หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » Phra Soravit Aphipanyo (Duangchai) » การพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนาของชาวพุทธ สาธารณรัฐประชาชนจีน (เซี่ยงไฮ้,หางโจว)
 
เข้าชม : ๒๐๒๑๙ ครั้ง

''การพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนาของชาวพุทธ สาธารณรัฐประชาชนจีน (เซี่ยงไฮ้,หางโจว)''
 
พระสรวิชญ์ อภิปญฺโญ,ดร. (2558)

 
การพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนาของชาวพุทธ สาธารณรัฐประชาชนจีน (เซี่ยงไฮ้,หางโจว)
(Self Development in Buddhism of Chinese Buddhist,Shanghai, Hangzhou)
 
พระสรวิชญ์ อภิปญฺโญ,ดร.[1]
Phra Soravit Aphipanyo, Ph.D.
 
บทคัดย่อ (Abstract)

 บทความ ทางวิชาการกึ่งวิจัยนี้ ผู้เขียนมีความมุ่งหมายที่จะศึกษา ๑. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีน ๒. หลักการพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนาและ ๓. การพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนาของชาวพุทธ สาธารณรัฐประชาชนจีน (เซี่ยงไฮ้,หางโจว) โดยอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สังเกต สอบถามและเอกสารที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ ประมวล และสรุปเนื้อหาตามความมุ่งหมายที่กำหนด ผลจากการศึกษาครั้งนี้ คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนวิชา “การพัฒนาตนตามหลักทางพระพุทธศาสนา” (Self Development in Buddhism)” ซึ่งเป็นรายวิชาหนึ่งสำหรับนิสิตหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว และผู้สนใจทั่วไป ผลจากการศึกษาพบว่า พระพุทธศาสนาในประเทศจีนมีความเจริญรุ่งเรื่องมาในยุคแรกๆ ที่ พระถังซัมจั๋งนำพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีนขณะเดียวกัน เหตุผลทางการเมือง สังคมวัฒนธรรม ทำให้บางยุคสมัย พระพุทธศาสนาได้รับผลกระทบ ขาดการเอาใจใส่ จนมีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาทางพระพุทธศาสนา เพื่อพัฒนาผู้นำทางพระพุทธศาสนาให้มีความรู้ด้านพระธรรมวินัยและวิชาการทาง โลกสมัยใหม่ เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสนทายาทเพื่อทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาและสื่อ ต่อพระพุทธศาสนาโดยใช้ระบบการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญ ยุคแห่งการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศจีน เกิดขึ้นหลังจากมีการจัดตั้งสถาบันการศึกษา ทำให้มีผู้เลื่อมใส่และเข้าใจพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็มีการจัดตั้งเป็นพุทธสมาคมจีนขึ้น อันเป็นผลจากการจัดตั้งสถาบันการศึกษาทางพระพุทธศาสนา ในปี ๒๔๗๒ ทำให้ประชาชนจีนและรัฐบาลจีนเข้าใจในพระพุทธศาสนาดีขึ้น เป็นเหตุให้ทางรัฐบาลจีนได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์สินของวัดห้ามนำไปใช้ใน กิจการอื่นในปี ๒๔๗๓ สาธารณรัฐจีนมีจำนวนภิกษุและภิกษณีรวมประมาณ ๗๓๘,๐๐๐ รูป มีวัดทั้งสิ้นประมาณ ๒๖๗,๐๐๐ วัด เป็นยุคที่พระพุทธศาสนามีความเจริญสุด ต่อมาในปี ๒๔๙๒ สาธารณรัฐจีน ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีหลักการที่ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาทำให้ชาวพุทธถูกบีบครั้นด้วยนโยบาย และวิธีการต่างๆ ของรัฐบาล เช่น ออกกฎหมายเพิกถอนสิทธิวัดในการยึดครองที่ดิน เป็นการบีบให้พระสงฆ์ต้องลาสิกขาทางอ้อม พระสงฆ์ต้องทำไร่ ทำนา ประกอบอาชีพเอง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการปฏิวัติทางวัฒนธรรมครั้งยิ่งใหญ่ในจีน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙-๒๕๑๒ รัฐบาลได้ยึดวัดเป็นของรัฐบาล การเผยแผ่พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย ต่อมาเมื่อประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ท่าน เหมา เจ๋อ ตุง ได้ถึงแก่อสัญกรรมลงในปี ๒๕๑๙ รัฐบาลชุดใหม่ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีนและสภาการ ศึกษาพระพุทธศาสนาแห่งประเทศจีนขึ้นมาใหม่ ในกรุงปักกิ่ง ทำให้พระพุทธศาสนาได้รับการเผยแผ่เข้าสู่วิถีชีวิตของประชาชนชาวจีนมาตาม ลำดับ อย่างไรก็ตามประชาชนชาวจีนยังมีการนับถือลัทธิความเชื่อขงจื้อ,เต๋าและลัทธิ อื่นร่วมกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาทำให้ประชาชนชาวจีนมีความเชื่อที่เป็น การผสมผสานระหว่างพุทธศาสนากับลัทธิศาสนาอื่นๆ สำหรับประเด็นการศึกษาข้อที่ ๒ เกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาตนตามหลักการพระพุทธศาสนานั้น พบว่า พระพุทธศาสนามีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพตนเองได้ สรรเสริญยกย่องผู้ที่พัฒนาตนว่าเป็นบุคคลสูงสุด ซึ่งมีพุทธพจน์กล่าวว่า ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ ในหมู่มนุษย์คนที่ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด” มนุษย์เป็นผู้ที่ฝึกได้ มีศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝนอบรมตน ฉะนั้น มนุษย์จะมีความดีหรือประเสริฐได้ต้องได้รับการฝึกฝนตนเอง ถ้าไม่ฝึกฝนก็ไม่เกิดการเรียนรู้ไม่มีค่าอะไร ไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉานทั่วๆไป ฉะนั้นจุดมุ่งหมายของการพัฒนาตนต้องให้ครบองค์ประกอบ ๔ ด้าน คือ ภาวิตกาย สำรวมอินทรีย์ ภาวิตศีล พัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมดี ภา วิตจิต พัฒนาจิตใจให้มีคุณสมบัติที่ดีงามและภาวิตปัญญา เกิดความรู้ ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง หากมนุษย์มีการพัฒนาครับทั้ง ๔ ด้านถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีการพัฒนาที่สมบูรณ์ สำหรับประเด็นการศึกษาข้อที่ ๓ ผลการวิเคราะห์ ประมวล และสรุปการพัฒนาตนของชาวพุทธเมืองเซี่ยงไฮ้และหางโจว พบว่า ชาวพุทธในประเทศจีนมีความมุ่งมั่นและมั่นคง เชื่อศรัทธาในวิธีการดำเนินชีวิตเพื่อความเป็นพระโพธิ์สัตย์ ถึงแม้ว่าจะมีวิถีการดำเนินชีวิตแบบสังคมเมืองก็ยังมีการพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญา ดำเนินชีวิตตามหลักปฏิบัติของพระโพธิ์สัตย์ พัฒนาสมาธิ ด้วยการภาวนาและเจริญกรรมฐานเมื่อมีโอกาสในขณะที่วิถีชีวิตส่วนใหญ่อยู่ใน สังคมเมืองและแสวงหาเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิตด้วยการใช้สติปัญญาในการ ดำเนินชีวิต เห็นคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ สำหรับสาระของชีวิต การเข้าถึงความสุขที่แท้จริงด้วยสติปัญญาของตนเองที่สำคัญมีการส่งต่อพุทธ วัฒนธรรมจากรุ่นบรรพบุรุษด้วยการจัดกิจกรรมรักษาขนบธรรมเนียมทางพระพุทธ ศาสนา ให้ชาวพุทธรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนา เช่น กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา,การทำบุญกุศลในโอกาสต่างๆ, การช่วยเหลือสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ของวัด ร่วมถึงการศึกษาเรียนรู้หลักธรรมคำสอนในวิทยาลัยพุทธศาสตร์ อันเป็นการเผยแผ่และปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาผ่านการจัดการศึกษา

