติดปะต่อของกลไกลทางการบริหารจัดการที่เป็นรูปแบบอย่างแท้จริง

 

                  ค.เพื่อปรับประยุกต์ใช้หลักการสู่ระบอบการปกครองในรูปอื่น ๆ

                        สังฆาธิปไตย  มีรูปแบบที่เฉพาะตัว  มีเป้าหมาย   วิธีการ   อุดมการณ์  และกลไกลทางการบริหารจัดการที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ดีแล้ว  ทั้งนี้ก็เพื่อเป้าหมายสูงสุดเพียงหนึ่งเดียวคือการนำความผาสุกมาให้หมู่คณะ อันจะได้ช่วยเหลือเกือกูลกันในการประพฤติปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ต่อไป  และคำว่าสงฆ์นี้เองเป็นกลุ่มชนที่มีอุดมการณ์เป็นหนึ่งเดียวคือพระนิพพาน  ดังนั้นหากนำเอาจุดเด่นของสังคมสงฆ์มาปรับใช้กับสังคมใดใดในโลกแล้ว หรือระบอบการปกครองแบบนั้น ๆ แล้วก็ย่อมจะเป็นระบอบการปกครองที่ยั่งยืน  ไม่แย่งชิง  ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก  มีแต่ความโอบอ้อมอารีซึ่งกันและกัน อันเป็นยิ่งกว่าสังคมในอุดมคติเป็นไหน ๆ

 

๑.๓.ความเป็นมา

สังฆาธิปไตย  คือระบอบการปกครองสงฆ์ในสมัยพุทธกาลที่ทรงได้วางรูปแบบเอาไว้เพื่อให้สงฆ์มีอำนาจและเป็นใหญ่ในการทำกิจการต่าง ๆ โดยไม่ให้ยึดถือตัวบุคคลเป็นหลัก เป็นที่ตั้งกว่าองค์กรเพื่อต้องการให้เกิดความสามัคคี  ความพร้อมเพียงกันของหมู่คณะ (                     )  และความคล่องตัวขององค์กร  ที่เหมาะสมในยุคสมัยนั้น  รูปแบบการปกครองแบบสังฆาธิปไตยนี้พระพุทธเจ้าทรงมีประสบการณ์จากแคว้นเล็ก ๆ อย่างสักกะทางเหนือของอินเดียที่มีระบอบการปกครองอย่าง  สังฆะ  ตอนที่พระองค์ทรงพระชนมายุได้  ๒๐  ปีบริบูรณ์แล้วต้องเข้ามาเป็นสมาชิกของศากยะสังฆะ หรือสภามนตรี ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ชื่อว่า  สัณฐาคาร   [๒]  และมัลละที่มีขนาดเล็กแต่ปกครองด้วยอปริหารนิยธรรม    ประการ จำทำให้แคว้นขนาดเล็กแต่กลับเป็นแคว้นที่ทรงพลังแข็งเกร่ง  ประกอบกับคณะสงฆ์ในยุคสมัยนั้นมีไม่มากนักและที่สำคัญล้วนแล้วแต่มีอุดมการณ์ที่จะบรรลุธรรมทั้งนั้นแล้วจึงเข้ามาบวช

        จะเห็นได้ว่าองค์กรสงฆ์ในสมัยพุทธกาล จะมีแนวโน้มไปในทางสามัคคีธรรมคือมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระประมุขโดยมีการบริหารจัดการผ่านมาทางสังฆะ หรือหมู่ของภิกษุ

        หากจะนำสังฆาธิปไตยมาเปรียบเทียบกับประชาธิปไตยเพื่อให้เห็นถึงที่มาของอำนาจที่มีการถ่วงดุลกันและกันทั้ง    อำนาจ เช่น  อำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจการบริหาร  อำนาจตุลาการ  นั้นไม่ได้เพราะภาพที่ออกมาไม่ชัดเจนและอาจทำให้การศึกษาสังฆาธิปไตยเป็นไปอย่างคับแคบอึดอัด ทั้งนี้เป็นเพราะ

                        ก.ดินแดนหรืออาณาเขต  (Territory)  อาณาเขตของอาณาจักร  การพักอยู่อาศัยมิได้อยู่กันมีอาณาเขตชัดเจนแน่นอนจนสามารถนำมาเป็นรัฐ หรือประเทศชาติได้  แต่ได้อาศัยอาณาเขตของบ้านเมืองเป็นหลักโดยกระจายตัวไปอยู่ตามป่าเขา  วัด  อารามต่าง ๆ ในดินแดนของเมืองนั้น ๆ  หรือแม้แต่การทำสังฆกรรมก็มีอาณาเขตที่เฉพาะเล็กโดยการสมมุติเอาใหญ่ห้ามเกิน    โยชน์  เล็กห้ามน้อยกว่าภิกษุเมื่อนั่งในหัตถบาตรแล้วไม่น้อยกว่า  ๒๑  รูป ทั้งนี้ใหญ่หรือเล็กนั้นขึ้นอยู่กับขนาดและความสำคัญของสังฆกรรมนั้น ๆ อาจจะทั้งจังหวัด, ทั้งอำเภอ, ทั้งตำบล, ทั้งวัด หรือแม้กระทั้งกลุ่มเล็ก ๆ ๔  รูปขึ้นไปกระทำสังฆกรรมโดยอาศัยพื้นที่ทำภายในสีมา  หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันว่าอุโบสถก็ได้แล้ว

        กฎเกณฑ์ในเรื่องดินแดนนี้  ไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากนัก  ยิ่งอาณาจักรในยุคโบราณที่ปกครองด้วยระบบนครรัฐด้วยแล้วยิ่งมีความสำคัญน้อยลง  แต่ความสำคัญไปเน้นที่กำลังคน  หรือจำนวนคน  แม้ในโบราณเมื่อไม่กี่ร้อยปีที่แล้วเช่นสมัยอยุธยาเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่    ปี พ.ศ. ๒๓๑๐  ทัพพม่าก็เข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาเอาไว้  อยุธยาก็ให้กวาดต้อนผู้คนเข้ามาอยู่ในกำแพงเมืองเสียทั้งหมด  แต่เมื่อพม่าชนะก็ต้อนคนไปเสียเกือบหมดเมือง [๓]  โดยไม่ได้สนใจเรื่องดินแดนของกรุงศรีอยุธยาแต่อย่างใดเลย  จึงทำให้มองว่าพุทธจักรในสมัยนั้นน่าจะเน้นที่จำนวนคนหรือจำนวนพระภิกษุมากกว่าคำว่าดินแดน

                        ข. ประชากรหรือพลเมือง (Population)  คือจำนวนของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล

ที่มีไม่มากนัก  จึงเป็นองค์กรขนาดเล็กซึ่งสามารถรวมตัวกันเฉพาะกิจนั้น ๆ ได้โดยไม่จำกัดเฉพาะในเมืองใดเมืองหนึ่ง  หรืออารามใดอารามหนึ่ง  แต่มีหลักกว้าง ๆ เอาไว้ว่า ภิกษุเมื่อรวมตัวกันแล้วย่อมทำสังฆกรรมได้  เช่น  พิธีกฐิน, เข้าร่วมพิธีกรรมอุปสมบท, พิธีกำหนดสีมา  หรือแม้แต่สงฆ์แต่งตั้งตัวแทนเพื่อทำหน้าที่ต่าง  ๆ , ภิกษุเป็นตัวแทนของสงฆ์รับสังฆทาน  เป็นต้น

        ดังนั้นพลเมืองของสงฆ์ในที่นี้หมายรวมเอาภิกษุณี  สามเณร  สามเณรี  เข้าไปด้วย เพราะ

อย่างน้อยสามเณรหรือสามเณรีก็คือเหล่าก่อแห่งสมณะแม้ไม่สามารถเข้าร่วมสังฆกรรมได้  แต่เมื่อเรียกรวมโดยองค์กรแล้วก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรสงฆ์เช่นกัน

                        ค.รัฐบาล (Government)  พระพุทธเจ้าคือผู้นำที่มีหลายพระนาม  เช่น   ทรงเป็น

ประมุขสงฆ์  สังฆบิดร  สังฆราชา  พระธรรมราชา  เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่หมายถึงผู้นำซึ่งเป็นผู้นำที่มีธรรมบารมี  พระองค์ทรงเป็นผู้ก่อตั้งพระศาสนา  ย่อมทรงมีความชอบธรรมอย่างยิ่งในการดูแลปกครองเหล่าภิกษุสงฆ์  เป็นผู้นำทางด้านกำหนดทิศทางคณะสงฆ์  ทรงวางนโยบาย  ทางกำหนดวิสัยทัศน์  ทรงจัดการบริหารองค์กร  ถึงแม้ว่าพุทธจักรจะไม่ใช่รัฐหรือองค์กรทางการปกครองที่เป็นทางการอย่างเช่นรัฐทั่ว ๆ ไป   แต่ก็ย่อมมีหน่วยสังคมหรือองค์กรอื่น เช่น กลุ่มเครือญาติอาวุโสในสังคม (เผ่าชนบางแห่ง)  ทำหน้าที่ปกครองสมาชิกสังคมคล้ายคลึงกับหน้าที่ของรัฐบาลในสังคมสมัยใหม่  [๔]  อยู่แล้ว  จึงไม่น่าแปลกว่าสังคมสงฆ์ในสมัยพุทธกาลก็มีความคล้ายคลึงกลับรัฐสักกะของพระราชบิดาของพระองค์เอง

ง.อำนาจอธิปไตย  (Sovereignty) เป็นพระราชอำนาจที่บริสุทธิ์ทั้งผู้ปกครองและผู้

อยู่ภายใต้การปกครองที่โดยมากล้วนแล้วแต่เป็นพระอริยเจ้า  แม้พระพุทธเจ้าจะมีพระราชอำนาจเต็มที่แต่พระองค์ก็ไม่เคยกดขี่ หรือแสดงถึงพระราชอำนาจนั้น ๆ  ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้อยู่ภายใต้การปกครอง

       

         แต่หากมองสังฆาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองในมิติทางศาสนาย่อมจะทำให้ทัศนคติของผู้เข้ามาศึกษากว้างขึ้นและเป็นไปด้วยความสมเหตุสมผลในการศึกษาเพื่อประยุกต์ใช้ในสังคมต่าง ๆ ตามโอกาสที่จะกระทำได้

สังฆาธิปไตย  ต้องการที่จะพัฒนาให้เป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ และกว้างขึ้น เนื่องจากการวิเคราะห์ของนักวิชาการยุคหลัง ๆ มักจะพยายามชี้นำสังคมไปในเรื่องของธรรมาธิปไตย  ซึ่งความเป็นจริงแล้ว  ธรรมาธิปไตย  มิใช่ระบอบการปกครอง เพียงแต่เป็นธรรมรัฐหรือกรอบแนวความคิดอันเป็นหลักธรรมาภิบาล  ในการบริหารจัดการบ้านเมืองให้อยู่อย่างร่มเย็น  เป็นธรรม  และชอบธรรมเท่านั้น

        ในมุมมองของผู้เขียนเองต้องการที่จะพัฒนารัฐศาสตร์ ความรู้ทางการเมืองการปกครองมาประยุกต์เข้ากับพุทธศาสตร์ ความรู้หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  โดยได้ศึกษาค้นคว้าและเขียนศาสตร์ทั้ง    ออกมาเป็นเอกสารเผยแผ่  รวม    แนวทาง  ดังนี้

                        แนวทางแรก ; มุมมองรัฐศาสตร์ในแง่ทฤษฎี

                        มุมมองนี้ได้พยายามศึกษาค้นคว้ารัฐศาสตร์ในแง่ของทฤษฎีในพระพุทธศาสนา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระไตรปิฎกเพื่อให้เห็นภาพรวมถึงประวัติศาสตร์  แนวคิด  พัฒนาการ  รูปแบบของการจัดองค์กร  โดยได้พยายมหยิบยกประเด็นทางการเมืองการปกครองในสมัยพุทธกาลมานำเสนอ  และได้ยกตัวอย่างพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง  เช่น  อัคคัญสูตร  พระสูตรว่าด้วยการกำเนิดรัฐ, จักกวัตติสูตร  พระสูตรว่าด้วยอุดมรัฐ,  กูฏทันตสูตร  พระสูตรว่าด้วยเศรษฐศาสตร์การเมือง, มหาสีหนาทสูตร  พระสูตรว่าด้วยการจัดองค์กร, มหาปรินิพพานสูตร  พระสูตรว่าด้วยแนวคิดทางการเมืองการปกครอง  เป็นต้น  ตลอดรวมไปถึงนักคิดนักเขียนที่พยายามนำประเด็นทางพระพุทธศาสนาในแง่มุมต่าง ๆ มาวิเคราะห์  เช่น  การตีความคำสอนทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวประชาธิปไตย, เป็นแนวสังคมนิยม, เป็นแนวธรรมิกสังคมนิยม, เป็นแนวปรัชญาการเมือง, เป็นแนวธรรมาธิปไตย, เป็นแนวนิติรัฐ, เป็นแนวมโนทัศน์  เป็นต้น   โดยทั้งหมดนี้อยู่ในหนังสือเรื่อง  ทฤษฎีรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก  อันเป็นหนังสืออันดับที่    ของผู้เขียน

 

                        แนวทางที่สอง  ;  มุมมองรัฐศาสตร์ในแง่ของโครงสร้างหน้าที่

                        มุมมองนี้ได้พยายามศึกษาค้นคว้าถึงรูปแบบทางการปกครองที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา  ตลอดถึงความเป็นมา  การจัดรูปแบบ  โดยยกเป็นเด็นเรื่องของสังฆะ  ความหมาย, ความเป็นมา, เรื่องของอธิปไตย  อำนาจในการจัดการ โดยยกตัวอย่างการโหวตลงคะแนนเสียง, การเป็นตัวแทนสงฆ์  เป็นต้น , เรื่องของสังฆาธิปไตย  อำนาจของสงฆ์  ทั้งหมดนี้อยู่ในหนังสือเรื่อง  สังฆาธิปไตย ; ระบอบการปกครองสงฆ์  เล่มที่ท่านกำลังถืออยู่นี้  อันเป็นหนังสืออันดับที่  ๑๑  ของผู้เขียน

 

                        แนวทางที่สาม  ;  มุมมองรัฐศาสตร์ในแง่ของจริยธรรมของผู้นำ

                                มุมมองนี้ได้พยามยามศึกษาค้นคว้าถึง หลักธรรมคำสอนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับจริยธรรม-คุณธรรมของผู้บริหาร ตลอดถึงหลักการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเน้นเรื่องของธรรมาภิบาล  เช่น หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการวางกรอบบริหารบ้านเมือง, หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการเป็นผู้นำ, หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการพัฒนาประเทศ, หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการสงเคราะห์คนในสังคม, หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการวินิจฉัยสั่งการ, หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการพัฒนาองค์กร, หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการวงแผนนโยบาย, หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการฝึกฝนตนเอง  เป็นต้นทั้งหมดนี้อยู่ในหนังสือเรื่อง  ธรรมรัฐ-ธรรมาธิปไตย-ธรรมาภิบาล  อันเป็นหนังสืออันดับที่  ๑๓  ของผู้เขียน

 

                        แนวทางที่สี่  ;  มุมมองรัฐศาสตร์ในแง่ของพฤติกรรมศาสตร์

                        มุมมองนี้ได้ศึกษาค้นคว้ารัฐศาสตร์ในแง่ของวรรณกรรมทางศาสนา ว่ามีรูปแบบการเขียนอย่างไร  มีแง่คิดไหนบ้าง  และที่สำคัญมีอิทธิพลต่อสังคมเป็นอย่างไร  อันเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาทั้งอดีตและปัจจุบัน  ทั้งหมดนี้อยู่ในหนังสือเรื่อง  รัฐศาสตร์ในวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา  อันเป็นหนังสืออันดับที่  ๑๔  ของผู้เขียน

       

สังฆาธิปไตย  เป็นการพยายามประยุกต์หลักการเพื่อให้เกิดการปกครองใหม่ ๆ  ทั้งนี้เกิด

ความไม่แน่ใจว่าระบอบการปกครองที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอย่างประชาธิปไตยนี้จะดีที่สุด อาจเป็นเพราะพระพุทธศาสนาสอนในเรื่องของกฎไตรลักษณ์คือทุกสิ่งทุกอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา  ระบอบการปกครองที่ว่าดีที่สุดในปัจจุบันอาจจะไม่ดีที่สุดสำหรับในอนาคตก็ได้ในอดีตระบอบประชาธิปไตย นักปราชญ์ชื่อก้องโลกอย่างเช่น.....................ก็ว่าเป็นระบอบที่เลว  จึงมีคำถามว่าแล้วในอนาคตละจะดีแค่ไหน?  ระบอบการเมืองระบอบใดระบอบหนึ่งจะเกิดขึ้นต้องมีองค์ประกอบ  มีสภาพสังคมและภูมิหลังที่มีความแตกต่างกัน  เช่น

ระบอบประชาธิปไตย  เกิดเพราะคนตะวันตกโหยหาอิสรภาพ

ระบอบคอมมิวนิสต์  เกิดเพราะเห็นนายทุนเอาเปรียบคนผู้ใช้แรงงาน

ระบอบสังฆาธิปไตยเกิดเพราะต้องการความพร้อมเพียงของหมู่คณะหรือความสามัคคี

   สังฆะ

 

๒.๑.ความหมายของสงฆ์                                                         

                คำว่า  สงฆ์  แปลว่า  หมู่ หรือ ชุมนุม ซึ่งมีความหมายว่า หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่าสาวกสงฆ์, หมู่แห่งภิกษุ หรือ ชุมนุมสงฆ์ [๕]  ซึ่งก็คือหมู่ของภิกษุที่รวมตัวกันเป็นคณะ   เป็นกลุ่มเพื่อทำภารกิจต่าง ๆ นั้นเอง

                อันที่จริงแล้วคำว่า  สงฆ์  มีความหมายถึง    ประการด้วยกัน คือความหมายอย่างกว้างชนิดที่เรียกว่าเป็นความหมายระดับองค์กรก็มี  ความหมายเฉพาะเป็นความหมายที่ใช้เรียกว่าให้รู้ถึงขอบเขตการปกครองก็มี  หรือความหมายที่ใช้ในสังฆกรรมก็มี  ซึ่งมีรายละเอียด  ดังต่อไปนี้

                .ความหมายอย่างกว้าง   หมายถึงคณะสงฆ์ทั้งหมดที่รวมกันอยู่เป็นองค์กร หรือเรียกภิกษุทั้งหมดว่า สงฆ์  ความหมายนี้โดยมากมักจะหมายถึงองค์กรสงฆ์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นภิกษุสงฆ์ หรือภิกษุณีสงฆ์  หรือแม้แต่การจะเรียกรวมสามเณร และสามเณรี เข้าด้วยก็ได้โดยเป็นส่วนประกอบของบริษัททั้ง     (พุทธบริษัท    ประกอบด้วยภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา) ซึ่งภิกษุเหล่านั้นอาจจะอยู่คนละอาวาสกัน  หรืออยู่คนละเมือง  หรืออยู่คนละแคว้นกันก็ตาม  ตลอดไปถึงสงฆ์ทั้งในอดีต-ปัจจุบัน-อนาคตย่อมขึ้นอยู่กับองค์กรสงฆ์โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขทั้งสิ้น

                ข.ความหมายเฉพาะ  หมายถึงคณะสงฆ์ที่อยู่เฉพาะถิ่น  เฉพาะที่  เช่น  คณะสงฆ์อินเดีย, คณะสงฆ์แคว้นมคธ, คณะสงฆ์วัดเวฬุวัน, คณะสงฆ์ไทย, คณะสงฆ์จังหวัดพะเยา, คณะสงฆ์วัดศรีโคมคำ  เป็นต้น  ซึ่งความหมายเช่นนี้มักจะหมายถึงการปกครองเป็นส่วนใหญ่ 

                ค.ความหมายที่ใช้ในสังฆกรรม  หมายถึงพระภิกษุตั้งแต่    รูปขึ้นไป รวมตัวกันเป็นสงฆ์ก็เพื่อจะทำสังฆกรรมนั้น ๆ ให้สำเร็จตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเอาไว้  เช่น  พิธีกรรมอุปสมบท  เมืองไทยถือว่าพิธีกรรมอุปสมบทจะมีได้ต้องมีสงฆ์ ที่มีองค์ประกอบของหมู่ภิกษุอย่างน้อย  ๑๐  รูปขึ้นไป ซึ่งภิกษุทั้ง  ๑๐  รูปนี้อาจอยู่ต่างอาวาสกัน, อยู่คนละจังหวัด, อยู่คนละประเทศกันก็ได้เมื่อมาประชุมร่วมกันเฉพาะกิจพิธีกรรมนั้นก็สำเร็จ  มียกเว้นก็คือพิธีกรานกฐิน  ซึ่งจะต้องอาศัยภิกษุภายในอาวาสนั้น ๆ เท่านั้นพิธีกรรมนั้นจึงจะสำเร็จ

 

๒.๒.กำเนิดสงฆ์

การเกิดของคำว่า สงฆ์ นั้นมาจากจุดเริ่มต้นของการบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา กล่าวคือเมื่อพระพุทธจ้าเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์โดยการแสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง  ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร    ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  เขตกรุงพาราณสี  ภายหลังที่พระองค์ทรงได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว  เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมกัณฑ์แรกจบลง  ท่านอัญญาโกณฑัญญะ  ได้ดวงตาเห็นธรรม  จึงกราบทูลขอบวชต่อพระพุทธเจ้าโดยพระองค์ทรงตรัสว่า  เธอจงมาเป็นภิกษุมาเถิด  แล้วตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด  [๖]  นั้นเป็นการเริ่มต้นของการมีผู้แทนสงฆ์ครั้งแรก ต่อมาจึงอุปสมบทให้กับพระวัปปะ, พระภัททิยะ  และพระมหานามะ, พระอัสสชิ  [๗]  ตามลำดับ เป็นการครบองค์แห่งคำว่า  สงฆ์  อย่างสมบูรณ์ แต่ยังไม่ชัดเจนจนเป็นองค์กรขึ้นมาเพราะพระเถระเหล่านี้ล้วนแล้วเป็นพระอริยบุคคล  ไม่มีปัญหามาก  ไม่มีพิธีกรรมมาก  ผู้เข้ามาเลื่อมใสก็ไม่มากเพราะยังใหม่ต่อทฤษฎีและรูปแบบ

 

๒.๓.อุดมการสงฆ์

แท้ที่จริงการเกิดของสงฆ์  ก็คือเมื่อมีผู้เห็นด้วยกับแนวคิดในการหลุดพ้นจากพันธนาการต่าง ๆ ตามแนวทางของพระพุทธเจ้า แล้วจึงกราบทูลขอบวช  เมื่อมีคนประสงค์ขอบวชมากขึ้นภิกษุก็มากขึ้น  แม้อุดมการณ์ไม่เปลี่ยน แต่วิธีการต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ เพื่อให้องค์กรที่ใหญ่ขึ้น ๆ บรรลุเป้าหมายที่พระองค์ทรงวางเอาไว้และอีกส่วนหนึ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้ก็คือการเสด็จออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะ ส่วนหนึ่งพระองค์ก็ต้องการที่จะทรงมุ่งแก้ปัญหาสังคมอินเดียในยุคนั้น  เช่น  ความไม่เท่าเทียมกัน (ไม่มีสมภาพ)  ความเป็นทาส (ไม่มีเสรีภาพ)  ความไม่มีโอกาสทางการพัฒนาตนเอง (สิทธิ ) ของคนวรรณะต่ำและสตรี  ความอดอยากยากจน  (เศรษฐกิจ) [๘]  เมื่อพระพุทธเจ้าทรงให้กำหนดสงฆ์ ก็เพื่ออุดมการณ์ต่าง ๆ ซึ่งพอจะประมวลได้ดังต่อไปนี้

๑.เพื่อความสามัคคีหมู่คณะ หรือความผาสุก

๒.เพื่อลดละอัตตา คือความยึดมั่นในตัวตน

๓.เพื่อเป้าหมายชีวิตคือนิพพาน

๔.เพื่อประโยชน์แก่มหาชน   (จรถ  ภิกฺขเว  จาริกํ  พหุชนหิตาย  พหุชนสุขาย  โลกานุกมปทาย  อตฺถาย  หิตาย  เทวมนุสฺสานํ  ภิกษุทั้งหลาย  จงจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่ปวงชน  เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก  เพื่อประโยชน์  เพื่อเกื้อกูล  แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)  เมื่อศึกษาถึงคุณสมบัติของสงฆ์ทั้ง    ประการแล้วจะได้  ดังนี้

ประการที่    เป็นผู้ปฏิบัติดี                                                              

ประการที่  ๒ เป็นผู้ปฏิบัติตรง

ประการที่  ๓ เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง                                    

ประการที่  ๔ เป็นผู้ปฏิบัติสมควร

ประการที่  ๕ เป็นผู้ควรแก่คำนับ                                    

ประการที่  ๖ เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ

ประการที่  ๗ เป็นผู้ควรแกทักษิณา(ทาน)                     

