หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » บทความ » การจัดการความรุนแรงในครอบครัวเชิงพุทธบูรณาการ
 
เข้าชม : ๙๖๓๖ ครั้ง

''การจัดการความรุนแรงในครอบครัวเชิงพุทธบูรณาการ ''
 
ดร. พูนสุข มาศรังสรรค์ (2558)

 

อาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาโท  สาขาวิชาสันติศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Peace study, Graduate SchoolMahachulalongkornrajavidyalaya University

 

 

 

 

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการกับความรุนแรงในครอบครัวในมิติของการป้องกัน การแก้ไข และการเยียวยา โดยนำเสนอแนวทางเซิงพุทธบูรณาการ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในครอบครัวในสังคมหมู่บ้านโลกเดียวกันในยุคโลกาภิวัตน์นี้ที่ควรยกระดับจิตใจให้มีความเจริญเซ่นเดียวกับความเจริญทางวัตถุ และเทคโนโลยีสารสนเทศ จากการศึกษาพบว่าการปฏิบัติตนตามหน้าที่และความรับผิดชอบตามสถานภาพในครอบครัวการบ่มเพาะความรัก ความเมตตาปรารถนาดี อ่อนโยน และเอื้อประโยชน์ต่อกัน รวมถึงการสื่อสารกันด้วยใจที่เปิดกว้าง การศึกษาพื้นฐานทางธรรมชาติของกันและกันโดยเฉพาะในทางเพศเพื่อให้เกิด ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันให้เกิดแก่สมาชิกครอบครัวในแต่ละครอบครัว และแผ่ ขยายออกสู่ชุมชนและสังคม ก็จะสามารถพัฒนาให้คนในครอบครัวของหมู่บ้านโลกมีความเป็นอยู่ร่วมกันด้วยความสงบ สันติสุข ปราศจากการใช้กำลังรุนแรงให้เกิดความบอบซํ้าทางร่างกายและจิตใจของกันและกัน อันเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมแก้ไข “วิกฤติสังคมโลก” ในปัจจุบัน

Abstract

This article suggests that the management of family violence in terms of prevention, resolution and therapy through Buddhist integration is a desirable goal for families in today’s era of globalization. The study finds that families in the same global village can live together in peace, and with understanding, sympathy and the absence of physical and mental violence through: acceptance of personal responsibility according to individual family status; the cultivation of loving kindness, compassion, and tenderness; and mutual assistance based on good communication and the understanding of sexual needs and expectations. These techniques can contribute at least a partial resolution to one of today's urgent social problems.

 

 

๑. บทนำ

ความรุนแรงในครอบครัว (Family Violence) ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศปัจจุบันนี้ทวีความรุนแรงขึ้นมากมายกว่าสมัยก่อน จากระดับของความรุนแรงขั้นตํ่า ไปถึงระดับปานกลาง และ ระดับสูงสุด มีผลเป็นความบอบชํ้าทั้งทางร่างกาย และจิตใจของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงจากน้อย ไปถึงขั้นบาดเจ็บสาหัส พิการ และเสียชีวิต อันส่งผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อคนใน ครอบครัวและสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องยอมรับกันว่าปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นควบคู่ไป กับสภาพปัญหาเศรษฐกิจ และความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก โดยภาพรวมจากสถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศส่วนใหญ่ในสังคมโลกต่างก็ยอมรับกันแล้วว่าปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมิใช่ปัญหาส่วนตัวของแต่ละครอบครัวอีกต่อไป แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนโดยรวม หน่วยงาน มูลนิธิ เครือข่าย และองค์กรต่างๆ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาสังคม รวมถึงภาคสากลต่างก็มีบทบาท สำคัญในการร่วมมือกันสอดส่องดูแลในมิติของการป้องกัน การแก้ไข และการเยียวยาความรุนแรงในครอบครัวตามแนวคิด ทฤษฎี และหลักการต่างๆ ของนักวิชาการด้านสังคมวิทยา นักวิชาการด้าน อาชญวิทยาและงานยุติธรรม นักกฎหมาย บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ องค์กรเอกชนที่เคลื่อนไหวเพื่อผู้หญิงทั้งหลาย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรุนแรง ทั้งชาวตะวันตก และตะวันออกรวมถึงไทย ทางเสือกที่น่าสนใจอีกทางหนึ่งในการจัดการความรุนแรงในครอบครัว คือการนำาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทมาบูรณาการเชิงพุทธ

๒. แนวคิด แนวทาง และการดำเนินการในการจัดการความรุนแรงในครอบครัว

๒.๑ สภาพปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

          ในโลกตะวันตก สภาพปัญหาความรุนแรงในครอบครัวไม่ใช่เรื่องใหม่[1]คนส่วนใหญ่จะ คิดกันว่าไม่ค่อยปรากฏยกเว้นในครอบครัวที่มีปัญหาเท่านั้น ขณะที่ความก้าวร้าวระหว่างสมาชิกในครอบครัวถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบสมบูรณ์ของชีวิตครอบครัว ดังนั้นความรุนแรงในครอบครัวจึงมิใช่ปัญหาใหม่ ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของตะวันตก ความรุนแรงเป็นวิธีการที่ถูกยอมรับสำหรับผู้ใหญ่ในการพยายามใช้อำนาจในการควบคุมพฤติกรรมของหมู่ญาติพี่น้องและผู้พึ่งพากฎหมายและนโยบายสังคมต่างๆ ที่ออกมาไม่มีการประฌามพฤติกรรมรุนแรงแต่กลับพยายามแยกแยะความรุนแรงในระดับธรรมดา กับความรุนแรงที่เป็นโทษซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับ สิ่งนี้ทำให้เกิดความพยายามอย่างมากที่สุดในการเผชิญกับปัญหาที่แผ่กระจายออกไป การแผ่ขยายธรรมชาติแห่งรูปแบบของความก้าวร้าวในครอบครัวที่เกินขอบเขตถูกจำแนก และยอมรับกันในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๗๐ (พ.ศ. ๒๕๑๓) เป็นต้นมา ทำให้เกิดการระแวดระวังเพิ่มขึ้นในสาธารณชนนักคิดตะวันตกมีพัฒนาการของการจำแนกคำ ๓ คำ ที่ถูกใช้บ่อยซึ่งบางครั้งก็ถูก เปลี่ยนไปใช้แทนกันในความสัมพันธ์ของการกระทำต่างๆ ของธรรมชาติแห่งความรุนแรง มี ๑. ความก้าวร้าว (Aggression) ๒. ความรุนแรง (Violence) ๓. ความรุนแรงทางอาชญากรรม (Criminal Violence) โดยให้คำจำกัดความว่า : ความก้าวร้าวหมายถึงพฤติกรรมหนึ่งซึ่งมีความจงใจที่จะทำร้าย หรือมุ่งประโยชน์จากผู้อื่นโดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการจู่โจมทางร่างกาย ความรุนแรงบางครั้งได้ รับการกระตุ้นโดยความโกรธหรือเจตนา ความจงใจซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้พลังทางกายภาพต่ออีกบุคคลหนึ่ง และความรุนแรงทางอาชญากรรม หมายถึงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บโดยเฉพาะ อย่างยิ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ไฮส์ (Heise), เอลสเบิร์ก (Ellsberg) และกอตเตนมูเลอร์ (Gottenmoeller) ชี้ชัดว่าสถานการณ์ความรุนแรงโดยเฉพาะในชีวิตคู่เป็นเรื่องสากล ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงในทุกภูมิภาค ทุกสังคมทั้งตะวันตก ตะวันออก และในสังคมแบบดั้งเดิม หรือสังคม สมัยใหม่[2]สำหรับประเทศไทย ในอดีตคนในสังคมก็มีอุดมคติไม่ค่อยต่างจากสังคมตะวันตกสมัยก่อนว่าสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันที่ปลอดภัย สงบสุข แต่ปัจจุบันพบว่าสังคมไทยมีแนวโน้มของความรุนแรง การบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการทำร้ายกันเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกับสังคมตะวันตก ทั้งโลกตะวันตกและตะวันออกต่างเห็นพ้องกันว่าขณะนี้สถาบันครอบครัวอาจเป็นสถาบันที่อันตราย มากที่สุดที่ความรุนแรงอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ถูกกระทำโดยตรง ทั้งการบาดเจ็บทางร่างกาย และจิตใจ จนบางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิต ทั้งอาจส่งผลระยะยาวต่อสุขภาพกายและจิต พัฒนาการและ การปรับตัว รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านการรักษาในอนาคต[3] ความรุนแรงในครอบครัวนั้นไม่ได้หมายเฉพาะสิ่งที่เราเห็นเป็นข่าวและได้อ่านในหน้าหนังสือพิมพ์ ที่ได้พบและได้ยินมาตลอดในเรื่องของพ่อแม่ที่ใช้ วิธีทุบตี คุมขังลูก เอาบุหรี่จี้ หรือใช้ความรุนแรงโดยวิธีอื่นๆ เท่านั้น แต่ยังหมายถึงกระบวนการที่พ่อแม่เลี้ยงดูเด็กโดยไม่เข้าใจจิตวิทยาเด็กด้วย

๒.๒ การป้องกันความรุนแรงในครอบครัว

ในภาพรวมทางตะวันตก แบ่งความรุนแรงในสถานการณ์ทางครอบครัวดังนี้

(๑) ความรุนแรงที่ก่อโดยผู้ใหญ่มี ๒ ประเภท คือ การกระทำผิดต่อคู่สมรส (domestic violence or partner violence or spouse abuse) และการกระทำผิดต่อเด็ก (child abuse)

(๒) ความรุนแรงที่ก่อโดยเด็กมี ๒ ประเภท คือ การกระทำผิดต่อพ่อแม่หรือผู้ปกครอง (parent abuse) และการกระทำผิดต่อพี่น้องหรือญาติสายเลือดเดียวกัน (sibling abuse)

(๓) ความรุนแรงที่ก่อโดยผู้ใหญ่และเด็กมี ๑ ประเภท คือ การกระทำผิดต่อผู้สูงอายุ (elderly abuse)

ความรุนแรงข้างต้นมีการแยกศึกษาวิจัยประเภทต่างๆ ของการกระทำผิดอย่างละเอียด และได้สะท้อนให้เห็นความจริงที่เป็นที่ยอมรับกันว่าความรุนแรงในสถานการณ์ทางครอบครัวมีความ เกี่ยวข้องกับปัญหาสังคมในเวลาต่างๆ กัน และมีวงจรของการพัฒนาความรุนแรงอันแสดงถึงความต่อเนื่องของพฤติกรรมก้าวร้าวจากช่วงอายุคนรุ่นหนึ่งไปสู่ช่วงอายุคนรุ่นถัดไป

ระดับการป้องกันความรุนแรงในครอบครัวตามแนวคิดของทางตะวันตกพอสรุปได้เป็น[4]

(๑) การแนะถึงแนวทางปฏิบัติต่างๆ เพี่อการป้องกันความรุนแรงเบื้องต้นในครอบครัว และ เพี่อการดำเนินชีวิตในครอบครัวและในสังคมโดยองค์รวมไว้ว่า[5]

ก) จะต้องมีการกำจัดบรรทัดฐานที่ให้สิทธิอันถูกต้องตามกฎหมาย หรือยกย่อง ชื่นชมความรุนแรงในครอบครัว เช่น การใช้ความรุนแรงในรูปแบบของสื่อความบันเทิงเริงรมย์ต่างๆ

ข) จะต้องลดการกระตุ้นความบีบคั้น-กดดันที่สร้างขึ้นในสังคม เช่น ความยากจน และความไม่เสมอภาค

ค) จะต้องมีการร่วมมือกันระหว่างครอบครัวเป็นเครือข่ายแห่งญาติพี่น้องและชุมชน และลดการปลีกตัวออกห่างจากสังคม

ง) จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยแห่งการกีดกันทางเพศในสังคมโดยการพัฒนาด้านการศึกษา


จ) จะต้องมีการทำลายวงจรของความรุนแรงในครอบครัวซึ่งมีการสอนทางเลือก ด้านการใช้ความรุนแรงเป็นหนทางแห่งการควบคุมเด็กๆ

(๒) การควบคุมตรวจตราดูแล เป็นพื้นฐานในการป้องกันระดับสองซึ่งมุ่งที่จะลดการแพร่หลายของความรุนแรงในครอบครัวโดยการตัดทอนระยะเวลาความต่อเนื่องของความถี่แห่งการบีบบังคับและปฏิสัมพันธ์ครอบครัวในทางลบและลดผลกระทบแห่งตัวแปรเสี่ยงด้วยการตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ และด้วยการแทรกแซงอย่างมีประสิทธิผลอย่างฉับพลัน

(๓) การป้องกันในระดับสามได้แก่ การจัดการ การรักษา และการควบคุมปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมก้าวร้าวที่แสดงออกโดยสมาชิกครอบครัว วิธีนี้ใช้กับในรายที่มีการกระทำหรือการปฏิบัติผิดๆ บ่อยครั้งจนเกิดเป็นความรุนแรงในระบบครอบครัว การป้องกันในระดับนี้มุ่งที่การลดความรู้สึกด้อยคุณค่า และการถูกทำลายจิตใจ รวมถึงการลดความเสี่ยงจากความพิการ การบาดเจ็บ บ่อยครั้งทางกายภาพ และความตายของเหยื่อความรุนแรง