คำสำคัญ (Keyword) การพัฒนาตน, พระพุทธศาสนา, ชาวพุทธจีน
 
บทนำ (Introduction)

          บท ความทางวิชาการกึ่งวิจัยนี้เขียนขึ้นเนื่องในโอกาสที่ผู้เขียนได้ติดตามผู้ บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเชื่อม ความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาและหารือความร่วมมือในการจัดการศึกษาพระพุทธ ศาสนาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกันระหว่างพุทธสมาคมจีนกับมหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระหว่างวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ถึง ๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ โดย มีพระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและรักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต เป็นหัวหน้าคณะการเดินทาง เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการเดินทางมากยิ่งขึ้น ผู้เขียนมีความมุ่งหมายที่จะศึกษา ๑. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีน ๒. หลักการพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนาและ ๓. การพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนาของชาวพุทธ สาธารณรัฐประชาชนจีน (เซี่ยงไฮ้,หางโจว) โดยอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สังเกต สอบถามและเอกสารที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์เนื้อหาอันเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ดังนี้

 
๑. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีน

          พระพุทธศาสนาได้เข้ามาในประเทศจีน เมื่อประมาณพุทธศักราช 608 ในสมัยของพระจักรพรรดิเม่งเต้แห่งราชวงศ์ฮั่น พระองค์ได้จัดส่งคณะทูต 18 คน ไปสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย คณะทูตชุดนี้ได้เดินทางกลับประเทศจีนพร้อมด้วยพระภิกษุ 2 รูป คือ พระกาศยปมาตังคะ และพระธรรมรักษ์ รวมทั้งคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่ง เมื่อพระเถระ 2 รูป พร้อมด้วยคณะทูตมาถึงนครโลยางพระเจ้าฮั่นเม่งเต้ ได้ทรงสั่งให้สร้างวัดเพื่อเป็นที่อยู่ของพระทั้ง 2 รูป นั้นซึ่งมีชื่อว่า วัดแป๊ะเบ๊ยี่ แปลเป็นไทยว่า วัดม้าขาว เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าตัวที่บรรทุกพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนากับพระเถระทั้งสอง หลังจากนั้นพระปาศยมาตังตะ กับพระธรรมรักษ์ได้แปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาจีนเล่มแรก สำหรับพัฒนาการของประวัติพุทธศาสนาในประเทศจีนนั้นช่วงในยุคราชวงศ์ฮั่น แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะ เป็นที่เลื่อมใสแต่ก็ยังจำกัดอยู่ในวงแคบคือ ในหมู่ข้าราชการและชนชั้นสูงแห่งราชสำนักเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่แพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวเมือง เพราะชาวจีนส่วนใหญ่ยังคงนับถือลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า จนกระทั่งโม่งจื๊อ นักปราชญ์ผู้มีความสามารถยิ่งได้แสดงหลักธรรมของพระพุทธศาสนาให้ชาวเมืองได้เห็นถึงความจริงแท้อันลึกซึ้งของพระพุทธศาสนาเหนือ กว่าลัทธิเดิม กับอาศัยความประพฤติอันบริสุทธิ์ของพระสงฆ์เป็นเครื่องจูงใจให้ชาวจีนเกิด ศรัทธาเลื่อมใส จนทำให้ชาวเมืองหันมานับถือพระพุทธศาสนามากกว่าลัทธิศาสนาอื่นๆ พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ ต่อมายุคราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161 - 1450) พระพุทธศาสนาก็ เจริญสูงสุด เพราะได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าจักรพรรดิตลอดจนนักปราชญ์ราชบัณฑิตต่างๆ โดยมีการสร้างวัดขึ้นหลายแห่ง และมีการแปลพระสูตรจากภาษาบาลีเป็นภาษาจีนมากมายพระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมลงเมื่อพระเจ้าบู๊จงขึ้นปกครองประเทศ เพราะพระเจ้าบู๊จงทรงเลื่อมใสในลัทธิเต๋า พระองค์ได้ทำลายพระพุทธศาสนา เช่น ให้ภิกษุภิกษุณี ลาสิกขาบท ยึดวัด ทำลายพระพุทธรูป เผาคัมภีร์ เป็นต้น พระพุทธศาสนาไม่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชสำนัก ก็เริ่มเสื่อมลงตั้งแต่บัดนั้น จนเข้าสู่ยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศจีนใน พ.ศ. ๒๔๕๕ ประเทศจีนได้เปลี่ยน ชื่อ ประเทศเป็นสาธารณรัฐจีน รัฐบาลไม่ได้สนับสนุนในพระพุทธศาสนา แต่สนับสนุนแนวความคิดของลัทธิมาร์กซิสต์ ซึ่งลัทธิดังกล่าว ได้โจมตีพระพุทธศาสนาตลอดมา และมีการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนามากขึ้นโดยเอาวัดไปใช้เป็นสถานที่ราชการอื่นๆ สถานการณ์ของพระพุทธศาสนาจึงยังไม่ดีขึ้น ใน พ.ศ. 2465 พระสงฆ์ชาวจีนรูปหนึ่ง ชื่อว่า พระอาจารย์ไท้สู ได้ช่วยกู้ฐานะของพระพุทธศาสนาไว้บางส่วนคือ ท่านได้ทำการปฏิรูปพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง แม้จะมีกำลังน้อย เริ่มด้วยการตั้งวิทยาลัยสงฆ์ขึ้นที่ วูซันเอ้หมิงเสฉวน และ หลิ่งนาน เพื่อฝึกผู้นำทางพระพุทธ ศาสนาให้มีความรู้ทางพระธรรมวินัยและวิชาการทางโลก สมัยใหม่ และนำมาเผยแผ่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม จนผู้คนเลื่อมใสมากขึ้น จึงตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีนขึ้น ใน พ.ศ. 2472 ความพยายามของพระอาจารย์ไท้สู ทำให้ประชาชนและรัฐบาลเข้าใจในพระพุทธศาสนาดีขึ้น ทางราชการได้ออกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์สินของวัดห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น ใน พ.ศ. 2473 สาธารณรัฐจีนมีพระภิกษุและภิกษุณีรวม 738,000 รูป มีวัดทั้งสิ้น 267,000 วัด ซึ่งนับว่าพระพุทธศาสนาเจริญในประเทศจีนพอสมควร ต่อมา ยุคสาธารณรัฐประชาชนจีนใน พ.ศ. 2492 สาธารณรัฐจีนได้เปลี่ยนชื่อประเทศอีกครั้งหนึ่ง เป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ ลัทธิคอมมิวนิสต์นี้มีคำสอนที่ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก พระพุทธศาสนาจึงไม่อาจอยู่ได้ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ในระยะแรกพรรคคอมมิวนิสต์เป็นว่าพระพุทธศาสนายังมีอิทธิพลอยู่ในจิตใจของประชาชนจึงไม่ใช้ความรุนแรง ใน พ.ศ. 2494 รัฐบาลได้ออกกฎหมาย เพิกถอนสิทธิวัดในการยึดครองที่ดิน ซึ่งเป็นการบีบให้พระสงฆ์ต้องลาสิกขาบทโดยทางอ้อม พระภิกษุที่ยังไม่ลาสิกขาก็ต้องไปประกอบอาชีพเอง เช่น ทำไร่ ทำนา เป็นต้น ทั้งที่ยังครองเพศเป็นภิกษุอยู่ และในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ใน พ.ศ. 2509 - 2512 ได้มีเหตุการณ์ที่กระทบ กระเทือนต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากคือ รัฐบาลได้ยึดวัดเป็นของราชการ ห้ามประกอบศาสนกิจต่างๆ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นความผิดกฎหมาย พระภิกษุถูกบังคับให้ลาสิกขา พระคัมภีร์ต่างๆ ถูกเผา พระพุทธรูปและวัดถูกทำลายไปเป็นอันมาก จากเหตุการณ์นี้ทำให้พระพุทธศาสนา เกือบสูญสิ้นไปจากประเทศจีนเลยทีเดียว เมื่อประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหมา เจ๋อ ตุง ได้ถึงแก่อสัญกรรม ใน พ.ศ. 2519 รัฐบาลชุดใหม่ของจีนก็คลายความเข้มงวดลงบ้างและให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาของประชาชนมากขึ้น ปัจจุบันประเทศจีนได้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานขึ้นใหม่ ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  

          นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังให้การสนับสนุนจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีน และสภาการศึกษาพระพุทธศาสนาแห่งประเทศจีนขึ้นในกรุงปักกิ่งอีกด้วย เพื่อเป็นศูนย์กลางการติดต่อเผยแผ่พระพุทธศาสนากับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ปัจจุบันนี้ชาวจีนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาคู่ไปกับลัทธิขงจื้อ,ห้าทหารเสือแห่งจ๊กก๊ก และลัทธิเต๋า ซึ่งปัจจุบันมีผู้นับถือถึง 30% ส่วนพุทธศาสนาแบบเถรวาท มีผู้นับถือในมณฑลยูนนาน ส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวไทลื้อและชาวไทใหญ่และพุทธศาสนาในสิบสองปันนาเป็นพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์    โดยได้รับอิทธิพลจากอาณาจักรล้านนาหรือเชียงใหม่ในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 นิกายเช่นเดียวกับพุทธศาสนาในเชียงใหม่คือ [1] สำนักวัดสวนดอกหรือฝ่ายสวน ตั้งที่เชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1914 แต่เข้าสู่สิบสองปันนาเมื่อใดไม่มีหลักฐาน และสำนักวัดป่าแดงหรือฝ่ายป่า ตั้งขึ้นที่เชียงใหม่เมื่อราว พ.ศ. 1973 โดยคณะสงฆ์ที่ไปบวชเรียนมาใหม่จากลังกา ถือวินัยเคร่งครัดกว่าฝ่ายสวน เผยแพร่เข้าสู่สิบสองปันนาเมื่อ พ.ศ. 1989 โดยผ่านทางเชียงตุง

          จาก วิวัฒนาการประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศจีนข้างต้นจะเห็นได้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเชื่อและความ มั่นคงของพระพุทธศาสนาได้ ซึ่งประวัติศาสตร์ความเจริญและความเสื่อมของพระพุทธศาสนาที่ปรากฏแต่ละยุค ทำให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของชาวจีนที่มีต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งธรรมชาติของคนจีนมีลักษณะการนับถือศาสนาที่กลมกลืนกับลัทธิความเชื่อ อื่นๆ เหมือนกับคนญี่ปุ่น เช่น การกลมกลืนระหว่างชินโตกับพระพุทธศาสนา ซึ่งมีหลักปรัชญาความเชื่อที่ใกล้เคียงกัน วิถีชีวิตของคนจีนมักจะนับถือความเชื่อแบบผสมผสานซึ่งส่วนใหญ่จะถูกถ่ายทอด จากบรรพบุรุษ เนื่องจากประชากรประเทศจีนมีจำนวนมาก และมีความเชื่อที่หลากหลากหลาย จึงยากต่อการสำรวจได้ครอบคลุมว่ามีจำนวนประชากรเท่าไรในการนับถือพระพุทธ ศาสนา ซึ่ง พระศรีคัมภีรญาณ กล่าวว่า “ผู้ที่นับถือศาสนาดั้งเดิมของจีน มี ๒๒๐,๐๐๐,๐๐๐ คน” ถามว่า “เพราะเหตุไร ข้อมูลเกี่ยวกับผู้นับถือศาสนาในเมืองจีนจึงไม่ชัดเจน?” มีข้อเท็จจริงอยู่ ๒ ส่วนที่น่าจะกล่าวถึง 

          ส่วนที่  ๑  ธรรมชาติของคนจีนน่าจะเหมือนกับคนญี่ปุ่นในด้านการนับถือศาสนา คนญี่ปุ่นนิยมนับถือ ๒ ศาสนาในขณะเดียวกัน คือ ชินโตและพระพุทธศาสนา  คนจีนน่าจะมีลักษณะพิเศษมากกว่านั้น อาจจะนับถือ ๓ หรือ ๔ ศาสนาในขณะเดียวกัน คือ เต๋า พุทธ ขงจื้อ และธรรมชาตินิยม  เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องยากที่จะระบุชัดเจนว่าแต่ละคนนับถือศาสนาอะไร

          ส่วนที่  ๒  วิถีชีวิตของชาวจีนที่เกี่ยวกับศาสนาได้ขาดตอนไปประมาณ ๑๐๐ ปี  พ.ศ.๒๔๖๗ โดยตะกากุสุ ชาวญี่ปุ่นได้เข้ามารับหน้าที่เป็นบรรณาธิการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกจีน แสดงให้เห็นว่าชาวจีนอาจมีปัญหาด้านกำลังคนที่จะทำงานด้านนี้ในยุคนั้นหรือ ก่อนยุคนั้น ประมาณ พ.ศ.๒๔๙๐ วิถีชีวิตของชาวจีนกับศาสนาถูกกันให้ห่างเหินกันมากขึ้น เพราะ ฉะนั้น ภาพของวิถีชีวิตจีนจึงไม่มีร่องรอยของศาสนาใดศาสนาหนึ่งชัดเจน แต่ก็จะมีลักษณะร่วมระหว่างเต๋า พุทธ ขงจื้อ ชาวจีนรุ่นใหม่อาจไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่ามีศาสนาอะไรบ้างที่นับถือกันหรือเคยมี การนับถือกันในเมืองจีน

“ประเทศจีนฟื้นฟูพระพุทธศาสนาด้วย การจัดตั้งวิทยาลัยพุทธศาสตร์ ฝึกผู้นำสงฆ์ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระธรรมวินัยและวิชาการทางโลก สมัยใหม่ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งของการจัดตั้งพุทธสมาคมจีน”