ประการที่  ๘ เป็นผู้ควรแก่อัญชลี กราบไหว้

ประการที่  ๙ เป็นเนื้อนาบุญของโลก

 

๒.๔.วิวัฒนาการแห่งการเกิดสงฆ์

เมื่อจะศึกษาเรื่องของสงฆ์  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงวิวัฒนาการความเจริญก้าวหน้าของการบวชเสียก่อน เหตุเพราะคำว่า สงฆ์ กับ  การบวช เป็นคำที่เกี่ยวเนื่องกันและไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้เป็นเหมือนเหรียญที่อยู่คนละด้าน (ถ้าจะเรียกสงฆ์ก็ต้องดูลำดับการบวช  ถ้าบวชแล้วก็เป็นส่วนหนึ่งของสงฆ์)   เริ่มแรกทีเดียวนั้นพระพุทธเจ้าทรงให้การอุปสมบทด้วยพระองค์เอง  เมื่อภิกษุทั้งหลายได้พากันนำผู้ต้องการบวชมาเพื่อกราบทูลขออนุญาต  เป็นจำนวนมากขึ้น ๆ  พระองค์จึงรำพันว่า  บัดนี้ภิกษุทั้งหลายพาเหล่ากุลบุตรผู้มุ่งบรรพชา และมุ่งอุปสมบทมาจากทิศนั้น ๆ จากชนบทต่าง ๆ ด้วยตั้งใจว่า  พระผู้มีพระภาคจักทรงให้พวกเขาบรรพชาอุปสมบท  ทำให้เกิดความลำบากมาก  จึงตรัสว่า  ภิกษุทั้งหลาย  บัดนี้ท่านทั้งหลายนั่นแหละจงให้บรรพชา  จงให้อุปสมบทในทิศนั้น ๆ ในชนบทนั้น ๆ เถิด  [๙]  นับว่าเป็นการกระจายพระราชอำนาจโดยทรงอนุญาตให้บวชได้ด้วยระบบใหม่ที่พระเถระรูปอื่น ๆ ก็สามารถให้การบวชได้  ไม่ต้องเดินทางไกลเพื่อนำกุลบุตรเพื่อเข้ามาบวชกับพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวอีกต่อไป  ระบบการบวชใหม่นี้เป็นระบบที่ใช้ได้ทั่วไป เป็นการติดอาวุธในการเผยแผ่ให้กับเหล่าพระสาวก   ระบบนี้เรียกว่า  ไตรสรณคมน์ [๑๐]

แม้พระพุทธเจ้าจะทรงกระจายพระราชอำนาจไปยังพระเถระ ให้สามารถเป็นพระอุปัชฌาย์ได้  แต่เมื่อมีพระภิกษุจำนวนมากเข้ามาบวชแล้ว  พระอุปัชฌาย์ก็มีจำนวนน้อย  ไม่สามารถควบคุมดูแลพระนวกะให้อยู่ในกรอบของพระธรรมวินัยได้เนื่องด้วยไม่มีใครว่ากล่าวเหล่าภิกษุ  ที่ประพฤติไม่งาม  ไม่เรียบร้อย  ทั้งการนุ่งห่ม  มารยาท  เที่ยวบิณฑบาต  ไม่มีใครคอยตักเตือน  พร่ำสอน [๑๑]  จึงทรงตั้งพระอุปัชฌาย์ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้เข้าไปตั้งจิตคุ้นเคยสนิทสนมในสัทธิวิหาริกฉันบุตร และเพื่อให้เข้าไปตั้งจิตคุ้นเคยสนิทสนมในพระอุปัชฌาย์ฉันบิดา  [๑๒]  ต่อกันและกัน

เริ่มแรกนั้นไม่ได้ทรงแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์เป็นหลักการเอาไว้  เพียงแต่ทรงอนุญาตให้แสวงหาพระอุปัชฌาย์เอาเอง โดยตรัสว่า  ภิกษุทั้งหลาย  สัทธิวิหาริก พึงถืออุปัชฌาย์อย่างนี้  พึงห่มอุตตราสงค์เฉลียงบ่าข้างหนึ่ง  กราบเท้า  นั่งกระโหย่ง  ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า  ท่านผู้เจริญ ท่านจงเป็นอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าเถิด  [๑๓]  เพียงเท่านี้ก็สำเร็จประโยชน์ได้

แต่แล้วการอุปสมบทด้วยระบบไตรสรณคมน์  ได้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง  คือ ถ้าบรรดาภิกษุไม่ประสงค์จะให้บวชก็เกิดเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมาตัดสินไม่ได้ อุปัชฌาย์ไม่รับบวชพระองค์จึงต้องใช้วิจารณญาณ หรือหาทางออกให้  ทั้งนี้ก็มีข้อยกเว้น ดังเช่น กรณีของพราหมณ์คนหนึ่งชื่อราธะ  แม้บรรดาภิกษุไม่อนุญาตให้บวช  แต่เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าใครระลึกถึงความดีของพราหมณ์นั้นได้บ้าง  พระสารีบุตรกราบทูลว่า เมื่อข้าพระองค์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์นี้  พราหมณ์นั้นได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง  พระพุทธเจ้าตรัสว่า  ดีละ ๆ สารีบุตร สัตบุรุษทั้งหลายเป็นผู้กตัญญูกตเวที  ถ้าเช่นนั้น  เธอจงให้พราหมณ์นั้นบรรพชาอุปสมบทเถิด  [๑๔]  และต่อมาพระองค์ จึงประกาศห้ามการอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์  และให้ใช้อุปสมบทด้วยญัตติจตุถกรรม แทน [๑๕]  ซึ่งเป็นระบบการให้อุปสมบทที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบันอันแสดงให้เห็นถึงการส่งมอบพระราชอำนาจของพระองค์สู่คณะสงฆ์อย่างแท้จริง  ส่วนระบบไตรสรณคมน์นั้นก็ใช้สำหรับการให้บรรพชาสามเณรตั้งแต่บัดนั้นมาเช่นกัน

 

ก.วิวัฒนาการทางแนวคิด

        เมื่อมองดูพัฒนาการเกิดขึ้นของสงฆ์  ตั้งแต่ต้นจะเห็นได้ว่าพัฒนาการทางรูปแบบและการกระจายพระราชอำนาจ  อันมีจุดเริ่มต้นที่การอุปสมบทเป็นปฐมเหตุ  มีดังนี้

                        ประการที่หนึ่ง  ทรงใช้ทฤษฎีธรรมชาติ  หรือทฤษฎีเอหิภิกขุอุปสมปทา                  ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานในการกำหนดภิกษุด้วยพระองค์เอง  และเป็นจุดเริ่มต้นของการมีรัตนะครบ    รัตนะในขณะนั้น ซึ่งต่อมามีผู้คนทยอยขอเข้ามาอุปสมบทอีก  แต่ก็ยังมีจำนวนที่น้อยอยู่ อีกประการหนึ่งปัญหายังมีไม่มากทั้งนี้เพราะพระเถระรุ่นแรก ๆ เป็นผู้ที่มุ่งความหลุดพ้นเป็นประการแรก เริ่มตั้งแต่  ปัญจวัคคีย์ทั้งห้า, กลุ่มพระยสะพร้อมสหาย   จึงเป็นการง่ายที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้บริหารและจัดการด้วยพระองค์เอง

                        ประการที่สอง  ทรงใช้ทฤษฎีวิวัฒนาการ  หรือทฤษฎีไตรสรณคมน์  ที่พระพุทธเจ้าทรงผ่อนถ่ายพระราชอำนาจไปให้กับพระมหาเถระในระดับต่าง ๆ เมื่อมีผู้ที่ประสงค์ที่จะเข้ามาอุปสมบทมากขึ้นยิ่งขึ้น กิจการพระศาสนามีรัศมีที่กว้างไกลมากยิ่งขึ้น  ผู้ที่เข้ามานับถืออยู่ห่างไกลต่างเมือง  ต่างแคว้น เพื่อเป็นการไม่ให้ผู้ขออุปสมบทต้องลำบากในการเดินทางและเป็นการแบ่งเบาภารกิจของพระพุทธเจ้าในภารกิจที่มากขึ้น

                        ประการที่สาม  ทฤษฎีสังฆาธิปไตย หรือทฤษฎีญัตติจตุตถกรรม  ที่ทรงมอบให้เป็นภารกิจของสงฆ์ที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหาร ลักษณะเป็น  One  stop  service  คือสามารถให้อุปสมบทได้ถ้าถูกต้องตามพุทธานุญาต  และเมื่อมีผู้คนเข้ามาปลอมบวชเพื่อลาภสักการะมากขึ้น  พระองค์ก็ทรงวางกฏเกณฑ์ระเบียบวินัย  มอบพระราชอำนาจให้กับสงฆ์ในการบริหารจัดการ  ส่วนพระองค์ได้ค่อยเป็นผู้กำกับ  เมื่อมีเหตุการณ์ที่เป็นที่ถกเถียงไม่รู้จบพระองค์จะเป็นผู้วินิจฉัย  สั่งการ  และทรงบัญญัติพระวินัยนั้น ๆ  เพื่อให้สงฆ์ปฏิบัติตาม

        ในเรื่องดังกล่าวนี้  ประยงค์  สุวรรณบุบผา ได้สรุปเอาแนวคิดทางการปกครองของพระพุทธเจ้า ตลอด  ๔๕  พรรษาเอาไว้ว่า

พระพุทธเจ้าทรงวางระบบรูปแบบการบริหาร และการปกครอง  องค์กรไว้

   รูปแบบ  คือ                             ๑.ระยะต้น หรือระยะแรก พระองค์ทรง

ปกครองเองโดยมีพระองค์เป็นพระประมุข  วิธีที่รับผู้เข้ามาอยู่ในปกครอง 

เรียกว่า  เอหิภิกขุอุปสัมปทา (พุทธาธิปไตยหรือปิตาธิปไตย)     ๒.ระยะกลาง

หรือ ระยะที่    ทรงมอบอำนาจให้อภิปูชนียภิกษุ ผู้มีคุณธรรมช่วยกันปกครอง 

โดยมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นองค์พระประมุข  วิธีรับบุคคลเข้ามาอยู่ในปกครอง 

เรียกว่า  ติสรณคมนูปสัมปทา  (อภิปูชนียาธิปไตย)   ๓.ระยะปลาย  หรือ ระยะหลัง

ทรงมอบให้สงฆ์เป็นผู้ปกครอง  โดยมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นองค์พระประมุข 

วิธีรับผู้เข้ามาอยู่ในปกครอง  เรียกว่า  ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา ซึ่งระบบการ

ปกครองระยะที่    นี้  ยังใช้ปกครองสงฆ์ในสังฆมณฑลอยู่ในปัจจุบันนี้

โดยมีสงฆ์เป็นใหญ่ มีส่วนร่วมในการปกครองโดยตรง (สังฆาธิปไตย) [๑๖]

 

๒.๕.องค์ประกอบแห่งสงฆ์

                พระภิกษุรูปเดียวไม่นับว่าเป็นสงฆ์ได้เพราะขาดองค์ประกอบไป แต่สามารถเป็นส่วนประกอบหรือตัวแทนของสงฆ์ได้ดังจะอธิบายต่อไป  ฉะนั้นพระภิกษุมีจำนวนตั้งแต่    รูปขึ้นไปจึงเรียกว่าสงฆ์ได้ การจะกำหนดจำนวนภิกษุที่ประกอบเข้าเป็นสงฆ์ หรือเป็นหมวด ๆ  ซึ่งเมื่อครบจำนวนแล้วจึงจะทำสังฆกรรมอย่างนั้น ๆ ได้มีทั้งหมด    ประเภท คือ [๑๗]

                ๑.สงฆ์  จตุรวรรค  หมายถึงสงฆ์ที่มีจำนวนพระภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ทำกรรมได้ทุกประเภทยกเว้นการปวารณาให้ผ้ากฐิน,  การสวดอัพภาน คือการสวดถอนอาบัติหนักบ้างข้อในหมวดสังฆาทิเสส, การให้อุปสมบท, และการปวารณา

                ๒.สงฆ์ ปัญจวรรค  หมายถึงสงฆ์ที่มีจำนวนพระภิกษุตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป  ให้การอุปสมบทในถิ่นทุรกันดารที่เป็นชายแดน (ปัจจันตชนบท) ได้, ทำปวารณาได้ และให้ผ้ากฐินได้

                ๓.สงฆ์ ทศวรรค  หมายถึงสงฆ์ที่มีจำนวนพระภิกษุตั้งแต่  ๑๐ รูปขึ้นไป ทำสังฆกรรมอื่น ๆ  และให้อุปสมบทในมัชฌิมชนบทได้  ยกเว้นการสวดอัพภาณ คือการสวดถอนอาบัติหนักบ้างข้อในหมวดสังฆาทิเสส ประการเดียว

                ๔.สงฆ์  วีสติวรรค  หมายถึงสงฆ์ที่มีจำนวนพระภิกษุตั้งแต่  ๒๐ รูปขึ้นไปทำอัพภาน คือการสวดถอนอาบัติหนักบ้างข้อในหมวดสังฆาทิเสสได้

๕.หากสงฆ์ที่มีจำนวนพระภิกษุมากกว่านี้ ยิ่งดีทำสังฆกรรมได้ทุกชนิด ไม่จำกัด

                ซึ่งการกำหนดองค์ประกอบ  บทบาท  หน้าที่  ขอบเขตแห่งอำนาจให้กับสงฆ์นั้น ก็เพื่อความสามัคคีของหมู่คณะ  และทำให้เห็นว่าการทำงานที่สำคัญก็จะต้องใช้สงฆ์ที่มีองค์ประกอบใหญ่ขึ้น  จำนวนพระภิกษุก็มากขึ้นเพื่อให้มีพลังอำนาจมากขึ้นเป็นเงาตามตัวนั้นเอง  ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม  ไว้ดังนี้

                ๑.การทำอุโบสถ  คือการสวดปาฏิโมกข์ หรือสวดทบทวนศีลของภิกษุ 

๒๒๗   ข้อ ทุกกึ่งเดือน ภิกษุสงฆ์ตั้งแต่    รูปขึ้นไปทำได้  ๒.การสวดกฐิน

คือสวดประกาศมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งโดยขอความเห็นชอบ

ต่อสงฆ์ทั้งปวง ภิกษุสงฆ์ตั้งแต่    รูปขึ้นไปทำได้  ในข้อนี้หนังสือ

แต่งขึ้นชั้นหลังพระไตรปิฎก เช่นอรรถกถากล่าว่าต้อง    รูปขึ้นไปจึงทำได้ 

ฉะนั้นจึงถือตามที่กล่าวไว้ในวินัยปิฎกที่ว่าสงฆ์    รูปทำกรรมได้ทุกชนิด เว้นเพียง 

  อย่างคือ ปวารณา อุปสมบท และอัพภาน   ๓.การสวดสมมติต่าง ๆ เช่น

สมมติหรือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์  เป็นผู้แจกจีวร  แจกอาสนะคือที่อยู่อาศัย 

ภิกษุสงฆ์ตั้งแต่    รูปขึ้นไปก็ทำได้   ๔.การปวารณา คือการบอกอนุญาตให้

ว่ากล่าวตักเตือนกัน  ถ้าจะทำเป็นการสงฆ์  ภิกษุตั้งแต่    รูปขึ้นไปจึงทำได้ 

ทั้งนี้มีเหตุผลว่าเมื่อถือว่าภิกษุ    รูปขึ้นไปเป็นสงฆ์  ถ้ามีภิกษุเพียง    รูป 

รูปหนึ่งกล่าวปวารณาจึงเท่ากับอนุญาตแก่บุคคล    คนให้กล่าวว่าได้ 

พระพุทธเจ้าให้ถือเป็นการปวารณาต่อบุคคลจะนับว่าเป็นการสงฆ์ได้

ก็ต่อเมื่อสงฆ์ผู้รับฟังคำปวารณามีครบ    รูป  เป็น    รวมทั้งผู้ปวารณา

หรือจำนวนมากกว่านั้น   ๕.การอุปสมบท  หรือบวชพระ  ถ้าในปัจจุบันชนบท

คือชายแดน  หรือเขตที่ไม่มีความเจริญหาพระยากภิกษุสงฆ์ตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไปทำได้ 

ถ้ามัชฌิมชนบทหรือในเขตภาคกลางซึ่งในสมัยพระพุทธเจ้ามีกำหนดเขตไว้

ให้ใช้พระตั้งแต่  ๑๐  รูปขึ้นไป  ในเมืองไทยนับเป็นเขตนอกจากที่กำหนดไว้

ในเขตพุทธกาล ถ้าจะกล่าวตามตัวอักษรพระ    รูปขึ้นไปก็ใช้ในการบวชได้ 

แต่พระเถระผู้ใหญ่ท่านพิจารณาตามเจตนารมณ์ของพระวินัยถ้าบวชในเขตพระนคร

หรือในเมืองที่เจริญก็ใช้พระตั้งแต่  ๑๐  ขึ้นไป ในเขตกันดารจึงใช้พระน้อยกว่านั้น

คือ    รูปขึ้นไป  ๖.การสวดอัพภาน  คือสวดถอนอาบัติของภิกษุบางรูป

ซึ่งต้องทำเป็นการสงฆ์ใช้ภิกษุตั้งแต่  ๒๐  รูปขึ้นไป   ๗.สังฆกรรมอื่น ๆ ที่ทำ

เป็นการสงฆ์นอกจากที่กล่าวไว้แล้วใช้พระตั้งแต่    รูปขึ้นไปทั้งสิ้น [๑๘]

               

 

๒.๖.ประเภทของสงฆ์

                สงฆ์  หรือองค์ประกอบของพระภิกษุตั้งแต่    รูปขึ้นตามที่กล่าวมาแล้วนั้นเมื่อจะแยกออกได้เป็น    ประเภทคือ  สมติสงฆ์  และ  อริยสงฆ์  ซึ่งถ้าว่ากันตามรูปแบบแล้วจะเรียกรวมกันว่าสงฆ์ไม่แยกกัน  แต่ถ้าหากดูกันตามเนื้อหาหรือคุณภาพแล้ว  สามารถแยกให้เห็นความแตกต่างกัน  ดังนี้

                ๑.สมติสงฆ์ (สมมติ+ สงฆ์) หรือจะเรียกว่าสงฆ์โดยพระวินัย  กล่าวคือผู้ที่ขอเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา และเมื่อผ่านพิธีกรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเข้ามาเป็นส่วนหรือองค์ประกอบของสงฆ์ได้ทันที  แม้จะบวชได้ในนาทีเดียว หรือวันเดียวก็นับว่าเป็นองค์ประกอบแห่งสงฆ์ได้  แต่ที่ได้ชื่อว่าเป็นสมติสงฆ์  ก็เพราะถูกสมติให้ว่าเป็นสงฆ์  หรือสงฆ์โดยการสมติ คือเป็นภิกษุที่ยังไม่ได้บรรลุคุณธรรมใด ๆ เพียงแต่มีอุดมการณ์เข้ามาบวชเพื่อต้องการบรรลุธรรมในโอกาสต่อไป ๆ  นั่นเอง

                ๒.อริยสงฆ์ (อริย+ สงฆ์)  หรือสงฆ์โดยคุณธรรม  กล่าวคือพระภิกษุผู้เป็นพระอริยเจ้าที่รวมตัวกันตั้งแต่    รูปขึ้นไป  ที่ได้ชื่อว่าอริยสงฆ์ก็เพราะได้บรรลุธรรม หรือบรรลุเป้าหมายในพระพุทธศาสนามีจำนวน    คู่คือ  คู่ที่หนึ่ง พระโสดาบัน หมายถึงพระผู้ถึงกระแสที่จะไปสู่พระนิพพาน คือละสังโยชน์    ประกอบไปด้วย สักกายทิฏฐิ (ความเป็นเป็นเหตุถือตน), วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัยไม่ตกลงใจ), สีลัพพตปรามาส (ถือศีลและวัตรอย่างงมงาย)   คู่ที่สอง  พระสกทาคามี หรือสกิทาคามี  หมายถึงพระผู้มีญาณคือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ทั้ง    และทำราคะ-โทสะ-โมหะ ให้เบาบางลง  คู่ที่สาม  พระอนาคามี  หมายถึงพระผู้ละสังโยชน์    พร้อมกามราคะและปฏิฆะ (ควาขัดเคืองแค้นใจ) และคู่ที่สี่ พระอรหันต์  หมายถึงพระผู้ห่างไกลจากกิเลส บรรลุธรรมสูงสุดในพระพุทธศาสนาแล้วหรือทั้งหมดนี้ถ้านำมาจัดระดับแล้วจะได้    ระดับ  ด้วยกัน คือ

                ก.พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค                     ข.พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล

                ค.พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค                      ง.พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล

                จ.พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค                         ฉ.พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล

ช.พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค                          ซ.พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล

ดังนั้นจะเห็นว่า..พระพุทธเจ้าทรงจัดตั้งสร้างระบบที่เรียกว่า  สังฆะ  ขึ้นมาเพื่อเป็นชุมชนแห่งการศึกษาและฝึกฝนพัฒนาชีวิตของมนุษย์นั้นเป็นไปได้ด้วยดี  ความจริงการฝึกฝนพัฒนามนุษย์ก็คือการสร้างปัจจัยที่เอื้อต่อการที่เขาจะพัฒนาตัวเอง [๑๙]  ให้ก้าวหน้าเพื่อบรรลุถึงจุดมุ่งหมายของอุดมการณ์สงฆ์นั่นเอง

 

๒.๗.หน้าที่สงฆ์

                สงฆ์เป็นองค์กรที่พระพุทธเจ้าทรงออกแบบขึ้นมาเพื่อความสามัคคีของเหล่าภิกษุ

ในการทำกิจการงานหนึ่ง ๆ ให้ผ่านพ้นไปด้วยดี จะมีมากน้อยเพียงใดนั้นต้องขึ้นอยู่กับขนาดของความสำคัญของภารกิจ (สังฆกรรม)  นั้น ๆ

พระธรรมปิฎก ได้อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องนี้ไว้ว่า  งานของสงฆ์,กรรมที่สงฆ์พึงทำ,

 กิจที่พึงทำโดยที่ประชุมสงฆ์ มี  ๔ คือ    ๑.อปโลกนกรรม  กรรมที่ทำเพียงด้วยบอกกัน

ในที่ประชุมสงฆ์ ไม่ต้องตั้งญัตติและไม่ต้องสวดอนุสาวนา เช่น แจ้งการลงพรหมทัณฑ์

แก่ภิกษุ   ๒.ญัตติกรรม  กรรมที่ทำเพียงตั้งญัตติไม่ต้องสวดอนุสาวนา  เช่น  อุโบสถ

และปวารณา  ๓.ญัตติทุติยกรรม  กรรมที่ทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนาหนหนึ่ง 

เช่น  สมมติสีมา  ให้ผ้ากฐิน   ๔.ญัตติจตุตถกรรม  กรรมที่ทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวด

อนุสาวนา    หน  เช่นอุปสมบท  ให้ปริวาส  ให้มานัต [๒๐]

 

 

๒.๘.สังฆกรรมที่สำคัญ

                สังฆกรรมในพระพุทธศาสนามีอยู่หลายประการดังที่ยกตัวอย่างมาแล้ว  แต่เพื่อให้

เห็นถึงความสำคัญและการใช้สิทธิในการออกเสียง  หรือขั้นตอนในการทำ  จึงขอนำมาเสนอเพื่อให้เกิดความเข้าใจเพียง    พิธีกรรม และอีกรูปแบบหนึ่งของการเป็นตัวแทนสงฆ์  รวมเป็น    ภารกิจคือ  ๑.พิธีกรรมอุปสมบท  ๒.พิธีกรรมรับผ้ากฐิน  ๓.พิธีผูกพัทธสีมา  และ  ๔.พิธีการรับสังฆทาน  ซึ่งจะอธิบายตามลำดับต่อไปนี้           

 

๒.๘.๑.พิธีอุปสมบท

คำว่า  การบวช หมายถึง การเว้นทั่ว คือเว้นจากความชั่วทุกอย่าง  หรือการลอย

บาป  ( บวช  ออกมาจากคำว่า  ป + วช)  หมายถึงการถือเพศเป็นนักพรตทั่วไป ; บวชพระ คือ บวชเป็นภิกษุ เรียกว่า อุปสมบท, บวชเณร คือ บวชเป็นสามเณร เรียกว่า บรรพชา [๒๑]

                ในเรื่องดังกล่าวนี้  พระธรรมปิฎก ได้อธิบายเพิ่มเติมเอาไว้ว่า

การบวชเป็นภิกษุ หรือภิกษุณี นั้น  มีวิธีอุปสมบททั้งหมด    วิธี  

วิธีการที่  ๓-๗  เป็นวิธีที่ทรงประทานเป็นการพิเศษจำเพาะบุคคลบ้าง

ขาดตอนหมดไปแล้วบ้าง และได้ประมวลมา  ดังนี้

                                ๑.เอหิภิกขุอุปสัมปทา  การอุปสมบทด้วยพระวาจาว่า  จงเป็นภิกษุมาเถิด

เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เอง   ๒.ติสรณคมนูปสัมปทา หรือ สรณคมนูสัมปทา 

การอุปสมบทด้วยถึงไตรสรณะ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้พระสาวกทำในยุคต้นพุทธกาล

เมื่อคณะสงฆ์ยังไม่ใหญ่นัก (ต่อมาใช้สำหรับการบรรพชาสามเณร)  ๓.โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา  

การอุปสมบทด้วยการรับโอวาท  เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่พระมหากัสสปะ

                ๔.ปัญหาพยากรณูสัมปทา  การอุปสมบทด้วยการตอบปัญหาของพระพุทธองค์

เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่โสปากสามเณร   ๕.ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา  หรือ

อัฏฐครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา  การอุปสมบทด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการ

เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่พระนางมหาประชาบดีโคตรมี  ๖.ทูเตนะ  อุปสัมปทา 

การอุปสมบทด้วยทูต  เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่นางคณิกา ชื่ออัฑฒกาสี

                ๗.อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา  การอุปสมบทมีวาจา  ๘ คือ ทำด้วยญัตติจตุตถกรรม

  ครั้งจากสงฆ์ทั้งสองฝ่ายคือจากภิกษุณีสงฆ์ครั้งหนึ่ง  จากภิกษุสงฆ์ครั้งหนึ่ง 

ได้แก่การอุปสมบทของภิกษุณี  ๘.ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา  การอุปสมบทด้วยญัตติ

จตุตถกรรม เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำ ในเมื่อคณะสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่ขึ้นแล้ว

และเป็นวิธีที่ใช้สืบมาจนทุกวันนี้ [๒๒]

 

ภูมิหลังสังคมอินเดียในสมัยพุทธกาลที่มีความยึดมั่นและเชื่อในเรื่องของวรรณะ    จนทำ

ให้เกิดความไม่เท่าเทียมของคนในระบบวรรณะ ซึ่งรวมไปถึงความไม่เท่าเทียมกันในการนับถือศาสนา ตลอดจนถึงเรื่องเศรษฐกิจการประกอบอาชีพของผู้คนในสังคม  แต่เมื่อเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว  พระพุทธเจ้าถือว่าทุกคนเสมอกัน มีความเท่าเทียมกัน

                ......ไม้ไม่ว่าจะเป็นสัก   มะขาม..........................ในที่สุดเมื่อรวมกัน  ถูกไฟแล้วก็มีสีเหมือนกัน.........น้ำไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำไหน............สู่มหาสมุดก็มีรสเดียว...................................

                เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น  จึงขอกล่าวถึงขั้นตอนในการบวช ดังนี้

พิธีกรรมอุปสมบท ซึ่งเป็นกระบวนการอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นการนำคนเข้ามาสู่อาณาจักร

ของพระพุทธศาสนา  โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้

                ๑.นาค คือ ผู้ตั้งใจจะบวช ปลงผม นุ่งขาวห่มขาว ระวังกายวาจาใจให้สงบ เดินเข้ามาในพระอุโบสถ์แล้วไหว้พระ คือ กราบพระพุทธรูปประธาน    หน

                ๒.นาค เปล่งวาจาว่า  เอสาหัง  ภันเต ฯลฯ  เพื่อขอบรรพชา

                ๓.พระอุปัชฌาย์ สอนนาคให้รู้จักเหตุและผล  ตลอดจนถึงเทคนิคการพิจารณาร่างกายโดยนำเอา ตจปญฺจกรรมฐาน (กรรมฐานมีหนังเป็นที่ห้า) มาสอนโดยให้นาคว่าตาม เกสา (ผม)-โลมา (ขน)-นะขา (เล็บ) ทันตา (ฟัน) ตะโจ (หนัง) 

                ลำดับต่อมาพระอุปัชฌาย์ จึงได้ดึงผ้าอังสะ (ผ้าไตร คือผ้า    ผืน ประกอบไปด้วย  ผ้าจีวร  หรือผ้าใช้ห่ม, ผ้าสบง หรือผ้านุ่ง, ผ้าสังฆาฏิ หรือผ้าพาด ส่วนผ้าอังสะ..............) มาคล้องคอของนาค จากนั้นจึงได้มอบผ้าไตรจีวรไห้ออกไปห่มผ้านอกหัตถบาตสงฆ์  เมื่อห่มผ้าไตรเรียบร้อยแล้ว จึงกลับเข้ามาในท่ามกลางสงฆ์อีกครั้ง

                ๔.เมื่อผู้เตรียมตัวจะบวช ได้เข้ามาท่ามกลางสงฆ์แล้วก็กราบพระอุปัชฌาย์ เพื่อขอศีล  ๑๐  เมื่อการสมาทานศีล  จบลงถือว่านาคได้กลายเป็นสามเณร ซึ่งแปลว่าเหล่ากอแห่งสมณะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เป็นที่น่าสังเกตว่าการกราบกับพิธีกรรมในการบวชนั้นมีจำนวนหลายรอบ อันเป็นการสื่อให้ให้ถึงการยินยอม  ลดละมานะคือความถือตัว  ลดทิฏฐิคือความคิดเห็น  ลดอัตตาคือการยึดมั่นในตัวตน

                ๕.ต่อจากนั้นสามเณร ได้เปล่งวาจาว่า  อุปชฺฌาโย  เม  ภนฺเต  โหหิ  เพื่อจะขออุปสมบท

                ๖.พระอุปัชฌาย์ได้ให้คำแนะนำในการระมัดระวัง และการวางตัวให้แก่สามเณรว่าเพศของเราได้ต่างจากฆราวาสแล้ว  จากนั้น จึงได้ถามถึงผ้าไตรจีวร ว่า ผ้าคลุมมีไหม ?,  ผ้าสังฆามีไหม?, ผ้านุ่งมีไหม? และบาตรมีไหม?  เมื่อมีผ้าครบแล้วก็ให้สามเณรออกไปยืนรอนอกหัตถบาต เพื่อเปิดโอกาสให้สงฆ์ได้พิจารณา

                ๗.พระคู่สวด  ได้ขออนุญาตเป็นตัวแทนสงฆ์เพื่อยกประเด็นหรือญัตติเสนอต่อสงฆ์  โดยการตั้งนะโม  ๕-๗  ชั้น เสร็จแล้วกลับมานั่งที่เดิมเพื่อสวดขออนุญาต  จากนั้นก็ลุกออกไปหาสามเณรแล้วสอบถาม ประเด็นต่าง ๆ ว่ามีคุณสมบัติที่จะขอบวชหรือไม่  โดยมีคำถาม    ชุด โดยชุดแรกตอบปฏิเสธ    ข้อ  ชุดที่สองตอบยอมรับ ๘  ข้อ ชุดที่สามตอบชื่อฉายาทั้งของผู้บวชและพระอุปัชฌาย์    ข้อ รวมเป็น  ๑๕  ข้อ ดังนี้                

๗.๑.กุฏฐํ

๗.๒.คณฺโฑ

๗.๓.กิลาโส

๗.๔.โสโส

๗.๕.อปมาโร                                                คุณเป็นบ้าหรือเปล่า?

๗.๖.มนุสฺโสสิ๊                                              คุณเป็นมนุษย์หรือเปล่า?

๗.๗.ปุริโสสิ๊                                 คุณเป็นผู้ชายหรือเปล่า?

๗.๘.ภุชิสฺโสสิ๊

๗.๙.อนโณสิ๊                                                คุณ

๗.๑๐.นสิ๊  ราชภโฏ                                     คุณมีโทษทัณฑ์ทางบ้านเมืองใหม?

๗.๑๑.อนุญฺญาโตสิ๊  มาตาปิตูหิ บิดามารดาได้อนุญาตคุณบวชหรือยัง

๗.๑๒.ปริปุณฺณวีสติวสฺโสสิ๊                      คุณอายุครบ  ๒๐  ปีบริบูรณ์หรือไม่?

๗.๑๓.ปริปุณฺณนฺเต  ปตฺตจีวรํ                    คุณมีบาตรจีวรครบหรือเปล่า

๗.๑๔.กินฺนาโมสิ                                         คุณชื่ออะไรละ?

๗.๑๕.โก  นาม  เต  อุปชฺฌาโย  พระอุปัชฌาย์ของคุณชื่อว่าอย่างไร?

                เมื่อพระคู่สวดได้สอบถามแล้ว จึงได้กลับเข้ามารายงานสงฆ์ จากนั้นจึงได้เรียกนาคที่ยืนรออยู่ให้เข้ามาในท่ามกลางสงฆ์  จากนั้นสามเณรจึงเปล่งวาจาว่า  สังฆัมภันเต  ( ๓  ครั้ง)

                ๘.จากนั้นพระอุปัชฌาย์  ได้เผดียงสงฆ์ คือกล่าวขอความคิดเห็นในการที่มีสามเณรได้ขออุปสมบท  เมื่อคณะสงฆ์ได้ยอมรับโดยการกล่าวคำรับรองว่า  สาธุ  พร้อมกัน

                ๙.จากนั้นพระคู่สวด จึงได้ขออนุญาตจากสงฆ์เพื่อสอบถามผู้ขอเข้าอุปสมบทในท่ามกลางสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง โดยมีคำถาม    ชุด  ๑๕  ข้อเหมือนเดิม  เมื่อแน่ใจแล้ว พระคู่สวดจึงได้เริ่มสวดญัตติจัตตุถกรรมวาจา  ถึง    รอบเพื่อย้ำให้แน่ใจว่าไม่ผิดพลาดแล้ว  เมื่อสวดรอบที่สี่จบถ้าไม่มีการทักท้วงถือว่าผู้ขอบวชนั้น สำเร็จเป็นพระในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์แล้ว

                ๑๐.จากนั้นพระอุปัชฌาย์จึงได้บอกอนุศาสน์ คือการตามสอนหลังพิธีการบวช ว่าสิ่งที่ควรทำ    ประการคือ

๑๐.๑.  เที่ยวบิณฑบาต

๑๐.๒.  นุ่งห่มผ้าบังสุกุล

๑๐.๓.  อยู่โคนไม้

๑๐.๔.  ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า

และสิ่งที่ไม่ควรทำ    ประการ คือ 

๑๐.๕. เสพเมถุน

๑๐.๖.  ลักของเขา

๑๐.๗.  ฆ่าสัตว์

๑๐.๘.  อวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน

                ๑๑.จากนั้นพระบวชใหม่ จึงได้ขอขมาสงฆ์  หากประสงค์จะถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ก็ถวาย  พระสงฆ์จะได้อนุโมทนา  ซึ่งเป็นการเสร็จพิธี

                ในสังคม  อินเดีย  วรรณะถือว่า  เป็นระบบของการแบ่งชนชั้นของสังคม  ที่ตายตัวใครจะละเมิด  หรือไม่ปฏิบัติตามมิได้  ถือว่าผิด  ในระบบสังคมดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความยุติธรรมให้เกิดขึ้น  มีการรังเกียจ  ,  มีการสงวนอาชีพเพื่อให้เฉพาะบางวรรณะ  เท่านั้น

                ๒.๑. คำว่า  บวช  แปลว่า ผู้ลอยบาป คือผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับบาปอีกต่อไปนั้นเอง  ในพระพุทธศาสนาใช่ว่าทุกคนจะมีสิทธิในการบวชมาตั้งแต่เกิดไม่  ผู้ที่จะขอบวชจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติในหลาย ๆ ประการ  เช่น

                                ๒.๑.๑.ต้องมีอาการครบ  ๓๒  ประการ นั้นก็หมายความว่าผู้ประสงค์จะเข้ามาบวชต้องเป็นคนไม่พิกลพิการ  หรือมีส่วนเกินผิดเพศ  เป็นต้น

                                ๒.๑.๒.สิทธิผู้ได้รับการอนุญาตที่ต่างกัน  หากนับถือพุทธศาสนา ก็สามารถบวชได้เลยเพียงแค่ให้มีผ้าไตรจีวรและบาตรครบเท่านั้น  แต่สำหรับผู้ที่เคยเป็นนักบวชนอกลัทธิศาสนาหรือเคยเป็นนักบวชในศาสนาอื่นที่ไม่ใช่พระพุทธศาสนาแล้ว จำเป็นต้องอยู่ปริวาสเสียก่อน เช่นกรณีของสามเณรวาเสฏฐะและภารทวาชะ [๒๓]  เป็นต้น

สิทธิพิเศษ ในเรื่องอัญเดียรถีย์ศากยะ  ภิกษุทั้งหลาย ถ้าศากยะโดยกำเนิดเคย

เป็นอัญเดียรถีย์มาศากยะนั้นมาแล้วพึงให้อุปสมบท  ไม่ต้องให้ปริวาสแก่ศากยะนั้น  เราให้สิทธิพิเศษส่วนนี้เฉพาะแก่หมู่ญาติ [๒๔]

 

                                ๒.๑.๓.ประเภทของผู้บวช มี ๔  ประเภทคือ ภิกษุ, ภิกษุณี, สามเณร, สามเณรี

 

                ๒.๒. คำว่า นาคะ  แปลว่า ผู้ประเสริฐ ซึ่งเป็นสัตว์ที่ปรากฏในตำนานทางพระพุทธศาสนา โดยมีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาไหลตัวใหญ่ยาว มีเกล็ด แต่หากมุ่งเอาความหมายก็คือผู้ที่มีจิตใจสูง คือมนุษย์สมบูรณ์แบบ เวลาคนที่จะบวชเป็นพระก็ดี  เป็นสามเณรก็ดี ต้องแต่งองค์ทรงเครื่องด้วยเสื้อผ้าชุดสีขาว โดยเรียกบุคคลนั้น ๆ ว่า นาคหรือ พ่อนาค [๒๕]

..เมื่อบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้ว  พระบวชใหม่จะต้องได้รับการฝึกหัดอบรมและการศึกษาเล่าเรียนจากพระอุปัชฌาย์โดยอยู่ภายใต้การปกครองดูแลของท่านจนกว่าจะมีพรรษาครบ    จึงเรียกว่า  นิสัยมุตตกะ  คือผู้พ้นจากการพึ่งพาพระอุปัชฌาย์  ดังนั้นกระบวนการฝึกอบรมพระบวชใหม่จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง....[๒๖]

               

            ๒.๔.๒.พิธีกฐิน

 

เทศกาลของกฐินเริ่มขึ้นหลังการออกพรรษาของพระที่อยู่ครบไตรมาสในอาวาส

นั้น ๆ แต่ทั้งนี้อาวาสไหนหรือวัดไหนจะมีสิทธิในการรับกฐินได้ต้องขึ้นอยู่กับว่ามีพระภิกษุครบจำนวน    รูปด้วยหรือไม่และไม่มีใครมีพรรษาขาด และที่สำคัญต้องมีผู้จองหรือเจ้าภาพกฐินแล้วต้องอยู่ในเขตกฐินคือ    เดือนหลักออกพรรษาแรก คือเริ่มวันแรม    ค่ำเดือน......ถึงวันขึ้น  ๑๕  ค่ำเดือน......เท่านั้น 

ที่นี้มาดูขั้นตอนในพิธีการดังนี้ 

๑. เริ่มจากผู้จอง (เจ้าภาพ)  ได้เข้ามาติดต่อขอรับเป็นเจ้าภาพในวัดที่มีองค์ประกอบ ดังที่กล่าวมาแล้ว พร้อมกำหนดวัดทอด

๒.การจัดดาเครื่องประกอบองค์กฐินและเครื่องไทยธรรมบางท่านอาจรับเป็นเจ้าภาพคนเดียว บางเจ้าภาพอาจรับมาทำเป็นคณะ  ซึ่งอาจจะมีการฉลองสมโภชขึ้นอยู่กับเจ้าภาพนั้น ๆ ว่าจะมีมากน้อยเท่าไหร่อย่างไร  ให้เหมาะสม

๓.ในวันถวายกฐิน  เมื่อเจ้าภาพถวายแล้ว  จากนั้นเป็นหน้าที่ของสงฆ์ที่จะดำเนินการตั้งญัตติเพื่อขอต่อไป

๔.การตั้งญัตติ  โดยมากมักจะเป็นประธานสงฆ์ที่ประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า  ผ้ากฐินทานนี้มีเจ้าภาพชื่อนี้นำมาถวายไว้ให้กับสงฆ์  ผ้ากฐินทานนี้เป็นของบริสุทธิดุจล่องลอยอยู่ในนภากาศหาเป็นของผู้หนึ่งผู้ใดไม่ และถึงเวลาที่จะขอญัตติหรือพร้อมที่จะทำสังฆกรรมหรือไม่?  ถ้าพร้อมใจกันก็ขอให้เปล่งวาจา   สาธุ  นับว่ายอมรับมตินั้น

๕.ภิกษุรูปต่อมาได้พูดขึ้นว่าผ้ากฐินทานนี้  ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่าเหมาะกับพระรูปนี้ ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติอย่างนี้ ๆ หากใครจะทักท้วงจงทักท้วงขึ้นในท่ามกลางสงฆ์    (หยุดระยะเพื่อให้มีการทักท้วง)  จุดนี้หากมีใครทักท้วงขึ้นมา  ก็ต้องอุปโลกให้รูปต่อไปจนกว่าจะมีการย่อมรับกันอย่างไม่มีใครทักท้วง    หากไม่มีใครทักท้วงจงเปล่งวาจาว่า  สาธุ  ให้พร้อมเพียงกัน  หากมีเสียงสาธุขึ้นพร้อมกัน  ก็เป็นอันรับมตินั้น ๆ โดยใช้เสียงเอกฉันท์  รับแล้วช่วยกันอนุโมทนา หลักการของเสียงข้างมาก

                โดยปกติแล้วผู้น้อยคือผู้มีพรรษาน้อยกว่าจะต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่  คือผู้ที่บวชก่อน  แต่ในเวลาทำงานของส่วนรวมหรือทำสังฆกรรม  ภิกษุทุกรูปที่เข้าร่วมในพิธีต่างก็มีสิทธิเท่าเทียมกันทุกรูป [๒๗]

 

            ๒.๔.๓.พิธีผูกพัทธสีมา

พิธีกรรมนี้เป็นการกำหนดเขตของสถานที่เพื่อสามารถใช้ทำพิธีกรรมต่าง ๆ ได้  ดังนี้

๑.ไหว้พระรับศีล  (หากมีการบรรยายให้ข้อคิดก็จะทำกันในช่วงนี้)

๒.อ่านประวัติวัด

๓.ประธานในพิธี   ทำความเคารพพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว-เปิด

    กรวยดอกไม้

๔.อ่านประกาศ  เรื่องพระราชทานวิสุงคามสีมา  (มีรายชื่อวัดต่าง ๆ ที่แนบท้าย)

๕.อ่านประกาศ  ขนาดของสีมา (กว้าง-ยาว)  เท่าไหร่ ฝ่ายบ้านเมืองขอมอบถวายเพื่อคณะ

    สงฆ์จะได้สวดผูกให้ถูกต้อง---สงฆ์สาธุการพร้อมกัน

๖.ในขณะที่นายอำเภอเดินมามอบถวาย----สงฆ์สวดชยันโต

    ต่อไปเป็นพิธีกรรมของสงฆ์............เข้าสู่หัตถบาต

๗.ประธานสงฆ์นำบูชาพระรัตนตรัย----ยืนพนมมือ

๘.ภิกษุยืนเรียงแถวล้อมลูกสีมา  เริ่มสวดเป็นคู่ ๆ จากคู่ที่  ๑-๙

๙.ประธานสงฆ์กล่าวแจ้งให้สงฆ์ทราบขั้นตอนว่าเสร็จแล้ว   และต่อไปจะทำอะไรต่อไป

๑๐.สงฆ์กลับเข้านั่งในหัตถบาต

๑๑.โยมเจ้าภาพยืนพร้อมกันประจำหลุมที่ตัวเองเป็นเจ้าภาพ เพื่อรอสัญญาณฆ้อง

                ก.สัญญาณฆ้องครั้งที่       ให้จับดาบ

                ข.สัญญาณฆ้องครั้งที่    ให้ถอดดาบ

                ค.สัญญาณฆ้องครั้งที่    ให้ตัดลูกนิมิต  พร้อมกับเสียงสวดของสงฆ์  และเสียง

                 กลองอึกทึกจากญาติโยม

๑๒.ประธานสงฆ์พร้อมคณะสงฆ์จำนวน    รูปเป็นตัวแทนออกไปเพื่อทักลูกนิมิตตามทิศ

       (หลุม)  ต่าง ๆ  ---ปาสาโณ  ภันเต

๑๓.พระผู้ใหญ่    รูปสวดผูกสีมา

๑๔.ประธานสงฆ์  ประกาศความสมบูรณ์ของพิธีกรรมพร้อมชักชวนให้สำรวมจิตภาวนา

       เพื่อถวายต่อในหลวง

๑๕.สงฆ์สวดสุนักขัตตั้ง  พร้อมประพรมน้ำพระพุทธมนต์ใส่ลูกนิมิตและเป็นสิริมงคลต่อ

       คณะสงฆ์เอง  เป็นเสร็จพิธี

                หลักจากนี้ญาติโยมถวายปัจจัยสงฆ์  เป็นเสร็จพิธี

 

๒.๔.๔.พิธีรับสังฆทาน

พิธีรับสังฆทาน  แม้จะไม่ใช่เป็นสังฆกรรมแต่ก็มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับการเป็น

ตัวแทนของสงฆ์ในภารกิจนั้น ๆ  เช่น มีผู้ประสงค์เข้ามาถวายข้าวสารให้กับสงฆ์วัดศรีโคมคำ  พระภายในวัดอาจจะลงมารับพร้อมกันทั้งหมด  แต่หากไม่สามารถมารับพร้อมกันได้สงฆ์จะมอบหมายให้กับภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็ได้ เพื่อเข้ามาเป็นตัวแทนในการรับของถวาย  ซึ่งข้อนี้มีนัยยะที่สำคัญอยู่ถึง    นัยะด้วยกันคือ

                                                ก.ภิกษุรูปนั้นได้รับสังฆามติให้เป็นตัวแทนสงฆ์เพื่อเข้ารับในนามสงฆ์

                                                ข.ภิกษุรูปนั้นไปรับในนามของสงฆ์  โดยถือว่าตนเองเป็นตัวแทน หรือมี

   อำนาจหน้าที่  เช่นเป็นเจ้าอาวาส  รองเจ้าอาวาส  ผู้ช่วยเจ้าอาวาส  หรือ

   ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง  เป็นต้น

 

  อธิปไตย

 

 

๓.๑.ความหมายของอธิปไตย

คำว่า  อธิปไตย มาจากคำว่า  อธิปเตยยะ    แปลว่า  การคุ้มครองที่ยิ่งใหญ่  โดยศัพท์ที่ว่านี้

มาจาก  อธิ+ ปา+ติ  อธิบายว่า  อธิ  แปลว่ายิ่งใหญ่, ปา  แปลว่าคุ้มครอง  ส่วนติ  เป็นปัจจัย มีความหมายเป็นเพียงให้ศัพท์ที่ว่ามานี้เป็นนาม  รวมทั้งหมดได้ศัพท์ว่า  อธิปติ  แล้วแผลงเป็น  อธิปเตยยะ  และในที่สุดก็กลายมาเป็น  อธิปไตย   [๒๘]   ซึ่งคำว่าความเป็นใหญ่นี้เป็นความหมายที่กว้างเกินไป  และในพระไตรปิฎกเพียงระบุคำว่าอธิปไตยไว้ก็เป็นลักษณะของการตั้งกรอบในเรื่องแนวคิดที่เน้นถึงหมวดธรรมเป็นหลักเท่านั้น ซึ่งจุดเริ่มต้นของเรื่องดังกล่าวนี้มีในสังคีติสูตร สูตรว่าด้วยการสังคายนา ที่พระมหาเถระอย่างพระสารีบุตรได้ปรารภถึงท่านนิครนถ์  นาฏบุตรที่ได้ถึงแก่กรรม    กรุงปาวา แล้วพวกนิครนถ์แตกแยกกันเป็น    พวกบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน จนทำให้เหล่าบริษัทที่เป็นคฤหัสถ์ต่างเบื่อหน่าย ก็เพราะธรรมวินัยที่ไม่ชัดเจน  ดังนั้นพระสารีบุตรจึงนำมาเปรียบเทียบกับธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าที่จัดไว้เป็นหมวดหมู่โดยมีสังคีติหมวด    ที่กล่าวถึงอธิปไตย    อยู่ด้วย [๒๙]   แต่ไม่มีรายละเอียดอะไรมากนัก

                คำว่า อธิปไตย  แท้ที่จริงต้องเพิ่มคำว่า  อำนาจ  เข้าไปอีกคำหนึ่งเพื่อให้ความหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น  เมื่อรวมคำทั้งสองเข้าด้วยกันจึงได้ความว่า  อำนาจอธิปไตย หมายถึง  อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ  ไม่มีอำนาจอื่นใดในรัฐอยู่เหนืออำนาจอธิปไตย  [๓๐]  หรือใหญ่กว่าอีกแล้วเพราะถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดแห่งรัฐ 

รูปแบบที่พระพุทธเจ้าทรงประทานอำนาจอธิปไตยให้แก่สงฆ์  หรือมอบความเป็นใหญ่ หรือให้สงฆ์เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนนั้น นับว่าเป็นการกระจายพระราชอำนาจให้กับกลุ่มภิกษุหรือสงฆ์หาได้มอบให้กับภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเข้ามาบริหารจัดการโดยเด็ดขาดไม่ แต่บางครั้งในการทำภารกิจบางประการ กลุ่มสงฆ์อาจมอบอำนาจให้กับตัวแทนหรือมอบให้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมาทำหน้าที่ก็ได้  เช่น  การรับสังฆทาน, ภัตตคุเทสก์, การระงับอธิกรณ์  เป็นต้น (ดูมหาธรรมรัตน์  หน้า  ๑๔๐-๑๔๑  เพิ่มเติม)............

