หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » พระพุทธศาสนา » มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม
 
เข้าชม : ๑๕๓๐๕ ครั้ง

''มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม''
 
พระครูศรีวรพินิจ (2550)

มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม

---------------------

        โดย พระครูศรีวรพินิจ  (พระมหาสมคิด  คมฺภีรญาโณ)

ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

วิทยาเขตพะเยา วัดศรีโคมคำ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เก่าแก่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ  รัชกาลที่    พระสถาปนาขึ้นโดยมีพระราชประสงค์ตามพระบรมราชโองการไว้ว่า

                “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย  เป็นมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งคณะสงฆ์ไทย  ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์  พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่    ได้ทรงสถาปนาขึ้นเพื่อเป็นสถาบันการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์”

                  ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาของคณะสงฆ์

ไทยที่ใหญ่ที่สุดมีวิทยาเขตทั้งหมด   ๑๐  วิทยาเขตทั่วประเทศ ๕ วิทยาลัยสงฆ์  ๑๒ ห้องเรียน  ๔ หน่วยวิทยบริการและ    สถาบันสมทบ ในต่างประเทศมี ๒ สถาบันสมทบคือ  ประเทศเกาหลีและประเทศใต้หวัน    ในภาคเหนือตอนบน มีจังหวัดที่ไม่ได้เปิดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  เพียงจังหวัดเดียว คือ  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  นอกนั้นนับตั้งแต่  แพร่  น่าน  ลำปาง  พะเยา  เชียงราย  ลำพูน และเชียงใหม่  มีสาขาของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทั้งหมด  โดยมี    วิทยาเขต  คือ

                  วิทยาเขตเชียงใหม่ที่วัดสวนดอก

                  วิทยาเขตแพร่ที่วัดพระบาทมิ่งเมือง

                  วิทยาเขตพะเยาที่วัดศรีโคมคำ

                มีวิทยาลัยสงฆ์ 1 แห่งคือ   วิทยาลัยสงฆ์ลำพูนที่วัดหริภุญชัย  และมีห้องเรียนอีก    แห่งคือ 

                  ห้องเรียนจังหวัดน่านที่วัดพระธาตุแช่แห้ง

                  ห้องเรียนจังหวัดลำปางที่วัดบุญวาทย์

                  ห้องเรียนจังหวัดเชียงรายที่วัดพระแก้ว

                โดยเฉพาะเขตการปกครองคณะสงฆ์    จังหวัดภาคเหนือตอนบน  ภาค    โดยพระเดชพระคุณพระธรรมราชานุวัตร  วัดพระแก้ว  เป็นรักษาการเจ้าคณะภาค    ให้การสนับสนุนให้มีเปิดทำการเรียนการสอนทุกจังหวัด  เพื่อพัฒนาพระสงฆ์ในเขตการปกครองให้มีความรู้ทั้งคดีโลกและคดีธรรม   จึงทำให้การศึกษาของคณะสงฆ์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค    ได้รับการพัฒนาทุกระดับตั้งแต่เจ้าอาวาส  เจ้าคณะตำบล  เจ้าคณะอำเภอ

                การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์คงจะเป็นสถาบันเดียวที่ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ”ธุรกิจการศึกษา”   เพราะ เป็นสถาบันที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทางรัฐน้อยกว่าการให้การสนับสนุนของคณะสงฆ์ และประชาชนผู้มีจิตศรัทธาดังนั้นจุดมุ่งหมายของมหาวิทยาลัยสงฆ์คงจะแตกต่างจากมหาวิทยาลัยทั่วไปตรงที่มุ่งพัฒนาคนให้รับใช้พระพุทธศาสนาและสังคมถึงแม้ว่าจะเน้นความเป็นเลิศทางด้านพระพุทธศาสนา แต่มุ่งไปที่บูรณาการหลัก