๒.๓ สาเหตุแห่งความรุนแรงในครอบครัวและแนวทางแก้ไข

๒.๓.๑ ความรุนแรงเป็นผลพวงจากความก้าวร้าว : ในทางจิตวิทยาระบุไว้ถึงสภาพที่ ทำให้เกิดความก้าวร้าวดังนี้[6]

(๑) การเสริมแรง (reinforcement) เกิดขึ้นเมื่อมีการส่งเสริมให้ก้าวร้าวโดยการยกย่องหรือให้กำลังใจเวลามีความก้าวร้าว หรือการกระทำก้าวร้าวทำให้เกิดผลดี

(๒) การเลียนแบบ (modeling) การเห็นตัวอย่างที่ก้าวร้าว โดยเฉพาะจากคนที่ตนเองชื่นชอบ

(๓) ปทัสถาน หรือรูปแบบแห่งการเสนอสนอง (norm of reciprocity) เช่น ความเชื่อ ในสังคมที่ว่าความแค้นต้องมีการชำระแบบตาต่อตา ฟันต่อฟันซึ่งส่งเสริมให้คนในสังคมเกิดความก้าวร้าว

(๔) ความเครียด (stress) อาทิ ความยากจน การตกงาน การถูกสังคมรังเกียจ อากาศ ร้อน พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน เสียงรบกวนโสตประสาท ความจู้จี้ขี้,บ่นของบุคคลในครอบครัว ฯลฯ

(๕) สัญญาณความก้าวร้าว (aggressive cues) เช่น การดูความก้าวร้าวจากสื่อต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ การคลุกคลีกับอาวุธต่างๆ สามารถเป็นปัจจัยส่งเสริมความก้าวร้าวได้

๒.๓.๒ แนวทางลด-แก้ไขความขัดแย้งและก้าวร้าวอันเป็นเหตุแห่งความรุนแรง

(๑) ในทางจิตวิทยา : ความคับข้องใจเป็นความคับแค้นใจที่ไม่สามารถปฏิบัติอะไรลงไปไค้ เมื่อหนทางที่จะไปสู่เป้าหมายถูกขัดขวาง ทำให้คนๆ นั้นเกิดความวิตกกังวล รู้สึกกดดันและตึงเครียด ถ้าความคับข้องใจสะสมเป็นเวลานานๆ ก็อาจก่อให้เกิดความเจ็บป่วยหรือเกิดความก้าวร้าวทางความคิดและการกระทำไค้ วิธีการระบายความคับข้องใจเพื่อลดความก้าวร้าวในปัจเจกบุคคลใน ทางจิตวิทยามี ดังนี้

ก) หากเป็นความคับข้องใจเพราะสาเหตุที่เกิดจากตัวเองเช่น พิการทางร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ก็ให้ดูแลตนเองอย่างดีที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามหาความสามารถอื่นๆ ที่ตนเองมีอยู่ มาสร้างเป็นจุดแข็งให้กับตนเองเพื่อเอาชนะปมด้อยต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง

ข) หาที่ปรึกษาหรือหาใครสักคนที่เป็นมิตรและไว้วางใจได้ โดยมีการปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น ได้มีการพูดคุยและระบายให้ฟัง แม้ว่าการระบายนั้นจะไม่สามารถหาวิธีการแก้ไขได้ แต่การที่มีคนรับฟังปัญหาจะทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความคับข้องใจลงไปได้บ้าง

ค) เอาชนะความคับข้องใจด้วยวิธีสร้างสรรค์ โดย สำรวจดูว่าความคับข้องใจนั้นเป็นสิ่งที่ตนเองสามารถแก้ไขได้หรือไม่ โดยพยายามหาวิธีแก้ไข เช่น หากทำงานผิดพลาด ก็พยายามหาสาเหตุของความผิดพลาดนั้น แล้วค่อยๆ แก้ไข

ง) ใช้วิธีเปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนบรรยากาศ เช่น มีเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกคับข้องใจมาก ก็เลี่ยงตัวเองออกมาจากเหตุการณ์นั้น สถานที่นั้น

จ) ในทางจิตวิทยา การทำโทษเพื่อลดความก้าวร้าวในบุคคล ถือเป็นวิธีที่ไม่สร้างสรรค์ เพราะเป็นการสร้างตัวแบบที่ก้าวร้าวให้ดู ผู้ถูกทำโทษอาจไปแสดงความก้าวร้าวต่อผู้อื่น

(๒) ในทางสังคมวิทยา : มีแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ที่น่าสนใจในระดับกลุ่มบุคคลและสังคม ดังนี้

ก) ทฤษฎี “อะโนมี” ของ เมอร์ตัน(Merton’s Theory of Anomie) นักสังคมวิทยาผู้มีชื่อเสียงมีว่า[7]ที่ใดก็ตามที่มีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างคนต่างเพศ ที่มีการให้ค่าแก่เพศทั้งสองแตกต่างกัน และการบรรลุถึงบทบาททางเพศดังกล่าวถูกยับยั้งหรือประสบอุปสรรค ที่นั่นก็จะมีอัตราการเกิดความรุนแรงทางเพศสูง กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ถ้าสังคมใดส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมทาง เพศกันมากขึ้นเท่าใด อัตราการเกิดความรุนแรงทางเพศในสังคมนั้นย่อมจะลดลงเท่านั้น

ข) ทฤษฎีไร้ระเบียบหรือโกลาหลอลวน ของ เอ็ดเวิร์ด ลอร์เลนซ์ พ.ศ. ๒๕๐๓ (Edward Lorenz’s Chaos Theory, ๑๙๖๐) อธิบายถึงลักษณะพฤติกรรมของระบบพลวัตซึ่งหมายถึงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เปลี่ยนไป โดยลักษณะการเปลี่ยนแปลงของระบบไร้ระเบียบ หรือโกลาหลอลวนจะมีลักษณะที่ปั่นป่วนจนดูคล้ายว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นแบบสุ่มหรือไร้ระเบียบ (random/stochastic) แต่จริงๆ แล้ว ระบบไร้ระเบียบหรือโกลาหลอลวนนี้เป็นระบบแบบไม่สุ่ม หรือ ระบบ,ที่มีระเบียบ (deterministic)

ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ตั้งข้อสังเกตว่าทฤษฎีไร้ระเบียบหรือโกลาหลอลวนนี้มีความคล้ายคลึงกับตำราพิชัยสงคราม (The Art of War) ของซุนหวู่[8]จากบทความของ จิม จิเมียน (Jim Gimian) ที่เขียนลงในนิตยสาร Shambhala Sun ฉบับมกราคม ๒๕๔๔ เขาได้ตีความตำราพิชัยสงครามซุนหวู่ไว้อย่างน่าสนใจว่า ซุนหวู่ได้ยํ้าชัยชนะที่ยิ่งใหญ่โดยไม่ต้องทำสงครามซึ่งหมายถึงการเอาชนะความขัดแย้งโดยไม่ต้องใช้กำลังนั่นเอง

                   ค) แนวคิด “ตะแกรงแห่งความสัมพันธ์”(The Relationship Grid) ของ เวย์น อี. เบเกอร์ (Wayne E. Baker) ในหนังสือ Net Working Smart : How to Build Relationship for Personal &Organizational Success เป็นแนวคิดเกี่ยวกับสัมพันธภาพที่น่าสนใจ สามารถนำไปวิเคราะห์ปัญหาความสัมพันธ์ได้ในระดับต่างๆ เช่นในระดับครอบครัว ระดับผู้ให้และผู้รับบริการ ระดับ ประเทศหรือนโยบายสาธารณะ เพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์ที่ลงตัวหรือไม่ลงตัวจากความคาดหวังที่ตรงกันหรือต่างกันโดยอาศัยตะแกรงแห่งความสัมพันธ์ชนิดต่างๆ เนื่องจากความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา วิเคราะห์ และนำไปแก้ปัญหาอย่างจริงจังโดยแยกออกจากประเด็นความขัดแย้ง แล้วแก้ไข จึงจะสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ ดังมีเนื้อหาโดยย่อ ดังนี้

                             ชนิดที่ ๑ ธุรกิจครั้งคราว มุมซ้ายบนของตะแกรงเป็นเรื่องของการที่ต่างฝ่ายต่างมองเชิงธุรกิจ เสมือนมีการซื้อขายสินค้ากันเป็นครั้งคราว ฝ่ายหนึ่งได้เงิน อีกฝ่ายได้ของตามข้อตกลงก็ลงตัวในด้านผลประโยชน์

                             ชนิดที่ ๒ เอาแต่ประโยชน์ มุมขวาบนของตะแกรงเป็นเรื่องที่ผู้อื่นมุ่งเอาแต่ ประโยชนในขณะที่บุคคลหนึ่งต้องการความผูกพันระยะยาว

                             ชนิดที่ ๓ เลิกคบ มุมซ้ายล่างของตะแกรง บุคคลหนึ่งจะมองเชิงธุรกิจแต่ผู้อื่นจะมองเรื่องความสัมพันธ์ จะเป็นมุมมองที่มองกลับกันกับชนิดที่ ๒

                             ชนิดที่ ๔ ร่วมงานกัน มุมขวาล่างของตะแกรง ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์เช่นกัน มี ความสัมพันธ์ระยะยาว มีความผูกพัน ร่วมมือ ร่วมงานกัน มองที่ผลประโยชน์ร่วม จึงเป็นความสัมพันธ์ที่สอดคล้องลงตัว[9]

ความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันของคนในครอบครัว หรือในคู่สมรส อยู่ที่ความคาดหวังว่ามีตรงกันหรือไม่ หากคู่สมรส และคนในครอบครัวมีความสัมพันธ์ในแบบที่ ๔ นี้ ก็จะช่วยลดความขัดแย้งอันอาจนำสู่ความก้าวร้าวรุนแรงได้ ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงที่สอดคล้องกับตะแกรงแห่งความสัมพันธ์ของเบเกอร์ มีอาทิ พฤติกรรมการกระทำผิดกรณีทำร้ายคู่สมรสซึ่งจัดว่าเป็นความรุนแรงในครอบครัวที่มีลักษณะเป็นข้อสรุปที่ดูเหมือนขัดกัน (Paradox) คือขัดแย้งกันเองระหว่าง แนวคิดเกี่ยวกับครอบครัวซึ่งแฝงไว้ด้วยนัยแห่งการผนึกกำลังการเป็นพันธมิตรการเป็นแนวร่วมที่เข้มแข็ง การช่วยเหลือเกื้อกูลกันและการมีความเมตตากรุณาต่อคนในกลุ่มเดียวกันมากกว่าที่มีต่อคนนอกกลุ่ม ซึ่งเป็นธรรมชาติของพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ ดังนั้น การที่คนในครอบครัวทำร้ายร่างกายและจิตใจกันเองนั้นจึงเป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งในบริบทของความเป็นครอบครัวอย่างชัดเจน

ง) ทฤษฎีตัวยู ของ ออตโต้ ซี. ชาร์เมอร์(Otto C. Scharmer’s U-Theory) : ออตโต้ เป็นชาวเยอรมันที่ไปทำงานร่วมกับ ปีเตอร์ เซงเก้ (Peter Senge) ปรมาจารย์ (kuru) ด้าน LO &KM มักถูกนำมากล่าวถึงกันมากในเรื่องของการสื่อสารอันจะนำสู่ความมีศักยภาพ เสรีภาพ และ ความสุขซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารในครอบครัวเพื่อลดความขัดแย้งอันจะนำสู่ความก้าวร้าวรุนแรงได้เป็นอย่างดี เนื้อหาของทฤษฎีตัวยูมีว่า เมื่อมีการรับรู้สาส์นอะไรมาก็ตามโดยทั่วไปจะ ผ่านกระบวนการตัดสินบนพื้นฐานของผู้รับรู้ซึ่งประกอบไปด้วยอารมณ์ และประสบการณ์ที่ผู้รับรู้มี รวมถึงการตีความด้วยตัวผู้รับรู้ตามผู้พูดที่ให้สาส์นนั้นมา เช่น คำพูดที่มาจากเพื่อนๆ พี่น้อง พ่อแม่ ก็ให้เสนอให้มีการฟังให้ลึกถึงตัวสาส์นด้วยปัญญาโดยการไม่ด่วนตัดสินใจ แต่ให้แขวนรายละเอียดของสาส์นที่ได้รับฟังมานั้นไว้ก่อน และนำมาพินิจพิจารณาอย่างสงบและมีสติ เมื่อผู้รับรู้เกิดปัญญาแล้วจึงจะสามารถเชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ทำให้เห็นอนาคต และกลับไปพิจารณาอดีต ปัจจุบันด้วยกระบวนการทางปัญญา[10]