 

 

๓.๒.ลักษณะของอำนาจอธิปไตย

คำว่าอำนาจอธิปไตยนั้น โดยที่จริงแล้วมีลักษณะที่สำคัญ ๆ อยู่    ประการ  ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ [๓๑]

                ก.มีความเด็ดขาดสมบูรณ์ (Absoluteness) ตามกรอบของพระธรรมวินัย กล่าวคือ

ไม่มีอำนาจใด ๆ มาตัดรอนหรือยับยั้งอำนาจนั้น ๆ ได้  ซึ่งในระบอบสังฆาธิปไตยนั้นสงฆ์เป็นใหญ่ ดังนั้นสงฆ์จึงมีอำนาจที่สมบูรณ์  ไม่มีอำนาจอื่นใดที่เป็นรูปลักษณะองค์กรจะอยู่เหนืออำนาจของสงฆ์ได้เมื่อสงฆ์ได้กระทำลงไปแล้ว  แม้พระพุทธเจ้าก็ทรงเคารพในมติสงฆ์ 

                ข.ใช้ได้ทั่วไป (Comprehensiveness)  เป็นอำนาจอธิปไตยที่ใช้ได้กับทุกหมู่เหล่าไม่ว่าภิกษุนั้นจะอยู่ป่าที่เรียกว่าอรัญวาสี หรือ อยู่ชุมชนที่เรียกว่าคามวาสี  พระธรรมวินัยซึ่งเป็นเสมือนกฎหมายรัฐธรรมนูญมีรัศมีเข้าถึงทุกซอกมุมของหลีบซอกเขาในป่าหรือในถ้ำก็ใช้ได้  สงฆ์เองก็มีมาตรฐานของความเป็นสังฆาธิปไตยในทีทุกสถานไม่มีข้อยกเว้น

                ค.มีความถาวร (Permanence)  แม้สงฆ์บางกลุ่มจะมีปัจจัยทางกายภายที่แตกต่างกัน  เช่น สงฆ์ กรณี...................อาบน้ำฯ เป็นต้น  แต่ก็มีกรอบของสังฆาธิปไตย  หรืออำนาจสงฆ์ที่มีความคงทนถาวร  แม้ปัจจุบันผ่านมาแล้ว  ๒๕๕๐  ปีหลังพุทธกาล ความคงทนถาวรของอำนาจก็ยังมีอยู่

                ง.แบ่งแยกเป็นหลายหน่วยมิได้ (Indivisibility)  แม้สงฆ์จะมีการแยกทำสังฆกรรมในกลุ่มของตัวเอง  แต่อำนาจอธิปไตยก็ยังคงอยู่มิได้แยกออกเป็นหลายหน่วยแม้ในสมัยพุทธกาลจะมีสงฆ์อย่างกลุ่มของพระเทวทัตที่แยกออกไปทำสังฆกรรมต่างหาก  แต่เมื่อดูพื้นฐานความรู้ ความเป็นจริงแล้วก็เกิดจากความเข้าใจผิดหรือหลงผิด  และเมื่อรู้ว่าอะไรควรไม่ควรก็กลับมาเข้ากับหมู่สงฆ์เดิมซึ่งใช้เวลาไม่นานนัก

 

๓.๓.ลำดับชั้นในการบริหารองค์กรในสมัยพุทธกาล

ในการจัดลำดับชั้นทางการบริหารองค์กรในสมัยพุทธกาลนั้น  พระพุทธเจ้าทรงกำหนด

หลัก อาวุโส-ภันเต  ในการรับเข้ามาในองค์กร  ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้เป็นแนวคิดที่ปฏิเสธหรืออยู่ตรงข้ามกับแนวคิดของพวกพราหมณ์ในสมัยนั้นที่ยึดมั่นในเรื่องของวรรณะ เป็นยิ่งกว่าชีวิตและคุณธรรม  ซึ่งการยึดหลักอาวุโส-ภันเตนี้เอง  ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่จะเข้ามาบวชจะเปิดโอกาสให้ผู้มีอายุมากกว่าบวชก่อน ดังกรณีเจ้าศากยะที่ให้นายฉันนะบวชก่อนเท่านั้น  แต่ยังรวมไปถึงผู้ที่แม้มีอายุอ่อนกว่าแต่เมื่อมีโอกาสได้ออกบวชก่อนก็ถือพรรษาคือการนับปีที่เข้ามาเป็นหลัก  ซึ่งมีการเรียงลำดับก่อนหลัง  ดังนี้

ก.ในกรณีบวชพร้อมกันหลายคนผู้ที่มีอายุมากกว่าทั้งวัน-เดือน-ปี จะเป็นผู้ที่ได้รับการบวช

ให้ก่อนตามลำดับ ยกตัวอย่าง เจ้าศากยะทั้งหลายประกอบไปด้วย พระเจ้าภัททิยศากยะ, เจ้าอนุรทธะ, เจ้าอานนท์, เจ้าภคุ, เจ้ากิมพิละ  เมื่อประสงค์จะออกผนวชได้กราบทูลขอกลับพระพุทธเจ้าว่า  พระพุทธเจ้าข้าพวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมีความถือตัว  อุบาลีผู้นี้เป็นช่างกัลบกรับใช้พวกข้าพระพุทธเจ้ามานาน  ขอพระองค์ทรงโปรดให้เขาบวชก่อนพวกข้าพระพุทธเจ้าจะอภิวาท  ลุกต้อนรับ  ทำอัญชลีกรรม  สามีจิกรรมแก่เขา  เมื่อเป็นเช่นนี้ความถือตัวว่าเป็นศากยะของพวกหม่อมฉันจักบรรเทาไป  [๓๒]  นั้นแสดงให้เห็นถึงการจัดชนชั้นทางสังคมของสงฆ์ที่ต้องการให้ผู้ที่บวชเข้ามาแม้ห่างกันแค่ไม่ถึง ๕-๑๐  นาทีก็ต้องยอมรับในระบบ  อาวุโส-ภันเต

 

ข.เมื่อบวชแล้วพระที่บวชใหม่ที่มีอายุพรรษาต่ำกว่า    พรรษา  จะถูกเรียกว่า  พระนวกะ 

ซึ่งแปลว่าผู้เข้ามาใหม่และต้องอยู่รับใช้พระอุปัชฌาย์ของตนก่อน จนกว่าพรรษาจะพ้น    พรรษา  หรือที่เรียกว่าพ้นนิสัยมุตตกะ

ค.เมื่อบวชแล้วอายุพรรษาอยู่เลย    พรรษาแต่ก็ยังมีอายุพรรษาไม่ถึง  ๑๐  เรียกว่า  พระ

มัชฌิมะ  หรือพระปานกลาง คือพอที่จะบริหารควบคุมตัวเองได้โดยไม่ต้องมีพระอุปัชฌาย์คอยดูแลสอดส่องตักเตือนเพราะถือว่าพอจะรู้แล้วว่าอะไรควรไม่ควร

ง.เมื่ออายุพรรษาครบ  ๑๐  แล้วเรียกว่า  พระเถระ แปลว่าพระผู้มั่นคงที่มีภูมิที่สามารถ

คุ้มครองป้องกันตัวเองได้ ตลอดไปถึงการเป็นผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรมและสามารถที่จะเป็นพระอุปัชฌาย์ รับกุลบุตรบวชได้                          

จ.เมื่อพรรษาครบ  ๒๐  พรรษาขึ้นไปเรียกว่า  พระมหาเถระ  แปลว่าพระผู้ใหญ่ที่มีความตั้ง

มั่นในพระศาสนาสูงมีทั้งความฉลาดรอบรู้ในพระธรรมวินัย เป็นพระอุปัชฌาย์  อาจารย์ของบรรดาเหล่าลูกศิษย์ที่มาแวดล้อมได้

ซึ่งการจัดลำดับชั้นดังที่กล่าวมานี้ย่อมส่งผลทำให้เกิดการมีอำนาจอธิปไตยที่แตกต่างกัน

ตามจำนวนอายุพรรษา  กล่าวคือพระที่อาวุโสสูงสุดในสภานั้น ๆ หรือในการทำสังฆกรรมนั้น ๆ มักจะเป็นประธานในพิธีกรรมเสมอ 

ในเรื่องดังกล่าวนี้ ปรีชา  ช้างขวัญยืน ได้วิเคราะห์เอาไว้ว่า

ข้อดีทางสังคมที่เห็นได้ชัดคือ พระวินัยนั้นใช้กับพระภิกษุทุกรูปทุกองค์เสมอกัน

ทำให้เกิดความเสมอภาค ซึ่งก็เป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของประชาธิปไตย

ข้อนี้นับว่าสำคัญสำหรับสังคมสมัยพุทธกาล เพราะผู้ที่เข้ามาบวชอาจมาจากวรรณะต่าง ๆ

คือ พราหมณ์  กษัตริย์  ไวศยะ และศูทร  ซึ่งมีธรรมเนียมและวิธีประพฤติต่างกัน

จำเป็นต้องให้ละเว้นสิ่งเดียวกันและกระทำในสิ่งที่ทรงมีพุทธานุญาตเหมือน ๆ กัน 

มิฉะนั้นจะเกิดการดูถูกดูหมิ่นกันเองและจากคนภายนอก เมื่อหลักการนี้ขยายไปถึง

พุทธบริษัทธจำพวกอื่นก็จะเกิดลักษณะสังคมพุทธ คือสังคมที่ยอมรับความเสมอภาคของบุคคล

โดยยกย่องบุคคลตามคุณงามความดีที่กระทำ ซึ่งจะทำให้สังคมใหม่นี้ต่างกับสังคม

ที่เกิดจากศาสนาพราหมณ์ซึ่งยอมรับกันอยู่ในสมัยนั้น ความเสมอภาคดังกล่าว

ยังทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมอีกแง่หนึ่งนอกจากเรื่องการยึดมั่น

ในธรรมเป็นที่ตั้ง  ความเสมอภาคทางกฎหมายนี้แม้ในปัจจุบันก็ถือว่าสำคัญ

เพราะเป็นหลักแห่งความยุติธรรมและความเคารพในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์

ของบุคคลเท่าเทียมกัน [๓๓]

 

๓.๔.ประเภทของอธิปไตย

คำว่าอธิปไตย  มีความหมายว่าความเป็นใหญ่ตามอธิบายมาแล้ว  ในพระพุทธศาสนามีอยู่    ประเภทคือ

ประเภทที่    อัตตาธิปไตย   (ความมีตนเป็นใหญ่ )

คำว่าอัตตาธิปไตยนั้นมาจากคำที่แยกกัน    คำคือ  อัตตา + อธิปไตย  มี

ความหมายว่ามีตนเป็นใหญ่  หมายความมีลักษณะของอำนาจนิยม เผด็จการ  ถือความคิดของตัวเองเป็นใหญ่  ไม่ยอมรับความคิดเห็นของบุคคลอื่น โดยยึดตัวตนเป็นหลัก  หากเทียบกับระบบการปกครองก็คือระบอบคอมมิวนิสต์, ระบอบเผด็จการสังคมนิยม,  นาซีของเยอรมัน  เป็นต้นหรือถ้ากว้างขึ้นก็คือพวกชาตินิยมโดยมีลักษณะแห่งความเป็นอัตตาตัวตนสูงมาก  มีลักษณะเฉพาะกลุ่มตน  ชาติตนเท่านั้นที่เก่งสุด  ฉลาดสุด  เป็นต้น

                                ในสมัยพุทธกาลก็มีรูปแบบการปกครองที่คล้ายคลึงระบอบเช่นนี้เหมือนกัน  คือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ 

ประเภทที่    โลกาธิปไตย   (ความมีโลกเป็นใหญ่)

                คำว่าโลกาธิปไตย  มาจากศัพท์ว่า  โลกา+ อธิปไตย  มีความหมายว่าโลกเป็นใหญ่  คือโลก, ชาวโลก หรือ ประชาชนเป็นใหญ่  ซึ่งการปกครองแบบนี้กำลังเป็นที่นิยม  โดยอ้างเอาความเป็นประชาธิปไตย มาเป็นบรรทัดฐาน  จุดเด่นของระบอบนี้คือ  ความมีสิทธิเสรีภาพ, ความเสมอภาค,  ความมีอิสรภาพ,  ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง, มีการตรวจสอบ, มีการเลือกตั้ง   เป็นต้น  แต่ก็มีจุดด้อยอยู่ที่คนหมู่มากจะมีสัมมาทิฏฐิหรือไม่, มีกลุ่มผลประโยชน์, มีพรรคการเมือง เป็นต้น  หากได้คนไม่ดี มีความเห็นผิด ไม่รับผิดชอบ  โกงกินบ้านเมือง  มาบริหารงานบ้านเมืองประเทศชาติก็จะเสียหาย

                 ในสมัยพุทธกาลรูปแบบการปกครองแบบนี้คือระบอบสามัคคีธรรม  ของพวกเจ้าลิจฉวี  หรือของพวกเจ้าสักกายะ  ก็ได้ใช้มติส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

 

ประเภทที่     ธัมมาธิปไตย   (ความมีธรรมเป็นใหญ่)

คำว่าธรรมาธิปไตย  มาจากคำว่า  ธรรมา+ อธิปไตย  มีความหมายว่ามีธรรมเป็น

ใหญ่  มีการปกครองโดยธรรม  คำว่าธรรมคือความถูกต้องเหมาะสม  ไม่เอาตัวบุคคลเป็นที่ตั้ง  แต่เอาความชอบธรรม-ถูกธรรม-เป็นธรรม-โดยธรรมเป็นที่ตั้ง 

ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ได้ต่อต้านระบอบการปกครองแบบไหน  เพียงแต่ระบอบการ

ปกครองแบบไหนก็ตามจะต้องมีธรรมเป็นใหญ่   ถ้ามีธรรมเป็นใหญ่แล้วระบอบการปกครองรูปแบบนั้น ๆ ก็ถือว่าเป็นธัมมาธิปไตยทั้งนั้น

 

๓.๕.องค์กร

คำว่าองค์กร  ก็คือ การรวมตัวพระภิกษุในลักษณะของกลุ่ม, หมู่, คณะบุคคล หรือที่เรียกว่าพุทธบริษัท ๔ ที่พระพุทธเจ้าทรงได้พระราชทานพระศาสนา  ให้ดูแลโดยมีพระธรรมวินัยเป็นเหมือนพระศาสดา   ดังพระดำรัสว่า

สารีบุตร  กำลังของตถาคต  ๑๐  ประการนี้ ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้ปฏิญญาฐานะ

ที่องอาจบันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท [๓๔] 

ดังนั้นเมื่อ  คำว่า  องค์กรได้หมายถึงกลุ่มคนที่อยู่ในสังคมตั้งแต่สองคนขึ้นไปรวมกันทำกิจกรรมโดยหวังให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งและต้องมีการจัดรูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์ที่ชัดเจนเห็นได้  [๓๕]  และหากดูตามคำนิยามนี้แล้วสงฆ์ก็คือองค์กร ๆ หนึ่งซึ่งมีลำดับการบริหารโดยมีสายการบังคับบัญชา ในยุคแรก ๆ  ดังนี้

 

 

 

พระพุทธเจ้า

 

                                                                    พระปัญจวัคคี    รูป

 

พระอุปัชฌาย์ (พระเถระ-พระมหาเถระ)

 

อุบาสก-อุบาสิกา

 

อันเตวาสิก (พระนวกะ/พระมัชฌิมะ)

 

                ซึ่งดูแล้วเป็นสายการบังคับบัญชาที่ดูเรียบง่าย  ไม่สลับซับซ้อนมากมาย  ทั้งนี้องค์กรของพุทธในยุคนั้นมีผู้คนเข้ามาไม่มาก ประกอบกับความที่มีอุดมการณ์ในการออกบวชด้วยแล้วปัญหาก็ยิ่งไม่ค่อยมี  หากศึกษาดูจริง ๆ แล้วกับทำให้สายสัมพันธ์ในองค์กรนั้นเหมือนกับสายสัมพันธ์ของคนในครอบครัวเดียวกัน การปกครองมีลักษณะคล้ายพ่อปกครองลูก

แต่ต่อมาเมื่อมีบุคคลเข้ามานับถือพระพุทธศาสนามากขึ้น  สายการบังคับบัญชายิ่งชัดเจนและสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น  ดังนี้

 

พระพุทธเจ้า

   

                                                                                 พุทธอุปัฏฐาก

 

 

อัครสาวกเบื้องขวา                                                                              อัครสาวกเบื้องซ้าย

 

 

พระอุปัชฌาย์

 

 

พระภิกษุ                     พระภิกษุณี                      อุบาสก                                  อุบาสิกา

 

 

 เอตทัคคะ                   เอตทัคคะ                               เอตทัคคะ                         เอตทัคคะ

 

ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้ พระเทพโสภณได้ให้ข้อเท็จจริงไว้ว่า

พระพุทธเจ้าทรงดำรงตำแหน่งเป็นธรรมราชา  คือผู้บริหารสูงสุดในองค์กรพระพุทธศาสนา 

ดังพุทธพจน์ที่ว่า เราเป็นพระราชา นั่นคือเป็นธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม (ม.ม.๑๓/๖๐๙/๕๕๔)

พระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งพระสารีบุตรให้เป็นพระธรรมเสนาบดีมีฐานะเป็นรองประธานบริหาร

อยู่ในลำดับถัดมาจากพระพุทธเจ้าและเป็นอัครสาวกฝ่ายขวารับผิดชอบงานด้านวิชาการ

พระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกฝ่ายซ้ายรับผิดชอบงานด้านบริหาร  พระอานนท์เป็น

เลขานุการส่วนพระองค์ และทรงแต่งตั้งสาวกทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์เป็นเอตทัคคะ

คือผู้ชำนาญการที่รับภาระงานด้านต่าง ๆ เช่น พระมหากัสสปะเป็นผู้ชำนาญด้านวินัย 

จิตตคหบดีเป็นผู้ชำนาญด้านการแสดงธรรม (อง.เอกก. ๒๐/๑๔๖/๓๐)

การแต่งตั้งเอตทัคคะนี้เป็นตัวอย่างของการกระจายอำนาจและใช้คนให้เหมาะกับงาน

ในพระพุทธศาสนา....[๓๖]

 

เราจะเห็นว่าสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อพระอุปัชฌาย์ แล้วต่อไปที่พระอัครสาวกทั้ง    ฝ่ายโดยมีพระพุทธเจ้าเป็นผู้นำสูงสุด แม้พระพุทธองค์ จะทรงเป็นจอมสงฆ์ ดำรงตำแหน่งพุทธบิดร แต่ก็ทรงมอบหมายให้ครูบาอาจารย์ของภิกษุเหล่านั้นได้ใช้อำนาจปกครองดูแลกันเองเป็นส่วนใหญ่ และก็มีตัวอย่างโดยทั่วไปว่าถ้าอุปัชฌาย์อาจารย์ปฏิบัติเคร่งไปทางไหน  สานุศิษย์ก็จะเคร่งตามด้วย  เช่น ศิษย์ของพระอุปเสนวังคันตบุตร  ก็จะถือธุดงควัตรอยู่ป่า  ถือผ้าบังสุกุล และเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร  [๓๗]  ซึ่งทำให้นึกถึงสายการบังคับบัญชาของทหารที่พลทหารขึ้นอยู่กับหมู่  และแต่ละหมู่ก็ขึ้นอยู่กับกองร้อย ๆ ขึ้นอยู่กับกองพัน ๆ ขึ้นอยู่กับกองพล  ประมาณนั้น

แม้องค์กรในสมัยพุทธกาลที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เกิดความสามัคคีและความผาสุก ดังที่กล่าวมาแล้วโดยไม่ได้มุ่งหวังผลกำไร หรือผลประโยชน์จากการจัดตั้งองค์กรขึ้นมา ซึ่งการเทียบเคียงกับองค์กรภายนอกหรือทางโลกไม่ได้เพราะมีเป้าหมายที่แตกต่างกันอย่างมาก. เมื่อมององค์กรในแง่ของจริยศาสตร์แล้ว  สังคมสงฆ์เป็นสังคมของผู้มุ่งนิพพาน  แต่เมื่อมองในแง่การเมืองสงฆ์เป็นลักษณะสังคมที่พัฒนาการมาจากองค์การทางการเมืองแบบชนเผ่าหรือสาธารณรัฐทางแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียก่อนสมัยพุทธกาล  [๓๘]    ถึงกระนั้นก็ตามก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน  พระองค์ก็ทรงได้มอบพระพุทธศาสนาไว้ให้กับพุทธบริษัททั้ง    คือคณะภิกษุ  คณะภิกษุณี  คณะอุบาสก  คณะอุบาสิกา  และแน่นอนคณะสงฆ์ที่รวมเอาทั้งคณะสงฆ์ทั้ง    ฝ่ายย่อมรับธุรภาระในการดำรงพระศาสนาเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์เกื้อกูลต่อสังคมส่วนรวม  และมหาชนสืบไป

 

               

๓.๖.ปัญหาความขัดแย้งทางอธิปไตย

แม้ว่าองค์กรสงฆ์จะเป็นองค์กรทางศาสนาคือแทบจะไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง หรือบุคลากรในศาสนาไม่มีความปรารถนาอยากที่จะเป็นใหญ่  แต่กระนั้นก็ตาม  ในแทบทุกองค์กรย่อมมีคนที่ไม่ดีเกิดขึ้น  ซึ่งสังคมสงฆ์ก็มีเหตุการณ์ทำนองนี้อยู่หลายครั้ง  แต่ที่ชัดเจนที่สุดและน่าจะยกประเด็นมาศึกษา ก็คือ กรณีของพระเทวทัต

มีเรื่องอยู่ว่าพระเทวทัต  ต้องการที่จะเข้ามาปกครองคณะสงฆ์แทนพระพุทธเจ้าวันหนึ่งจึง

เข้าไปกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เวลานี้พระผู้มีพระภาคทรงพระชราภาพ  เป็นผู้เฒ่า-สูงอายุ ล่วงกาลผ่านวัยไปโดยลำดับแล้ว พระพุทธเจ้าข้า  บัดนี้ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปล่อยวาง  ประกอบตนอยู่ในธรรมสำหรับอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน  โปรดมอบภิกษุสงฆ์ให้ข้าพระพุทธเจ้าเถิด  ข้าพระพุทธเจ้าจะปกครองภิกษุสงฆ์

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า  อย่าเลยเทวทัต  เธออย่าชอบใจที่จะปกครองภิกษุสงฆ์เลยแม้สารี

บุตรและโมคคัลลานะ  เรายังไม่มอบภิกษุสงฆ์ให้  เราจะมอบภิกษุสงฆ์ให้เธอซึ่งเป็นคนต่ำช้า   บริโภคปัจจัยดุจกลืนน้ำลายได้อย่างไรเล่า  [๓๙]      แล้วทรงสั่งให้ทำปกาสนียกรรม ในกรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัต [๔๐]

คนทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ที่ไม่ศรัทธา  ไม่เลื่อมใส  มีความรู้ไม่ดี  กล่าวอย่างนี้ว่า  พระ

สมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้เป็นคนริษยา  ริษยาลาภสักการะของพระเทวทัต  ส่วนพวกที่มีศรัทธา  มีความเลื่อมใส  มีความรู้ดี  ก็กล่าวอย่างนี้ว่า  เรื่องนี้คงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะพระผู้มีพระภาครับสั่งให้ทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัต [๔๑]

 

 

ก.แผนการปฏิวัติ-รัฐประหาร

เมื่อแผนไม้อ่อนไม่สำเร็จ พระเทวทัตเข้าไปหาอชาตศัตรูกุมารถึงที่อยู่ เพื่อปรึกษาเรื่องชิง

ราชสมบัติ โดยดำเนินการตามแผนที่    ทันที่  แต่แผนการณ์ทั้งหมดก็ถูกจับได้ เป็นที่น่าแปลกว่าตัวการที่วางแผนได้รับการอภัยโทษ  แต่กลับมีการสั่งลงโทษเหล่ามหาอำมาตย์ที่แสดงความคิดเห็นให้ดำเนินการจัดการกับพระเทวทัตกับอชาตศัตรูกุมาร  ดังนี้

๑.ถอดยศพวกที่ลงมติให้  ปลงพระชนม์พระกุมาร  ฆ่าพระเทวทัตและฆ่าภิกษุทั้งหมด

๒.ทรงลดตำแหน่ง พวกที่ลงมติให้  ความคิดเห็นว่า  ไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่มี

ความผิด  แต่ควรปลงพระชนม์พระกุมารและฆ่าพระเทวทัต เท่านั้น

๓.ทรงเลื่อนตำแหน่ง  พวกที่ลงมติให้  ไม่ควรปลงชีวิตพระกุมาร ไม่ควรฆ่าพระเทวทัต 

ทั้งไม่ความฆ่าภิกษุทั้งหลาย  แต่ควรนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ และปฏิบัติตามคำสั่งพระราชา [๔๒]