                พระพุทธศาสนาเข้ากับศาสตร์แขนงต่าง ๆ  ทั้งทางด้านครุศาสตร์  สังคมศาสตร์  และศาสตร์แขนงอื่น ๆ  เพื่อให้เกิดการสมดุลกันระหว่างชีวิตกับโลกปัจจุบัน  โลกปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะอยู่ในยุคใดก็ตามทั้งยุคเกษตร  อุตสาหกรรม  วิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยี ล้วนแล้วแต่เป็นนวัตกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นตอบสนองความต้องการของมนุษย์  แต่ขณะเดียวกัน  ความต้องการของมนุษย์ก็คือ  ความอยากที่เป็นธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ที่ติดมาแต่กำเนิด  ความอยากที่ได้รับการตอบสนองจึงมีการพอกพูนยิ่งขึ้นโดยลำดับ  ยิ่งพอกพูนมากขึ้นเท่าไร ก็ย่อมมีอำนาจเหนือมนุษย์มากขึ้นโดยลำดับ  มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นผู้ต้องการความเป็นอิสระจากสิ่งอื่น  เมื่อถูกครอบงำด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความเป็นมนุษย์ก็ย่อมลดลงทุกขณะ  เมื่อความเป็นมนุษย์ลดลงมากเท่าไร สัญชาตญาณที่เป็นธรรมชาติขั้นพื้นฐานของสัตว์โลกโดยสากลก็ย่อมปรากฏมากขึ้น  คุณภาพของความเป็นมนุษย์ก็ลดลงทุกขณะ  ก็จะหลงเหลือแต่ความเป็นสัตว์ เมื่อใดสมัยใดมนุษย์ในสังคมเสื่อมจากคุณธรรม สังคมนั้นก็จะเป็นสังคมแห่งความทุกข์  เพราะคนในสังคมมีการมองกันและกันเสมือนดังสัตว์ที่จ้องทำร้ายซึ่งกันและกันที่เรียกว่า  “มิคสัญญี”

                ดังนั้นการศึกษาทุกแขนงจะต้องมีการนำหลักพุทธศาสตร์ไปเป็นส่วนประกอบอยู่เสมอ  เป็นการลดความหยาบกระด้างของศาสตร์แขนงนั้นให้เกิดการพัฒนาในสู่ความสมบูรณ์  เพราะศาสตร์แต่ละแขนงมีเนื้อหาทั้งความจริงเหตุผล ยังไม่เพียงพอต้องมีความดีงามด้วย  นักวิชาการหลายท่านอาจคิดว่า  เหตุผลกับความดีงามและความจริงมันคืออันเดียวกัน แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่  เหตุผลนั้นอาจจะไม่จริง แต่ความจริงต้องมีเหตุผลลำพังมีเหตุผลเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอเพราะเหตุผลนั้นเป็นส่วนประกอบของความรู้ที่เกิดจากอธิบายตามความเข้าใจของคนๆ หนึ่งซึ่งอาจจะเป็นความจริงเชิงประจักษ์ตามความคิด  มีสิ่งหนึ่งที่มนุษย์ไม่สามารถอธิบายเป็นเหตุผลได้คือ  การปฏิบัติธรรม หรือการรู้แจ้งด้วยพลังจิตที่บริสุทธิ์ เช่น   การบรรลุนิพพาน  ไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลถ้าผู้นั้นไม่มีการปฏิบัติด้วยตนเอง  ผู้ปฏิบัติเองย่อมรู้เอง   “ปัจจัตตัง    เวทิตัพโพ    วิญญูหิ”  หลักพุทธศาสตร์เป็นหลักของการนำความรู้ในแขนงนั้น  ไปใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างสูงสุด  อยู่นอกเหนือความจริงและเหตุผลในศาสตร์แขนงต่าง ๆ  โดยประโยชน์สูงสุดตามหลักการพระพุทธศาสนานั้นต้องครอบคลุม    ลักษณะคือ