          จ) วิธีการแบบอหิงสาหรือสันติวิธี หรือยุทธวิธีไร้ความรุนแรง คือ วิธีหรือยุทธวิธีที่หลีกเลี่ยงความรุนแรงในการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด หรือละเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้คู่กรณีปฏิบัติตามความต้องการของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล โดยเป็นการกระทำที่ไม่ใช้การออกแรงบีบบังคับหรือใช้กำลังรุนแรง และมักเป็นรูปแบบที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางจิตใจ วิธีการนี้เหมาะที่สุดกับคู่กรณีที่ต่างต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันในการดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติสุข เช่น คนในครอบครัว ชุมชน ประเทศ และสังคมเดียวกัน ตัวอย่างของผู้ที่ใช้วิธีการในแบบอหิงสาที่ทั่วโลกรู้จักกันดีก็คือ ท่าน มหาตมคานธี ผู้นำชาวอินเดียผู้ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยอินเดียจากการยึดครองของอังกฤษ[11]

                   ฉ) ศาสตราจารย์นายแพทย์ ประเวส วะสี ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับความขัดแย้งและ หลักการในการแก้ปัญหาไว้ว่า ความรุนแรงเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของมนุษย์ในปัจจุบันมีหลายประเภท ในระดับตั้งแต่จุลภาคไปถึงมหภาค เช่น ความรุนแรงในตัวเอง ความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงในชุมชนและในสังคม รวมถึงความรุนแรงระหว่างประเทศและในโลก ความรุนแรงดังกล่าวเป็นมูลฐานจากความขัดแย้ง อะไรก็ตามที่มีการเคลื่อนไหวย่อมมีความเสียดทาน ความขัดแย้งเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่งซึ่งสามารถจะนำไปสู่ความสร้างสรรค์ได้อย่างเข้าใจและมีการจัดการที่ดี แต่ถ้าความขัดแย้งมีมากเกินความเข้าใจและขาดการจัดการที่ดี ก็สามารถปะทุไปสู่ความรุนแรงยังผลเป็นความเสียหายตามมา[12]

๒.๓.๓ ปัจจัยประกอบปัญหาความก้าวร้าวรุนแรงในครอบครัวทั่วไป

(ก) ในระดับบุคคล

๑) ประสบการณ์ความรุนแรงที่ได้รับในวัยเด็ก : อาจหล่อหลอมให้กลายเป็นความกระด้างภายในจิตใจ แนวทางป้องกันแก้ไขสำหรับพ่อแม่ คือ ต้องเข้าใจและยอมรับพฤติกรรมของเด็กก่อนว่าที่เด็กก้าวร้าวเพราะอะไรและหยุดการกระทำที่ก้าวร้าวของเด็กด้วยท่าทางที่สงบโดยค่อยๆสอนเด็กด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์หรือคำพูดที่รุนแรง ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกมีปมด้อยมากขึ้น

๒) ความเจ็บป่วยทางจิต : ความเจ็บป่วยทางจิตเกิดจากการใช้สารเสพติดต่างๆ การดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์ของผู้ลงมือกระทำการรุนแรง

๓) ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาไม่ดี :

๓.๑) “ทฤษฎีขนนก”[13]: ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาที่ว่าไม่ดีคือต่างฝ่ายต่างมีความเก็บกดหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญปัญหา ไม่พยายามพูดคุยปรับความเข้าใจกัน เมื่อถึงจุดที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถจะทนได้ต่อไป ก็เกิดอารมณ์ก้าวร้าวและก่อความรุนแรงได้โดยไม่มีใครคาดคิด การหลีกเลี่ยงหรือยอมถอย (avoiding or no way) นี้เป็นวิธีการที่พยายามหลีกเลี่ยงปัญหาโดยไม่เผชิญกับปัญหาด้วยการถอยออกมา พบว่า สังคมไทย และสังคมเอเชีย รวมถึงประเทศกลุ่มละตินอเมริกันที่เป็นสังคมพวกกลุ่มนิยม (collectivist) จะนิยมใช้วิธีนี้กันมาก

                   ๓.๒) การศึกษาเกี่ยวกับแนวโน้มในการแยกกันอยู่ หรือหย่าร้างหลังอยู่ ร่วมกันนาน ๗ ปีขึ้นไป (Seven-year Itch) โดย อาร์. เลเวนสัน(R. Levenson) และ เจ. กอตแมน(J. Gotman) : พวกเขาศึกษาถึงสาเหตุแห่งความไม่เสมอภาคในสภาพทางการสมรสที่พัฒนามาจากความต่างในความชอบ อุปนิสัยที่ส่งผลถึงพฤติกรรมการจัดการกับอารมณ์โดยรวมของหญิงและชายตั้งแต่ในวัยเด็กที่ทำให้มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในชีวิตสมรสในวัยผู้ใหญ่ (เช่น เด็กผู้ชายชอบพูดคุย เกี่ยวกับการต่อสู้ ผจญภัย หรือเล่นในที่กลางแจ้งกับผู้เล่นหลายๆ คน แม้เด็กชายจะแสดงอารมณ์ไม่พอใจ โผงผางกับเพื่อนในกลุ่มได้ง่าย แต่ก็ไม่เก็บเป็นสาระนาน จะคำนึงถึงกฎกติกาในการเล่นเป็นสาระสำคัญ ขณะที่เด็กหญิงชอบเล่นโดยการเคลื่อนไหวในที่จำกัด กับเพื่อนสนิทไม่กี่คน และใช้การเล่นเป็นสื่อใน การสร้างมิตรภาพมากกว่าสาระของการเล่นนั้นๆ เมื่อผิดใจกัน ก็จะมีการพูดคุยปรับความเข้าใจมากกว่าที่จะเก็บไวัในใจ หากตกลงกันไม่ได้ก็อาจเลิกคบหรือเลิกเล่นด้วยกันอีก แสดงให้เห็นถึงอุปนิสัยโดยรวมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในเรื่องของความละเอียดอ่อนทางจิตใจและการควบคุมอารมณ์ของสามี และภรรยาที่ต่างกัน เด็กชายส่วนใหญ่ใช้เสียงหรือการเรียกร้องแสดงอำนาจเพื่อสยบความกลัว ขณะที่เด็กหญิงชอบสมานรอยร้าวในลักษณะของความเป็นแม่หรือผู้ไกล่เกลี่ยมากกว่า เมื่อเป็นผู้ใหญ่ในสภาพสมรส ฝ่ายชายจึงไม่ใคร่ชอบเผชิญปัญหาเท่าฝ่ายหญิง ขณะที่ฝ่ายหญิงชอบที่จะพูดคุยให้เข้าใจกัน ทำให้เกิดการสวนทางกันและเกิดความกดดันตามมา เป็นต้น)[14]ร่วมกับการจัดทำโครงการศึกษาการคาดการณ์ของการแยกกันอยู่และการหย่าร้างในคู่สมรสที่อยู่ร่วมกันนานกว่า ๘ ปี โดยมีการติดตามผลต่อเนื่องในระยะยาวในคู่สมรส ๗๙ คู่ในระยะ ๘ ปี จากปี ค.ศ. ๑๙๘๓ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ถึงปี ค.ศ. ๑๙๙๑ (พ.ศ.๒๕๓๔) พบว่าคู่ที่แยกหรือหย่าร้างกันส่วนใหญ่ฝ่ายสามีจะมีความเย็นชา เป็นผู้ฟังในทางบวกน้อยกว่า มีแนวโน้มที่จะระบุข้อตำหนิในทางสุภาพน้อยกว่าฝ่ายภรรยาที่ถูกดูถูก ถูกรังเกียจ มากกว่า และมีความเศร้าโศกมากกว่า[15]

๓.๓) ทฤษฎี สามเหลี่ยมแห่งรัก(Triangular Theory of Love) ของ โรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก(Robert Sternberg) นักจิตวิทยาตะวันตก[16] ได้ให้คุณลักษณะพิเศษของความรักที่มีบริบทในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลว่ามีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน ๓ ส่วน คือ๑. ความคุ้นเคย ใกล้ชิดสนิทสนม ผูกพันอย่างลึกซึ้ง (Intimacy) ๒. อารมณ์ใคร่ทางเพศ ด้วยความดึงดูดทางกายภาพ (Passion) และ ๓. การตัดสินใจอยู่ร่วมกันในระยะสั้น และการตัดสินใจที่จะร่วมวางแผนแบ่งปันความ สำเร็จในระยะยาวกับอีกฝ่ายหนึ่ง (Commitment) แนวคิดของโรเบิร์ต มีว่าประสบการณ์ในความรักของแต่ละบุคคลจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นกับความแข็งแกร่งขององค์ประกอบทั้ง ๓ นี้

๔) ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ และลูกไม่ดี: มักเกิดกับวัยรุ่นที่เริ่มมีความต้องการเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ต้องการการตัดสินใจเอง วัยรุ่นไม่ค่อยเชื่อพ่อแม่แต่จะเชื่อเพื่อนมากกว่า จึงเกิดการเสี่ยงภัยในเรื่องเพศและสิ่งเสพติด ทำให้เกิดความขัดแย้งและความก้าวร้าวรุนแรงในครอบครัวได้

(ข) ในทางสังคมจิตวิทยา:  ปัจจัยในทางสังคมจิตวิทยาที่มีประกอบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวไทยเกิดจากโครงสร้างทางครอบครัวที่เปลี่ยนจากครอบครัวใหญ่หรือครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยวเพิ่มมากขึ้น ทำให้เด็กในครอบครัวขาดการดูแลเอาใจใส่ในการอบรมถึงพฤติกรรมที่ถูกต้อง เมื่อพ่อแม่ต่างต้องทำมาหากิน ไม่ค่อยมีเวลาจึงส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบในทางผิดๆ จากผู้อื่นหรือสื่อต่างๆ หรือเกิดจากความเครียดเรื่องความยากจน หรือ ครอบครัวล้มเหลว เป็นต้น

                   (ค) ในทางสังคมวัฒนธรรม: สังคมที่มีการยึดถือกันมาแต่อดีตว่าผู้ชายต้องเป็นใหญ่มีอำนาจเหนือผู้หญิงจนกลายเป็นวัฒนธรรมที่หลีกเลี่ยงมิได้ โดยเฉพาะสังคมไทยมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากสังคมเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม และกลายเป็นสังคมยุคเทคโนโลยี ซึ่งส่งผลกระทบต่อโครงสร้างครอบครัว

๒.๔ ผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัว: ปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาอาชญากรรมประเภทหนึ่งซึ่งได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น อันเป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงความเสื่อมโทรมของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี คือ ปัญหาการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนที่มีอายุระหว่าง ๗-๑๘ ปี ที่มีพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในการกระทำผิดซึ่งไม่ต่างจากพฤติกรรมผู้ใหญ่ ประเด็นที่น่าสนใจจึงอยู่ที่ว่าความรุนแรงในครอบครัวมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่ได้มีผู้ทำการศึกษาไว้ ในด้านต่างๆ ดังนี้[17]

๒.๔.๑ ปัญหาทางด้านอารมณ์: เด็กและเยาวชนที่มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัวเพราะมีปัญหาทางด้านอารมณ์ โดยเฉพาะการเก็บกด มีการรับภาพความรุนแรงเข้าไปในจิตใจ เกิด ความสับสนทางด้านอารมณ์ ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง ขาดความมั่นใจ หดหู่ ซึมเศร้า และมีแนวโน้มฆ่าตัวตายได้ง่าย

๒.๔.๒ ปัญหาการปรับตัวเข้ากับสังคม : เด็กและเยาวชนที่มีการใช้ความรุนแรงใน ครอบครัวจะมีปัญหาด้านการปรับตัวเข้ากับสังคมได้ยาก จะชอบเก็บตัวเงียบคนเดียวเพราะหวาดกลัว ความรุนแรงที่เคยประสบจากครอบครัว ทำให้ไม่ไว้วางใจคนในสังคม

๒.๔.๓ ทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรง: เด็กและเยาวชนที่ครอบครัวมีการใช้ ความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลต่อการรับรู้และทัศนคติต่อการใช้ความรุนแรงว่าเป็นพฤติกรรม ปกติธรรมดาในสังคม และบางครั้งยังเห็นว่าการใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือที่ดีในการแก้ปัญหาในบางสถานการณ์ก็เห็นว่าการใช้ความรุนแรงแสดงถึงความเป็นคนเก่ง และเป็นที่ยอมรับ

๒.๔.๔ พฤติกรรมการแสดงออกภายนอก: พฤติกรรมการแสดงออกภายนอกของเด็กและเยาวชนที่ครอบครัวมีการใช้ความรุนแรง อาจจำแนกเป็น ๓ ระยะ คือ

ก) เด็กในวัยก่อนเข้าเรียน จะมีความสับสนและไม่เข้าใจในพฤติกรรมของการใช้ความรุนแรงในครอบครัวโดยเฉพาะต่อเด็ก เด็กมีแนวโน้มที่จะเชื่อว่าการใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเกิดจากความผิดของตนเองอันนำไปสู่พฤติกรรมในการแสดงออกที่มีปัญหา

                   ข) เด็กที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น จะมีพฤติกรรมการแสดงออกที่มีความรุนแรงทางด้านอารมณ์มากขึ้น เช่น ก้าวร้าว กังวล มีการแสดงออกที่มีปัญหา ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เด็กชายจะเริ่มมีพฤติกรรมก้าวร้าวและใช้ความรุนแรงชัดเจนขึ้นมากกว่าเด็กหญิง