อีกสายหนึ่ง  เทวทัตได้ขอกำลังทหารจากอชาตศัตรูกุมาร  เพื่อสั่งการในการลอบปลงพระ

ชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้าโดยกล่าวว่า  ขอถวายพระพร  ขอพระองค์โปรดสั่งให้ราชบุรุษปลงพระชนม์พระสมณโคดม [๔๓]  ในขณะเดียวกันที่อชาตศัตรูกุมารสั่งทหารว่า  พวกท่านจงปฏิบัติตามคำสั่งของพระคุณเจ้าเทวทัต ซึ่งทีมทหารได้ถูกจัดวางกำลังโดยซุ่มรอพระพุทธเจ้าเสด็จมา  แต่แผนการในครั้งนี้ก็ไม่สำเร็จ  จนพระเทวทัตถึงกับลั่นวาจาว่า  อย่าเลยท่านอย่าปลงพระชนม์พระสมณโคดมเลย  เราจะลงมือปลงพระชนม์พระสมณโคดมเอง  [๔๔]  ในที่สุดพระเทวทัตจึงต้องกลิ้งก้อนศิลาใหญ่ เพื่อหมายปลงพระชนม์ จนทำให้สะเก็ดศิลากระเด็นถูกพระบาททำให้พระโลหิตห้อ    ภูเขาคิชฌกูฏ [๔๕]

ถึงกระนั้นก็ตาม ความพยายามของพระเทวทัตยังไม่หมด  ได้ให้สัญญากับนายควาญช้างว่า 

เราเป็นพระญาติของพระราชา  สามารถแต่งตั้งผู้มีตำแหน่งต่ำให้สูงได้  สามารถเพิ่มเบี้ยเลี้ยง, เงินเดือน และแนะนำว่าเวลา พระสมณโคดมเสด็จมาทางตรอกนี้  พวกท่านจงปล่อยช้างนาฬาคิรีเข้าไป [๔๖]  แต่แผนการณ์ทั้งหมดก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า

 

ข.ยุทธศาสตร์, แนวนโยบายพระเทวทัต หาเสียง

                พระเทวทัตได้ชักชวนพรรคพวก ประกอบด้วยพระโกกาลิกะ, พระกฎโมรกติสสกะ, พระขัณฑเทวีบุตร, พระสมุททัตตะ รวม    รูปมาประชุมปรึกษาเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ที่ผู้คนทั่วไปดูแล้วสรรเสริญ  ว่ามีความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา จำกัด และที่สำคัญน่าเลื่อมใสมาก  เพื่อทำลายพระพุทธเจ้า โดยชูประเด็นวัตถุ    ประการ   ดังนี้  [๔๗] 

                ๑.ภิกษุทั้งหลาย  ควรอยู่ป่าตลอดชีวิต  ใครเข้าบ้าน มีโทษ

                ๒.ภิกษุทั้งหลาย  ควรบิณฑบาตตลอดชีวิต  ใครรับนิมนต์ มีโทษ

                ๓.ภิกษุทั้งหลาย  ควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต  ใครยินดีผ้าคหบดี มีโทษ

                ๔.ภิกษุทั้งหลาย  ควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต  ใครอาศัยที่มุงบัง มีโทษ

                ๕.ภิกษุทั้งหลาย  ไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต  ใครฉัน มีโทษ

                ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเสนอไป พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงอนุญาต  แต่พระเทวทัตก็ใช้นโยบายนี้ประกาศชักชวนให้ประชาชนเลื่อมใสนับถือและทำให้เป็นเครื่องมือทำลายสงฆ์ ทำลายคำสอน (จักร) ของพระพุทธเจ้าต่อไป

ซึ่งต่อมาเมื่อพระเทวทัตทูลเสนอในท่ามกลางสงฆ์ และพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธตามความคาดหมาย  พระเทวทัตถึงกับร่าเริงดีใจ  [๔๘]  ตื่นเต้นที่เป็นไปตามแผนการณ์ที่วางเอาไว้

เหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตเพราะอำนาจประโยชน์    ประการ เพื่อหวังไม่ให้ภิกษุที่ปรารถนาชั่ว  อาศัยพรรคพวกทำลายสงฆ์ให้แตกแยกกัน คือ [๔๙]

๑.เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก

๒.เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม

๓.เพื่ออนุเคราะห์ตระกูล

พระเทวทัต เข้าไปหาพระอานนท์  กล่าวว่า ท่านอานนท์  ตั้งแต่วันนี้  เป็นต้นไป  เราจะทำอุโบสถ  จะทำสังฆกรรม  แยกจากพระผู้มีพระภาค  แยกจากภิกษุสงฆ์ [๕๐] ในขณะที่กำลังบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์

เมื่อถึงวันอุโบสถ  พระเทวทัต  ประกาศชักชวนภิกษุให้เลือกขั้ว โดยกล่าวว่า รูปใดเห็นด้วยกับประเด็นวัตถุ ๕ ประการจงจับสลาก มีพวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีผู้บวชใหม่ ไม่รู้ธรรมวินัย  จำนวน  ๕๐๐  รูป  พากันจับสลาก พระเทวทัตจึงพาไปทางคยาสีสประเทศ [๕๑]

พระพุทธเจ้าทรงส่งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ  ไปตามเหล่าภิกษุให้คืนมา  เมื่อพระมหาเถระทั้ง    เข้าไปหาพระเทวทัต ๆ ถึงกลับแสดงความดีใจกล่าวว่า  ภิกษุทั้งหลาย  ท่านเห็นหรือไม่ ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ถึงขนาดพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ  อัครสาวกของพระสมณโคดมยังพากันมาหาเรา  ชอบใจธรรมของเรา  ทั้ง ๆ ที่พระโกกาลิกะได้เตือนสติให้พระเทวทัตระวังตัวแล้วก็ตาม  แต่ด้วยความกระหยิ่มใจและประมาท  เมื่อบอกสอนธรรมจนดึกแล้วจึงได้มอบภารกิจในการเทศน์สอนให้กับพระเทวทัต  แล้วนอนเผลอสติไม่รู้ตัวหลับไป  ภิกษุ  ๕๐๐  รูปกลับไปพระเวฬุวัน  เมื่อพระโกกาลิกะปลุกพระเทวทัตจึงรู้ตัวและกระอักเลือดออกมา [๕๒]

 

 

 

 

 

 

 

 

    สังฆาธิปไตย

 

๔.๑.คำนิยาม

                คำว่า สังฆาธิปไตย  (สังฆ+อธิปไตย)  เมื่อรวมสองคำนี้เข้าด้วยกันแล้วได้ความหมายว่าสงฆ์เป็นใหญ่ หรือสงฆ์มีอำนาจเป็นใหญ่ในองค์กร  ถ้ายอมรับว่าระบอบการปกครองที่เรียกว่าสังฆาธิปไตยนี้เป็นทฤษฎีหนึ่ง นั่นก็หมายความว่าสังฆะ  หรือกลุ่มชนที่เป็นพระภิกษุและพระภิกษุณี ย่อมอยู่ภายใต้อำนาจของสงฆ์หรือ...ถ้าจะให้ชัดก็ต้องระบุว่า สงฆ์มีอำนาจ  สงฆ์เป็นใหญ่  หรืออำนาจเป็นของสงฆ์ ไม่ใช่ของภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง  แต่อำนาจสงฆ์เป็นใหญ่นี้  มีแนวโน้มเน้นหนักไปทางมัชฌิมาสังฆาธิปไตย (Polity) คือประชาธิปไตยแบบทางสายกลาง [๕๓]  คือไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือเอียงซ้ายหรือขวา

                แม้ระบอบการปกครองนี้จะมีในเฉพาะหมู่สงฆ์เท่านั้น  แต่ก็เป็นสงฆ์ในสมัยพุทธกาลที่ยังมีรูปแบบและอุดมการณ์อยู่  แม้ในปัจจุบันพระพุทธศาสนาจะได้แผ่ขยายพุทธาณาจักรไปสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก  ทำให้ระบอบการปกครองสงฆ์ที่มีอยู่ดั่งเดิมแปรเปลี่ยนไปบ้างขึ้นอยู่กับนิกายนั้น ๆ หรือวัฒนธรรมการเมืองการปกครองของประเทศนั้น ๆ  เช่น ประเทศไทย ก็มีพัฒนาการทางการปกครองของคณะสงฆ์ที่มีมหาเถรสมาคมเป็นองค์กรสูงสุด  โดยมีสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก  เป็นประมุข และมีผู้บริหารระดับหนอีก    ตำแหน่ง  มีผู้บริหารระดับภาคอีก  ๑๘  ตำแหน่ง มีผู้บริหารระดับจังหวัด, อำเภอ, ตำบล  และสุดท้ายคือเจ้าอาวาส  ซึ่งพระภิกษุผู้บริหารจะมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในเขตของตัวเอง  ทั้งนี้เขตอำนาจหน้าที่ดังกล่าวนั้นมักจะขึ้นอยู่กับการแบ่งเขตการปกครองบ้านเมืองเป็นหลัก  ถึงอย่างไรก็ตามผู้บริหารทุกระดับย่อมใช้คำว่า  สงฆ์  หรือทำการในนามคณะสงฆ์ 

ส่วนที่มาของสงฆ์นั้นได้กล่าวไว้แล้วในบทที่    ในบทนี้จะได้พูดถึงภาพรวมของคำว่าสังฆาธิปไตยและอำนาจที่มา  ตลอดจนถึงอุดมการณ์ของระบอบการปกครองชนิดนี้ ต่อไป

 

๔.๒.อุดมการณ์

                ความหลุดพ้น  หรือการบรรลุธรรม  เป็นอุดมการณ์ของผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา  พระพุทธเจ้าจะทรงใช้ระบบการปกครองสงฆ์  ก็เพื่อบรรลุเป้าหมายของการบรรลุธรรมนั้นเอง  โดยมีความพร้อมเพียง  ความผาสุก  ความมักน้อยสันโดษ  เป็นที่ตั้ง  ทั้งนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดทิศทางแห่งอุดมการณ์ เอาไว้เพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่อุดมการณ์ที่พระองค์ทรงวางเอาไว้ และได้ทรงกำหนดทั้งยุทธศาสตร์, นโยบาย, พันธกิจ, แผนงาน และมาตรการ  ดังนี้จะอธิบายต่อไปนี้

 

            ๔.๒.๑.ยุทธศาสตร์

ของสงฆ์ คือ พระนิพพาน หรือการหลุดพ้น เป็นหลัก  ส่วนความคลายกำหนัด,

การดำริออกจากกาม, ความสันโดษ หรือหมวดธรรมอื่น ๆ  ที่พระองค์ทรงวางเอาไว้ตลอด  ๔๕  พรรษา  ก็เป็นเพียงบริบทแห่งการเข้าถึงพระนิพพานทั้งนั้น  แม้พระสาวกไม่สามารถที่จะบรรลุวัตถุประสงค์หรือยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้  แต่อย่างน้อยที่สุดพระภิกษุที่เข้ามาบวชย่อมจะมีอุดมการณ์ดังกล่าวนี้เป็นเบื้องต้น

 

            ๔.๒.๒.นโยบาย         

 เมื่อมองดูนโยบายของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทานให้กับสงฆ์ในวันมาฆบูชาขึ้น 

๑๕  ค่ำเดือน    แล้วทรงมุ่งไปที่โอวาทปาติโมกข์ ว่า

สพฺพปาปสฺส   อกรณํ      

กุสลสฺสูปสมฺปทา     

สจิตฺตปริโยทปนํ     

เอตํ   พุทฺธสฺสาสนํ

โดยมีใจความว่า 

๑. ไม่ทำบาปทั้งปวง  หมายรวมไปถึงทั้งขนาดเล็กน้อยก็ไม่ทำ  สรุปคือเว้นชั่ว

๒.ทำกุศลให้ถึงพร้อม นั้นก็คือทำความดีทุกชนิด  สรุปคือทำดี

๓.การชำระล้างจิตใจ  สรุปคือการทำจิตบริสุทธิ์

 

            ๔.๒.๓.พันธกิจ                      

เมื่อมองดูพันธกิจที่คณะสงฆ์จะต้องทำในขณะที่บวชเข้ามาก็คือการทำธุระให้สำเร็จเสร็จสิ้น หากไม่แล้วก็ถือว่ายังไม่บรรลุเป้าหมายมีอยู่    ประการคือ

ก.คันถธุระ  คือการศึกษาเล่าเรียน, เทคนิค, ทักษะ เพื่อก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า  ถูกต้อง  ไม่บกพร่อง  ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือบิดเพี้ยนไป

ข.วิปัสสนาธุระ  คือการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน  เพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริงตามหลักคำสั่งสอน 

ธุระทั้ง    นี้เองเมื่อจะให้ชัดเจนสามารถแบ่งเป็น    ระดับ  คือ  ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ  นั้นเอง

 

 

            ๔.๒.๔.แผนงานโครงการ                   

เมื่อจะเทียบเคียงกับโลกแล้วแผนงานโครงการของพระพุทธเจ้าก็คือ  อริยสัจ    ที่เป็นทฤษฎีที่สามารถทำให้เจ้าชายสิทธัตถะ  ได้ทรงบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  แล้วพระองค์ก็ได้อธิบายขยายความถึงทฤษฎีหรือแผนงานที่จะให้บรรลุถึงความดับทุกข์  และองค์กรต่าง ๆ มักจะนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาในองค์กรนั้น ๆ   ดังนี้ 

ก.ทุกข์                    ปัญหาที่เกิดขึ้น ว่าคืออะไร  ทำไม  อย่างไร

ข.สมุทัย                 สาเหตุแห่งความทุกข์  หรือสมุฏฐานแห่งปัญหานั้น ๆ

ค.นิโรธ                  เป้าหมายคือความดับทุกข์  หรือเป้าหมายของการแก้ปัญหา

ง.มรรค                   หนทาง หรือมรรควิธีแห่งการแก้ปัญหา  ซึ่งมีทั้งหมดจำนวน    ประการคือ  สัมมาทิฏฐิ  ความเห็นชอบ, สัมมาสังกัปปะ  ความดำริชอบ,  สัมมาวาจา  การเจรจาชอบ,  สัมมากัมมันตะ  การงานชอบ,  สัมมาอาชีวะ  เลี้ยงชีพชอบ,  สัมมาวายามะ  เพียรชอบ,  สัมมาสติ  ระลึกชอบ  และสัมมาสมาธิ  ตั้งใจมั่นชอบ  ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นเหมือนเข็มทิศที่ให้คณะสงฆ์ได้ก้าวเดินสู่จุดหมายอย่างดี

 

            ๔.๒.๕.มาตรการ                                

หากดูตามอริยมรรคมีองค์    แล้วภาพที่ได้อาจจะไม่ชัดเจน  โบราณาจารย์ได้พยายามจัดหมวดหมู่เพื่อให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นในนามไตรสิกขา

ซึ่งไตรสิกขา    ประการนี้เป็นมาตรการที่สามารถวัดคนที่จะเข้ามาสู่ระบอบสังฆาธิปไตยได้อย่างดีเยี่ยม  คือ  ศีล  ผู้เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ทุกคนจะต้องมีศีล ไม่ว่าจะเป็นศีล  ๑๐,  ศีล  ๒๒๗  หรือศีล  ๓๑๑  ก็ตาม  สมาธิ สมาชิกที่ที่เข้ามาแล้วต้องฝึกตนเองให้เกิดสมาธิให้ได้  ปัญญา  จะเกิดจากผลของการกระทำของทั้งศีลและสมาธินั้น

 

                และถ้าหากสมาชิกไม่สามารถอยู่ร่วมในองค์กรได้ไม่ว่าจะกรณีไหนก็ตาม  เช่นไม่มีอุดมการณ์  ไม่มีเป้าหมาย  ไม่ทำธุระในพระศาสนา  ไม่ปฏิบัติตามนโยบาย  หรือแม้แต่ไม่ดำเนินการตามมาตรการที่ทรงวางไว้ได้  สงฆ์จะเรียกภิกษุรูปนั้นมาตักเตือน, ทำทัณฑบน และให้ภิกษุรูปนั้นสึกหรือสละเพศเสีย  เพราะถือว่าเป็นการลงโทษที่รุนแรงที่สุดในพระพุทธศาสนา [๕๔]

                ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้พระธรรมปิฎกได้ให้ข้อเสนอแนะว่า 

การให้สึก หรือสละเพศนี้ไม่ใช่เรื่องเป็นการลงโทษด้วยซ้ำ  แต่เป็นปฏิบัติการ

ที่ตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง  หมายความว่า เมื่อบุคคลนั้นไม่ยอมรับหลักการ

ของพระพุทธศาสนา หรือไม่ยอมรับสังฆะ แล้ว หรือละเมิดกติกาที่ทำให้หมดสิทธิ

ที่จะอยู่ร่วมสังฆะนั้นแล้ว  เขาย่อมจะต้องสละออกนอกสังฆะนั้นไปเป็นธรรมดา [๕๕]

 

๔.๓.หลักการ

                ระบอบการปกครองทุกระบอบย่อมมีหลักการเพื่อที่จะให้เห็นว่านี้คือรูปแบบที่ได้ตั้งเอาไว้ ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจว่าหลักการของสังฆาธิปไตยกับหลัการของประชาธิปไตยนั้นมีความคล้ายคลึงกันมาก  ไม่ว่าจะหลักการใดใดจะหยิบเอาของอีกระบอบหนึ่งมาให้ก็ตาม   ซึ่งมีลักษณะของหลักการที่มีอยู่  ดังต่อไปนี้

 

ก.หลักความเสมอภาค  (Equality)

ในการรับสมาชิกใหม่        ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นวรรณะกษัตริย์, พราหมณ์, แพศย์ และศูทร์ หรือวรรณะไหน ๆ ก็ตาม เมื่อเข้ามาในพระพุทธศาสนาโดยผ่านการอุปสมบทแล้ว บุคคลนั้นก็จะถูกเรียกรวม ๆ กันว่า ศากยบุตร เหมือนกันทุกคน ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงว่าพระพุทธศาสนามีหลักแห่งความเสมอภาค โดยไม่ได้ยอมรับนับถือคนที่ชาติตระกูล  ดังคนอินเดียยุคนั้นที่ถือวรรณะเป็นยิ่งกว่าชีวิต  แต่ทุกคนมีความเท่าเทียมกันกันหมด  แต่มีการยอมรับนับถือกันตามหลักอาวุโส-ภันเต  (บวชก่อน-หลัง)  คือใครบวชเข้ามาก่อนย่อมถือว่าเป็นพี่ ศัพท์ภาษาบาลีว่า  ภันเต แปลว่าท่านผู้เจริญ  ส่วนผู้ที่บวชเข้ามาทีหลังย่อมเป็นน้อง ศัพท์ภาษาบาลีว่า อาวุโส แปลว่าท่านผู้มีอายุ ไม่ว่าจะอายุมากน้อยเท่าไหร่ไม่สำคัญ  ให้นับพรรษา หรือจำนวนปีที่เข้ามาบวชเป็นหลัก

เป็นที่น่าสังเกตว่า  คำว่าอาวุโส  ในภาษาไทยให้ความหมายว่าเป็นผู้ที่มีอายุกาลมากกว่า  ซึ่งตรงข้ามกับภาษาบาลีคำว่าอาวุโส  หมายถึงภิกษุผู้อ่อนกว่า ซึ่งคนไทยหยิบยืมมาใช้แล้วก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางด้านภาษาอยู่มิใช่น้อย

 

ข.หลักสิทธเสรีภาพ  (Rights  and  Liberty)

เมื่อบุคคลเข้ามาบวชแล้วการทำกิจภาระเพื่อให้ตนได้บรรลุธรรมนั้นเป็นหน้าที่ของภิกษุ

รูปนั้น ๆ พระพุทธเจ้า หรือพระอุปัชฌาย์เป็นแต่เพียงชี้แนวทางให้กับบรรดาศิษยานุศิษย์เท่านั้น  จึงจำเป็นที่ภิกษุรูปนั้นจะต้องพัฒนาตนเองให้ได้มาตรฐานแห่งความเป็นพระหรือสมณภาวะ  และสิ่งเหล่านี้เองที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของภิกษุรูปนั้น ๆ ว่าจะมีความสามารถมากน้อยแค่ไหน  ได้มรรคผลระดับใด  เป็นที่ยอมรับของสังคมหรือกลุ่มหรือไม่  อยู่ที่การฝึกฝนและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  โดยไม่มีใครบังคับขู่เข็ญ

ซึ่งภิกษุรูปดังกล่าวอาจจะยกตนเองจากคนที่เป็นสามัญสัตว์ที่ไม่มีความแตกต่างจากสัตว์

ทั่วๆ ไป  สู่การเป็นมนุษย์ที่มีจิตใจที่สูงขึ้น และพัฒนาการจากมนุษย์จนได้เป็นพระอริยบุคคล

โดยมีลำดับอยู่    คู่    ลำดับชั้นดังนี้

คู่ที่หนึ่ง พระโสดาปัตติมรรค           พระโสดาปัตติผล

คู่ที่สอง  พระสกิทาคามิมรรค            พระสกิทาคามิผล

คู่ที่สาม   พระอนาคามิมรรค              พระอนาคามิผล

คู่ที่สี่       พระอรหันตมรรค               พระอรหันตผล

 

 

ค.หลักภรดรภาพ  (Fraternity)

หลักภรดรภาพที่ทุกอย่างย่อมมีความเกี่ยวดองและเชื่อมโยงสัมพันธ์กันไม่ทางใด

ก็ทางหนึ่ง  หลักการมองแบบนี้เรียกว่า หลักปฏิจจสมุปบาท  อันบ่งชี้ให้เห็นว่าเพราะสิ่งนี้มี  สิ่งนั้นจึงเกิด  เพราะสิ่งนี้ไม่มี  สิ่งนั้นจึงไม่เกิด  หรือถ้าจะสรุปให้เห็นง่าย ๆ ก็คือทำไมพระพุทธเจ้าจึงสอนให้ไม่ทำบาปทั้งปวง  ไม่ให้เบียดเบียนทำร้ายสัตว์  ก็เพราะว่ามนุษย์เวียนว่ายตายเกิดอีกไม่รู้กี่ชาติ ๆ เช่นในชาตินี้เราอาจเป็นเพื่อนกัน  เป็นคู่แค้นกัน  แต่ในชาติที่แล้วเราอาจจะเป็นพ่อเป็นแม่  เป็นภรรยา  สามี  เป็นลูก  เป็นหลาน แล้วชาติต่อ ๆ อาจจะเป็นเพียงคนรู้จักกัน หรือสนิทกัน ก็ได้ เพราะฉะนั้นเราไม่ควรมาทำร้าย เบียดเบียนเข่นฆ่ากันเพราการที่คนเรามาคลุกคลีเดี่ยวข้องกันในชาติปัจจุบันนี้ก็ล้วนแล้วแต่เคยผูกพันเป็นญาติกันมาก่อน [๕๖] ทั้งนี้พระพุทธศาสนาเองได้แสดงหลักการใหญ่แห่งภราดรภาพหรือเอกภาพไว้โดยที่หลักการใหญ่นี้ครอบคลุมความเป็นอยู่และการปฏิบัติที่เป็นเรื่องของเสรีภาพและสมภาพเอาไว้ในตัว  ให้มีความหลากหลายที่โยงกันได้ในระบบที่ประสานเป็นหนึ่งเดียว หลักการหรือหลักธรรมนี้เรียกว่า สาราณียธรรม ที่แปลว่าธรรมเป็นเครื่องระลึกถึงกัน โดยมีความหมายทำนองเดียวกับภราดรภาพ เป็นหลักการที่ทำให้เกิดความประสานพร้อมเพรียงสามัคคีและผนึกรวมกันเป็นเอกีภาพ [๕๗]

หลักการดังที่กล่าวมานี้เราจะเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  แม้โลกทั้งโลกในที่สุดก็มาจากสายตระกูลเดียวกัน  นั้นก็หมายความว่าทุกคนเป็นพี่น้องกัน  มีศีลเสมอกัน  มีวัตรปฏิบัติเหมือน ๆ กัน  เป็นต้น

 

 

ง.หลักเสียงส่วนมาก

                หลักการนี้ใช้ในสังฆกรรมต่าง ๆ เมื่อขอญัตติกล่าวคือภิกษุทุกรูปมีสิทธิในการออกเสียงได้    เสียงเท่ากัน  ไม่เลือกระดับชั้น  ไม่ขึ้นอยู่กับความเป็นนวกะ, มัชฌิมะ, เถระ หรือแม้กระทั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ก็ตาม ทุกรูปมีสิทธิเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็นทั้งยอมรับโดยการเปล่งเสียงว่า สาธุ  หรือว่าใช้วิธีดุษฎียภาพ คือนิ่งเสียถ้าไม่เห็นด้วยก็ทักท้วงคัดค้านในการลงมตินั้น ๆ ได้  เรียกว่าได้รับเสียงข้างมาก  หรือหลายกรณีได้รับเสียงเป็นเอกฉันท์  ซึ่งในกรณีนี้เป็นเรื่องปกติในสังคมสงฆ์  ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมในการอุปสมบทก็ดี  ในเรื่องของกฐินก็ดี  ในเรื่องของสีมาก็ดี  ฯลฯ 

