การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๔๔ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖
The Development of Computer Assist with Instruction on Buddhist Studies of the Basic Primary Education Curriculum for Pratom 1- 6 Levels
พีรวัฒน์ ชัยสุข: พธ.บ.เอกรัฐศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ),
ศษ.ม.(การศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง)
สรายุทธ อุดม: พธ.บ.เอกรัฐศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ),
รป.ม.(นโยบายสาธารณะและการบริหารงานบุคคล)
สุพัตรา ธิชัย: ศศ.บ.(โสตทัศนศึกษา),
ศษ.ม.(เทคโนโยลีการศึกษา)
ศศินิภา อาลากุล: บธ.บ.(การเงินการธนาคาร)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔ ตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓,๕ และ ๖ จำนวนโรงเรียนละ ๓๐ คน รวม ๙๐ คน ปีการศึกษา ๒๕๔๘ การหาประสิทธิภาพของบทเรียนนำไปทดลองหาประสิทธิภาพแบบหนึ่งต่อหนึ่ง แบบกลุ่มเล็กและกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการทดลองโดยให้นักเรียนศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย (๑) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา (๒) แบบวัดความคิดเห็นที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปรากฏว่า
ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีค่าประสิทธิภาพ ๘๔.๔๓/๘๖.๑๗ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
๒) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น อยู่ในระดับ ดีมากในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีค่า ประสิทธิภาพ ๘๓.๘๗/๘๔.๒๖ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
๒) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น อยู่ในระดับ ดีมากและในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๑) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีค่า ประสิทธิภาพ ๘๑.๕๖/๘๕.๑๐ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
๒) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น อยู่ในระดับ ดีมาก
คำหลัก : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา
Abstract
The purposes of this research were to investigate 1) the development of computer assisted with instruction (CAI) in Buddhist studies of a basic of primary education and curriculum for primary education 3.5 and 6 level 2) to study students’ opinions toward the CAI.
The sample group was randomly selected class of 30 studies of a basic of primary education and curriculum for primary education 3, 5 and 6 levels during the academics year 2004. The duration of the experiment covered one period class session.
The instruments used for gathering data were: 1) the CAI program for studies of a basic of primary education curriculum for primary education 3, 5 and 6 level and 2) a questionnaire o opinion toward the CAI. The mean (X) and standard division (S.D) was used to achement of CAI and evaluates the student’s complacency toward the use of the CAI.
The results of the study wee as follows:
The primary education 3 level;
1) The average score of the CAI exercises was 84.43 percent, whereas of the posttest was 86.17 percent. This means that the CAI exercises construction were highly effective.
2) The student’ complacency toward the CAI exercises were generally excellent.
The primary education 5 level were:
1) The average score of the CAI exercises was 83.87 percent, whereas that of posttest was 84.26 percent. This means that CAI exercises construction were highly effective.
2) The student’s complacency toward the CAI exercises was generally excellent.
And the primary education six level;
1) The average score of the CAI exercises was 81.56 percent, whereas that of the posttest was 85.10 percent. This means that the CAI exercises construction were highly effective.
2) The student’ complacency toward the CAI exercises were generally excellent..