ค) เด็กวัยรุ่น จะมีปัญหาด้านการเรียน มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน ชอบใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา

๒.๔.๕ ทัศนคติต่อการใช้ชีวิตครอบครัวในอนาคต: เด็กและเยาวชนที่มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัวมีโอกาสสูงที่จะใช้ความรุนแรงในครอบครัวของตนเองในอนาคต

๒.๔.๖ ปัญหาซ่อนเร้นในระยะยาว: เด็กและเยาวชนที่มีการใช้ความรุนแรงใน ครอบครัวจะมีความหดหู่ เศร้าหมอง ซึ่งอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้า อันเป็นพฤติกรรมซ่อนเร้นที่อาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น โรคจิต ประสาท และการฆ่าตัวตาย เป็นต้น

.๕ การจัดการกับความรุนแรงในครอบครัวในสังคมไทยปัจจุบัน

๒.๕.๑ ปรากฏการณ์ความรุนแรงในครอบครัวในสังคมไทย: สังคมไทยในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นถึงความต้านทานที่อ่อนแอของครอบครัวไทยอย่างน่าวิตก ดังมีดัชนีชี้วัดความรุนแรง ตามประเภท และลักษณะต่างๆ ของความรุนแรงในครอบครัว ดังนี้[18]

ก) ความรุนแรงในสตรี และเด็ก: สถิติความรุนแรงในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ จาก โรงพยาบาล ๗๐ แห่งของสาธารณสุขสูงขึ้นจนน่าตกใจ มีสตรีและเด็กที่ถูกทำร้ายโดยเฉลี่ยทุก ๒ ชั่วโมง จะถูกทำร้าย ๑ คน ส่วนใหญ่เป็นฝืมีอของคนใกล้ชิดและคนในครอบครัว การกระทำรุนแรงต่อสตรี และเด็กในครอบครัว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความไม่รับผิดชอบต่อครอบครัวของฝ่ายชาย การใช้อำนาจหรืออารมณ์ในการตัดสินปัญหาและมีพฤติกรรมมัวเมาในสิ่งเสพติด ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท และทำร้ายกันทั้งทางร่างกาย และจิตใจ

                             ข) ความรุนแรงในผู้สูงอายุ: ประเทศไทยเข้าสู่ช่วงเวลาของการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้สูงอายุ เพราะประชาชนมีอายุที่ยืนยาวขึ้น จากข้อมูลล่าสุดปีพ.ศ. ๒๕๕๒ มีจำนวนประชากรสูงอายุไทยอยู่ที่ ๗.๕ ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๒ ของประชากรไทยที่ปัจจุบันมีประชากรจำนวน ๖๓.๔ ล้านคนซึ่งแม้จะเป็นเรื่องที่น่ายินดีว่าประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้า ทำให้มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ แต่ปัญหาหนึ่งที่ตามมา คือ มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่เสี่ยงต่อการถูกกระทำรุนแรง ทั้งจากบุคคลใกล้ชิด และจากสังคม ดังมีงานวิจัยความรุนแรงต่อผู้สูงอายุไทยตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นต้นมา พบว่าผู้สูงอายุไทยจำนวนมากให้ข้อมูลว่าเคยถูกกระทำรุนแรงทางจิตใจจากลูกด้วยคำพูดและพฤติกรรมที่ไม่ให้เกียรติ ทำให้ผู้สูงอายุเสียใจ และหมดกำลังใจ ปัญหารองลงมา คือ การถูกละเลย ทอดทิ้ง โดยมีข้อมูลจากผู้ที่ปฏิบัติงานรับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือสงเคราะห์ ผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง ส่วนใหญ่เป็นกรณีที่ได้รับแจ้งจากเพื่อนบ้าน หรือผู้พบเห็น หรือ จากตำรวจ หรือผู้สูงอายุมาขอความช่วยเหลือเอง หรือเป็นผู้สูงอายุที่ยากไร้ปลูกเพิงพักอยู่ตามใต้ต้นไม้ และเก็บของเก่าขาย มีสถานภาพลำบากยากจน ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่ คือ ครอบครัวยากจน ลูกไม่สามารถดูแลได้ ปัญหาความรุนแรงที่ตามมา ได้แก่ การเอาเปรียบทรัพย์สินจากการที่พ่อแม่ผู้สูงอายุได้แบ่งมอบทรัพย์สินแก่ลูกหมดเรียบร้อยแล้ว และลูกไม่พึงประสงค์ให้อยู่ในบ้าน ผู้สูงอายุจึงต้องมาอยู่สถานสงเคราะห์คนชรา ผู้สูงอายุบางรายถูกลูกๆ บังคับให้ไปขอทานมาเลี้ยงลูกหลาน ส่วนผู้สูงอายุที่ถูกกระทำรุนแรงทางด้านร่างกาย ได้แก่ การทุบตี ชกต่อย ส่วนใหญ่เกิดจากลูกเมาสุรา ติดสารเสพติด และผู้สูงอายุบางรายที่ถูกกระทำรุนแรงทางเพศ เกิดจากการที่ลูกป่วยเป็นโรคจิต ผู้สูงอายุไทยที่ถูกกระทำรุนแรงส่วนใหญ่จะไม่เปิดเผยข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในระยะแรกๆ เพราะรู้สึกละอายว่าตนถูกกระทำจากลูกของตนเอง อาการระยะแรกๆ ที่พบเห็น คือ ผู้สูงอายุมีอาการซึมเศร้า หรือมีร่องรอยแผล ฟกชํ้า อย่างไรก็ตาม กรณีที่ผู้สูงอายุถูกทำร้ายร่างกาย หรือล่วงละเมิดทางเพศยังปรากฏให้เห็นจำนวนไม่มาก เมื่อเทียบกับความรุนแรงในกลุ่มอื่น[19]ลักษณะของปัญหาความรุนแรงในผู้สูงอายุนี้ เป็นการลบภาพสังคมไทยแต่เดิมที่เป็นสังคมแห่งการเอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจ ช่วยเหลือพึ่งพากัน ปัญหาความรุนแรงต่อผู้สูงอายุจัดเป็นปัญหาที่มีความซับช้อน และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง สังคมไทยในอนาคตจะเป็นสังคมผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นที่สังคมควรมีความตระหนักให้มากและร่วมกันเตรียมความพร้อมในการเผชิญกับปัญหาความรุนแรงต่อผู้สูงอายุอย่างจริงจัง

                             ค) ความรุนแรงในสัมพันธภาพของสามี ภรรยา และสถานภาพสมรส: สังคมไทยมีการหย่าร้างมากขึ้น เพราะความไม่ลงรอยกันของสามี ภรรยา โดยมีภาพการใช้อารมณ์ต่อกันใน ครอบครัวให้เห็นมากในสังคมไทยปัจจุบัน ด้วยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ เสรีภาพทางความคิดและความเสมอภาคทางเพศที่ขาดปัญญา และค่านิยมในการมีเพื่อนคู่ใจอื่นที่มิใช่คู่สมรสตามศัพท์สมัยใหม่ ที่เรียกกันว่า “กิ๊ก” บางกรณีมีความหึงหวงรุนแรงถึงขนาดประทุษร้ายร่างกายกันจนบาดเจ็บสาหัส หรือ ก่อคดีฆาตกรรม ส่วนใหญ่เป็นการกระทำของสามีหรืออดีตสามี โดยภาพรวมในรอบ ๑๐-๑๕ ปีที่ผ่านมาพบว่ามีการสมรสน้อยลงและหย่าร้างมากขึ้น ภาคกลางมีอัตราการหย่าร้างสูงสุด และภาคอีสานมีคน แต่งงานน้อยสุดเพราะมีค่านิยมไปในทางวัตถุนิยมและบริโภคนิยมเป็นใหญ่ เด็กหญิงชาวอีสานมองว่า ชายไทยไม่น่าแต่งงานด้วยเพราะยากจน และคาดหวังที่จะมีสามีเป็นชาวต่างชาติเพื่อยกระดับความเป็น อยู่ให้มีหน้ามีตา ส่วนใหญ่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทำเงินและสร้างความมีหน้ามีตาให้พ่อแม่[20]การแพร่ระบาดของยาเสพติดพบมากในกลุ่มวัยรุ่นอายุ ๑๕-๒๔ ปี ทั้งหญิงและชาย สาเหตุส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่พ่อแม่หย่าร้างกัน ลูกขาดความอบอุ่น ได้รับการเลี้ยงดูแบบอิสระปล่อยตามสบาย ทำให้ขาด,ที่พึ่ง หรือการชี้แนะให้คำปรึกษา จึงขาดการควบคุมตนเอง พักอาศัยอยู่ในบริเวณที่ซื้อขายยาเสพติด และเพื่อนมีส่วนสำคัญที่ชักจูงให้เริ่มเสพยาเสพติด

    ง) ความรุนแรงในสัมพันธภาพของพ่อแม่ และลูก: มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ร่วมกับศูนย์ประชามติสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ทำการสำรวจผู้ปกครอง ๑,๐๖๖ ครอบครัวในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่าพ่อแม่ส่วนใหญ่ทำงานวันละ ๗-๙ ชั่วโมง พ่อแม่ร้อยละ ๔๓ รู้สึกห่างเหินลูก เพราะมีเวลาทำกิจกรรมร่วมกับลูกวันละไม่เกิน ๑-๓ ชั่วโมง ลูกก็รู้สึกห่างเหินกับพ่อแม่เช่นเดียวกันทำให้เกิดปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัวไม่อบอุ่นขาดการให้เวลาแก่กันอย่างมีคุณภาพ ทำให้เป็นชนวนแห่งความขัดแย้งที่อาจนำสู่ความรุนแรงได้

จ) ความรุนแรงจากสื่อทันสมัย:ความไม่เท่าทันสื่อทำให้เกิดคำนิยมติดเซ็กช์ ขายเซ็กช์ สื่อทางอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ ทำให้เยาวชน ลูก หลานในครอบครัวไทยมีความโน้มเอียงในการขายบริการทางเพศเพื่อหาเงินเป็นค่าใช้จ่ายในสิ่งฟุ่มเฟือยและเพื่อความสุขทางเพศมากขึ้น โดยมีผลสำรวจในปี ๒๕๔๖ จาก ๓๘๖,๕๕๕ คน เพิ่มเป็น ๔๗๒,๕๗๕ คน เนื่องจากการใช้สื่อด้านนี้มีทางเลือกให้ไม่จำเป็นต้องเห็นหน้ากัน หรือบางรายมีการนัดแนะพบกันตามแหล่งบันเทิง ใช้วิธีดื่มสุรา และเสพยาเพื่อให้เกิดความกล้า และจบลงที่การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ประกอบกับการไม่รู้จัก ป้องกันความเสี่ยงในโรคภัยทางเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะโรคเอดส์ ทั้งยังมีการเปลี่ยนคู่นอนทำสถิติแข่งขันอวดเพื่อนฝูง ความไม่เท่าทันสื่อทันสมัย คือใช้สื่ออย่างขาดปัญญา ทำให้เยาวชนมีพฤติกรรมชอบดู ภาพและวิชีดีโป๊ ใช้สื่อทันสมัยเป็นห้องบริการค้าทางเพศ[21]แทนที่จะใช้ไปในทางสร้างสรรค์ ในรายที่โชคร้ายก็อาจเกิดการล่อลวง ทำให้เกิดอาชญากรรมทางเพศตามมา เป็นต้น นอกจากนั้นสื่อหนังสือ สถานี วิทยุ โทรทัศน์ และการสื่อสารผ่าน เฟสบุค (face book) ทางอินเตอร์เน็ตมีการเสนอข้อมูล และภาพแห่งความรุนแรงขัดแย้งมากมายทางสังคมจนกลาย เป็นสังคมแห่งความขัดแย้ง เกิดความรุนแรงทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน สังคม จนถึงระดับชาติ ภาพข่าวที่ปรากฏตามสื่อเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความ รุนแรงในรูปแบบต่างๆ ความเจริญของสื่อได้กลายเป็นดาบสองคมที่ต้องใช้ปัญญาในการรู้เท่าทันโทษมหันต์และคุณอนันต์

ภาพสะท้อนข้างต้นให้ข้อคิดว่าคนในสถาบันครอบครัวและสังคมไม่อาจนิ่งเฉยอยู่ได้อีกต่อไป เพราะการนิ่งเฉยเท่ากับเป็นการเพิ่มความรุนแรงในครอบครัวไทยให้มากขึ้น

๒.๕.๒ การวางรากฐานครอบครัวในมิติแห่งการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาความรุนแรง:

จากผลพวงของความรุนแรงในครอบครัวซึ่งจัดเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมดำเนินการในโครงการ และกระบวนการต่างๆ โดยเครือข่ายองค์กร หน่วยงาน และมูลนิธิ ใน ภาคต่างๆ ของสังคมไทยในปัจจุบัน ดังนี้