                ถึงอย่างไรก็ตามการใช้มติเอกฉันท์ไม่ได้เป็นไปในทุกกรณีกล่าวคือเมื่อมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเป็นสองฝ่ายก็ต้องหาทางระงับโดยวิธีการจับฉลาก  หรือที่ตรงกับการลงคะแนนเพื่อดูว่าเสียงข้างมากไปทางไหนก็จะตัดสินให้เป็นไปตามเสียงข้างมากนั้น  วิธีการนี้เรียกว่า  เยภุยยสิกา  คือการถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ [๕๘] 

               

๔.๔.อำนาจ

                เมื่อจะศึกษาให้ลึกแล้วอำนาจอธิปไตยของสงฆ์นั้น  เป็นอำนาจที่ชอบธรรมและเป็นอำนาจที่บริสุทธิ์ แต่หากเปรียบเทียบกับศัพท์ทางรัฐศาสตร์แล้วเรียกว่าเป็นสิทธิอำนาจ (Authority) หรืออำนาจหน้าที่  เมื่ออยู่ในสังฆะแล้วต้องทำให้หมู่เหล่ายอมรับในอำนาจที่เข้ามาเป็น  ในองค์กรสงฆ์เองมักจะมีความเคารพในพระเถระ และยอมมอบให้เป็นอธิบดีสงฆ์หรือประธานสงฆ์ในการทำกิจการนั้น ๆ หากแยกตามแนวความคิดของ Max  Weber  จะได้ดังนี้

ก.อำนาจบารมี  (Charismatic  authority) เป็นที่ยอมรับกันอันเนื่องมาจากคุณลักษณะพิเศษเฉพาะบุคคลนั้น ๆ เช่น  พระสิวลี ผู้เป็นเลิศทางด้านลาภสักการะ, พระมหาโมคคัลลานะ  ผู้เป็นเลิศทางด้านมีฤทธิ์, พระอานนท์  ผู้เป็นเลิศทางด้านพหูสูต, .พระมหากัสสปเถระ ได้รับการยอมรับสูงมากจากคณะสงฆ์หมู่ใหญ่ ภายหลังจากพุทธปรินิพพานที่คอยว่ากล่าวตักเตือนภิกษุสงฆ์ ให้เกิดความสำนึกในพระธรรมวินัย เหมือนครั้งพระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุอยู่  ภารกิจที่สำคัญที่สุดคือการทำสังคายนา ครั้งที่  [๕๙]

ข.อำนาจทางประเพณีนิยม (Thaditional  authority)  เช่น การคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งพุทธอุปัฏฐาก, มัคคุทเทศก์  แม้จะไม่ได้มีการสืบทอดจากตระกูลสู่ตระกูล หรือบุคคลสู่บุคคลก็ตาม  แต่เมื่อดูจากบริบทของการสนับสนุนแล้วก็พอที่จะอนุโลมได้

ค.อำนาจโดยกฏหมาย หรือตามพระวินัย (Rational-legal  authority) เช่น พระอุปัชฌาย์, ผู้อาวุโสสูงสุด, สังฆกรรม  เป็นต้น

 

๔.๕.พระราชอำนาจ

อำนาจอีกประการหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้เป็นหลักคล้ายกับรัฐธรรมนูญที่ใคร ๆ จะ

ละเมิดมิได้  คือพระองค์ทรงบัญญัติพระวินัยเอาไว้เพื่อให้เป็นกรอบการประพฤติสำหรับพระภิกษุ  และพระวินัยนี้ก็คือกฎหมายสำหรับสงฆ์นั้นเอง  ซึ่งสาเหตุที่พระองค์ทรงบัญญัติมีถึง    ๑๐  ประการ  คือ [๖๐]

                ๑.เพื่อความดีงามแห่งสงฆ์

๒.เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์

๓.เพื่อข่มผู้เก้อยาก

๔.เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลอันเป็นที่รัก

๕.เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดขึ้นในปัจจุบัน

๖.เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต

๗.เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส

๘.เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว

๙.เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม

๑๐.เพื่อถือตามพระวินัย

ดังนั้นเราจะเห็นว่า..

การบัญญัติพระวินัยเป็นเครื่องช่วยให้พระสงฆ์มีวินัยในตนเองและมีเกณฑ์

ในการประเมินตนเอง  เมื่อเห็นว่าตนทำผิดพลาดไปจากมาตรฐาน

ความประพฤติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้และความผิดพลาดนั้นไม่ร้ายแรง

ถึงขนาดต้องถูกขับออกจากหมู่คณะหรือขาดจากความเป็นพระภิกษุ 

พระสงฆ์แต่ละรูปจะสารภาพความผิดพลาดต่อเพื่อนพระสงฆ์ด้วยกัน

พิธีสารภาพเรียกว่าการแสดงอาบัติ ซึ่งลงท้ายด้วยคำมั่นสัญญาว่าจะไม่ทำผิด

อย่างนั้นอีกต่อไป (น  ปุเนวํ  กริสฺสามิ)  [๖๑]  และเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้

พระสงฆ์ปฏิบัติตนตามพระวินัยที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว  พระพุทธเจ้าทรงกำหนด

ให้พระภิกษุนำศีลสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้เหล่านั้นมาสวดให้กันและกันฟังทุก

กึ่งเดือนในวันพระ  ๑๕  ค่ำ  ประเพณีปฏิบัตินี้เรียกว่าการสวดปาฏิโมกข์ 

ในตอนจบของศีลสิกขาบทแต่ละข้อ  ผู้สวดก็จะถามที่ประชุมสงฆ์ว่า 

กจฺจิตฺถ  ปริสุทฺธา  ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์ในศีลสิกขาบทนี้แล้วหรือ 

(วิ.มหา.๑/๓๐๐/๒๒๐)....[๖๒]

 

ดังนั้นภารกิจที่พระภิกษุจะต้องกระทำเป็นประจำคือการปลงอาบัติ  เพื่อตรวจสอบตัวเองแล้วทำการสารภาพผิด  และมุ่งปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นเพื่อการสำรวมระวังในการประพฤติปฏิบัติในโอกาสต่อ ๆ  ไป  

เมื่อดูการบัญญัติพระธรรมวินัยตั้งแต่ต้นแล้ว  จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยอย่างระมัดระวัง  ไม่ได้พลีพลาม  หรือตั้งกฎเหล็กขึ้นมา  พระองค์กลับกระทำการแบบค่อยเป็นค่อยไป  เป็นขั้นเป็นตอน  ไม่บัญญัติวินัยล่วงหน้า เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นจึงทรงบัญญัติซึ่งเรียกว่านิทานบ้าง  ปกรณ์บ้าง ทั้งนิทานและปกรณ์นี้เรียกว่า มูลแห่งพระบัญญัติ และพระบัญญัติที่ทรงตั้งไว้แล้วหากไม่มีความสะดวกก็จะทรงดัดแปลงตั้งเพิ่มเติมทีหลัง ไม่ได้เพิกถอนเสียทั้งหมด เรียกว่า  อนุบัญญัติ  [๖๓] ในเรื่องดังกล่าวนี้  พระมหาอุทัย  ญาณธโร  ได้วิเคราะห์ในเรื่องดังกล่าวนี้เอาไว้ว่า

พระพุทธองค์ในฐานะพระศาสนดาของพระพุทธศาสนา           เป็นผู้มีความเที่ยงธรรมใน

การบัญญัติกฎวินัยแก่พระสงฆ์              ไม่ทรงทำตามพละการ แต่ตามเหตุผลความถูกต้อง

และความเห็นร่วมกันของสงฆ์          เราจึงสามารถพบวิธีการบัญญัติกฎที่เป็นแบบอย่างได้ 

วิธีการดังกล่าวนี้จำแนกได้เป็น       ขั้นตอน   ขั้นตอนแรก   เมื่อมีเหตุให้ต้องบัญญัติวินัย

ทรงเรียกประชุมคณะสงฆ์เพื่อชี้แจงให้ทราบ พระองค์ไม่เคยทรงบัญญัติวินัยมากดขี่สงฆ์ก่อน

 แต่จะใช้วิธีชี้แนะ     สั่งสอน     เมื่อยังไม่ได้ผลจึงบัญญัติพระวินัย    วิธีการทางพุทธศาสนา

จึงเป็นธรรมนำวินัย หรือแนะนำก่อนออกกฎหมาย  ขั้นตอนที่สอง ตรัสถามเรื่องราวที่เกิดขึ้น

ยกมูลเหตุนั้นมาสอบสวนจนเป็นที่แน่ชัดเพื่อที่จะได้บัญญัติวินัยที่เหมาะสม พระองค์ไม่เคย

ทรงปล่อยให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ทรงใช้โอกาสจากเหตุการณ์ที่ประจักษ์จริงสร้าง

กฏเพื่อไม่ให้เกิดความเลวร้ายขึ้นอีกต่อไป  ขั้นตอนที่สาม  ชี้แจงโทษของการกระทำอย่างนั้น

และผลดีในการละเว้นก่อนจะมีการบัญญัติวินัย  พระองค์จะจำแนกเหตุผลให้เห็นอย่างชัดเจน

ทรงชี้แจงให้สงฆ์เข้าใจเหตุผลและยอมรับก่อน  ขั้นตอนที่สี่  ทรงบัญญัติวินัยที่จะเป็นหลักควบคุม

ความประพฤติของสงฆ์โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ให้แข็งขึ้น หรืออ่อนลง     เป็นต้น 

ให้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมของสถานการณ์                  วิ ธีการของพุทธศาสนา 

อาจเป็นแนวทางหนึ่งในการแสวงหาสมมติภาพของกฎหมายแห่งรัฐ สรุปความได้ดังนี้ 

ประการแรก  กฎหมายต้องไม่ใช่ถูกบัญญัติมาเพื่อกดขี่ประชาชน  ประการที่สอง  กฎหมายต้อง

มีการปรับปรุงให้ทันเหตุการณ์และสถานการณ์อยู่เสมอ  ประการที่สาม กฎหมายต้อง

ได้รับการเห็นร่วมจากมหาชนในสังคมประชาชนต้องเข้าใจถึงผลดีของการมีกฎหมายนั้น

และทราบถึงผลเสียงของการไม่มีกฎหมายอย่างชัดเจน      ประการที่สี่  มีการเปลี่ยนแปลง

ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของสถานการณ์   [๖๔]

               

๔.๖. บทลงโทษ

ในองค์กรสงฆ์มีบทลงโทษตามพระวินัย โดยเรียกชื่อเฉพาะศัพท์ทางพระว่า  อาบัติ  คำว่าอาบัตินี้แปลว่า ความต้อง  โดยมีความหมายถึง กิริยาที่ล่วงละเมิดพระบัญญัติและมีโทษเหนือตนอยู่  ซึ่งมีทั้งหมดอยู่    ชนิด  เรียงลำดับความหนักเบาได้ดังนี้   [๖๕]

โทษอย่างหนัก  เรียกว่า ปาราชิก  เมื่อพระภิกษุรูปใดต้องเข้าแล้วหรือกระทำลงไปแล้วต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที่  มีทั้งหมดอยู่    ประการ  คือ  การเสพเมถุน, การลักทรัพย์ที่มีราคาเกิน    มาสกขึ้นไป, การฆ่ามนุษย์  และการอวดอุตตริมนุสสธรรม  หรือการโอ้อวดคุณวิเศษที่ไม่มีของตนเอง

โทษอย่างกลาง  เรียกว่า  สังฆาทิเสส  เมื่อพระภิกษุรูปใดต้องเข้าแล้วหรือได้กระทำลงไปแล้ว  ต้องอยู่กรรมบำเพ็ญเพียร  คือประพฤติวัตรเพื่อทรมานตนเอง หรือที่รู้กันในนาม เข้าปริวาสกรรม  นั้นเอง  มีทั้งหมดอยู่  ๑๓  ประการ

โทษอย่างเบา  มีอยู่    ชนิด คือ  ถุลลัจจัย, ปาจิตตีย์  มีอยู่  ๙๒  ประการ, ปาฏิเทสนียะ  มีอยู่    ประการ, ทุกกฎ, ทุพภาสิต เมื่อพระภิกษุรูปใดต้องเข้าแล้วหรือได้กระทำลงไปแล้วต้องประจานตนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน  กิริยาที่ว่านี้คือการปลงอาบัตินั้นเอง  แต่ว่าโดยรวมแล้ว อยู่    หลักใหญ่    ดังนี้

            ก.ลงโทษด้วยตัวเอง 

                                คือการรับสารภาพ  โดยการปลงอาบัติโดยมากจะเป็นอาบัติเล็ก ๆ น้อย แม้แต่การเปิดโอกาสให้ภิกษุรูปอื่น ๆ ตำหนิก็มี  เช่น  ในวันมหาปวารณาออกพรรษา  ภิกษุทุกรูปจะปวารณาให้ภิกษุรูปอื่น ๆ ได้ตักเตือน ได้

            ข.ลงโทษด้วยอาศัยสงฆ์

                                คือเมื่อภิกษุต้องอาบัติตั้งแต่สังฆาทิเสส  ขึ้นไป  ภิกษุนั้นจะต้องแสดงตนรับผิดต่อหน้ากลุ่ม  และรับโทษตามขนาดของอาบัติหนังเบาแตกต่างกัน  ถ้าสังฆาทิเสส  ต้องเข้าปาริวาสกรรม  จึงจะพ้น  ถ้าปรารชิก  จะต้องพ้นจากความเป็นพระภิกษุ  เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

    บทส่งท้าย

 

แนวคิดทางการปกครองทั้ง    รูปแบบนี้คือระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและ

ระบอบการปกครองสังฆาธิปไตยนั้นมีส่วนที่คล้ายคลึงกันหลายประการ  เช่น  หลักสิทธิ  หลักเสรีภาพ  หลักความเสมอภาค  ดังที่กล่าวมาข้างต้น แม้คำว่า  ประชาธิปไตย  อันหมายถึงระบอบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่, การถือเสียง ข้างมากเป็นใหญ่  [๖๖] จะมีความคล้ายคลึงกับคำว่า  สังฆาธิปไตย  ที่หมายถึงระบอบการปกครองที่ถือสงฆ์, หรือเสียงส่วนใหญ่ หรือเสียงทั้งหมดก็ตาม  แต่ก็มีอีกหลายส่วนที่ประกอบกันและมีความที่ไม่เหมือนกันหรือเทียบเคียงกันไม่ได้  เช่น 

ก.อำนาจนิติบัญญัติ  จะเทียบกับพุทธบัญญัติในส่วนที่มีกฏเกณฑ์ในการยึดถือปฏิบัติในส่วนรวมนั้นได้  แต่หากดูความที่มาของอำนาจ  การบัญญัติกฎหมาย เพราะไม่มีส่วนร่วมของสงฆ์โดยตรง  ถ้าจะมีก็เป็นเพียงการกระทำผิดของภิกษุรูปใดรูปหนึ่งแล้วพระพุทธเจ้าก็เรียกสงฆ์มารับรู้แล้วจึงทรงบัญญัติพระธรรมวินัย

ข.อำนาจบริหาร  เมื่อดูการจัดองค์กรของคณะสงฆ์แล้ว ไม่ตรงกับการบริหารจัดการในทฤษฎีของประชาธิปไตยที่เน้นกลุ่มผลประโยชน์  การแข่งขัน  การตั้งพรรค  การเลือกตั้ง  เป็นเพียงแต่การร่วมมือกันเพื่อให้เกิดความสามัคคีและความผาสุกโดยมุ่งไปที่ความหลุดพ้นเป็นหลัก  และที่สำคัญสงฆ์ไม่มีการติดยึดในอำนาจ  ไม่มีวาระในการดำรงตำแหน่ง

ค.อำนาจตุลาการ  มีกลุ่มพระวินัยธรที่คอยจะตรวจสอบและวินิจฉัยภิกษุผู้กระทำความผิด และอำนาจนี้ที่พอจะใกล้เคียงมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม  อำนาจทั้ง    ส่วนก็ไม่ได้ถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน  ไม่ได้แยกออกเป็นกลุ่มอำนาจที่ชัดเจนเหมือนอย่างระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย 

 

เมื่อจะมองดูในเรื่องของกลุ่มผลประโยชน์ก็ไม่ชัดเจนที่มีก็เห็นแต่พระเถระผู้ใหญ่ที่มีลูกศิษย์มาก  เช่น  พระสารีบุตร, พระมหาโมคคัลลานะ, พระมหากัสสปะ, พระยส  หรืออย่างพระที่เคยเป็นชฎิล    พี่น้องก็ตาม  แต่ท่านเหล่านั้นเมื่อบวชเข้ามาแล้วก็ละลายพฤติกรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับคณะสงฆ์  ไม่มีมุ่งเล็กมุ่งน้อยหรืออำนาจต่อรองใดใด 

เมื่อวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมที่เหล่าภิกษุแสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการปกครองมากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับความสนใจที่แตกต่างกัน Robert  Dahl  ได้แยกประเภทของคนตามลักษณะการมีส่วนรวมทางการปกครองออกเป็น    ประเภท ในหนังสือ  Modern  Political  Analysis โดยอนุโลมให้เห็นไปตามหลักเกณฑ์   [๖๗]   ได้ดังนี้ 

ก.พระที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการปกครอง  (Apolitical  stratum) 

มีเป็นจำนวนมากในสังคมสงฆ์  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอุดมการณ์ที่แสวงหาความ

หลุดพ้น  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรูปแบบการปกครองที่เน้นอยู่ที่พระอุปัชฌาจารย์เป็นหลัก  และที่สำคัญหมู่ภิกษุมักจะแยกย้ายกันประพฤติปฏิบัติธรรมตามถ้ำ  ภูเขา  ป่าไม้  หรือชอบที่จะหลีกเล้นตัวเองเพราะต้องการความสงบและมุ่งสู่พระนิพพานเป็นหลัก  จึงไม่ค่อยจะมีภิกษุรูปใดคิดจะแสวงหาอำนาจทางการปกครอง  หรือต้องการมีส่วนรวมทางการบริหาร  เท่าที่ปรากฏก็มีพระเทวทัตกับพวกเท่านั้น

 

ข.พระที่ให้ความสนใจทางการปกครอง  (political  stratum)  

คือมีความเอาใจใส่ต่อเหตุการณ์รอบข้างและมีความรับผิดชอบต่อองค์กรสูง  เช่น

พระสารีบุตรเถระ  ที่เมื่อเห็นสาวกนิคนถ์แตกแยกกัน  แย่งชิงและโต้ตอบกันภายหลังการสิ้นศาสดามหาวีระ  จึงนำความแจ้งแก่พระพุทธเจ้าต่อหน้าสงฆ์และคิดที่จะรวบรวมพระธรรมวินัยให้เป็นหมวดหมู่อันเนื่องมาจากศาสดามหาวีระไม่ได้จัดเรียบเรียงคำสอนให้ดี อันแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของพระมหาเถระในยุคนั้น   อีกกรณีหนึ่งที่พระมหากัสสปเถระ  ที่นำลูกศิษย์เดินทางมาเพื่อฌาปนกิจพระสรีระศพของพระพุทธเจ้า แล้วมีศิษย์รูปหนึ่งได้แสดงทัศนะที่ไม่เอื้อต่อพระธรรมวินัยจึงได้คิดที่ทำปฐมสังคายนา  เพื่อให้เป็นหลักฐานให้มั่นคงสืบไป   เป็นต้น  พระมหาเถระเหล่านี้มีความเอื้ออาทรต่อพระศาสนา  มีความสนใจสอดส่องและเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อนำมาปรับปรุงองค์กรให้เกิดความเข้มแข็งเจริญรุ่งเรืองขึ้น

ค.พระที่แสวงหาอำนาจ  (Power-seekers)  

พระเทวทัต พร้อมบริวารรวมทั้ง    รูป ถือว่าเป็นพระที่แสวงหาอำนาจทางการ

ปกครองโดยกระทำการทุกอย่าง  ทุกวิถีทาง  เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจโดยพยายามเข้าไปมีบทบาททางการปกครอง  สร้างเงื่อนไข  เคลื่อนไหว  สร้างกลุ่มอำนาจเพื่อให้ได้มีอิทธิพลต่อนโยบายและการตัดสินใจขององค์กร  แต่สังคมสงฆ์ไม่ยอมรับ  ไม่ใช่เพราะเคารพในพระศาสดาหรือครูอาจารย์พระอุปัชฌาย์เป็นหลัก  แต่มองเห็นว่าอุดมการณ์ที่เข้ามานั้นไม่ใช่  พระธรรมวินัยต่างหากที่เป็นวิถีทางสังคมของสงฆ์

                                ส่วนพระฉัพพัคคีย์ แม้จะมีการรวมกลุ่มกัน  แต่เป็นไปเพื่อละเมิดกฎพระวินัยที่ยังไม่ได้บัญญัติอย่างระเอียด  จนมีช่องว่างให้พระฉัพพัคคีย์ได้กระทำการท้าทายพระวินัยอยู่เนือง  แต่ไม่ใช่เพื่อสร้างกลุ่มขึ้นมาเพื่อกดดันและต้องการอำนาจทางการปกครองอย่างกลุ่มของพระเทวทัต 

 

 

ง.พระที่กุมอำนาจ (The  powerful)  

พระภิกษุในกลุ่มนี้ไม่มี  แต่ที่เป็นโดยตำแหน่งก็คือพระอุปัชฌาย์,  พระเถระ,

พระปัพพชาจารย์,  พระอนุสาวนาจารย์,   พระกรรมวาจาจารย์,  พระโอวาทาจารย์  เป็นต้น  แต่ทั้งนี้ก็ปกครองเฉพาะในหมู่ลูกศิษย์ของตนเองซึ่งมักจะเป็นการอบรม  สั่งสอน  แนะนำ  เพื่อให้ศิษย์ไปบำเพ็ญเพียรด้วยตัวเอง  นอกจากว่าศิษย์จะพ้นนิสัยมุตตกะ คือมีพรรษาพ้น    พรรษาขึ้นไป  โดยมีจำเป็นต้องอยู่กับพระอุปัชฌาย์อีกต่อไป

 

การเข้ามาสู่พระศาสนาของเหล่าภิกษุนั้นมีกระบวนการขั้นตอนดังที่กล่าวมาแล้ว  หากจะ

เทียบกับการเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้วจะได้ภาพ  ดังนี้

 

 

Input                                                                                                                                      output

                                                                                ปริยัติ

ความต้องการ                        บวช                        ปฏิบัติ                    การบรรลุธรรม

Demands                                                               ปฏิเวธ

 

การเกื้อหนุน

Supports                                                               feedback

 

 

                      โดยอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อม  environment

 

 

 

 

ถึงอย่างไรก็ตามการปกครองทั้ง    รูปแบบเมื่อจะนำมาเปรียบเทียบกันแล้ว  พอจะให้เห็น

ถึงคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละระบอบได้  ดังนี้

 

ระบอบการปกครอง

ลักษณะเฉพาะ

ธรรมาธิปไตย

ประชาธิปไตย

๑.แสวงหาอำนาจ  โดยมีกลุ่มผลประโยชน์

๒.ใช้อำนาจ-นโยบาย-เพื่อรักษาอำนาจ

๓.การเลือกตั้ง-การมีส่วนร่วม

ไม่เน้นคุณธรรมจริยธรรม  เน้นแต่เพียงชนะตามกฏกติกา

สังฆาธิปไตย

๑.แสงหาความหลุดพ้น-สุขภาพจิต

๒.ใช้องค์กร เพื่อความผาสุก ความสามัคคีพร้อมเพียงกัน

๓.เสียสละเพื่อทำงานส่วนรวม  เมื่อมีผู้มาแทน  ดีใจรีบไปบำเพ็ญบารมี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรณานุกรรม

 

โกวิท  วงศ์สุรวัฒน์, รศ.,ดร. ภูมิรัฐศาสตร์ . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรม

การเกษตรแห่งชาติ, ๒๕๔๕.

คณาจารย์แห่งโรงพิมพ์. นวโกวาท ฉบับมาตรฐาน. พิมพ์ครั้งที่  ๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง,

๒๕๓๕.

--------. วินัยมุข  เล่ม     ฉบับมาตรฐาน. พิมพ์ครั้งที่  ๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, ๒๕๓๕.

คูณ  โทขันธ์,รศ. พุทธศาสนากับชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ  : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, ๒๕๓๗.

จำนง  อดิวัฒนสิทธิ์  และคณะ. สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

๒๕๓๗.

จันทิมา  เกษแก้ว, ผศ. การเมืองการปกครอง. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, ๒๕๔๐.

ชุมพร  สังขปรีชา. ปรัชญาและทฤษฎีการเมืองว่าด้วยธรรมชาติมนุษย์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๑.

ไชย    พล. การปกครองของพระพุทธเจ้าระบอบธรรมาธิปไตย. กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย, ๒๕๓๗.

เฉลิมพล  โสมอินทร์. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาและการปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ :

สำนักพิมพ์สูตรไพศาล, ๒๕๔๖.