 
เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน

มหานครเซี่ยงไฮ้ (Shanghai) ได้รับการขนานนามว่าเป็น "นครปารีสแห่งตะวันออก" ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มมหานครไฮโซอันดับ 5 ของ โลก รองจาก กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. นิวยอร์ก ลอนดอน และปารีส รูปแบบการปกครองของมหานครเซี่ยงไฮ้ จัดอยู่ในกลุ่มเมืองที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางซึ่งไม่ขึ้นต่อมณฑลใดๆ ทั้งสิ้น และปัจจุบันประเทศจีนมีเมืองที่มีรูปแบบการปกครองลักษณะนี้ทั้งสิ้น 4 เมือง ด้วยกัน ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจินและฉงชิ่งมหานครเซี่ยงไฮ้ ปัจจุบันนับเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งของโลกและมีประชากรมาก เป็นอันดับหนึ่งของประเทศจีน เป็นเมืองศูนย์กลางความเจริญในด้านต่างๆของภูมิภาค ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การลงทุนรวมถึง ด้านแฟชั่น และการท่องเที่ยว โดยการผลักดันของรัฐบาลซึ่งให้นครเซี่ยงไฮ้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำและเป็นศูนย์ กลางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย เซี่ยงไฮ้จึงนับเป็นความภูมิใจของชาวจีนโดยเฉพาะชาวเมืองซึ่งถือกันว่าเมือง ของตนเป็นสัญลักษณ์ของจีนยุคใหม่ในด้านความก้าวหน้าและทันสมัย ถึงแม้ว่าเซี่ยงไฮ้จะมีความเจริญก้าวหน้าด้านวัตถุแต่ประชาชนก็ยังแบ่งเวลา เข้าวัดเพื่อแสวงหาความสุขที่แท้จริงสำหรับชีวิต

วัดสำคัญทางพระพุทธศาสนา เมืองเซี่ยงไฮ้
          จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า วัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในเมืองเซี่ยงไฮ้ ดังนี้

๑.     วัดพระหยกขาว (White jade buddha temple)

          วัด พระหยกขาวตั้งอยู่บนถนนอานเหยี่ยนในเขตผู่ถอ เมืองเซี่ยงไฮ้ เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธในเซี่ยงไฮ้และเป็นวัดที่นักท่องเที่ยวเข้า นมัสการเป็นจำนวนมากที่สุดของเซี่ยงไฮ้ โดยในปี ค.ศ. 1876 ตรง กับรัชสมัยกวางสูฮ่องเต้แห่ง ราชวงศ์ชิงมีพระภิกษุจากเกาะผู่ถ่อซาน คือหลวงพ่อฮุ่ยเกิน ได้เจริญรอยตามพระถังซำจั๋งเดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกยังประเทศอินเดียขากลับ เดินทางผ่านประเทศพม่าได้อัญเชิญพระพุทธรูปหยกขาวกลับเมือง 5 องค์ด้วยกันและได้มอบให้ชาวเซี่ยงไฮ้ 2 องค์ 9 ต่อมาในปี ค.ศ. 1882 ได้มีการสร้างวัดเพื่อประดิษฐานพระหยก 2 องค์ และต่อมาในช่วงปฏิวัตวรรณธรรมในสมัยเหมาเจ๋อตุงวัด แห่งนี้ได้ถูกทำลายลงแต่โชคดีที่พระพุทธรูปหยกขาวไม่ได้ถูกทำลายจึงอัญเชิญ มาประดิษฐานที่วัดที่สร้างขึ้นใหม่ในปี 1928 และให้ชื่อวัดแห่งนี้ว่าวัดพระหยกขาว พระพุทธรูป 2 องค์ นี้ไม่เพียงแต่เป็นพระพุทธรูปหายากทางด้านวัฒนธรรมหากแต่ยังเป็นงานช่าง ศิลป์ที่มีค่ายิ่ง สลักจากหยกทั้งแท่ง แสงสว่างและแสงสะท้อนของหยกขาวนั้นทำให้องค์พระพุทธรูปมีความงดงามสว่างเจิด จ้ายิ่งขึ้นองค์พระพุทธรูปปางนั่งมีความสูง 190 เซนติเมตร และ หุ้มด้วยเพชรพลอยหินมโนรา และ มรกต แสดงถึงการถือศีลอดอาหารและตรัสรู้แจ้งพระพุทธเจ้าส่วนพระพุทธรูปปางไสยาสน์ มีความยาว 96 เซนติเมตร นอนเอียงด้านขวาและหนุนพระเศียรด้วยพระหัตถ์ขวาและพระหัตถ์ซ้ายวางบนขาด้าน ซ้ายลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ปรินิพพาน ใบหน้านิ่งสงบแสดงถึงสันติสุข ของพระศากยมุนี เมื่อครั้งท่านได้จากโลกนี้ไปภายในวัด ยังมีพระนอนองค์อื่นๆ ซึ่งมีความยาว 4 เซนติเมตรซึ่งถูกอัญเชิญมาจากประเทศสิงคโปร์ โดยเจ้าอาวาสองค์ที่สิบในปี ค.ศ.1989 นอกจาก นี้ยัง มีภาพวาดโบรา และคัมภีร์พระไตรปิฎกจัดวางไว้อีกส่วนของวัด ถึงแม้ว่าประวัติของพระหยกขาวจะไม่ยาวนานความเก่าแก่และสถาปัตยกรรมแบบเรียบ ง่ายทำให้วัดแห่งนี้มีความโดดเด่นและไม่อาจเลียนแบบได้ในเมืองทันสมัยเช่น นี้

          " วัดหลิงซาน "  วัด นี้ตั้งอยู่ที่ภูเขาเสี่ยวหลิงซาน เป็นชื่อที่พระถังซานจ๋างตั้งให้ เดิมเป็นที่ตั้งของวัดเสียงฉานซื่อ ซึ่งเป็นวัดที่ชื่อดังในสมัยราฃวงศ์ถังและซ่ง ปัจจุบันนี้ มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม จึงมีการสร้าง วัดหลิงซาน ขึ้นมา วัดนี้มีขนาดใหญ่ มีความสวยงามมาก ด้านในเป็นที่ประดิษฐานขององค์หลวงพ่อโตหลิงซาน หรือภูเขาศักดิ์สิทธิ์ เพราะมีความสูงถึง 88 เมตร ด้านล่างมีรูปจำลองฝ่ามือขององค์หลวงพ่อโตขนาดเท่าองค์ใหญ่ไว้ให้คนกราบไหว้ บูชาด้วย ซึ่งในวัดนี้มีพระสังคจายซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ที่เชื่อกันว่าเป็นเทพแห่งโชค ลาภ ความร่ำรวย แต่พระสังคจายองค์นี้จะมีเด็กปีนป่ายล้อมรอบตัวด้วย ทำให้เชื่อกันว่า ถ้าใครได้ไปบูชา จับพุง จับตัวเด็ก และทำการเวียนเทียน 3 รอบจะทำให้ได้สมหวังในการมีลูก ขณะเดียวกันยังมี " วัดซีหยวน " ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองนี้ มีพระจี้กง 3 อารมณ์ แกะสลักด้วยไม้ ยังความศรัทธาให้กับชาวพุทธที่มาสักการะยิ่งนัก