๒.๕.๒.๑ ภาครัฐ: มีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ที่มิใช่ส่วนราชการคอยประสานกับ ภาคเอกชน คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ จุดประกาย กระตุ้น สนับสนุน ประสานความร่วมมือเพื่อให้คนไทยริเริ่มกิจกรรมและโครงการต่างๆ ที่จะสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนและคนในครอบครัวโดยไม่จำกัดกรอบวิธีการและยินดีเปิดรับแนวทาง ปฏิบัติการใหม่ๆ ที่เป็นความคิดสร้างสรรค์สามารถนำไปสู่การขยายค่านิยมและการสร้างพฤติกรรม สร้างเสริมสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกว้างขวาง นับเป็นองค์กรด้านสุขภาพรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับมติของสมัชชาสุขภาพโลก ด้านการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (World Health Assembly Resolution 12.8 : Health Promotion and Health Life-Style)[22]และกระทรวงยุติธรรมมีสำนักพัฒนาการกีฬาและสันทนาการเพื่อกระตุ้นทุกภาคส่วนในสังคมให้ช่วยกันจัดนันทนาการให้แก่เยาวชน เป็นการพัฒนาร่างกาย จิตใจ อารมณ์ของเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด และ พัฒนาสังคมไปพร้อมๆ กัน[23] การเสริมสร้างสุขภาพกายย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพจิต ทำให้ประชาชน และคนในครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและจิตอันเป็นปัจจัยประกอบสำคัญในการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวได้เป็นอย่างดี

๒.๕.๒.๒ ภาคเอกชน และประชาสังคม: มีหน่วยงาน และมูลนิธิต่างๆ เกิด ขึ้นในการจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อร่วมมือกันต่อต้านความรุนแรงในครอบครัว และให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ ฟื้นฟูเหยื่อผู้ถูกกระทำความรุนแรง ได้แก่ หน่วยจัดการความรู้เรื่องความรุนแรงในครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มูลนิธิปวีณา มูลนิธิผู้หญิง มูลนิธิภูมิปัญญา มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกัน มูลนิธิวิถีทรรศน์ มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว มูลนิธิเพื่อนหญิง (เครือข่ายชุมชนเลิกเหล้ายุติความรุนแรงกับผู้หญิง โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ-สสส. ได้จัด กิจกรรมรณรงค์ “๑ เสียงยุติความรุนแรงในผู้หญิง”) มูลนิธิศูนย์ฮอตไลน์ มูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท กองทุนเพื่อการประกันตัวแด่อิสรภาพของชีวิตลูกผู้หญิง สายด่วนวัยรุ่น และทางด้านจิตแพทย์ มีการจัดอภิปรายเป็นครั้งคราวในหมู่พ่อแม่ เป็นต้น

๒.๕.๒.๓ การร่วมมือกับภาคสากล: ทั่วโลกกำหนดให้วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ของทุกปีเป็นวันรณรงค์ยุติความรุนแรง โดยเฉพาะการต่อต้านความรุนแรงในสตรี ประเทศไทยก็มีส่วนร่วมด้วยเช่นกันในโครงการรณรงค์เพื่อยุติความรุนแรงในสตรีเพศที่ถูกคุกคามทำร้ายร่างกายโดยบุรุษเพศ มีชื่อว่า “๑ เสียงยุติความรุนแรง” (“Say NO to Violence Against Women”) โดยความร่วมมือของมูลนิธิเพื่อนหญิง และกองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Fund for Women หรือ UNIFEM)[24]

.๕.๓ ภาครัฐกับการดำเนินการด้านอาซญวิทยา : ได้มีการประเมินกระบวนการยุติธรรมในการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัว เมื่อมีการนำมาประมวลกับข้อคิดเห็นและข้อเสนอของผู้เชี่ยวชาญจากเวทีสนทนาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ประกอบด้วยข้อมูลจากการสัมภาษณ์กรณีศึกษาพบว่า สถานภาพกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทยในปัจจุบันยังไม่เหมาะสม ด้อยทั้งประสิทธิภาพและคุณภาพในเชิงบริการต่อการสนองตอบอุบัติการณ์ความรุนแรงใน ครอบครัว กล่าวคือ

 ก) เน้นการใช้มาตรการทางอาญาลงโทษผู้ก่อเหตุความรุนแรงในครอบครัวอย่าง เคร่งครัด ไม่มีทางเลือกอื่นที่ยืดหยุ่นกว่า จึงไม่เป็นการบำบัดผู้ก่อความรุนแรง

ข) เมื่อใช้มาตรการผ่อนปรนโดยให้พนักงานสอบสวนพยายามไกล่เกลี่ยประนีประนอมให้คู่สมรสคืนดีกันเพื่อเลี่ยงที่จะไม่เข้าสู่กระบวนการทางอาญา แต่ไม่มีกลไกในการติดตามคุ้มครองสวัสดีภาพของผู้ถูกกระทำรุนแรง

ค) บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมส่วนใหญ่มีทัศนคติทางลบต่อคดีความรุนแรงในครอบครัว เนื่องจากผู้เสียหายและจำเลยเคยมีความสัมพันธ์ส่วนตัวมาก่อน โอกาสที่คู่ความจะมีอิทธิพลซึ่งกันและกันสูง อาจทำให้คดีไม่สัมฤทธิผล รวมทั้งเห็นว่าเป็นปัญหาภายในครอบครัวที่สามารถตกลงกันได้ บางกรณี ผู้ถูกกระทำรุนแรงกลับมาแจ้งเหตุหลายครั้งน่ารำคาญ จึงมีความพยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่ทำคดีความรุนแรงในครอบครัว

 

          กล่าวโดยสรุป โดยองค์รวมของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวทั้งในโลกตะวันตก และ ตะวันออกต่างก็มีการยอมรับในที่สุดว่าไม่ใช่เรื่องส่วนตัวเฉพาะภายในครอบครัวอีกต่อไปเพราะผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัวทำให้เกิดปัญหามากมาย ซึ่งมีความเชื่อมโยงสู่สังคมโดยรวมในทุกระดับในมุมมองที่ว่าความรุนแรงโดยเฉพาะในสตรีและเด็กเป็นเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Right) ที่ทุกหน่วยงาน ทุกสถาบัน ทุกองค์กรในแต่ละประเทศของโลกต้องร่วมมือร่วมใจกัน เพื่อที่จะขจัดให้หมดไปจากการดำเนินชีวิตอยู่ในหมู่บ้านโลก (Global Village) เดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึง มีแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ และงานวิจัยต่างๆ ทางด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา วัฒนธรรม เป็นต้น เกิดขึ้นมากมายทั้งในโลกตะวันตก และตะวันออกในการที่จะหาทางปรับปรุงแก้ไขปัญหาคือสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวอันเป็นต้นตอแห่งความเสี่ยงภัยในอาชญากรรมที่ก่อโดยผู้มีปัญหาครอบครัวทั้งเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ที่ได้รับความกดดันและมูลเหตุจูงใจในด้านต่างๆ รวมถึง การการดำเนินงานในโครงการต่างๆ โดยทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อช่วยเหลือเยียวยา สอดส่องดูแลผู้ ประสบเคราะห์กรรมจากความรุนแรงในครอบครัวทั้งด้านสุขภาพกายและจิต ทั้งนี้เพื่อช่วยกันสร้างสรรค์ และพัฒนาสังคมต่อไป

๓. การจัดการความรุนแรงในครอบครัวเซิงพุทธบูรณาการ

          ๓.๑ ความรุนแรงในครอบครัวในมุมมองพระพุทธศาสนา     

          ความรุนแรงอันจะก่อความเสียหายให้กับคนรอบข้างคือคนในครอบครัวและสังคมนั้น ในทางพระพุทธศาสนาได้มองไปถึงสาเหตุจากองค์ประกอบภายใน คือตัวกิเลสภายในจิตใจของมนุษย์ ซึ่งเดิมทีมีความบริสุทธิ์ แต่เพราะอุปกิเลสที่จรมา จึงทำให้มนุษย์เกิดมิจฉาทิฏฐิคือความคิดในทางผิดๆ และตกเป็นทาสของอารมณ์ร้ายต่างๆ อาทิ อารมณ์ชักนำให้ใคร่ ให้รัก ให้อยากได้ ได้แก่ ราคะ โลภะ อิจฉาริษยา (อยากได้) โทสะ (โกรธ) โมหะ (หลงผิด) ฯลฯ ผู้ที่ตกอยู่ในวังวนของอารมณ์เช่นนี้เมื่อมีองค์ประกอบภายนอกมาเสริมด้วย เช่น เศรษฐกิจฝืดเคือง ความมีทัศนคติที่ผิดของคนในชุมชน หรือ สังคมที่เห็นว่าความรุนแรงสามารถนำมาใช้ต่อรองในการเจรจา หรือใช้แก้ปัญหาได้ หรือเห็นว่าการกดฃี่ ข่มเหงเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีอำนาจเหนือกว่า เป็นผู้นำ เป็นต้น ก็ย่อมหลงผิดก่อการประทุษร้าย สร้าง ความเดือดร้อนแก่ครอบครัว และสังคมส่วนรวมไม่หยุดหย่อน

          พระพุทธเจ้าผู้เสมือนหนึ่งพระบิดาแห่งพระภิกษุ สงฆ์สาวก ซึ่งก็เปรียบได้กับสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน ได้ทรงประทานแนวทางในการที่จะแก้ไขปัญหาความวิวาทอันจะนำไปสู่ความ รุนแรงไว้โดยทรงชี้ว่ามูลเหตุแห่งการวิวาทหรือวิวาทาธิกรณ์[25]  มาจากความเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ลบหลู่ดูหมิ่นอีกฝ่ายอย่างไม่ให้เกียรติ ตีตนเสมอ อิจฉา ริษยาเป็นปกตินิสัย และยังตระหนี่ อวดดี ไม่ ยอมลดราวาศอกให้กัน เรื่องของความขัดแย้งต่างๆ ที่พอจะเจรจาตกลงกันได้ก็ไม่ยอมกัน เห็นผิดเป็นชอบ ยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิของตน ดื้อรั้น ไม่ยอมสละสิ่งที่ตนยึด จึงนำไปสู่ความแตกแยกร้าวฉาน จน กลายเป็นชนวนความรุนแรงตามมา[26] ในการระงับความขัดแย้งที่จะนำไปสู่ความรุนแรงนั้น ทั้งสองฝ่ายต้องร่วมกันพิจารณาด้วยการมองเห็นโทษที่จะตามมา เจรจากันอย่างสันติ เป็นมิตรที่ดีต่อกัน เข้าใจกัน ให้กำลังใจ เคารพ ให้เกียรติกัน ยอมรับและให้ความสำคัญในบทบาทของกันและกัน เรื่องที่ผ่านมา ขอให้ทำเป็นเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น วิธีนี้ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “ติณวัตถารกวิธี” หรือวิธีแห่ง “ติณวัตถารกวินัย” คือวิธีตัดสินโดยวิธียอมความกัน ตามศัพท์แปลว่า “ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า” เป็นการสลายความขัดแย้งด้วยการประนีประนอมกันทั้งสองฝาย ไม่ต้องชำระสะสางหาความเดิม[27]

๓.๒ ข้อปฏิบัติตามแนวพุทธธรรมในการจัดการความรุนแรงในครอบครัว

ในการจัดการความรุนแรงในครอบครัวสมัยใหม่ ต้องพิจารณาให้ทั่วถึงทั้งในระดับ ปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคลและสังคมในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง คือ มิติแห่งการป้องกันมิให้เกิดความรุนแรง ทั้งในครั้งแรกที่ยังไม่เคย หรือเมื่อเกิดแล้ว มีวิธีป้องกันมิให้เกิดซ้ำอีกในครั้งต่อๆ ไปอย่างไร มิติแห่ง การแก้ไขเมื่อเกิดความรุนแรงขึ้นแล้วจะทำอย่างไรให้ทุเลาเบาบางลง รวมถึงมิติแห่งการเยียวยาเมื่อมีความรุนแรงเกิดขึ้นแล้ว โดยการนำแนวทางแห่งพุทธธรรม[28]มาใช้ ดังต่อไปนี้

๓.๒.๑ ระดับปัจเจกบุคคล

๓.๒.๑.๑ การป้องกันและแก้ไขความรุนแรงระหว่างสามีและภรรยา: หลักการ ป้องกันและแก้ไขความรุนแรงที่ดีนั้น ทั้งสองฝ่ายต้องมีความเพียรพยายามที่จะประคับประคองชีวิตคู่ที่ร่วมสร้างครอบครัวเดียวกันให้คงอยู่ได้ตลอดไป ดังข้อปฏิบัติ ดังนี้

ก) สามีภรรยาควรตักเตือนกันเป็นประจำใน“หลักประกัน ๕ ประการ” ที่จะไม่สร้างรอยร้าวให้เกิดขึ้นต่อกัน เพื่อสร้างความไว้วางใจให้แก่กันและกัน ได้แก่