นิตย์  สัมมาพันธ์, รศ. การบริหารเชิงพุทธ. พิมพ์ครั้งที่  ๒. กรุงเทพฯ  : โอ. เอส. พริ้นติ้ง  เฮ้าส์,

๒๕๒๙.

นวพร  เรืองสกุล.  ๒๖  ศตวรรษ พระพุทธเจ้าสุดยอด  ซี.อี.โอ.  กรุงเทพฯ : บริษัท  บุญศิริการพิมพ์ 

จำกัด, ๒๕๔๙.

พระคุ้มภัย   อคฺคปญฺโญ. พระพุทธศาสนากับหลักประชาธิปไตย. www.Koomphai.com. ๒๕๔...

พระมหาศรีบรรดร  ถิรธมฺโม. จินตลีลากับปริศนาธรรม. พะเยา : กอบคำการพิมพ์, ๒๕๔๗.

--------. ทฤษฎีรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : ธรรมสถา, ๒๕๕๐.

--------. มรรคาแห่งชีวิต. พิมพ์ครั้งที่  ๓. พะเยา : กอบคำการพิมพ์, ๒๕๔๗.

พระมหาอุทัย  ญาณธโร. พุทธวิถีแห่งสังคม ปรัชญาสังคมและการเมืองของพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์ธรรมสาร, ๒๕๓๘.

พระเทพโสภณ (ประยูร  ธมฺมจิตฺโต). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วินดาต้าโปรดักส์,

๒๕๔๘.

พระเทพเวที (ประยุทธ์  ปยุตฺโต).  การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย.  พิมพ์ครั้งที่  ๘.   กรุงเทพฯ  :  โรง

พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖.

ทวี  ผลสมภพ, รศ. ปัญหาปรัชญาในการเมืองของโลกตะวันออก.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๓๔.

ประยงค์  สุวรรณบุบผา. รัฐปรัชญา แนวคิดตะวันออก-ตะวันตก.    กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอ

เดียนสโตร์, ๒๕๔๑.

ปรีชา  ช้างขวัญยืน. ทรรศนะทางการเมืองของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : บริษัท  สามัคคีสาส์น 

จำกัด, ๒๕๔๐.

--------. ความคิดทางการเมืองของท่านพุทธทาสภิกขุ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๘.

ทินพันธุ์  นาคะตะ, ศ.ดร. พระพุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์,

๒๕๒๙.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่  ๓.  กรุงเทพฯ : มูลนิธิ

พุทธธรรม, ๒๕๓๘.

--------.พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่  ๘. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลง

กรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.

--------. มองสันติภาพโลกผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์. ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : บริษัท

สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๒.

--------. นิติศาสตร์แนวพุทธ. ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๑.

พระธรรมวโรดม. คู่มือพระอุปัชฌาย์. กาญจนบุรี : สหายการพิมพ์, ๒๕๓๙.

พระศรีปริยัติโมลี  (สมชัย  กุสลจิตฺโต).   การเมือง (มิใช่) เรื่องของสงฆ์.         กรุงเทพฯ :

เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๔๓)

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลง

กรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

วิรัช  ถิรพันธุ์เมธี. พุทธปรัชญา การปกครอง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด, ๒๕--.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.  ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์.  กรุงเทพฯ :

สำนักพิมพ์กราฟิคอาร์ต, ๒๕๒๖.

สิริวัฒน์  คำวันสา, รศ. ประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่    (กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๑)


 


 

สังฆาธิปไตย

ระบอบการปกครองสงฆ์

 

 

 

 

 

 

 

 พระครูโสภณปริยัติสุธี 

(ศรีบรรดร    ถิรธมฺโม, ป.ธ.๖, MPA.)

 

 

 

สารบัญ

 

๑.บทนำ

        ๑.๑.แนวคิด/ทฤษฎี

        ๑.๒.จุดประสงค์

        ๑.๓.ความเป็นมา

 

๒.สังฆะ

๒.๑.ความหมายของสงฆ์

๒.๒.กำเนิดสงฆ์

๒.๓.องค์ประกอบแห่งสงฆ์

๒.๔.รูปแบบของสงฆ์

                ๒.๔.๑.พิธีอุปสมบท

                ๒.๔.๒.พิธีกฐิน

                ๒.๔.๓.พิธีสวดสีมา

๒.๔.๔.พิธีการรับสังฆทาน

๒.๕.หน้าที่สงฆ์

๒.๖.อุดมการณ์สงฆ์

 

๓.อธิปไตย

๓.๑.ความหมายของอธิปไตย

๓.๒.ลักษณะของอำนาจอธิปไตย

๓.๓.ลำดับชั้นในการบริหารองค์กรสงฆ์

๓.๔.ประเภทของอธิปไตย

๓.๕.องค์กร

๓.๖.ปัญหาความขัดแย้งทางอธิปไตย

 

๔.สังฆาธิปไตย

        ๔.๑.คำนิยาม

        ๔.๒.อุดมการณ์

        ๔.๓.หลักการ

๔.๔.อำนาจ

๔.๕.พระราชอำนาจ

๔.๖.บทลงโทษ

 

๕.บทส่งท้าย

 

 

 

บรรณานุกรม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำนำ

 

        สังฆาธิปไตย  เป็นระบอบการปกครองสงฆ์  ที่มีมาครั้งสมัยพุทธกาล  โดยผู้เขียนได้วิเคราะห์ระบอบสังฆาธิปไตย เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจระบอบการปกครองในพระพุทธศาสนา ซึ่งที่ผ่านมานักทฤษฎีทางศาสนาก็ดี  นักวิชาการก็ดี  ได้พยายามตีความทางพุทธศาสตร์ให้เป็นธรรมาธิปไตย  ทั้งนี้อาจจะมองว่าธรรมาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่อาศัยธรรมเป็นเครื่องนำทาง   แต่หากศึกษาให้ดีแล้วธรรมาธิปไตยเป็นเพียงธรรมรัฐ หรือธรรมาภิบาลเท่านั้น 

        เพื่ออธิบายแนวความคิดดังกล่าวผู้เขียนจึงได้ผลิตเอกสารในมุมมองที่จะพัฒนารัฐศาสตร์ประยุกต์กับพุทธศาสตร์  ออกมาเป็นเผยแผ่  รวม    แนวทาง  ดังนี้

                        ก.มุมมองรัฐศาสตร์ในแง่ทฤษฎีทางการเมืองการปกครอง

                        มุมมองนี้ได้พยายามศึกษาค้นคว้ารัฐศาสตร์ในแง่ของทฤษฎีในพระพุทธศาสนา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระไตรปิฎกเพื่อให้เห็นภาพรวมถึงประวัติศาสตร์  แนวคิด  พัฒนาการ  รูปแบบของการจัดองค์กร  โดยได้พยายมหยิบยกประเด็นทางการเมืองการปกครองในสมัยพุทธกาลมานำเสนอ  และได้ยกตัวอย่างพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง  เช่น  อัคคัญสูตร  พระสูตรว่าด้วยการกำเนิดรัฐ, จักกวัตติสูตร  พระสูตรว่าด้วยอุดมรัฐ,  กูฏทันตสูตร  พระสูตรว่าด้วยเศรษฐศาสตร์การเมือง, มหาสีหนาทสูตร  พระสูตรว่าด้วยการจัดองค์กร, มหาปรินิพพานสูตร  พระสูตรว่าด้วยแนวคิดทางการเมืองการปกครอง  เป็นต้น  ตลอดรวมไปถึงนักคิดนักเขียนที่พยายามนำประเด็นทางพระพุทธศาสนาในแง่มุมต่าง ๆ มาวิเคราะห์  เช่น  การตีความคำสอนทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวประชาธิปไตย, เป็นแนวสังคมนิยม, เป็นแนวธรรมิกสังคมนิยม, เป็นแนวปรัชญาการเมือง, เป็นแนวธรรมาธิปไตย, เป็นแนวนิติรัฐ, เป็นแนวมโนทัศน์  เป็นต้น   โดยทั้งหมดนี้อยู่ในหนังสือเรื่อง  ทฤษฎีรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก  อันเป็นหนังสืออันดับที่    ของผู้เขียน

                        ข.มุมมองรัฐศาสตร์ในแง่ของโครงสร้างหน้าที่

                        มุมมองนี้ได้พยายามศึกษาค้นคว้าถึงรูปแบบทางการปกครองที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา  ตลอดถึงความเป็นมา  การจัดรูปแบบ  โดยยกเป็นเด็นเรื่องของสังฆะ  ความหมาย, ความเป็นมา, เรื่องของอธิปไตย  อำนาจในการจัดการ โดยยกตัวอย่างการโหวตลงคะแนนเสียง, การเป็นตัวแทนสงฆ์  เป็นต้น , เรื่องของสังฆาธิปไตย  อำนาจของสงฆ์  ทั้งหมดนี้อยู่ในหนังสือเรื่อง  สังฆาธิปไตย ; ระบอบการปกครองสงฆ์  เล่มที่ท่านกำลังถืออยู่นี้  อันเป็นหนังสืออันดับที่  ๑๒  ของผู้เขียน

 

                        ค.มุมมองรัฐศาสตร์ในแง่ของจริยธรรมของผู้นำ

                        มุมมองนี้ได้พยามยามศึกษาค้นคว้าถึง หลักธรรมคำสอนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับจริยธรรม-คุณธรรมของผู้บริหาร ตลอดถึงหลักการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเน้นเรื่องของธรรมาภิบาล  ทั้งหมดนี้อยู่ในหนังสือเรื่อง  ธรรมรัฐ-ธรรมาธิปไตย-ธรรมาภิบาล  อันเป็นหนังสืออันดับที่  ๑๓  ของผู้เขียน

                        ง.มุมมองรัฐศาสตร์ในแง่ของพฤติกรรมศาสตร์

                        มุมมองนี้ได้ศึกษาค้นคว้ารัฐศาสตร์ในแง่ของวรรณกรรมทางศาสนา ว่ามีรูปแบบการเขียนอย่างไร  มีแง่คิดไหนบ้าง  และที่สำคัญมีอิทธิพลต่อสังคมเป็นอย่างไร  อันเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาทั้งอดีตและปัจจุบัน  ทั้งหมดนี้อยู่ในหนังสือเรื่อง  รัฐศาสตร์ในวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา  อันเป็นหนังสืออันดับที่  ๑๔  ของผู้เขียน

       

                ส่วนสังฆาธิปไตยเล่มนี้ได้แบ่งเนื้อหาออกทั้งหมดอยู่    ส่วน โดยมีแนวสังเขป  ดังนี้

                ส่วนที่                  เป็นบทนำ

ส่วนที่                ว่าด้วยสังฆะ

ส่วนที่                 ว่าด้วยอธิปไตย

ส่วนที่                 ว่าด้วยสังฆาธิปไตย

ส่วนที่                 เป็นบทส่งท้าย

                ส่วนรายละเอียดกรุณาติดตามในเล่มได้    บัดนี้

 

 

พระครูโสภณปริยัติสุธี 

(ศรีบรรดร  ถิรธมฺโม  ป.ธ.๖, MPA.)

      มีนาคม  ๒๕๕๐

 

 

 

 

แนะนำหนังสือ

 พระครูโสภณปริยัติสุธี  (ศรีบรรดร   ถิรธมฺโม  ป.ธ.๖, MPA.)

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””

 

                มีผลงานที่เป็นงานเขียน  และเรียบเรียง ที่พอจะประมวลได้  ดังนี้

 

 

เล่มที่

ชื่อหนังสือ

เนื้อหา

นิทานพื้นบ้านเมืองพะเยา

ISBN  974-91631-7-6

     ได้นำเอานิทานพื้นบ้านที่อยู่ในเมืองพะเยามาเล่าขานจนเป็นตำนานของพะเยาโดยเฉพาะทั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับนิทานล้านนาหรือจังหวัดอื่น ๆ ซึ่งทั้งหมดจำนวน    เรื่อง ประกอบด้วย

     .ชื่อบ้านถิ่นพะเยา เล่าถึงชื่อสถานที่ต่าง ๆ ในเขตรอบกว๊านพะเยา  เช่น หนองเอี้ยง  บ้านตุ่น  บ้านต๋อม  เป็นต้น ว่ามีความหมายและความเป็นมาอย่างไร

     .ตำนานช้างปู้ก่ำงาเขียวและน้ำแม่ร่องช้าง  ที่พูดถึงเวียงห้าว การสร้างคูเมืองป้องกันช้าง  การฆ่าช้าง  ซากช้างที่ไหลไปในที่ต่าง ๆ ชาวบ้านก็ตั้งชื่อสถานที่ต่าง ๆ ตามนั้น

     .ตำนานผ้าขาวเป็งนอตราดามุสแห่งเมืองพะเยา เราจะเห็นถึงการคาดการณ์หรือคำทำนายของพ่อผ้าขาวเป็ง

     .ตำนานกว๊านพะเยาอู่น้ำของคนพะเยา

     .ตำนานขุนเดช  สะพานแห่งเกียรติยศ

     .ตำนานหนองเล็งทรายหนองน้ำแห่งการเปลี่ยนแปลง

     .ตำนานเจ้าพ่อล้านช้าง และน้ำออกฮู

     .ตำนานเสือทัย  เสือใหญ่แห่งลุ่มน้ำอิง

     .ตำนานปู่ฟ้าโง้ม  นิทานเมืองปง

 

พระเด่นเมืองพะเยา

ISBN  974-91631-5-X

     ได้นำเอาคุณสมบัติของพระมหาเถระแห่งเมืองพะเยาทั้งในอดีตและปัจจุบันมาสื่อให้กับผู้คนได้ทราบว่าเมืองพะเยาจังหวัดเล็ก ๆ ทางภาคเหนือ  แต่ทว่าได้มีบุคลากรทางด้านพระพุทธศาสนาที่ได้พยายามเป็นเมืองน่าอยู่และมีคุณูปการต่อสังคมเมืองพะเยาอย่างมากมาย ได้ขจรขจายไปอีกนานเท่านาน

     โดยมีคุณสมบัติของพระมหาเถระ    รูปคือ

     .ครูบาอารามป่าน้อย พระผู้เป็นสุปฏิปันโนแห่งเมืองพะเยา

     .พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา  พระนักประวัติศาสตร์แห่งเมืองพะเยา

     .พระธรรมวิมลโมลี  พระนักปราชญ์แห่งเมืองพะเยา

     .พระมงคลวัฒน์  พระนักพัฒนาแห่งเมืองพะเยา

     .พระสุธรรมมุนี  พระนักสร้างชุมชนเข้มแข็งแห่งเมืองพะเยา

     .พระราชสังวรญาณ   พระผู้สร้างอุทยานการศึกษาแห่งเมืองพะเยา

     .พระครูมานัสนทีพิทักษ์  พระนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งเมืองพะเยา

     .พระครูอนุรักษ์บุรานันท์  พระนักอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมแห่งเมืองพะเยา

พระพุทธรูปเมืองพะเยา

ISBN  974-91631-6-8

     ได้นำเอาพระพุทธรูป  จำนวน    องค์ที่สำคัญอันเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป และพระเครื่องเมืองพะเยาอีก ๑ องค์เข้ามาเป็นรูปเล่มเดียวกันเพื่อง่ายต่อการศึกษาค้นคว้าและเป็นกรณีตัวอย่างทางการศึกษามีรายละเอียด ดังนี้

     .พระเจ้าตนหลวง พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดแห่งเมืองล้านนา

     .พระเจ้าล้านตื้อ พระพุทธรูปที่ถือว่าสวยงามที่สุดในเมืองล้านนา

     .พระเจ้าทันใจ พระพุทธรูปที่ผู้กราบไหว้ได้ผลทันใจตามเจตนารมณ์ของผู้ขอ

     .พระเจ้ายั้งหย้อง พระพุทธรูปหินทรายที่สมบูรณ์แบบและใหญ่ที่สุดแห่งอารยธรรมภูกามยาว

     .พระเจ้านั่งดิน  พระพุทธรูปบนดินแดนแห่งความมหัศจรรย์

     .พระเจ้าทองทิพย์ พระพุทธรูปที่มีตำนานเทวดานำทองคำอันเป็นทิพย์มาจากวิมานเพื่อทำการหล่อเป็นองค์พระ

     .พระเจ้าหินทราย  พระพุทธรูปต้นแบบหนึ่งเดียวแห่งศิลปะเมืองพะเยาและหนึ่งเดียวในโลก

     .พระเจ้า  ๒๘  พระองค์ พระพุทธรูปที่รวมแห่งสัพพัญญูถึง  ๒๘  พระองค์ และเป็น    ใน    แห่งในประเทศไทย

     .พระเจ้าทรงเครื่อง  พระพุทธรูปที่มีแนวความคิดกับการพัฒนาเมืองพะเยาให้เจริญรุ่งเรือง

     ๑๐.พระยอดขุนพล  ยอดพระเครื่อง    เดียวแห่งเมืองพะเยา

จินตลีลากับปริศนาธรรม

ISBN  974-85466-7-5

     เป็นการใช้จินตนาการของผู้เขียนที่เน้นเอาเฉพาะช่วงที่ก้าวเดินขึ้นสู่พระธาตุจอมทองทางบันไดนาค  พร้อมกับหน้าที่ที่จำเป็นต้องกระทำ  และได้สังเกตเห็นปฏิมากรรมที่โบราณาจารย์ได้ปั้นแต่งขึ้นที่มีรูปของพญานาคราช กำลังถูกกิเลนกลืนกินอยู่เพื่อสื่อความหมายอะไรบางอย่าง จึงเป็นเหตุแห่งคำถาม? และคำตอบในที่สุดได้แบ่งออกเป็น    ภาค คือ

     ภาคที่หนึ่ง  ธรรมลีลา วิถีแห่งธรรม  ธรรมะคือหน้าที่ คำถามจากสามเณรน้อยเจ้าปัญหา

     ภาคที่สอง  จินตลีลา  วิถีแห่งจิต  บันไดนาค บันไดแห่งสัจจะ / ความหมายคำว่านาค และกิเลน การก้าวย่างแห่งจิต

     ภาคที่สาม  สัจจลีลา  วิถีแห่งสัจจะ  ต้นโพธิ์ต้นไม้แห่งสัจจะ/คุณลักษณะภายนอก/ความรู้สึก การเปรียบเทียบกับภาวะจิตใจของมนุษย์

     ภาคที่สี่  กรรมลีลา  วิถีแห่งพฤติกรรม  การลงมือปฏิบัติ/เดินจงกลม/นั่งสมาธิการควบคุมจิต-กาย/การใช้ปัญญา เป็นต้น

มรรคาแห่งชีวิต

ISBN  974-575-934-1

     เป็นการรวบรวมเอาหัวข้อธรรมที่ได้แสดงไว้ในคราวต่าง ๆ โดยเลือกเอาเนื้อหาธรรมที่พอจะเป็นประโยชน์และข้อคิดสะกิดใจ เอาไว้เป็นหมวดหมู่ ดังต่อไปนี้

     หมวดที่    ชีวิตเรา-เขาลิขิต  จะพูดถึงระบบความคิความเชื่อของมนุษย์ว่ามาจากไหนบ้างที่มีอิทธิพลเหนือกว่าตัวเรา  จึงเป็นเหมือนว่าชีวิตเราเองแต่กลับถูกบุคคลอื่นมาลิขิตบงการโดยนำเอาความกลัวและความทุกข์มาเป็นตัวกำหนด สุดท้ายจะเห็นถึงความสำคัญของชีวิตคนใกล้ตาย

     หมวดที่    ชีวิตเรา-เราลิขิต  จะพูดถึงชีวิตเรา-เราต้องลิขิตเองโดยเริ่มต้นจากการที่สามารถควบคุมตัวเองให้ได้แล้วจึงยกสู่ความเป็นชาวพุทธเกรด  A  เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สุขสมบูรณ์และชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของชีวิตมนุษย์ว่าเราสามารถพัฒนาตัวเองได้

     หมวดที่    เสบียงแห่งชีวิต  เมื่อมนุษย์กลัวชีวิตหลังความตาย จำเป็นต้องมีต้นทุนแห่งชีวิตเอาไว้ โดยให้รู้จักวิธีทำบุญอย่างถูกต้องก่อน แล้วจึงแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของพระอรหันต์ที่บ้านว่ามีความสำคัญกับชีวิตครอบครัวอย่างมากมาย จากนั้นแนะวิธีการสร้างพระเจ้าทันใจให้เกิดให้มีขึ้นภายในตน

     หมวดที่   มรรคาแห่งชีวิต  เป็นการพูดถึงแนวทางการพัฒนาชีวิต หรือการสร้างชีวิตใหม่ด้วยสวัสดิธรรมอันดีงาม/วันแห่งความรัก ๕ ระดับ/ มงคลแห่งชีวิต  ๓๘  ประการสุดท้ายได้พูดถึงการเมืองที่มีผลต่อสังคม ถ้าผู้นำไม่มีคุณธรรม

พระธาตุเมืองพะเยา

ISBN  974-575-877-9

     เป็นการรวบรวมเอกสารที่เป็นตำนานและคำบอกเล่าถึงพระธาตุที่สำคัญโดดเด่น  และเป็นที่เคารพสักการะรู้จักกันโดยทั่วไปจาก    อำเภอ    กิ่งอำเภอ  รวมแล้วมี  ๑๘  แห่ง ประกอบไปด้วย 

     อำเภอเมือง  มีจำนวน    พระธาตุ คือพระธาตุจอมทอง/พระธาตุป่าแดง/พระธาตุดอยน้อย/พระธาตุวัดลี

     กิ่งอำเภอภูกามยาว มีจำนวน    พระธาตุ คือพระธาตุดอยจุก และพระธาตุภูขวาง

     อำเภอดอกคำใต้มี    พระธาตุ คือ พระธาตุจอมศีล/พระแซ่โหว้/พระธาตุจอมไคร้/พระธาตุจอมคีรีเวียงหมาาย/พระธาตุดอยน้อยจำไก่

     อำเภอเชียงคำ มี ๒ พระธาตุ คือพระธาตุดอยคำ และพระธาตุสบแวน

     อำเภอจุน มี ๑ พระธาตุคือพระธาตุขิงแกง

     อำเภอแม่ใจ มี ๒  พระธาตุคือ พระธาตุจำม่วงและพระธาตุมุงเมือง

     อำเภอปง  มี ๑  พระธาตุคือพระธาตุดอยหยวก

     อำเภอเชียงม่วน  มี    พระธาตุคือพระธาตุปูปอ

แปดเป็ง : ประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวงเมืองพะเยา

ISBN  974-364-325-7

     ได้นำเอาเรื่องราวของพระเจ้าตนหลวงพระคู่บ้านคู่เมืองพะเยามารวบรวมทำการชำระและวิเคราะห์ ซึ่งมีทั้งหมด    บทด้วยกันคือ

     .ภาคตำนาน ได้เขียนถึงพระพุทธเจ้าทรงเสด็จมาโปรดนายช่างทอง  และทรมานพญานาคราช/เรื่องราวของสองตายายกับกลวิธีการสร้างพระเจ้าตนหลวงสิ่งมหัศจรรย์แห่งเมืองล้านนา

     .ภาคประวัติศาสตร์การสร้างพระเจ้าตนหลวง เริ่มตั้งแต่คำไหว้พระเจ้าตนหลวง/พุทธลักษณะของพระเจ้าตนหลวง/ประวัติศาสตร์การก่อสร้างองค์พระเจ้าตนหลวง

     .ภาคประเพณี    เป็งคืออะไร? ทำไมจึงมาเกี่ยวข้องกับพระเจ้าตนหลวงถึง ๕ เหตุผล/งานประเพณีมีอะไรบ้าง?