Key Word : computer assisted instruction (CAI), in Buddhist studies
คำนำ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เกิดขึ้นจากความสนใจในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI เนื้อหาสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในระดับประถมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔ ตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓,๕ และ ๖ จำนวนโรงเรียนละ ๓๐ คน รวม ๙๐ คน ปีการศึกษา ๒๕๔๘ การหาประสิทธิภาพของบทเรียนนำไปทดลองหาประสิทธิภาพแบบหนึ่งต่อหนึ่ง แบบกลุ่มเล็กและกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการทดลองโดยให้นักเรียนศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
เครื่องมือและวิธีการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย (๑) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา เพื่อใช้ทดสอบประสิทธิภาพการเรียนด้วยบทเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ตามเนื้อหาของระดับนั้น ๆ ซึ่งได้ผ่านการทดสอบและการปรับปรุงจนได้ประสิทธิภาพแล้วจากกลุ่มตัวอย่าง (๒) แบบวัดความคิดเห็นที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อวัดความคิดเห็นของนักเรียนหลังจากใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสร็จแล้ว
ประชากร คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ในเขตกรุงเทพมหานครสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐานและเป็นโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรใหม่ จำนวน ๒๐ โรงเรียน และนักเรียนระดับชั้นที่จะทำการทดลอง จำนวน ๒๕๐ คน
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓, ๕ และ ๖ ในโรงเรียนนำร่อง จำนวน ๓ โรงเรียน จำนวนนักเรียนโรงเรียนละ ๓๐ คน รวมนักเรียน ๙๐ คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการพิจารณาผลการเรียนจากผลการเรียนภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๗ ได้มาระดับผลการเรียนต่ำ ๑๐ คน ระดับผลการเรียนปานกลาง ๑๐ คน และระดับผลการเรียนสูง ๑๐ คน รวมระดับชั้นละ ๓๐ คน
ผลการวิจัย
๑. การดำเนินการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีลำดับการประเมินดังนี้
๑.๑ การประเมินประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับกลุ่มทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง เพื่อหาประสิทธิภาพและข้อบกพร่องของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ทำแบบฝึกหัดท้ายบทได้คะแนนเฉลี่ย ๒๔.๓๓ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๑๑ และทำแบบทดสอบหลังเรียนได้เฉลี่ย ๒๖.๖๗ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๘๙ ประสิทธิภาพของบทเรียนในขั้นทดลองที่หนึ่งได้เท่ากับ ๘๑.๑๑/๘๘.๘๙ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ทำแบบฝึกหัดท้ายบทได้คะแนนเฉลี่ย ๒๕.๐๐ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๓๓ และทำแบบทดสอบหลังเรียนได้เฉลี่ย ๒๖.๐๐ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๘๖.๖๗ ประสิทธิภาพของบทเรียนในขั้นทดลองที่หนึ่งได้เท่ากับ ๘๓.๓๓/๘๖.๖๗ และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ทำแบบฝึกหัดท้ายบทได้คะแนนเฉลี่ย ๒๖.๖๗ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๘๙ และทำแบบทดสอบหลังเรียนได้เฉลี่ย ๒๗.๓๓ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๑๑ ประสิทธิภาพของบทเรียนในขั้นทดลองที่หนึ่งได้เท่ากับ ๘๘.๘๙/๙๑.๑๑ นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนซึ่งได้นำมาแก้ไขปรับปรุงดังนี้
ด้านภาพ ภาษาและเสียง
๑. ความชัดเจนของตัวอักษร
๒. สีพื้นหลังของบทเรียน
๓. ความชัดเจนของภาพประกอบ
ด้านเนื้อหา
๑. ปริมาณเนื้อหาที่ใช้ในแต่ส่วน
ด้านแบบฝึกหัดและแบบทดสอบ
๑. ความชัดเจนของคำสั่ง
๒. การรายงานผลแต่ละข้อ
ด้านการใช้งานและการโต้ตอบ
๑. ตำแหน่งของคำสั่งในการใช้งาน
๒. คำอธิบายการใช้งาน
จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะเรียน นักเรียนให้ความสนใจ และตั้งใจเรียนดีจากการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบของบทเรียนเกี่ยวกับรูปแบบส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนน่าสนใจ สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน พอใจที่ได้ทราบผลคะแนนจากการทำแบบทดสอบรายย่อยโดยทันที มีเสียงประกอบทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้น และใช้เวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาได้รวดเร็วขึ้น