หลักประกันประการที่ ๑: ต่างฝ่ายต่างต้องไม่สร้างความโหดร้าย รุนแรงขึ้นในจิตใจของกันและกันโดยการตั้งจิตไว้ในความเมตตากรุณา มีความรักใคร่ปรารถนาดีและสงสารเห็นใจอีกฝ่ายเสมอในฐานะที่ได้ตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกันเสมือนลงเรือลำเดียวกันแล้ว เพื่อป้องกันปัญหาการใช้กำลังข่มเหงทำร้ายร่างกายกันซึ่งมีผลเป็นความบาดเจ็บทั้งร่างกายและจิตใจโดยเฉพาะ สามีต้องให้หลักประกันแก่ภรรยาให้มาก เพราะเป็นเพศที่มืพละกำลังเหนือกว่า ทางที่ปลอดภัยที่สุดคือ การไม่เก็บอาวุธร้ายแรงเช่นปืนไว้ในบ้าน เพื่อป้องกันการใช้ด้วยอารมณ์ชั่ววูบจากโทสะ

หลักประกันประการที่ ๒: นอกจากการประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่เบียดเบียนใครแล้วต่างฝ่ายต่างต้องไม่เป็นคนมือไวเห็นแก่ได้จนสร้างความระแวงสงสัยให้แก่กันและกัน เพื่อเป็นหลักประกันด้านทรัพย์สินภายในครอบครัว ดังมีสามีภรรยาบางคู่ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องช่อนค่าใช้จ่ายต่างๆ ไว้เพื่อมิให้อีกฝ่ายนำไปใช้ในทางอบายมุขหรือในทางฟุ่มเฟือย อาทิ นำไปดื่มสุรา เล่นการพนัน หรือสังสรรค์กับเพื่อนฝูง เป็นต้น จัดเป็นการขาดหลักประกันทางด้านเศรษฐกิจและความเชื่อใจกัน

หลักประกันประการที่ ๓: ต่างฝ่ายต่างต้องไม่ใจเร็วด่วนได้ ตั้งตนไว้ในความพอดีในเรื่องกามคุณ มีความสันโดษยินดีพอใจเฉพาะในคู่ครองของตนโดยไม่คิดนอกใจ ไม่ เหลาะแหละ จึงจะเป็นหลักประกันในเรื่องความรักในคู่ครองได้

หลักประกันประการที่ ๔: ต่างฝ่ายต่างต้องไม่พูดปดมดเท็จต่อกัน เป็นการสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจกันด้วยหลักแห่งความสัตย์ เป็นหลักประกันแห่งความชื่อตรงต่อกัน

หลักประกันประการที่ ๕: ต่างฝ่ายต่างต้องไม่สร้างเหตุแห่งความลุ่มหลงมัวเมา ขาดสติ โดยใช้สิ่งเสพติดมึนเมาเป็นเครื่องย้อมใจให้เกิดความฮึกเหิม ต้องใช้หลักการประคับประคองตนด้วยสติสัมปชัญญะ เพื่อเป็นหลักประกันแห่งความไม่ประมาท

ข) เมื่อใช้ชีวิตร่วมกันแล้ว ภรรยาต้องเอาใจใส่ดูแลงานบ้านสงเคราะห์ญาติทั้งฝ่ายสามีและฝ่ายตนโดยเฉพาะการไม่ทอดทิ้งผู้สูงอายุ ไม่นอกใจสามีรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ และขยัน ใส่ใจในกิจการงานทั้งปวง สามีเมื่อได้รับการปรนนิบัติจากภรรยาเช่นนี้ก็ไม่เอาเปรียบ ต้องตอบแทนนํ้าใจโดยการยกย่อง ไม่ดูหมื่น ไม่นอกใจ มอบความเป็นใหญ่ให้ และให้เครื่องประดับเครื่อง แต่งตัว และหากภรรยาต้องออกไปทำงานนอกบ้านเพื่อช่วยสามีอีกแรงหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายก็ต้องถ้อยที ถ้อยอาศัยผลัดกันดูแลงานบ้านไม่เกี่ยงงอนกันโดยอ้างว่าไม่ใช่หน้าที่ของเพศตน

ค) เมื่อมีเรื่องขัดแย้งไม่ลงรอยกันก็ต้องรู้จักข่มใจ อดทน และยินดีเสียสละความสุขส่วนตนบ้างเพื่อให้อีกฝ่ายสบายใจ การสื่อสารกันแบบสันติวิธีนั้น แต่ละฝ่ายต้องใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของอีกฝ่าย ใช้เหตุผลแทนอารมณ์โดยการตั้งกัลยาณจิตต่อกัน คือจะคิด จะ พูด จะทำอะไรควรตั้งสัจจะไว้ในใจตนว่าจะใช้ความเมตตา และความยุติธรรมมิให้ลำเอียงเข้าข้างตนเอง และเพื่อให้เกิดความสงบเย็นจากภายใน ดังคำกล่าวที่ว่า “จิตมีเมตตาก็เหมือนปลาได้น้ำ ถ้าจิตขาด เมตตาก็เหมือนปลาที่ขาดน้ำ” ชื่งจะหาความสงบได้ยากที่สำคัญคือทั้งสองฝ่ายควรมองให้เห็นโทษของโทสะ และเห็นประโยชน์ของความเป็นมิตรที่ดีต่อกันว่าเป็นรากฐานสำคัญของการประนีประนอมในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

                        ๓.๒.๑.๒ การเยียวยาความรุนแรงระหว่างสามีและภรรยา: ในกรณีที่เกิดการกระทบกระทั่งจนกลายเป็นความรุนแรงขึ้นแล้ว และยังมีความจำเป็นต้องอยู่ร่วมกันด้วยภาระหน้าที่ในครอบครัว ต่างฝ่ายก็ต้องพยายามปรับอารมณ์ให้เย็นลงและพูดปรับความเข้าใจกันอย่างมีเหตุผล นึกถึงความดีและสิ่งดีๆ ที่เคยทำด้วยกัน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาความรุนแรงที่เกิดว่ามีอะไรบ้างที่เป็นปัจจัย กระตุ้นให้เกิด เมื่อต่างฝ่ายต่างทราบก็จะได้ปรับปรุงแก้ไขต่อไป ไม่ควรโทษกันและกัน ควรนึกถึงหลัก ที่ว่าลิ้นย่อมกระทบฟันเป็นธรรมดา การเยียวยาที่ดีที่สุดของทั้งสองฝ่ายก็คือการเยียวยาจิตใจตนเองให้สามารถขจัดโทสะได้ การเจริญสติตามแนวมหาสติปัฏฐานสูตร จะช่วยได้มากที่สุด หากไม่ทราบวิธีก็ ควรแสวงหากัลยาณมิตร[29] เพื่อชี้แนะกรณีปัญหาบานปลายใหญ่โต ไม่สามารถประนีประนอมกันได้ทางแก้และเยียวยาก็มีหนทางเดียวที่ทั้งคู่ต้องปล่อยวาง และตกลงใจที่จะแยกย้ายกันอยู่อาจจะเป็นการชั่วคราว หรือหย่าร้างกันอย่างถาวร เพื่อต่างฝ่ายต่างจะได้ถอยออกมาสู่ความเงียบสงบ และสามารถจัดการเยียวยาตนเองทั้งสภาพกายและจิตได้ เพราะไม่มีใคร หรือวิธีใดที่จะเยียวยารักษาตนได้ดีเท่ากับตนเอง แต่ปัญหาที่เกิดในสังคมส่วนใหญ่ฝ่ายชายมักไม่รักษาสัญญาที่ว่าจะเลิกแล้วต่อกัน เมื่อฝ่าย หญิงมีสัมพันธ์รักกับคนใหม่ ก็ตามราวีกันถึงขั้นก่อคดีฆาตกรรมทั้งอดีตภรรยาและคนรักใหม่ ดังนั้น แต่ละฝ่ายต้องตั้งสัจจะต่อกันในการจากกันด้วยดี โดยยึดหลักของความไม่ยึดมั่นถือมั่น มองสิ่งต่างๆ บนความเปลี่ยนแปลงภายใต้กฎฃองไตรลักษณ์[30]กรณีที่มีลูกด้วยกันก็ต้องตกลงกันด้วยดีที่จะยังคงเป็นมิตรที่ดีต่อกันและช่วยกันแบ่งเบารายจ่ายสำหรับลูกและจัดเวลาให้อีกฝ่ายได้พบปะลูกได้ตามสมควร และต่างฝ่ายต้องไม่ว่าร้ายนินทากันให้ลูกฟัง ต้องตระหนักเสมอว่าผลเสียจะตกอยู่ที่สุขภาพจิตของลูก

๓.๒.๑.๓การป้องกัน แก้ใข และเยียวยาความรุนแรงระหว่างพ่อแม่ และลูก:พ่อแม่

ต้องตระหนักเสมอว่าตนอยู่ในฐานะเสมือนพรหมของลูกที่ต้องประกอบด้วยความฒตตากรุณาต่อลูกยินดีเสมอเมื่อลูกมีความสุขและมีความสำเร็จในชีวิตทุกๆ ด้าน ขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักวางใจเป็นกลาง[31] ไม่ใช้สิทธิในความเป็นพ่อแม่เข้าไปก้าวก่ายความเป็นส่วนตัวของลูกมากเกินไป โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นจะต้องการความเป็นส่วนตัวมากเป็นพิเศษ พ่อแม่สามารถคอยสอดส่อง ดูแลลูกอยู่ในระยะห่างที่พอเหมาะมิให้ลูกเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขต่างๆ ได้ โดยมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดให้พ่อแม่ได้มีส่วนร่วมกับนักเรียน และหมั่นเข้าร่วมการประชุมผู้ปกครองที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น เพื่อจะได้ทราบความเป็นไปในเรื่องการเรียนและความประพฤติของลูก พ่อแม่ให้คำแนะนำลูกได้ ในลักษณะที่ไม่เป็นการบังคับคาดหวังหรือขู่เข็ญจนลูกเกิดความเครียดและกดดันอันอาจส่งผลให้มีพฤติกรรมไปในทางก้าวร้าวรุนแรงได้ พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างในความประพฤติอันดีงาม ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ยิ้มแย้มให้กันเสมอ ไม่เคร่งเครียดเกินไปจนบรรยากาศในบ้านไม่อบอุ่นสำหรับลูก ต้องใจเย็น ร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ในครอบครัวด้วยวิธีสุขุม รอบคอบ มีเหตุผล และสงบสันติ ไม่โวยวาย ใช้คำผรุสวาท ด่าทอต่อว่ากัน หากลูกมีปัญหาพลาดพลั้งในเรื่องต่างๆ เช่น ผลการเรียนไม่ดี หรือผิดใจกับเพื่อน พ่อแม่ต้องปลอบโยนให้กำลังใจและคำแนะนำที่ดีไม่ดูถูกหรือชํ้าเติมขณะเดียวกันลูกก็ต้องเคารพนอบน้อม เชื่อฟัง และกตัญญต่อพ่อแม่ รู้จักเสือกคบหาสมาคมกับเพื่อนดีไม่เป็นอันธพาล ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพ ติด หากทั้งพ่อแม่และลูกปฏิบัติตามนี้ได้ ความรุนแรงย่อมไม่อาจเกิดได้ หรือหากมีความขุ่นข้องหมองใจกันระหว่างพ่อแม่และลูก แต่ละฝ่ายต้องเปิดใจพูดคุยรับฟังกันและกันโดยไม่ใช้อารมณ์ ควรมีการทำากิจกรรมร่วมกัน เช่น รับประทานอาหารร่วมกันที่บ้านหรือนอกบ้านในบางโอกาส พ่อแม่ร่วม กิจกรรมที่โรงเรียนกับลูก เช่น การแข่งกีฬาสามัคคีระหว่างนักเรียนและผู้ปกครอง การไปทำบุญตักบาตรฟังธรรม เวียนเทียนที่วัดในวันสำคัญทางพุทธศาสนาด้วยกัน ฯลฯ ที่สำคัญต้องหมั่นแสดงความรัก ความอาทรต่อกันทั้งคำพูดและท่าทีที่มีการสวมกอดให้ความอบอุ่นแก่กันเป็นประจำโดยไม่รังเกียจว่าเป็นวัฒนธรรมของชาวตะวันตก เพราะเรื่องของความรักความสามัคคีปรองดองกันในครอบครัวนั้นเป็นเรื่องของทุกวัฒนธรรมในโลก ก็จะช่วยเยียวยาความบาดหมางที่เคยมีต่อกันได้มาก

๓.๒.๒ ระดับกลุ่มบุคคลและสังคม

๓.๒.๒.๑ หลักการสงเคราะห์กัน: คือ การนำเอาหลัก “สังคหวัตถุ” ตามแนวพุทธธรรมมาใช้ช่วยเหลือกันเพื่อยึดเหนี่ยวใจกันไวัโดย

ก) การแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นํ้าใจไมตรีตลอดจนทรัพย์และสิ่งของแก่ครอบครัวที่กำลังเดือดร้อน