 
เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง

          หางโจว (จีน:; Hangzhou) เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจ้อเจียงสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเมืองเก่าแก่ 1 ใน 6 ของ ประเทศจีน ปัจจุบันหางโจวถือว่าเป็นเมืองที่อยู่ในเขตภาคตะวันออกที่ได้รับการพัฒนา อย่างสูงสุด ดังนั้นหางโจวจึงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในฐานะที่เป็นเมืองที่มีความ สำคัญทางเศรษฐกิจ มีวัฒนธรรมที่ยาวนาน และเป็นเมืองที่มีทัศนียภาพที่สวยสดงดงามเมืองหนึ่งของประเทศจีน รวมทั้งมั่งคั่งไปด้วยเภสัชอุตสาหกรรม และสถาบันศิลปะมากมาย เมืองหางโจวถือว่าเมืองดิจิตอลไร้สายได้ครอบคลุมถึงทางหลวงและตรอกเล็กซอย น้อยต่างๆในเมือง [1] หางโจวตั้งอยู่ทางตอนเหนือของมณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกของจีน บนที่ราบน้ำท่วมถึงริมฝั่งแม่น้ำแยงซี พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขา มีทะเลสาบซีหู เป็น สัญลักษณ์ของเมืองตั้งอยู่ใจกลางเมือง ในสมัยราชวงศ์ฉิน หางโจวถือเป็นศูนย์กลางการค้า มีการขุดคลองเชื่อมระหว่างปักกิ่งและหางโจวสำเร็จ ต่อมาได้เป็นเมืองหลวงในสมัยราชวงศ์ซ่ง ปี ค.ศ. 1230 มาร์ โค โปโล ได้เดินทางมาถึงเมืองหางโจว และได้ขนานนามเมืองนี้ว่าเป็นเมืองที่งดงามที่สุดในโลก สมัยราชวงศ์หมิงหางโจวยังคงเป็นศูนย์กลางการค้ามีการติดต่อกับต่างชาติ โดยมีผ้าไหมเป็นสินค้าหลัก จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์กบฏไท่ผิงในช่วง ค.ศ. 1860-1862 ทำให้ ความสวยงามลดลงไป ปัจจุบันหางโจวเป็นเมืองอุตสาหกรรมสมัยใหม่ มีใบชาและผ้าไหมเป็นสินค้าส่งออกหลักที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก

          นอกจากนั้นหางโจวยังมีทะเลสาบใหญ่อันสวยงาม และเป็นสัญลักษณ์ของเมืองชื่อว่า ทะเลสาบซีหู (West Lake) ดัง บทกวีอันมีชื่อเสียงของจีนที่ว่า "หากฟากฟ้ามีสรวงสวรรค์ บนผืนปฐพีก็มี ซู หัง (ซู คือ ซูโจว หัง คือ หางโจว) ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มาเยือนหางโจวในแต่ละปี มักไม่พลาดที่จะไปเยือนทะเสาบแห่งนี้ ตั้งอยู่ห่างจากนครเซี่ยงไฮ้ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 180 กิโลเมตร เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2546 จำนวนประชากรที่บันทึกได้อยู่ 6.4 ล้านคน โดยที่ในเขตเมืองมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 3.9 ล้าน คน เมืองหางโจวเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อว่ามีธรรมชาติงดงามราวกับจิตรกรฝีมือดี บรรจงวิจิตรขึ้น ตัวอาคารบ้านเรือน ไม่สูงมากนัก ตึกใหญ่จะสูงแค่ 7-8 ชั้น เนื่องจากเกรงว่าจะไปบดบังทิวทัศน์ที่สวยงามโดยรอบ หางโจวเป็นเมืองเก่าแก่โบราณติด 1 ใน 7 ของจีน ที่ประกอบไปด้วย ซีอาน ลั่วหยางเจ้อโจวปักกิ่งนานกิง หางโจว เสฉวน

          ในเมืองหางโจวมีทะเลซีหู (Xihu) เป็น แหล่งท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยว ให้ความสนใจมากที่สุด โดยทะเลสาบซีหู เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ของชาวเมืองทั่วไปรวมไปถึง นักท่องเที่ยวที่มักจะไม่พลาดโปรกแกรมล่องเรือชมทะเลสาบ โดย เรือที่พานักท่องเที่ยว ล่องทะเลสาบนั้นถูกตกแต่งอย่างสวยงาม ราวกับย้อนอดีตไปสมัยที่ยังใช้กำลังภายในกันอยู่ เข้ากับบรรยากาศโดยรอบ แตกต่างกับภายในตัวเมืองหางโจว ซึ่งมีความทันสมัยไม่น้อย เพราะมีทั้งสนามบินนานาชาติ ทางด่วน ห้างสรรพสินค้า แหล่ง ชอปปิ้ง อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเจ้อเจียงที่โด่งดังของประเทศจีนอีก ด้วยถึงแม้ว่าเมืองหางโจวจะมีความทันสมัยและเจริญด้านเศรษฐกิจแต่คนในเมือง นี้ก็ยังแบ่งเวลาเข้าวัดและสนับสนุนกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะการศึกษา หลักธรรมคำสอนในสถาบันการศึกษาที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การเห็นชอบของพุทธสมาคม จีน

 

วัดสำคัญทางพระพุทธศาสนา เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง

       วัด จี้กง หรือ วัดจิ้งฉือตั้งอยู่บนภูเขาน่านผิงทางทิศใต้ของทะเลสาบซีหู แห่งเมืองหางโจว ในประเทศจีน เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์โจว ถูกบูรณะซ่อมแซมในสมัยราชวงศ์ซ่ง เนื่องจากไฟไหม้ และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดจิ้งฉือในปัจจุบัน ซึ่งแปลว่า สะอาด บริสุทธิ์ ในสมัยราชวงศ์หมิง (1985) ได้มีการบูรณะซ่อมแซมอีกครั้ง ภายในมีพระโพธิสัตย์กวนอิมพันกร รูปปั้นพระจี้กง และมีหอระฆังที่บรรจุระฆังทองแดงหนัก 40 ตัน ที่ชาวญี่ปุ่นมอบให้ในปี 1986 วัดจี้กงมีระฆังดีที่ได้รับยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสิบของดีแห่งซีหู ระฆังเทพเก้ามังกรของวัดจะถูกเคาะวันละ 108 ครั้ง และทุกวันสิ้นปีจะมีนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นมาฟังเสียงระฆังเที่ยงคืนเพื่อ ต้อนรับปีใหม่ วัดจิ้งฉือ เป็นวัดที่จี้กงเคยจำพรรษาอยู่และสำเร็จเป็นพระอรหันต์ที่นี่ วัดนี้เป็นวัดที่จี้กงสร้างขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงของจี้กงเอง ภายในวัดมีบ่อน้ำที่มีตำนานเล่าว่า พระจี้กงเรียกท่อนซุงออกมาจากบ่อน้ำแห่งนี้ เพื่อนำมาสร้างวัด พระจี้กงได้ช่วยเหลือชาวหางโจวอย่างมาก เป็นเหตุให้ชาวบ้านนับถือท่านอย่างมาก ขณะเดียวกันก็ยังมีวัดที่มีความสำคัญทางตำนานเทพนิยายของจีน คือ วัดจินซาน เป็นวัดที่มีเจดีย์สวยงาน  ชื่อวัดตั้งตามตำนานนิทานนางพญางูขาวและสวี่เซียน ในเทพนิยาย“นางพญางูขาว”ที่รู้จักกันทั่วไปของจีน นับได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวนิยมมาศึกษาเรียนรู้และเยี่ยมชนอีกที่หนึ่ง

 
 