     .ภาคเสวนาทางวิชาการเรื่องแปดเป็งวิวัฒนาการและแนวทางการพัฒนา

     .ภาคบทความ  ซึ่งบรรดาลูกศิษย์ของวัดศรีโคมคำช่วยกันเสนอเรื่องเกี่ยวกับวัดแห่งนี้

     .ภาควิจารณ์ และข้อสรุป ได้แบ่งออกเป็น ๒  ประเด็น คือประเด็นความคลาดเคลื่อนของเนื้อหาและประเด็นเรื่องข้อเท็จจริงที่ควรจะเป็นไปได้

ชื่อบ้านนามเมืองพะเยา

ISBN  974-

     เป็นการนำเรื่องของชื่อบ้านนามเมืองของเมืองพะเยามาเล่าขยายสู่กันฟัง  เช่น บ้านแท่นดอกไม้  เดิมเป็นสถานที่ชาวบ้านนำดอกไม้ไปวางไว้บนแท่นบูชาเพื่อสักการะพระธาตุจอมทอง เหตุเพราะชาวบ้านเดินผ่านไปมา การที่จะขึ้นไปสักการะพระธาตุจอมทองนั้นลำบากเพื่อความสะดวกจึงได้ทำแท่นบูชาเอาไว้  หรืออย่างเช่น บ้านแม่กาหม้อแกงตอง ซึ่งมีความหมายว่าหม้อแกงที่เป็นตอง คือทองสำริด  แต่เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นหม้อแกงทอง ซึ่งก็หมายถึงหม้อแกงทองคำนั้นเอง  เป็นต้น

     การนำเสนอทั้งหมด    อำเภอ  ๒ กิ่ง ๖๘  ตำบล ๘๑๓  หมู่บ้าน ในเขตจังหวัดพะเยา

สังคมการเมืองการปกครองในอาณาจักรภูกามยาว (รัฐพะเยาในอดีต)

ISBN  974-364-381-8

     เป็นงานเขียนทางวิชาการเพื่อประกอบการอ่านเสริมในวิชาเอกการเมืองการปกครอง  สาขาวิชารัฐศาสตร์  คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยาโดยนำเอาสังคมทางการเมืองการปกครองของรัฐพะเยา หรืออาณาจักรภูกามยาว มานำเสนอความเป็นไปเป็นมาทั้งหมด    บท ประกอบไปด้วย

     บทที่ ๑ ขุนศรีจอมธรรม- ธรรมราชาแห่งลุ่มน้ำอิง ได้นำเอาบทบาทของขุนศรีจอมที่ได้เริ่มสถาปนารัฐพะเยาขึ้น/สภาพทางสังคมชุมชนก่อนกำเนิดรัฐ/แนวคิดทางปรัชญาในการสร้างรัฐ/อาณาเขตแห่งรัฐ/ความหมายแห่งธรรมราชา

     บทที่   ขุนเจืองธรรมิกราช-มหาราชแห่งอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ได้นำเอาแนวคิดสังคมและการเมืองรัฐพะเยา/จุดมุ่งหมายแห่งรัฐ /หลักการสร้างอาณาจักร/หลักการทำสงคราม/เหตุปัจจัยทำให้ขุนเจืองชนะศึก /คำนิยามแห่งเจืองที่สามารถนำทัพสู่ดินแดน    ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง พระองค์ทรงมีพระนามถึง  ๓๓  พระนาม และรัฐต่าง ๆ มักทึกทักเอาว่าขุนเจืองคือบรรพบุรุษของตน  เหตุเพราะความยิ่งใหญ่และสามารถของพระองค์

     บทที่     ขุนงำเมือง ยุค ๓  กษัตริย์    อาณาจักร  ได้นำเอาแนวคิดทางการเมืองการปกครองที่  ขุนงำเมือง-ขุนเม็งราย-ขุนรามคำแหง ได้ทำสนธิสัญญาลุ่มน้ำอิง และสนธิสัญญาประตูชัย ที่ทำให้มีพลังในการต่อต้านทัพจากมองโกล และรวมรัฐโยนกกับหริภุญชัย แล้วสร้างเมืองเชียงใหม่อันเป็นศูนย์กลางอำนาจของล้านนาในรุ่นลูก

     บทที่     พะเยาภายใต้การปกครองของล้านนา  ได้นำเอาเหตุการณ์ที่ผันแปรจนรัฐพะเยาไม่สามารถรักษาสถานภาพของตัวเองได้แล้วถูกผนวกเข้ากับรัฐล้านนาถึง  ๒๒๒ ปี และสายสัมพันธ์คนละขั้วของล้านนาตะวันตก-ล้านนาตะวันออก/การเป็นเมืองหน้าด่านของล้านนา

     บทที่    พะเยาภายใต้การปกครองของสยาม  ได้นำเอาแนวคิดรัฐบาลสยามที่สามารถดึงกลุ่มเมืองล้านนาในฐานะประเทศราช สู่มณฑลพายัพ / พะเยาถูกลดความสำคัญลงเรื่อย ๆ /เจ้าผู้ครองนครก็ถูกลดบทบาท/ขั้นตอนการกลืนชาติของรัฐสยามต่อล้านนา / จากรัฐพะเยาสู่หัวเมือง-บริเวณ-อำเภอ และมีการแยกพะเยาเป็นจังหวัดเมื่อ  ๒๘  สิงหาคม  ๒๕๒๐  รวมพะเยา  ๙๑๓  ปี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

๑๐

ทฤษฎีรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก

ISBN  974–364–365-6

    เป็นงานเรียบเรียงทางวิชาการเพื่อเป็นเอกสารประกอบการสอนในวิชาทฤษฎีรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก แห่งสาขาวิชาเอกรัฐศาสตร์ (การเมืองการปกครอง)  คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ชั้นปีที่ ๔ ทั้งหมดมี  ๑๐  บท ประกอบไปด้วย

     บทที่    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทฤษฎีรัฐศาสตร์ทั่วไป

     บทที่    แนวความคิดทางการเมืองการปกครองตามแนวพระไตรปิฎก

     บทที่    รัฐศาสตร์ตามแนวอัคคัญญสูตร ว่าด้วยเรื่อง การกำเนิดและวิวัฒนาการแห่งรัฐ / พฤติกรรมผู้บริหารและประชากร

     บทที่    รัฐศาสตร์ตามแนวจักกวัตติสูตร  ว่าด้วยเรื่องเศรษฐศาสตร์การเมือง ตอนที่ ๑  การจัดการเรื่องเศรษฐกิจ, การดำรงตนเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ฯลฯ

     บทที่    รัฐศาสตร์ตามแนวกูฏทันตสูตร  ว่าด้วยเรื่องแนวทางการพัฒนาประเทศให้เจริญ เป็นต้น

     บทที่   รัฐศาสตร์ตามแนวมหาสีหนาทสูตร  ว่าด้วยเรื่องการใช้กลยุทธแนวรุกกับนักการศึกษานอกลัทธิ/ การแสดงภาวะผู้นำ / กลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น

     บทที่ ๗  รัฐศาสตร์ตามแนวมหาปรินิพพานสูตร  ว่าด้วยเรื่องแนวคิดทางการเมืองการปกครอง/ยุทธวิธีทำลายร้าง / แนวคิดการสร้างความแตกแยก เป็นต้น

     บทที่   หลักพุทธธรรมกับการเมืองการปกครอง  ว่าด้วยเรื่องหลักอธิปไตย/ หลักของการสงเคราะห์/หลักแห่งการสร้างความมั่นคง/หลักของตุลาการ/หลักการของผู้นำประเทศ  เป็นต้น

     บทที่   หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมาธิปไตย  ว่าด้วยเรื่องสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค เปรียบเทียบกับหลักความเสียสละ การปกครองด้วยธรรม

     บทที่  ๑๐  แนวโน้มการศึกษาทฤษฎีรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก  ว่าด้วยเรื่องมุมมองการศึกษาในปัจจุบัน  และมุมมองการศึกษาในอนาคต

๑๑

แนวทางการใช้ธรรมะ กับกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง ฯ

ISBN 974-94148-8-8

             เป็นการเขียนถึงการใช้ธรรมะในการสร้างกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง  โดยยกกรณีพระราชวิริยาภรณ์ (ศรีมูล  มูลสิริ) ที่เป็นผู้โดดเด่นในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนสังคมเมืองพะเยาโดยการชูธงรบคือการสะสม  หรือการออมเงินไว้ใช้ในคราวจำเป็น  มีทั้งหมด    หมวด  คือ

 หมวดที่    พระ-พระผู้สร้างชุมชนเข้มแข็งเมืองพะเยา  ได้กล่าวถึงแนวคิดวิธีการการเผยแผ่และผลงานที่ปรากฏเป็นรูปธรรมของพระราชวิริยาภรณ์

หมวดที่    ราช-มหกรรมคำนิยมของพระสังฆาธิการเมืองพะเยา  ที่ได้กล่าวถึงพระเดชพระคุณหลวงพ่อในแง่มุมต่าง ๆ จากพระสังฆาธิการตั้งแต่เจ้าคณะตำบล, รองเจ้าคณะอำเภอ, เจ้าคณะอำเภอ และรองเจ้าคณะจังหวัดในเขตจังหวัดพะเยา รวม    อำเภอ    กิ่งอำเภอ

หมวดที่    วิริยะ-ประมวลภาพกิจกรรมของท่านที่ได้กระทำในที่ต่าง ๆ

หมวดที่   อาภรณ์-ประวัติพระราชวิริยาภรณ์  ว่าเป็นใครมาจากไหน  ดำรงตำแหน่งอะไร  ผลงานอื่น ๆ เป็นอย่างไรบ้าง

๑๒

สังฆาธิปไตย ;  ระบอบการปกครองของสงฆ์

ISBN……………..

        เป็นเรื่องระบอบการปกครองที่พระพุทธเจ้าทรงพระราชทานพระราชอำนาจของพระองค์ให้กับสงฆ์หรือหมู่แห่งภิกษุ  ซึ่งไม่ใช่ให้กับภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง คณะใดคณะหนึ่ง โดยมีพระธรรมวินัยเป็นกรอบในการบริหารจัดการ  มีทั้งหมดอยู่    ส่วน  คือ

       ส่วนที่หนึ่ง   บทนำ  ที่ได้เขียนถึงแนวคิด-ทฤษฎีของพระพุทธเจ้า, จุดประสงค์ของการเขียน, ความเป็นมาของทฤษฎี

      ส่วนที่สอง  สังฆะ  ความหมายสงฆ์, กำเนิดสงฆ์, องค์ประกอบสงฆ์, รูปแบบสงฆ์, หน้าที่สงฆ์  และอุดมการณ์สงฆ์

      ส่วนที่สาม  อธิปไตย  ความหมายอธิปไตย, ลักษณะของอำนาจอธิปไตย, ลำดับชั้นทางสังคมสงฆ์, ประเภทของอำนาจอธิปไตย, องค์กร, ปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กร

      ส่วนที่สี่   สังฆาธิปไตย   คำนิยาม, อุดมการณ์สังฆาธิปไตย, หลักการสังฆาธิปไตย, อำนาจ, พระราชอำนาจ, บทลงโทษ

      ส่วนที่ห้า   บทสรุป

๑๓

หนังสือกำลังจัดทำอีก    เรื่อง คือ

รัฐศาสตร์ในวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา

 

     เป็นการวิเคราะห์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาทั้งอดีตและปัจจุบันในแง่มุมของการเมืองการปกครอง  ตลอดถึงผลกระทบทั้งแง่คิดและการประพฤติปฏิบัติต่อสังคมไทยไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่อง  ไตรภูมิพระร่วง  อันเป็นวรรณกรรมไทยยุคสุโขทัยเป็นราชธานี ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยจำนวนไม่น้อย

๑๔

ธรรมรัฐ-ธรรมาธิปไตย-ธรรมราชา

     เป็นการนำเสนอในเรื่องธรรมรัฐ  และได้วิเคราะห์เรื่องธรรมาธิปไตย ที่นักวิชาการหลาย ๆ ท่านมักจะอ้างว่าเป็นระบอบการปกครองนั้น  แท้ที่จริงไม่ใช่เพราะธรรมาธิปไตยเป็นทฤษฎีในการควบคุมการใช้อำนาจของผู้ปกครอง หรือที่ทราบกันในนามคือธรรมรัฐ นั้นเอง

 

 

 

 

ทุนเพื่อเอกสารตำราทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเมืองพะเยา

 

.ชื่อโครงการ    ทุนเพื่อเอกสารตำราทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเมืองพะเยา

. ผู้รับผิดชอบโครงการ  พระครูโสภณปริยัติสุธี  (ศรีบรรดร   ถิรธมฺโม) 

                                                      วัดศรีโคมคำ  ตำบลเวียง  อำเภอเมือง  จังหวัดพะเยา

. หลักการและเหตุผล

          เมืองพะเยาเป็นจังหวัด    ใน    ของกลุ่มจังหวัดทางภาคเหนือตอนบน หรือที่ทราบกันทั่วไปว่า  กลุ่มเมืองล้านนาในอดีตเมืองพะเยา หรืออาณาจักรภูกามยาว เป็น    ใน    อาณาจักรที่เคียงบ่าเคียงไหล่กับอาณาจักรล้านนา และอาณาจักรสุโขทัย  ภายใต้ผู้นำอย่างพ่อขุนงำเมือง  หรืออย่างพ่อขุนเจืองธรรมิกราชกษัตริย์นักรบของพะเยาก่อนพ่อขุนงำเมืองขึ้นไปอีกหลายชั่วอายุคน  และต่อมากษัตริย์พะเยาได้ทำให้เกิดศิลปะวัฒนธรรม, พระศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองอย่างมากมายมหาศาลจนถึงกับมีช่างสกุลพะเยาในหมวดพระพุทธรูปและที่โดดเด่นจนเป็นเอกลักษณ์ของพะเยา ก็คือ  พระพุทธรูปหินทราย

                กาลต่อมาเมืองพะเยาถูกผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา  ๒๒๒  ปีและอยู่ในช่วงใต้อิทธิพลของพม่าอีก  ๒๑๖  ปี  แต่ที่สำคัญเมืองพะเยาถูกทิ้งร้างไปอีก  ๕๖  ปี

                ด้วยเหตุนี้เอง  ชาวพะเยาและผู้คนทั่วไปจึงถามหาเอกลักษณ์ของเมืองพะเยาขึ้นมา  ว่าประวัติศาสตร์ของพะเยามีความเป็นมาอย่างไร? ศิลปวัฒนธรรมของพะเยามีลักษณะอย่างไร?  การแต่งกายเป็นแบบไหน?  วิถีชีวิตดำรงอยู่อย่างไร?  การพระศาสนาดำเนินไปอย่างไร?  ทุก ๆ คำถามล้วนไม่มีคำตอบที่ชัดเจนและพอเพียง

                แม้พะเยาจะมีปราชญ์อย่าง พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา วัดราชคฤห์ อำเภอเมืองพะเยา หรืออย่าง พระธรรมวิมลโมลี (ปวง  ธมมปญฺโญ)  วัดศรีโคมคำ  อำเภอเมืองพะเยาก็ตาม  แต่ความที่เป็นจังหวัดน้องใหม่และต้องการมีเอกลักษณ์  เป็นของตัวเอง  ชาวพะเยากลุ่มหนึ่งจึงได้มีเจตจำนง ที่จะฟื้นฟูอนุรักษ์และส่งเสริมงานด้านพระศาสนาและวัฒนธรรมเมืองพะเยาให้มีความหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น

 

.วัตถุประสงค์

          .. เพื่อสร้างและส่งเสริมอนุรักฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเมืองพะเยา

                .. เพื่อเป็นการส่งเสริมนักเขียนงานด้านพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมในแง่มุมต่าง ๆ

                .. เพื่อเป็นแหล่งทุนหมุนเวียนในการผลิตเอกสารตำราทางด้านวัฒนธรรมศาสนาต่อไป

 

.ระยะเวลาในการดำเนินการ

          ตั้งแต่ปี  .. ๒๕๔๔  เป็นต้นไป

 

.วิธีการดำเนินการ

          .. จัดตั้งกองทุนเพื่อเอกสารตำราทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเมืองพะเยา

                .. ผลิตเอกสารตำราต่าง ๆ อันเกี่ยวกับวัฒนธรรมและพระศาสนา

                .. ระดมทุนทั้งจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป

                .. ผลิตเอกสารตำราออกแจกจ่าย และจำหน่ายเป็นบางส่วนเพื่อนำมาเป็นทุนหมุนเวียนผลิตงานชิ้นต่อไป

. งบประมาณ  ส่วนตัว/กิจนิมนต์/บริจาค

.ผลที่คาดว่าจะได้รับ

          .. ได้ผลิตเอกสารตำราทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเมืองพะเยา เพื่อเผยแผ่เป็นเอกลักษณ์และความภาคภูมิใจ

                .. ได้ปลูกจิตสำนึก  ถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นของพะเยาให้ลูกหลานได้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่น

                ..เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าให้กับผู้ใคร่ศึกษาสนใจทั่ว ๆ ไป

                .. เป็นแหล่งส่งเสริมให้คนท้องถิ่นได้ฝึกเขียนและสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ขึ้นมา

                .. เป็นแหล่งทุนหมุนเวียนส่งเสริมในการจัดพิมพ์ในครั้งต่อ ๆ ไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



[๑] ชุมพร  สังขปรีชา. ปรัชญาและทฤษฎีการเมืองว่าด้วยธรรมชาติมนุษย์. (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๑),  หน้า  ๑๖.

[๒]  วิรัช  ถิรพันธุ์เมธี. พุทธปรัชญา การปกครอง. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด, ๒๕--),  หน้า  ๑๒.

[๓] รศ.ดร.โกวิท  วงศ์สุรวัฒน์. ภูมิรัฐศาสตร์ . (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ, ๒๕๔๕),  หน้า  ๑๐.

[๔]  จำนง  อดิวัฒนสิทธิ์  และคณะ. สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่  ๖. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๗), หน้า  ๑๐๔.

[๕] พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่  ๘. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘). หน้า  ๒๙๕.

[๖] วิ.ม. (ไทย)  ๔ / ๒๕ / ๑๘.

[๗] วิ.ม. (ไทย)  ๔ / ๒๖ / ๑๙.

[๘] พระศรีปริยัติโมลี  (สมชัย  กุสลจิตฺโต).   การเมือง (มิใช่) เรื่องของสงฆ์.  (กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๔๓),  หน้า  ๙๘.

[๙] วิ.ม. (ไทย) ๔ /๔๒ / ๓๔.

[๑๐] วิ.ม. (ไทย)  ๔ / ๔๓ / ๓๔.

[๑๑] วิ.ม. (ไทย)  ๔ / ๗๙ / ๖๔.

[๑๒] วิ.ม. (ไทย)  ๔ / ๘๑ / ๖๕.

[๑๓] วิ.ม. (ไทย)  ๔ / ๘๑-๘๒ / ๖๕.

[๑๔] วิ.ม. (ไทย)  ๔ / ๙๗ / ๖๙.

[๑๕] วิ.ม. (ไทย)  ๔ / ๙๘ /๖๙-๗๐.

[๑๖]  ประยงค์  สุวรรณบุบผา. รัฐปรัชญา แนวคิดตะวันออก-ตะวันตก.  (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๑). หน้า  ๓๒๐.

[๑๗] วิ.มหา. (ไทย)  ๕ /....../......

[๑๘] สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์. (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กราฟิคอาร์ต, ๒๕๒๖), หน้า  ๑๔.

[๑๙] พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). นิติศาสตร์แนวพุทธ. ครั้งที่ ๓. (กรุงเทพฯ : บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๑).หน้า  ๑๒๘.

[๒๐] พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่  ๘. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘). หน้า  ๓๑๒.

[๒๑] เรื่องเดียวกัน   หน้า  ๑๐๙.

[๒๒] เรื่องเดียวกัน   หน้า  ๔๓๑.

[๒๓] ที.ปา. (ไทย)  ๑๑ / ๑๑๑-๑๔๐ / ๘๓.

[๒๔] วิ.ม. (ไทย)  ๔ / ๑๔๒ /๘๗.

[๒๕]  พระมหาศรีบรรดร  ถิรธมฺโม. จินตลีลากับปริศนาธรรม. (พะเยา : กอบคำการพิมพ์, ๒๕๔๗).  หน้า ๑๔-๑๖.

[๒๖] เทพโสภณ (ประยูร  ธมฺมจิตฺโต), พระ. พุทธวิธีบริหาร. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วินดาต้าโปรดักส์, ๒๕๔๘). หน้า  ๑๙.

[๒๗]  วิรัช  ถิรพันธุ์เมธี. พุทธปรัชญา การปกครอง.  (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด,  

๒๕--), หน้า  ๓๑.

[๒๘] รศ.ทวี  ผลสมภพ. ปัญหาปรัชญาในการเมืองของโลกตะวันออก.  (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๓๔). หน้า  ๖๔-๖๕.

[๒๙] ที.ปา.(ไทย)  ๑๑ / ๒๙๖-๓๐๕ / ๒๔๗-๒๗๔.

[๓๐] ผศ.จันทิมา  เกษแก้ว.   การเมืองการปกครอง.     (กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, ๒๕๔๐). หน้า  ๓๖.

[๓๑] เรื่องเดียวกัน   หน้า  ๓๖-๓๗.

[๓๒] วิ.จู.  (ไทย)  ๗ /๓๓๑ / ๑๗๑.

[๓๓] ปรีชา  ช้างขวัญยืน. ทรรศนะทางการเมืองของพระพุทธศาสนา. (กรุงเทพฯ : บริษัท สามัคคีสาส์น  จำกัด, ๒๕๔๐). หน้า  ๙๕.

[๓๔] ม.ม.  (ไทย)  ๑๒ / ๑๔๘ / ๑๔๔.

[๓๕]  มานพ  สวามิชัย.  หลักการจัดการ. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์  ก.  วิวรรธน์, ๒๕๓๓).  หน้า  ๑.

[๓๖] เทพโสภณ (ประยูร  ธมฺมจิตฺโต), พระ. พุทธวิธีบริหาร. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วินดาต้าโปรดักส์, ๒๕๔๘). หน้า  ๑๘.

[๓๗]  รศ.สิริวัฒน์  คำวันสา. ประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่    (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๑). หน้า  ๒.

[๓๘] ปรีชา  ช้างขวัญยืน. ทรรศนะทางการเมืองของพระพุทธศาสนา. (กรุงเทพฯ : บริษัท สามัคคีสาส์น  จำกัด, ๒๕๔๐). หน้า  ๙๑.

[๓๙]  วิ.จู. (ไทย)  ๗ / ๓๓๖ / ๑๘๑.

[๔๐]  วิ.จู. (ไทย)  ๗ / ๓๓๖-๓๓๗ / ๑๘๐-๑๘๓.

[๔๑]  วิ.จู. (ไทย)   ๗ / ๓๓๘ / ๑๘๔-๑๘๕.

[๔๒]  วิ.จู. (ไทย)  ๗ / ๓๓๙ / ๑๕๘-๑๕๗.

[๔๓] วิ.จู. (ไทย)   ๗ / ๓๔๐ / ๑๘๗.

[๔๔]  วิ.จู. (ไทย)  ๗ / ๓๔๐ / ๑๙๐.

[๔๕]  วิ.จู. (ไทย)  ๗ / ๓๔๑ / ๑๙๑.

[๔๖]  วิ.จู. (ไทย)  ๗ / ๓๔๒ / ๑๙๕.

[๔๗]  วิ.จู. (ไทย)  ๗ / ๓๔๓ / ๑๙๘-๑๙๙.

[๔๘]  วิ.จู. (ไทย)  ๗ / ๓๔๓ / ๒๐๐.

[๔๙]  วิ.จู. (ไทย)  ๗ / ๓๔๓ / ๑๙๘.

[๕๐]  วิ.จู.(ไทย)   ๗ / ๓๔๓ / ๒๐๒.

[๕๑]  วิ.จู. (ไทย)  ๗ / ๓๔๔ / ๒๐๓-๒๐๔.

[๕๒]  วิ.จู.  (ไทย)  ๗ / ๓๔๔-๓๔๕ / ๒๐๔-๒๐๗.

[๕๓]  พระคุ้มภัย   อคฺคปญฺโญ. พระพุทธศาสนากับหลักประชาธิปไตย. www.Koomphai.com.  หน้า  ๔.

[๕๔] พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). มองสันติภาพโลกผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์. ครั้งที่ ๒. (กรุงเทพฯ : บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๒). หน้า  ๑๗๕.

[๕๕] เรื่องเดียวกัน   หน้า  ๑๗๕-๑๗๖.

[๕๖] พระมหาศรีบรรดร   ถิรธมฺโม. มรรคาแห่งชีวิต. (พะเยา : กอบคำการพิมพ์, ๒๕๔๗), หน้า  ๑๒๘.

[๕๗] พระเทพเวที (ประยุทธ์  ปยุตฺโต). การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย.  พิมพ์ครั้งที่  ๘.   (กรุงเทพฯ  :  โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖),  หน้า  ๙๕-๙๖.

[๕๘] สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์. (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กราฟิคอาร์ต, ๒๕๒๖), หน้า  ๑๕.

[๕๙] เฉลิมพล  โสมอินทร์. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาและการปกครองคณะสงฆ์ไทย. (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สูตรไพศาล, ๒๕๔๖). หน้า  ๘๕.

[๖๐] ๑ /...../......

[๖๑] เทพโสภณ (ประยูร  ธมฺมจิตฺโต), พระ. พุทธวิธีบริหาร. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วินดาต้าโปรดักส์, ๒๕๔๘). หน้า  ๒๘.

[๖๒] เรื่องเดียวกัน   หน้า  ๒๘.

[๖๓] คณาจารย์แห่งโรงพิมพ์. วินัยมุข  เล่ม    ฉบับมาตรฐาน. พิมพ์ครั้งที่  ๒. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, ๒๕๓๕),  หน้า  ๑๓.

[๖๔]  พระมหาอุทัย  ญาณธโร. พุทธวิถีแห่งสังคม ปรัชญาสังคมและการเมืองของพุทธศาสนา. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมสาร, ๒๕๓๘), หน้า  ๑๒๐-๑๒๑.   

[๖๕] คณาจารย์แห่งโรงพิมพ์. นวโกวาท ฉบับมาตรฐาน. พิมพ์ครั้งที่  ๒. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, ๒๕๓๕), หน้า  ๔.

[๖๖] พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. ๒๕๒๕, (กรุงเทพฯ : บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด,............) หน้า  ๕๐๒-๕๐๓.

[๖๗] จำนง  อดิวัฒนสิทธิ์  และคณะ. สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่  ๖. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๗), หน้า  ๑๐๖.

(ที่มา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