ข) พูดจาอ่อนหวาน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน

ค) การทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อกัน และ

ง) การทำตนให้เข้ากันได้ และมีความเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ถือตัว ร่วม สุข ร่วมทุกข์กัน เป็นต้น[32] หลักธรรมนี้ทำให้ครอบครัว ชุมชน และสังคม อยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติ มีมิตรไมตรีต่อกัน เข้าอกเข้าใจกัน เมื่อครอบครัวใดในละแวกเดียวกันเกิดปัญหาขึ้นโดยเฉพาะเมื่อเกิด ปัญหาความรุนแรงขึ้น ก็จะร่วมมือร่วมใจกันช่วยผ่อนคลายสถานการณ์ให้แก่ครอบครัวนั้น หากแต่ละครอบครัวมีหลักธรรมนี้ในการดำเนินชีวิตในสังคมร่วมกัน แต่ละครอบครัวจะไม่ปล่อยให้ครอบครัวเพื่อนบ้านต้องเผชิญปัญหาเพียงลำพัง ขณะเดียวกันครอบครัวที่ประสบปัญหาก็จะไม่หวงแหนว่าปัญหารุนแรงนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวเฉพาะในครอบครัวตนเท่านั้น แต่ยินดีแบ่งปันให้ร่วมรับรู้ อย่างน้อยก็เป็นอุทาหรณ์ ไม่ปรารถนาให้เกิดกับครอบครัวอื่นๆ และไม่รู้สึกเสียหน้าที่จะรับความช่วยเหลือจากครอบครัวอื่นๆ

๓.๒.๒.๒ การสร้างความสัมพันธ์และระเบียบในการอยู่ร่วมกัน: หากได้มีการนำหลัก “วัชชีอปริหานิยธรรม” (หมายถึงธรรมในหมวดที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่กษัตริย์วัชชีผู้รับผิดชอบต่อบ้านเมืองที่เป็นเหตุให้เกิดความเจริญโดยส่วนเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย มี ๗ ประการ ได้แก่ ๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ๒. พร้อมเพรียงกันในการประชุม การเลิกประชุมและการทำกิจที่พึงทำ ๓. ไม่ถืออำเภอใจบัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ทั้งไม่ล้มล้างสิ่งที่ได้บัญญัติไว้ และถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรม ๔. ต้องให้ความเคารพนับถือท่านผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี เห็นถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งอันพึงรับฟัง ๕. ต้องไม่ฉุดคร่าหรือข่มเหงรังแกบรรดากุลสตรี และกุลกุมารีทั้งหลาย ๖. เคารพลักการะ บูชาเจดีย์ของวัชชีทั้งภายในและภายนอก ไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้และกระทำเหล่านั้นให้เสื่อมไป ๗. จัดให้ความอารักขาคุ้มครองอันชอบธรรมแก่พระอรหันต์หรือบรรพชิตที่เป็นหลักใจของประชาชน ตั้งใจให้ท่านที่ยังมิได้มาพึงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วพึงอยู่โดยผาสุข)[33]มาใช้ในครอบครัวและชุมชน ก็จะสามารถแก้ไข และเยียวยาความขัดแย้งในครอบครัวและชุมชนที่พอกพูนสะสมจนอาจประทุสู่ความรุนแรงได้ หรือแม้ว่าปัญหายังไม่มีแนวโน้มว่าจะเกิด แต่หลักธรรมนี้ก็สามารถป้องกันมิให้เกิดได้ เช่น จากหลักธรรมประการที่ ๑ และ ๒: หากทั้งผู้นำและสมาชิกในแต่ละครอบครัว และ ชุมชนหมั่นร่วมการเสวนา ประชุม ปรึกษาหารือกันในเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่ร่วมกันหรือเกี่ยวกับ ปัญหาต่างๆ เป็นประจำ โดยมีการเปิดโอกาสให้คนในครอบครัวและชุมชนได้แสดงความคิดเห็น ร่วมชี้แจงเหตุผล แบ่งปันประสบการณ์ที่มีประโยชน์ต่อแต่ละคนในครอบครัวและต่อแต่ละครอบครัวในชุมชน รวมถึงการทำกิจกรรมที่มีประโยชน์อื่นๆ ร่วมกันเป็นประจำ เช่น การจัดสัมมนากระชับความ สัมพันธ์อบอุ่นในครอบครัวและชุมชน การประกอบศาสนกิจ และการมีกิจกรรมสันทนาการร่วมกัน เช่น การเล่นหรือแข่งกีฬา ฝึกฝนการรู้แพ้ชนะ รู้อภัย การวาดภาพหรือการทำงานศิลปะหัตถกรรม เพื่อคลายเครียดและฝึกอารมณ์สุนทรีย์ หรือการร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งในบ้าน ในชุมชนและสังคม เป็นต้น ก็ย่อมทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีโดยรวม เป็นที่น่ายินดีว่าในสังคมไทยปัจจุบันเริ่มมีบุคลากรที่มีจิตอาสา จัดดำเนินการสัมมนาสมาชิกครอบครัวและชุมชนเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นขึ้นโดยไม่หวังผลกำไรในทางธุรกิจ เพื่อมีส่วนร่วมในการแก้ไขและเยียวยาสังคมที่คนส่วนใหญ่ไม่มีเวลา และโอกาสที่จะเปิดใจให้กันและกันแม้จะอยู่ในบ้าน ในชุมชนและสังคมเดียวกันก็ตามจากหลักธรรมประการที่ ๓: หากคนในครอบครัว ชุมชน และสังคมไม่ถืออำเภอใจในการสร้างกฎ เกณฑ์หรือเงื่อนไขใหม่ที่เป็นไปในทางขัดแย้ง แตกความสามัคคี เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือหมู่คณะ และ ไม่ล้มล้างแต่ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งที่เคยเป็นวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของสังคมร่วมกัน ทุกฝ่ายก็ย่อมมีระเบียบแบบแผนแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ปลอดจากความรุนแรงจากหลักธรรมประการที่ ๔: หากคนในครอบครัว ชุมชน และสังคมให้ความเคารพนับถือท่านผู้ใหญ่ เห็นถ้อยคำและความประพฤติอันดีงามของท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งอันพึงรับฟังและปฏิบัติตาม เช่น สมาชิกครอบครัวเคารพ เชื่อฟังหัวหน้าครอบครัว และญาติผู้ใหญ่ คนในชุมชนและสังคมให้ความเคารพผู้นำชุมชน และผู้ใหญ่ ที่มีความรอบรู้ในความรู้และประสบการณ์ต่างๆในการดำเนินชีวิตอย่างสันโดษคือการมีความยินดีพอใจ และมีความสุขกับเครื่องเลี้ยงชีพที่หามาได้ด้วยความเพียรพยายามอันชอบธรรมของตน ไม่โลภหรือริษยาใคร[34]ไม่หลงใหลในกระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยมในโลกสมัยใหม่ แต่กลับให้ความคิดริเริ่ม สนับสนุนส่งเสริมการประกอบกิจกรรมต่างๆ ที่มีประโยชน์แก่ทุกคนในครอบครัวและสังคม สังคมทุกหน่วยก็ย่อมจะมีหลักหรือที่พื่งพาในการหาทางออกต่อปัญหาต่างๆรวมถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัว จากหลักธรรมประการที่ ๕: หากผู้นำของทุกส่วนในสังคมครอบครัว และชุมชนให้ความสำคัญในการรณรงค์ต่อต้านการฉุดคร่าหรือข่มเหงรังแกสตรีและเด็กโดยช่วยกันสอดส่องดูแล ก็จะช่วยป้องกันความรุนแรงมิให้เกิดได้ จากหลักธรรมประการที่ ๖:คำตรัสของพระพุทธเจ้าที่ว่าให้มีการเคารพลักการะบูชาเจดีย์ของวัชชีทั้งภายในและภายนอก ไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้และกระทำ เหล่านั้นให้เสื่อมไป โดยนัยยะก็คือการอนุรักษ์ประเพณีที่สืบทอดกันมาในการแสดงความกตัญญ กตเวทีระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษ หากใครแตกเหล่าออกไปก็สามารถสร้างความแตกแยกให้เกิดได้ในแง่ที่เป็นการแสดงออกถึงความอกตัญญ แม้โลกปัจจุบันจะมีความทันสมัยขึ้นมากมาย ครอบครัว ชุมชนและสังคมโดยรวม ก็ยังต้องสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามนี้ไว้ ทั้งให้ความสำคัญแก่ผู้สูงอายุ ไม่ลบหลู่ดูถูกว่าเป็นผู้ไร้ประโยชน์หรือด้อยคุณคำ การย่อหย่อนในวัฒนธรรมนี้ทำให้สังคมไทยปัจจุบันมีปัญหาความรุนแรงทางจิตใจมากมายในหมู่ผู้สูงอายุ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ประเพณีไทย เช่น เทศกาลสงกรานต์ เอื้อโอกาสให้ลูกหลานของพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่และผู้สูงอายุได้กลับไปแสดงความกตัญญกตเวที เป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้ดูแลทุกข์สุขตอบแทนพระคุณ ไม่ทอดทิ้งเป็นการถาวร ทุกฝ่ายก็ควรร่วมกัน อนุรักษ์ไว้ และหาทางสงเคราะห์เยียวยาผู้สูงอายุเหล่านั้นให้ใช้ชีวิตบั้นปลายด้วยความสุข และจากหลัก ธรรมประการที่ ๗: การให้ความอารักขาคุ้มครองอันชอบธรรมแก่พระอรหันต์หรือบรรพชิตที่เป็นหลักใจของประชาชน จะทำให้ประชาชนในทุกหน่วยของสังคมได้รับความเมตตาอนุเคราะห์ตอบจากพระ อรหันต์หรือบรรพชิตเหล่านั้นในฐานะกัลยาณมิตรผู้ชี้แนะหลักธรรมต่างๆ ในการดำเนินชีวิตร่วมกับ คนในครอบครัวและสังคมอย่างสงบสันติ ปลอดจากความขัดแย้งรุนแรง ตามที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะ เห็นได้ว่าหลัก “วัชชีอปริหานิยธรรม” ของพระพุทธเจ้าสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบันให้เกิด ประโยชน์ได้อย่างไม่ตกยุค

๓.๓ สรุปแนวทางการจัดการความรุนแรงในครอบครัวเชิงพุทธบูรณาการ

ในการจัดการความรุนแรงในครอบครัวเชิงพุทธบูรณาการตามเป้าหมายของบทความนี้นั้น บุคคล หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสถาบันครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานศึกษา ศูนย์ การเรียนรู้ โรงพยาบาล หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ในความดูแลของทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน และที่สำคัญมากคือผู้ผลิตสื่อด้านความบันเทิงต่างๆ ควรนำข้อปฏิบัติเชิงพุทธ สำหรับปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคลและสังคมที่ได้กล่าวไปแล้ว ไปแผ่ขยายในภาคปฏิบัติในรูปแบบของ การบูรณาการเข้ากับแนวคิด แนวทาง และการดำเนินการจัดการความรุนแรงในครอบครัวที่มีอยู่แล้ว แต่ยังไม่พอเพียง ทั้งในระดับของการป้องกัน การแก้ไข และการเยียวยาให้เป็นรูปธรรม ดังบทสรุปโดยย่อ ต่อไปนี้

๓.๓.๑ร่วมกันสร้างค่านิยมพร้อมการลงมือปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิตอย่าง “สันโดษ” เพื่ออยู่ร่วมกันในยุคโลกาภิวัตน์อย่างสงบสุข

๓.๓.๒ ร่วมกันสร้างคุณค่าที่เท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ทั้งเพศชาย และเพศหญิง แต่ต้องไม่ปฏิเสธ หรือบิดเบือนหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทในครอบครัว ชุมชน และสังคม รวมถึงต้องยอมรับความอ่อนแอกว่าในทางกายภาพของเพศหญิง ที่เพศชายต้องไม่ใช้พละกำลังไปใน ทางข่มขู่ หรือข่มเหง รังแก

๓.๓.๓ร่วมกันสร้างสัมพันธภาพแห่งความรัก ความเมตตากรุณา ความปรารถนาดีที่สมดุลจากครอบครัวสู่สังคมโดยรวม นำสังคมไทยในแบบ “เอื้ออาทร เกื้อกูล มีน้ำใจและมิตรไมตรีต่อกัน” กลับมาจากการต่อสู้ ทำสงคราม แก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ วัตถุ และเงินตราสนอง ความโลภ โดยหันมาส่งเสริม สนับสนุนการทำความดีด้วยการทำประโยชน์แก่คนในครอบครัว และผู้ อื่นในสังคมร่วมกัน ส่งเสริมคนดีมากกว่าคนเก่งฉลาดแกมโกงแต่ ไร้คุณธรรม

๓.๓.๔ ร่วมกันใช้ความทันสมัยของสื่อทางการสื่อสารไปในทางสร้างสรรค์สัมพันธ์อันอบอุ่นดีงามในครอบครัวและสังคมโดยรวม เช่น การแผ่ขยายแนวคิดในการดำเนินชีวิตในครอบครัว และสังคมด้วยหลักพุทธธรรมต่างๆ ที่เกี่ยวช้อง, การสื่อให้เห็นอุปนิสัยทางธรรมชาติที่ต่างกันระหว่าง เพศชายและเพศหญิง เพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าอกเข้าใจ และเห็นใจกัน, ความไม่ยึดมั่นถือมั่น มองสิ่งต่างๆ บนความเปลี่ยนแปลงภายใต้กฎของไตรลักษณ์ ที่สำคัญคือต้องไม่ใช้สื่อทันสมัยไปในทาง ก่อความกดดัน ความขัดแย้ง ความรุนแรง และความแตกสามัคคีระหว่างคนในครอบครัวและสังคม ประโยชน์ชองสื่อวิทยุ และโทรทัศน์สามารถนำมาใช้ในการจัดรายการต่างๆ เพื่อเยียวยา บำบัด ฟื้นฟูจิตใจแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวช้องกับวงจรแห่งความรุนแรงในครอบครัว รวมถึงการให้ความรู้และแนวทางแก่ ครอบครัวในการช่วยเหลือเยียวยา ให้กำลังใจแก่สมาชิกผู้ถูกกระทำรุนแรงได้ แทนการสื่อความรุนแรงในรูปแบบของความบันเทิงเริงรมย์ต่างๆ เช่นในละคร และภาพยนตร์ เป็นต้น ตลอดจนร่วมมือกันใน การเผยแพร่คำแนะนำ ตักเตือน ในการใช้สื่ออย่างรู้เท่าทันในหมู่เยาวชนที่กำลังจะเติบโตเป็นอนาคตของครอบครัวและประเทศชาติ