                   อัตตหิตะ   ประโยชน์ตน

                  ปรหิตะ      ประโยชน์คนอื่น

                   อุภยัตถะ      ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย

                การที่จะนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์  สังคมศาสตร์  และศาสตร์แขนงต่าง ๆ  ไปใช้ผู้ที่เรียนจบก็ดี  หรือกำลังเรียนอยู่ก็ดี  จะรู้ด้วยตนเองว่าตนเองสามารถนำความรู้ไปใช้ให้ครอบคลุม  ทั้ง    ส่วน  ได้หรือไม่   แต่เราอาจจะรู้ได้จากภาพสะท้อนในปัจจุบันคนมีการศึกษามากขึ้น  ปัญหาสังคมมากขึ้น  เพราะขาดพื้นฐานการศึกษา  ทางด้านพระพุทธศาสนา  จึงขาดจิตสำนึกในเรื่องของความดีงามคนเราถ้าขาดจิตสำนึกในเรื่องของความดีงาม  จะจบการศึกษาในระดับใดก็ตามทั้งปริญญาตรี  ปริญญาโท  ปริญญาเอก  ก็ยังไม่ชื่อว่าผู้ที่พัฒนาแล้ว  เมื่อสังคมขาดคนที่มีจิตใจดีงาม  สังคมก็จะมีปัญหาตลอด  การปกครองระบบใดก็ตามที่มนุษย์คิดค้นทฤษฎีขึ้นมาก็ไม่สามารถทำให้ประเทศชาติและสังคมนั้นมีความสุขมีความเจริญได้   เพราะคนในสังคมขาดสำนึกของความดีงาม  เป็นผลผลิตของการศึกษาที่ขาดความสมดุลนั่นเอง  ยิ่งในยุคของข่าวสารข้อมูล  การศึกษาทางด้านศีลธรรมต้องเพิ่มมากขึ้น  ผู้เรียนต้องศึกษาหาความรู้วิธีการนำหลักของความดีงามมาใช้ให้มากขึ้น   เพราะการสื่อสารที่ขาดสำนึกทางด้านศีลธรรมย่อมนำมาซึ่งความหายนะของสังคม  จะเห็นได้จากเหตุการณ์ในปัจจุบันคนในสังคมมีปัญหาการสื่อสาร  พ่อ  แม่  ลูก  สื่อกันไม่รู้เรื่อง สื่อที่ปรากฏหน้าจอทีวี หนังสือพิมพ์และอื่นๆ มีข้อขัดแย้งกันอยู่เสมอ การสื่อภาษาคนเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่เพียงพอสำหรับมนุษย์ต้องมีภาษาธรรมด้วย  จะเห็นได้จากข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเรื่องของความผิดถูกความดีงามที่มีการเสนอในสื่อทางทีวีผู้ที่นำเสนอล้วนแล้วแต่มีความรู้ทางด้านศาสตร์แขนงต่าง ๆ ขั้นสูงสุดทั้งนั้น แต่ความดีงามที่เขาพูดและกระทำอยู่นั้นทำให้เกิดปัญหากับสังคมแทบทั้งสิ้น เพราะเขาขาดการศึกษาทางศีลธรรมและจริยธรรมนั่นเองจึงไม่สามารถสื่อออกมาเป็นภาษาที่ยอมรับกันได้ ความดีงามของเขาก็คือความชั่วร้ายของคนอื่นนั่นเอง เป็นผลของการศึกษาแทบทั้งสิ้นที่จัดเนื้อหาที่ผิดพลาดถึงแม้ว่าจะมีหน่วยงานทางด้านมาตรฐานวัด อย่างเข้มข้นก็ตามแต่มาตรฐานของเขาหาเป็นที่ยอมรับร่วมกันไม่ จึงทำให้มองไม่ออกว่ามุ่งจัดการศึกษาไปเพื่ออะไร 

                มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ถึงแม้ว่าไม่สามารถหามาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นได้แต่ก็สามารถมองจากการลงทุนผลผลิตและกิจกรรมที่จัดขึ้นในมหาวิทยาลัย เช่น  มีข้อบังคับให้นิสิต หลังสอบท้ายปีต้องเข้าปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานไม่น้อยกว่า ๑๐  วัน  เมื่อจบการศึกษา    ปีแล้วต้องทำงานให้กับศาสนาและสังคมเป็นเวลา    ปี  จึงจะอนุมัติให้รับปริญญาได้ จึงได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมโดยแท้  อัตราส่วนผู้สร้างปัญหาสังคมในระดับต่าง ๆ  ตั้งแต่ระดับชาติลงมาไม่เคยปรากฏว่าผู้จบมหาวิทยาลัยสงฆ์มีส่วนในการสร้างปัญหาเลยเพราะจุดมุ่งหมายของการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ คือ เพื่อศาสนาและสังคมนั่นเอง

                ในปัจจุบันทั่วโลกให้การยอมรับมหาวิทยาลัยสงฆ์มากขึ้น  โดยขอขึ้นเป็นสถาบันสมทบหลายแห่ง เช่น  ประเทศจีนและประเทศเกาหลีใต้  นอกจากนี้เขตปกครองตนเองเมืองสิบสองปันนา มณฑลยูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ลงนามร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตพะเยา  วัดศรีโคมคำ  เพื่อแลกเปลี่ยนพระนิสิตให้ไปปฏิบัติศาสนกิจที่เมืองสิบสองปันนา  โดยมีกำหนดจะส่งพระนิสิตชั้นปีที่    จำนวน  ๑๐  รูป  เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่เมืองสิบสองปันนา ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  ในเดือนมกราคมนี้  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  นี้

พิธีลงนามข้อตกลงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา MOU

มจร.วิทยาเขตพะเยากับคณะสงฆ์เมืองสิบสองปันนา

ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน วันที่ ๑๕ – ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐

 

(ที่มา: วิทยาลัยสงฆ์พะเยา)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