๒. แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนา

          คำ ว่า “พัฒนาเรามักจะมองไปที่การพัฒนาสภาพแวดล้อมรอบตัวมนุษย์ พอเรามีการพัฒนาวัตถุมากจนเกินไปทำให้ชีวิตจิตใจของมนุษย์เสื่อมลง เราก็กลับมาหาวิธีการพัฒนาคนมากขึ้น เราคงเคยได้ยินคำว่า “การพัฒนาคนต้องพัฒนาที่ใจ จะพัฒนาใครต้องพัฒนาตัวเราเองก่อน” คำว่า การพัฒนาคน มิใช่การพัฒนาเพื่อให้มนุษย์มีความรู้ความสามารุในวิชาชีพหากแต่หมายถึงการ พัฒนาคุณสมบัติที่อยู่ในตัวบุคคล เช่น การมีศีลธรรมคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เรียกได้ว่า การพัฒนาด้านจิตใจต้องควบคู่กับการพัฒนาวัตถุ หากวัตถุสิ่งแวดล้อมมีความเจริญแต่จิตใจมิได้พัฒนาให้เจริญตาม ก็ก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตของคนในสังคมได้       การ พัฒนาจิตใจที่แท้จริงต้องเกิดจากความต้องการพัฒนาของแต่ละคน บุคคลอื่นไม่สามารถช่วยให้เราพัฒนาจิตใจได้ ไม่มีใครสามารถพัฒนาจิตแทนกันได้ แต่สามารถช่วยให้เกิดการพัฒนาได้ เช่น แนะนำ หรือสร้างบรรยากาศให้เกิดการเรียนรู้หรือพัฒนา

          พัฒนา คือ การทำให้เจริญ, การเจริญวิปัสสนาก็คือ การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ศัพท์คำว่า เจริญ เรามักจะเห็นในการให้ความหมายของการทำให้ดีขึ้น  เช่น เจริญวิปัสสนา เรียกว่า วิปัสสนาภาวนา เจริญสมถะ เรียกว่า สมถะภาวนา, เจริญสมาธิ เรียกกว่า สมาธิภาวนา, เจริญเมตตา เรียกว่า เมตตาภาวนา สรุปว่า คำว่า     “เจริญ” ก็คือ ภาวนานั้นเอง “ภาวนา” แปลโดยพยัญชนะ ก็แปลว่า ทำให้เกิดมีขึ้น หากแปลตามเนื้อหาสาระ ท่านแปลว่า “การฝึกอบรม” การทำให้เจริญให้เพิ่มพูนขึ้น สำหรับการพัฒนาตนเชิงพุทธนั้น ควรทำความรู้ให้แจ้งในศัพท์ ๓ คำ คือ ภาวนา,ทมะและสิกขา ภาวนา คือ การทำให้เจริญขึ้น, ทมะ คือ การฝึก, สิกขา คือ การศึกษา การเรียนรู้ การฝึกฝนอบรม รวมศัพท์แล้วคำว่า ภาวนา, ทมะและสิกขา ก็จัดอยู่ในกลุ่มคำที่มีความหมายเดียวกัน

          พระพุทธ ศาสนาเป็นศาสนาแห่งการพัฒนาตน ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองเป็นหลักสำคัญ ซึ่งคำว่า “ภาวนา” มีคามหมายเชิงการปฏิบัติ เช่น การที่เราปฏิบัติสามาธิ เราก็เรียกว่า สมาธิภาวนา การเจริญเมตตา เราก็เรียน เมตตาภาวนา การภาวนาจำเป็นต้องลงมือทำ การปฏิบัติ ฝึกฝนตนเอง ด้วยเหตุนี้ คำว่า “ภาวนา” จึงมีความหมายครอบคลุมการพัฒนาทุกช่วงของชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะการพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เป็นแนวปฏิบัติที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

          สรุป พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับการพัฒนาตนเองเป็นสำคัญ จะเห็นว่ามีถาคาบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ แปลว่า ในหมู่มนุษย์ ผู้ที่ฝึกฝนตนแล้วประเสริฐสุด มิใช่ประเสริฐเฉพาะในหมู่มนุษย์เท่านั้น วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุเส ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะเป็นผู้ประเสริฐสุดทั้งในหมู่มนุษย์และทวยเทพ เทวดาทั้งหลาย

 
หลักการพัฒนาตนเชิงพุทธ

          หลัก การสำคัญทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่า “มนุษย์” เป็นสัตว์ที่ฝึกได้พัฒนาได้ เราจะเห็นได้จากบทสวดมนต์ที่ว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ แปลว่า เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึก ผู้ยอดเยี่ยมไม่มีคนอื่นยิ่งกว่า..พระพุทธศาสนาสรรเสริญยกย่องชื่นชมบุคคล ที่ฝึกฝนเรียนรู้ตนเองเพราะเชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้และพัฒนาตน เอง เป็นสัตว์ที่ฝึกได้แม้แต่ในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า ก่อนที่จะตรัสรู้พระองค์ก็ทรงเป็นปุถุชนคนธรรมดามาก่อน พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลต้นแบบสำหรับมนุษย์ผู้ผ่านการฝึกฝนพัฒนาตนดีแล้ว พระองค์แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาตนเองจนถึงขีดสูงสุดได้ ซึ่งก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้นั้น พระองค์ผ่านการฝึกฝนอบรมสะสมสร้างบารมีมาหลายภพหลายชาติ (๕๕๐ ชาติ) บางครั้งก็เกินเป็นสัตว์เดรัจฉานสลับการเกิดเป็นมนุษย์ จนสามารถตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ด้วยการฝึกฝนอบรมตนเอง ขณะเดียวกันพระพุทธศาสนายังจำแนกสติปัญญาความแตกต่างของบุคคลออกเป็น ๔ ประเภท แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของแต่ละคนไม่เท่าเทียมกันแต่ทุกคนสามารถที่จะฝึกฝน อบรมเรียนรู้พัฒนาตนเองได้เสมอกัน “มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้” มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพในการพัฒนาตนเองเพื่อการมีชีวิตรอดในสิ่งแวดล้อมรอบตัว อยู่แล้ว การพัฒนาตนสำหรับศัพท์ทางพระพุทธศาสนา ใช้คำว่า ภาวนา ทมะ และสิกขา ซึ่งมีความหมายดังนี้

ภาวนา คือหลักการทำชีวิตให้เจริญแบบองค์รวม เป็นการพัฒนาตนให้ครบทั้ง ๔ ด้าน คือ กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา กาย ภาวนา สำรวมอินทรีย์อันเป็นช่องทางที่สื่อสารกับโลกภายนอก พัฒนาความสัมพันธ์ทางทวารมีอิทรีย์สังสวร ,โภชเนมัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการบริโภค, พิจารณาปัจจเวขณะ ศีลภาวนา คุมคุมกายและวาจากับบุคคลอื่น หรือ เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่เบียดเบียน,เป็นธรรมเกื้อกูลกันและกัน จิตตภาวนา พัฒนา คุณภาพ,สมรรถภาพและสุขภาพของจิตและปัญญาภาวนา การรู้และทำความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้เท่าทันสภาวะของโลกและชีวิต นี้คือลักษณะของผู้ที่ฝึกตนไปจนถึงมีปัญญาสูงสุด