๑.๒ การประเมินประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับกลุ่มทดลองแบบกลุ่มเล็ก ระดับชั้นละ ๙ คน รวม ๒๗ คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ทำแบบฝึกหัดท้ายบทได้คะแนนเฉลี่ย ๒๔.๘๙ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๘๒.๙๖ และทำแบบทดสอบหลังเรียนได้เฉลี่ย ๒๕.๘๙ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๘๖.๓๐ ประสิทธิภาพของบทเรียนในขั้นทดลองที่หนึ่งได้เท่ากับ ๘๒.๙๖/๘๖.๓๐ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ทำแบบฝึกหัดท้ายบทได้คะแนนเฉลี่ย ๒๔.๑๑ คะแนน ดเป็นร้อยละ ๘๐.๗๗ และทำแบบทดสอบหลังเรียนได้เฉลี่ย ๒๕.๐๐ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๓๓ ประสิทธิภาพของบทเรียนในขั้นทดลองที่หนึ่งได้เท่ากับ ๘๐.๗๗/๘๓.๓๓ และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ทำแบบฝึกหัดท้ายบทได้คะแนนเฉลี่ย ๒๔.๓๓ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๑๑ และทำแบบทดสอบหลังเรียนได้เฉลี่ย ๒๖.๖๗ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๘๙ ประสิทธิภาพของบทเรียนในขั้นทดลองที่หนึ่งได้เท่ากับ ๘๑.๑๑/๘๘.๘๙
และสังเกตพฤติกรรมการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและสอบถามนักเรียน และปรับปรุงแก้ไขทั้งระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓,๕ และ ๖ สรุปดังนี้
ด้านภาพ ภาษา และเสียง
๑. ความชัดเจนของภาพประกอบ
ด้านเนื้อหา
๑. ปริมาณเนื้อหาที่ใช้ในแต่ละส่วน
ด้านการใช้งานและการโต้ตอบ
๑. คำอธิบายให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย
๑.๓ การประเมินประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน ๓ ท่าน ระดับความคิดเห็นได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒.๕๙ อยู่ในระดับเหมาะสมมาก
๒. การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นทุกระดับชั้น ผลการทดลองพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนักเรียนสามารถศึกษาได้ประสิทธิภาพคือระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ได้ ๘๐.๔๔/๘๑.๒๒ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ได้ ๘๑.๒๒/๘๔.๒๒ และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้ ๘๒.๑๑/๘๖.๔๔ แสดงว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเป็นไปตามที่กำหนดไว้ คือ ๘๐/๘๐
๓. ผลจากการศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีค่าเฉลี่ยรวม ( ) ดังนี้
ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เท่ากับ ๔.๖๓ อยู่ในระดับ ดีมาก ซึ่งสามารถลำดับความสำคัญแต่ละส่วนได้ ดังนี้
ด้านออกแบบบทเรียน นักเรียนมีระดับความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ ๔.๕๒ ข้อที่ได้รับค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ข้อ ๗ นักเรียนสามารถเลือกและจบแต่ละบทเรียนได้ตามต้องการ ( ) เท่ากับ ๔.๘๗ ค่าระดับการประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก
ด้านเนื้อหา นักเรียนมีระดับความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ ๔.๖๓ ข้อที่ได้รับค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ข้อ ๑๒ เนื้อหาสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ( ) เท่ากับ ๔.๘๙ ค่าระดับการประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก
ด้านความคิดเห็นในการเรียน นักเรียนมีระดับความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ ๔.๗๕ ข้อที่ได้รับค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ข้อ ๓๐ นักเรียนรู้สึกสบายใจเมื่อได้เรียนกับคอมพิวเตอร์ ( ) เท่ากับ ๕.๐๐ ค่าระดับการประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก
ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เท่ากับ ๔.๖๕ อยู่ในระดับ ดีมาก ซึ่งสามารถลำดับความสำคัญแต่ละส่วนได้ ดังนี้
ด้านออกแบบบทเรียน นักเรียนมีระดับความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ ๔.๖๑ ข้อที่ได้รับค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ข้อ ๙ บทเรียนมีภาพเคลื่อนไหวช่วยเร้าความสนใจในการเรียน ( ) เท่ากับ ๕.๐๐ ค่าระดับการประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก
ด้านเนื้อหา นักเรียนมีระดับความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ ๔.๖๓ ข้อที่ได้รับค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ข้อ ๑๑ ความยากง่ายของเนื้อหาเหมาะสม และข้อ ๑๖ ปริมาณของข้อคำถามในแต่ละแบบฝึกหัดเหมาะสมกับเวลา มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ ๔.๘๗ ค่าระดับการประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก
ด้านความคิดเห็นในการเรียน นักเรียนมีระดับความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ ๔.๗๐ ข้อที่ได้รับค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ข้อ ๓๓ นักเรียนรู้สึกพอใจเมื่อได้ตอบคำถามด้วยวิธีเลือกคำตอบ มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ ๕.๐๐ ค่าระดับการประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก
และในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เท่ากับ ๔.๖๓ อยู่ในระดับ ดีมาก ซึ่งสามารถลำดับความสำคัญแต่ละส่วนได้ ดังนี้