๓.๓.๕ ร่วมกันสร้างนิสัยการให้ความสำคัญกับการสื่อสารโดยตรงกับคนในครอบครัว ด้วยความรัก ความเข้าใจ และความมีเหตุผล รวมถึงการฝึกทักษะการฟังให้ลึกถึงสาส์นของคนในครอบครัว คือฟังอย่างเปิดใจ ไม่มีอคติใดๆ แอบแฝง เมื่อมีปัญหาขัดแย้ง ก็ร่วมกันแก้ไขอย่างใจสงบ เย็นมีเหตุผล ใช้ปัญญาในการลืบหาสาเหตุแห่งความขัดแย้งเพื่อแก้ไขได้ตรงจุด

๓.๓.๖ ร่วมกันกำจัดบรรทัดฐานที่ให้สิทธิอันถูกต้องตามกฎหมาย หรือยกย่อง ชื่นชม ความรุนแรงในครอบครัว พัฒนาพระราชบัญญัติกฎหมายครอบครัวไปในทางป้องกัน แก้ไข และ เยียวยาทั้งผู้ถูกกระทำรุนแรง และผู้กระทำรุนแรงให้เข้มแข็งเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

๓.๓.๗ ร่วมกันสร้างมาตรฐานในการฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการสังคมสงเคราะห์ในระดับของการช่วยแก้ไข และเยียวยาความรุนแรงในครอบครัวให้มีจิตอาสา เสียสละ อดทน เพื่อช่วยนำทั้งผู้ถูกกระทำรุนแรง และผู้กระทำรุนแรงกลับสู่ครอบครัวและสังคม

๓.๓.๘ร่วมกันสร้างนิสัยในการเจริญสติภาวนา และการแผ่เมตตา เพื่อก่อให้เกิดปัญญาและจิตใจที่อ่อนโยนในการดำเนินชีวิตในครอบครัวและสังคมโดยไม่ใช้กำลังเบียดเบียนกันรู้เท่าทัน และสามารถจัดการกับอารมณ์ต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวและสังคมได้อย่างมี “สติสัมปชัญญะ”

๓.๓.๙ ผู้นำครอบครัว ชุมชน และสังคม ต้องพร้อมใจกันเป็นแบบอย่างที่ดี (Role model) ของคนในครอบครัวและสังคม การบูรณาการเชิงพุทธ ดังกล่าวโดยสรุปข้างต้น จัดเป็นการหล่อหลอมพื้นฐานทางจิตใจของคนในครอบครัวและสังคมโดยรวมให้รังเกียจความรุนแรงในทุกรูปแบบ ส่งผลสู่พฤติกรรมหรือการกระทำที่หนีห่างจากวงจรของความรุนแรงในครอบครัวและสังคมอันเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมแก้ไขวิกฤติสังคมโลกในปัจจุบัน

 

บรรณานุกรม

๑. ภาษาไทย

(๑) หนังสือ :

กฤตยา อาชวนิจกุล และคณะ. “ความรุนแรงในชีวิตคู่”. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิผู้หญิง, ๒๕๔๖.

จิราภา เต็งไตรรัตน์ และคณะ. จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๗.

พระพรหมคุณาภรณ์, (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๑/๒. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด, ๒๕๕๑.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปีฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,พ.ศ.๒๕๓๙.เล่มที่ ๖, ๙, ๑๐, ๑๑, ๑๒, ๑๕, ๑๙, ๒๑, ๒๓. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วันชัย วัฒนศัพท์. ความขัดแย้ง.หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา. ขอนแก่น : โรงพิมพ์ ศิริกัณฑ์ ออฟเช็ท, ๒๕๔๗.

(๒) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ :

“ตำราพิชัยสงคราม”, (The Art of War). <http://www.phongphit.com/index.php?option=com_ content&taskx>.

“ร่วมต่อต้านการใช้ความรุนแรงกับผู้หญิง, (Say NO to Violence against Women)”. <http:// www.novaw.or.th/?p=5>.

“รู้จัก สสส.”, <http://www.thaihealth.or.th/about/get-to-know>.

สุมนทิพย์ใจเหล็ก. “ความรุนแรงในครอบครัวกับการกระทำผิดของเด็ก และเยาวชน” (๒๕๔๖), <http:/ /www.th.wikipedia.org/wiki/>, <http://www.geocities.com/sumontip2003/ articlel.htm>.

“เส้นทางครอบครัวไทยในยุคโลกาภิวัตน์”, <http://www.love4home.com/index.php?>.

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. “ความรุนแรงในผู้สูงอายุ ความจริงที่สังคมไทยคาดไม่ถึง”. (๓๐ พ.ย.๒๕๕๒), <http://www.thaihealth.or.th/node/12511>.

หนังสือพิมพ์ข่าวสด. “วอนสังคมใส่ใจเรื่องผัวๆ เมียๆ”, (๒๔ส.ค. ๒๕๕๐). <http://www.icamtalk.com>.

“ความรุนแรงในครอบครัวไทย”, <www.m-society.go.th/document/edoc/edoc_470.doc ->.

Ben Thaiaporns Blog. “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการพัฒนาตนเอง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรวิทยาและการวัด”, <http://www.oknation.net/blog/philharmonics>.

“Triangular Theory of Love”, <http://en.wikipedia.org/wiki/Triangular_theory_of_love>.

Bopitv.“กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ การเยียวยาความรุนแรงในครอบครัว” (๑๕ ม.ค. ๒๕๕๑), <http://www.openbase.in.th/taxonomy/term795>.

<http://www.gracezone.org/index.php/knowlage/415-ahimsa>. <http://www.thaigov.net/ links.php#moj>.

๒. ภาษาอังกฤษ

Books

John M. Gottman and Sybil Carrere. “Why Can’t Men and Women Get Along? : Developmental Roots and Marital Inequities”. In Communication and Relational Maintenance, ed. by Daniel J. Canary and Laura Stafford.California : Academic Press Inc., 1994.

Kevin Browne & Martin Herbert.Preventing Family Violence.England: John Wiley & Sons Ltd., 1997.

 

 



[1]Kevin Browne &Martin Herbert, Preventing Family Violence, (England: John Wiley &Sons Ltd., 1997), pp. 1-2.

 

[2]กฤตยา อาชวนิจกุล และคณะ, "ความรุนแรงในชีวิตคู่'', รายงานการวิจัย, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิผู้หญิง, ๒๕๔๖, หน้า ๖.

[3]หนังสือพิมพ์ข่าวสด, "วอนสังคมใส่ใจเรื่องผัวๆ เมียๆ", ๒๔ สค. ๒๕๕๐, <http://www.icamtalk.com>.

[4]Kevin Browne &Martin Herbert, Preventing Family Violence, p. 186. Ibid., pp. 19-22.

                [5]Ibid.,pp. 111-145.

[6]จิราภา เต็งไตรรัตน์ และคณะ, จิตวิทยาทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๗), หน้า ๓๕๐-๓๕๑.

 

[7]อ้างใน จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย, "กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ การเยียวยาความรุนแรงในครอบครัว" : บทความกฎหมาย ศาลเยาวชน และครอบครัวกลาง - bopitv, 'กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ การเยียวยาความรุนแรงในครอบครัว'', (๑๕ ม.ค. ๒๕๕๑), <http://www.opeiibase.in.th/taxonomy/term795>.

 

                [8]ดูรายละเอียด “ตำราพิชัยสงคราม”(The Art of War) ใน <http://www.phongphit.com/index. php?option=com_content&task>.

[9]อ้างใน วันชัย วัฒนศัพท์, ความขัดแย้ง...หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา, (ขอนแก่น : โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท, ๒๕๙๗), หน้า ๙๐-๙๓.

 

[10]Ben Thaiapom's Blog, "แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการพัฒนาตนเอง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตร วิทยาและการวัด'', <http://www.oknatlon.net/blog/phllharmonlcs>.

[12]อ้างใน วันชัย วัฒนศัพท์, ความขัดแย้ง...หลักการและเครื่องมือแก้ป็ญหา, หน้า III-IV.

 

 

[13]เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๙๘.

                [14]ดูรายละเอียดใน John M. Gottman and Sybil Carrere, "Why Can't Men and Women Get Along? : Developmental Roots and Marital Inequities”, in Communication and Relational Mainte­nance, ed. by Daniel J. Canary and Laura Stafford, (Californfa : Academic Press Inc., 1994), pp. 215-­219.

[15]Ibid.,pp. 215-219.

[17]สุมนทิพย์ใจเหล็ก, "ความรุนแรงในครอบครัวกับการกระทำผิดของเด็ก และเยาวชน", (๒๕๙๖), <http://www.th.wikipedia.org/wiki/>, <http://www.geocities.com/sumontip2003/articlel.htm>.

 

                [18]"เส้นทางครอบครัวไทยในยุคโลกาภิวัตน์'', <http://www.love4home.com/index.php?>, "ความ รุนแรงในครอบครัวไทย'', <www.m-society.go.th/document/edoc/edoc_470.doc ->.

[19]เป็นการวิจัยร่วมกับการศึกษาสถานการณ์จริงในพื้นที่ทั้ง ๙ ภาครวมทั้งเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งสนับสนุนโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มล.ผล.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าสถานการณ์ความกระทำรุนแรงต่อผู้สูงอายุไทย มีหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ชัดเจน - หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ, "ความรุนแรงในผู้สูงอายุ ความจริงที่ลังคมไทยคาดไม่ถึง", (๓๐ พ.ย.๒๕๕๒), <http://www. thaihealth ,or.th/node/12511>.

[20]งานวิจัยของ แพทย์หญิง พรรณพิมล หล่อตระกูล, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, ๒๕๙๗, เรื่องเดียวกัน.

 

[21]จากรายงานการสำรวจของนิสิตครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย จากกลุ่มตัวอย่าง ๘๐๐ คน ใน กรุงเทพมหานคร, ๒๕๙๖ , เรื่องเดียวกัน.

                [22]รู้จัก สสส.'', <http://www.thaihealth.or.th/about/get-to-know>.

                [23]ดูรายละเอียดใน <http://www.thaigov.net/links.php#moj>.

[24]"ร่วมต่อต้านการใช้ความรุนแรงกับผู้หญิง (Say NO to Violence against Women)", <http://www.novaw.or.th/?p=5>.

 

[25]ดูรายละเอียดใน วิ.จู. (ไทย) ๖/๒๑๖/๓๓๒-๓๓๙.

[26]วิ.จู. (ไทย) ๖ /๓๖๙/๓๓๓-๓๓๙.

                [27]วิ.จู. (ไทย) ๖/๒๙๐/๓๖๕-๓๖๙, พระ,พรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ ประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๑/๒, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด, ๒๕๕๑), หน้า ๑๐๓.

                [28]โดยการนำหลักธรรมต่างๆ มาปรับใช้ในการครองคู่กัน เช่น ทิศ ๖ เบญจศีล-เบญจธรรม ฆราวาสธรรม การเจริญสติ พรหมวิหาร และสังคหวัตถุ เป็นต้น, ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๒๖๙, ๓๑๕/๒๑๙, ๓๐๒-๓๐๓, เชิงอรรถใน องฺ.จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๙๑/๑๓๙, สํ.ส. (ไทย) ๑๕/๒๙๖/๓๕๙, ที.ม. ๑๐ (ไทย)/๓๒๗-๓๒๙, ๓๗๒-๙๐๕/๒๕๖-๒๕๗, ๓๐๑- ๓๙๐, องฺ'จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๓๒, ๒๕๖/๕๑, ๓๗๓.

[29]สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๙๙, ๗๗/๙๓, ๕๓.

                [30]ดูรายละเอียดใน ม.มู. (ไทย) ๑๒/๓๕๘/๓๙๙-๓๙๖.

                [31]พรหมวิหาร ๔, ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๒๗-๓๒๙/๒๕๖-๒๕๗.

[32]อ้างแล้ว.

                [33]องฺ.สตฺตก. (ไทย) ๒๓/๒๑/๓๑-๓๒, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์, หน้า ๙๙๗-๙๙๘.

[34]ที.สี. (ไทย) ๙/๒๑๕/๗๓, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวล ศัพท์, หน้า ๙๒๙.

 

 

 

 

 

(ที่มา: บทความทางวิชาการ)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