ทมะ คือ การฝึก การรู้จักข่มใจ บังคับใจ ควบคุมตัวเองได้ ไม่ยอมตกเป็นทาสของกิเลสที่จะทำให้ชีวิตเข้าไปเกี่ยวกับกับสิ่งชั่วร้าย สิ่งล่อ ยั่วยุต่างๆ ขณะเดียวกันก็แสวงหาวิธีการปรับปรุงตัวเองให้มีทักษะป้องกันด้วยการฝึก การควบคุม สร้างกุศลดี ให้มีปัญญา มีการสำรวม สังวร การรับรู้สิ่งต่างๆ ด้วยปัญญา สำรวมอินทรีย์ไม่ให้อกุศลเข้าครอบงำใจ เป็นการควบคุมตนเองให้ตั้งอยู่ในหลักความดีงาม การไม่เบียดเบียนคนอื่นไม่ทำตนให้เป็นปัญหาแก่สังคม นอกจากมนุษย์ต้องฝึกฝนตนเองแล้วยังต้องทำหน้าที่ช่วยให้บุคคลอื่นสามารถ ฝึกฝนตนเองได้ด้วย เรียกว่า เป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงยกย่องกัลยาณมิตรว่าเป็นมิตรของสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้นในสังคมชาวพุทธต้องสร้างกัลยาณมิตรให้เพิ่มขึ้น

          สิกขา การคิดวิเคราะห์พิจารณาทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงด้วยตนเอง เลือกกระทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ฝึกฝนพัฒนาตนบังคับและควบคุมตนเองได้ มีลักษณะนิสัยอดทด รอได้ แก้ไขปรับปรุงตนเองตลอดเวลา ทำการวิจัยตนเองและพัฒนางานเป็นวิถีชีวิต (ใช้การวิจัยแบบ R to R) ขณะเดียวกันก็มองสิ่งต่างๆ เป็นโอกาสที่ได้รับการเรียนรู้ ทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีเข้ามาในชีวิต

“การมุ่งเป้าหมายและการเรียนรู้ ต้องพัฒนาไปควบคู่กันไป มองทุกสิ่งรอบตัวเป็นการเรียนรู้ การพัฒนาตน คือ การทำตนให้เบาบาง ไม่ใช่ทำตัวให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น เพราะการพัฒนาตน เป็นการพัฒนาปัญญาด้วย”

          การ ฝึกฝนตนเองตามหลักไตรสิกขา ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า อธิศีลสิกขา เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม (กาย และวาจา) อธิจิตตสิกขา      เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพของจิต,สมรรถภาพจิตและสุขภาพจิต, อธิปัญญาสิกขา เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง  สำหรับหลักการพัฒนาตนของคฤหัสถ์ที่เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและชาวพุทธทั่วไปมักจะปฏิบัติเป็นวิถีชีวิตก็คือ  ทาน เป็นเรื่องภายนอก การอยู่ร่วมกับผู้อื่นการสังเคราะห์กันและกัน,ศีล การไม่เบียดเบียนกันและกัน และภาวนา เป็นเรื่องของจิตและปัญญารวมเข้าด้วยกัน เป็นการฝึกสมถะและวิปัสสนาภาวนา, ขณะเดียวกันหลักของการประเมินว่าบุคคลใดที่ได้รับการพัฒนาแล้ว สามารถพิจารณาตามหลักวุฒิธรรม ๔ ประการ คือ ศรัทธา เชื่อถูกต้องมีเหตุผล, ศีลปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของพุทธศาสนาศาสนา, สุตะ ศึกษาเรียนรู้หลักธรรมจนสามารถแนะนำผู้อื่นได้, จาคะ เสียสละ มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น และปัญญาเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง

สรุป พุทธศาสนายกย่องผู้ที่พัฒนาตนว่าเป็นบุคคลสูงสุด ซึ่งมีพุทธพจน์กล่าวว่า ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ ในหมู่มนุษย์คนที่ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด” มนุษย์เป็นผู้ที่ฝึกได้ มีศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝนอบรมตน ฉะนั้น มนุษย์จะมีความดีหรือประเสริฐได้ต้องได้รับการฝึกฝนตนเอง ถ้าไม่ฝึกฝนก็ไม่เกิดการเรียนรู้      ไม่มี ค่าอะไร ไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉานทั่วๆไป ฉะนั้นจุดมุ่งหมายของการพัฒนาตนต้องให้ครบองค์ประกอบ ๔ ด้าน คือ ภาวิตกาย สำรวมอินทรีย์, ภาวิตศีล พัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมดี, ภา วิตจิต พัฒนาจิตใจให้มีคุณสมบัติที่ดีงาม และ ภาวิตปัญญา เกิดความรู้ ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง หากมนุษย์มีการพัฒนาครบทั้ง ๔ ด้านถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีการพัฒนาที่สมบูรณ์ “ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

 
๓. การพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนาของชาวพุทธจีน

จาก การรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สอบถาม สังเกต ตลอดจนเอกสารที่เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของวัดในเมืองเซี่ยงไฮ้และเมืองหางโจว พบว่า ชาวพุทธทั้งสองเมืองจะมีความเชื่อความศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าผ่านพระโพธิ์ สัตย์ เมืองเซี่ยงไฮ้จะมีพระหยกขาว ส่วน เมืองหางโจว จะมี พระจี้กงโพธิสัตย์ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตย์ที่ชาวพุทธให้ความเคารพนับถือมาก ส่วนด้านการพัฒนาตนเองนั้น ชาวพุทธได้ศึกษาหลักธรรมและปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา โดยจากการสัมภาษณ์ สนทนา สอบถามกับชาวพุทธและเยาวชนทั้งสองเมือง พบว่า ชาวพุทธมีการพัฒนาตนตามองค์ประกอบ ๔ ด้าน คือ ภาวิตกาย ภาวิตศีล ภาวิตจิต และ ภาวิตปัญญา ดังนี้

๑.      ภาวิตกาย ชาวพุทธมีวิถีชีวิตที่มีความสมดุลทางกายกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพเกื้อกูลซึ่งกันและกัน    รู้จักรักษาวัฒนธรรมการรับประทานอาหาร การ แต่งกาย การใช้สอยสิ่งของอย่างรู้เท่าทันคุณค่า การรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมกับการปฏิสัมพันธ์อินทรีย์ ได้แก่ การกินเป็น ใช้เป็น บริโภคเป็น ดูเป็น ฟังเป็น ฯลฯ

๒.      ภา วิตศีล ชาวพุทธมีพฤติกรรมทางสังคมที่พัฒนาแล้ว มีความเอื้ออาทร เกื้อกูล ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนก่อคามเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ดำรงตนอยู่ในวินัย และอาชีวะที่สุจริต มีความสัมพันธ์ทางสังคมในลักษณะที่เกื้อกูล สร้างสรรค์ และ ส่งเสริมสันติสุข นั่นคือ คบหาเป็น สังคมเป็น พูดเป็น สื่อสารเป็น ทำเป็น โดยเฉพาะการดำเนินชีวิตตามหลักความเชื่อ วิถีทางแห่งความเป็นพระโพธิ์สัตย์ (พระจี้กง,พระพุทธเจ้าเป็นยา เป็นต้น)

๓.      ภาวิตจิต  ชาว พุทธมีจิตใจที่ฝึกอบรมดีแล้ว สมบูรณ์ด้วยคุณภาพจิต ประกอบด้วยคุณธรรม เช่น ความเมตตากรุณา ความเอื้ออารี มีมุทิตา ความเคารพอ่อนน้อม ความกตัญญูกตเวที สมบูรณ์ด้วยสมรรถภาพจิต คือมีจิตใจเข้มแข็งมั่นคง มีความเพียรพยายาม มีอุตสาหะวิริยะ รับผิดชอบ มีสติ มีสมาธิ สมบูรณ์ด้วยสุขภาพจิต คือจิตใจร่าเริง เบิกบานสดชื่น หรืออีกนัยหนึ่งคือ ตั้งจิตเป็น วางใจเป็น ทำใจเป็น พัฒนาตนเองด้วยการเข้าถึงหลักการดำเนินชีวิตด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา การแผ่เมตตา การรักษาจิตด้วยการฝึกฝนอบรมจิตใจอยู่สม่ำเสมอ

๔.      ภาวิตปัญญา  ชาว พุทธรู้จักคิดรู้จักพิจารณา รู้จักวินิจฉัย รู้จักแก้ปัญหา และรู้จักจัดทำการต่าง ๆ ด้วยปัญญาที่บริสุทธิ์ เห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ปราศจากอคติและแรงจูงใจเคลือบแฝงมีฉันทะเป็นแรงจูงใจ    ที่ บริสุทธิ์ เป็นอิสระจากการครอบงำของกิเลส อันเป็นแรงจูงใจฝ่ายชั่ว เป็นอยู่ด้วยความรู้เท่าทันธรรมดาของโลกและชีวิต เข้าถึงอิสรภาพ ปลอดทุกข์ ปราศจากปัญหา หรือ คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ดับทุกข์เป็นด้วยตนเอง โดยมีกัลยาณมิตรช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาปัญญา สามารถนำพาชีวิตของตนออกจากวิกฤติของชีวิตได้ด้วยปัญญา

             สรุป ความได้ว่า การดำรงตนให้อยู่ในศีลซึ่งเป็นพฤติกรรมการแสดงออกตามข้อกำหนดในการดำรงตน เพื่อความเป็นพระโพธิสัตย์ ซึ่งชาวจีนส่วนใหญ่จะมุ่งที่จะยึดมั่นในหลักหรือกรอบของการดำรงชีวิตเพื่อ ความเป็นพระโพธิสัตย์ต้องการความสุขที่สามารถจับต้องได้ในโลกปัจจุบัน การพัฒนาตนด้านสมาธิ จากการสังเกตพบว่าชาวพุทธทั้งสองเมืองจะมีรูปแบบการทำสมาธิระหว่างมีการ ภาวนาเหมือนกัน โดยเฉพาะช่วงที่จุดธูปเทียนเพื่อเป็นการแสดงถึงความเคารพศรัทธาต่อพระ พุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตย์ทุกคนจะตั้งใจมาก มีสมาธิแน่วแน่ขณะเดียวกันก็สวดภาวนาไปด้วย บางคนก็เข้าวัดเพื่อทำสมาธิ,เพื่อทำบุญ,เพื่อศึกษาหลักธรรมคำสอนหรือส่วน ใหญ่ด้วยการบริจาคทานส่งเสริมกิจกรรมของทางวัด ขณะที่วิถีชีวิตของคนทั้งสองเมืองจะเป็นคนเมืองแต่ก็ยังพยายามจะแสวงหาความ สุข สงบ ทางด้านจิตใจตามที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดและอบรมสั่งสอนผ่านกิจกรรมทางพระพุทธ ศาสนาและการฝึกปฏิบัติตามแนวทางของพระโพธิ์สัตย์ เมื่อทุกคนมีศีล มีความมุ่งมั่นตั้งใจดี ก็ก่อให้เกิดสมาธิและปัญญา สามารถนำพาชีวิตหลุดพ้นจากวิกฤติปัญหาที่เข้ามาในชีวิตได้ จากการสัมภาษณ์และการสังเกต พบว่า ชาวพุทธเข้ามาในวัดแล้วทำให้เกิดความสงบจากภายใน บางคนบอกว่า ความสุขที่แท้จริงเกิดมาจากภายใน มิใช่สิ่งอำนวยความสะดวกภายนอกที่เข้าพยายามแสวงหาอยู่ ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่า ขาวพุทธทั้งสองเมืองถึงแม้ว่าจะใช้ชีวิตในสังคมเมืองที่มีความเจริญทางด้าน เศรษฐกิจและเทคโนโลยีแต่ก็ยังแบ่งเวลามาฝึกอบรมพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนา เพื่อนำพาชีวิตเข้าถึงความสุขที่แท้จริง

 
บทสรุป (Conclusions)

สรุป ผลจากการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนาของชาวพุทธเมือง เซี่ยงไฮ้,หางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้ทราบว่า ชาวพุทธในประเทศจีนมีความมุ่งมั่นและมั่นคง เชื่อศรัทธาในวิธีการดำเนินชีวิตเพื่อความเป็นพระโพธิ์สัตย์ ถึงแม้ว่าจะมีวิถีการดำเนินชีวิตแบบสังคมเมืองก็ยังมีการพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญา ดำเนินชีวิตตามหลักปฏิบัติของพระโพธิ์สัตย์ พัฒนาสมาธิ ด้วยการภาวนาและเจริญกรรมฐานเมื่อมีโอกาสในขณะที่วิถีชีวิตส่วนใหญ่อยู่ใน สังคมเมืองและแสวงหาเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิตด้วยการใช้สติปัญญาในการ ดำเนินชีวิต เห็นคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ สำหรับสาระของชีวิต การเข้าถึงความสุขที่แท้จริงด้วยสติปัญญาของตนเองที่สำคัญมีการส่งต่อพุทธ วัฒนธรรมจากรุ่นบรรพบุรุษด้วยการจัดกิจกรรมรักษาขนบธรรมเนียมทางพระพุทธ ศาสนา ให้ชาวพุทธรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนา เช่น กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา,การทำบุญกุศลในโอกาสต่างๆ, การช่วยเหลือสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ของวัด ร่วมถึงการศึกษาเรียนรู้หลักธรรมคำสอนในวิทยาลัยพุทธศาสตร์ เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง อันเป็นการเผยแผ่และปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาผ่านการจัดการศึกษา

 
กิตติกรรมประกาศ

การเขียนบทความทางวิชาการกึ่งวิจัยครั้งนี้ สำเร็จลงด้วยดีต้องขอบคุณ พระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและรักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ให้โอกาสได้เดินทางไปศึกษาเรียนรู้และสนับสนุนข้อมูลเชิงวิชาการมาโดย ตลอดและพระครูวินัยธรสมุทร ถาวโร ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและวัดผล ที่มีส่วนในการแลกเปลี่ยนข้อมูลขณะการเดินทางและลงเก็บข้อมูลภาคสนาม ที่สำคัญก็ต้องขอบคุณพระเถระและชาวจีนทุกรูป/คนที่เปิดโอกาสให้เข้าพบ สนทนาพูดคุยและสอบถามในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศึกษา จนทำให้ได้ข้อมูลเพียงพอต่อการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการศึกษาเบื้องต้น อย่างไรก็ตามผู้เขียนเห็นว่าหากจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาใน ประเทศจีนให้ถึงต้นตอประวัติศาสตร์ ความเป็นมา พัฒนาการของพระพุทธศาสนาด้านต่างๆ คงต้องมีการทำวิจัยในเชิงลึกมากกว่านี้ โดยความร่วมมือของพุทธสมาคมจีนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยต่อไป

อ้างอิง

 



[1] อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวทิยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 
(ที่มา: บทวามวิชาการ)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