ด้านออกแบบบทเรียน นักเรียนมีระดับความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ ๔.๕๘ ข้อที่ได้รับค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ข้อ ๔ รูปภาพสวยงามและเหมาะสมกับเนื้อหา มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ ๔.๘๗ ค่าระดับการประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก
ด้านเนื้อหา นักเรียนมีระดับความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ ๔.๕๕ ข้อที่ได้รับค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ข้อ ๑๗ การให้ข้อมูลย้อนกลับช่วยให้เข้าใจบทเรียน มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ ๔.๘๗ ค่าระดับการประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก
ด้านความคิดเห็นในการเรียน นักเรียนมีระดับความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ ๔.๗๕ ข้อที่ได้รับค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ข้อ ๓๒ นักเรียนสามารถเรียนได้นาน ๆ โดยไม่รู้สึกว่าปวดหัวหรือปวดตา และข้อ ๓๓ นักเรียนรู้สึกพอใจเมื่อได้ตอบคำถามด้วยวิธีเลือกคำตอบ มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ ๕.๐๐ ค่าระดับการประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก
ผลการวิจัย
การวิจัย เรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓, ๕ และ ๖ เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ และสอบถามระดับความคิดเห็นที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผลการวิจัยสามารถอภิปรายได้ดังนี้
๑. การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ได้ ๘๐.๔๔/๘๑.๒๒ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ได้ ๘๑.๒๒/๘๔.๒๒ และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้ ๘๒.๑๑/๘๖.๔๔ แสดงว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเป็นไปตามที่กำหนด คือ ๘๐/๘๐ แสดงว่า การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓, ๕ และ ๖ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ๘๐/๘๐ จึงสามารถนำไปใช้ในการเรียนเสริมของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีความก้าวหน้าบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
๒. การสอบถามระดับความคิดเห็นที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จากการสอบถามระดับความคิดเห็นที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่า ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับ ๔.๗๕ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับ ๔.๗๐ และในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับ ๔.๗๕ แสดงว่า มีความคิดเห็นที่ดีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย กล่าวโดยสรุป จากการวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบว่า การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓, ๕ และ ๖ จากการสังเกตอย่างใกล้ชิดและสอบถามผู้เรียน ผู้เรียนรู้สึกพอใจมากที่ได้เรียนกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เนื่องจากบทเรียนมีภาพประกอบที่ชัดเจนและสามารถเคลื่อนไหวได้ จึงทำให้เข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้นสามารถเรียนได้หลายครั้งจนกว่าจะพอใจทำให้จำเนื้อหาได้ดีขึ้น รวมทั้งการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนช่วยเปลี่ยนบรรยากาศในการเรียนอีกด้วย
ข้อเสนอแนะ
จากการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยขอเสนอแนะเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและการศึกษาครั้งต่อไป ดังนี้
๑. ควรนำผลการศึกษาวิจัยนำไปใช้เกี่ยวกับการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง เนื่องจากมีเนื้อหาที่จัดเป็นหมวดหมู่และการจัดทำโปรแกรมที่ผ่านการตรวจสอบและการผลิตตามกระบวนการวิจัยแล้ว
๒. ในการใช้บทเรียนเหมาะสมกับการเรียนด้วยตนเองของผู้ศึกษาทั้งในระดับนักเรียน นักศึกษา ครูผู้สอน และประชาชนที่สนใจศึกษาพระพุทธศาสนา เพราะสามารถโต้ตอบกับสื่อได้โดยตรง
๓. ผู้จะทำการวิจัยควรศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในแง่หลักธรรมคำสอนหลาย ๆ ด้านที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ผลิตเป็นสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเช่นนี้ให้มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น
๔. ควรให้มีการนำออกเผยแพร่แก่สาธารณชนได้ศึกษาเพราะสามารถจัดทำเป็นแผ่นซีดีสำเร็จรูปออกเผยแพร่ได้
๕. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่ควรจำกัดเวลาของผู้เรียนมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้ผู้เรียนเกิดความกดดันและเกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียนการสอนได้
๖. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีคู่มือการใช้โปรแกรม เช่น หนังสือคู่มือการใช้โปรแกรมสำหรับครูและนักเรียน เพื่อสะดวกในการใช้โปรแกรมและทำให้การเรียนการสอนราบรื่นด้วยดี
๗. การผลิตบทเรียนเกี่ยวกับวิชาพระพุทธศาสนาควรให้มีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปัจจุบันสามารถบูรณาการเนื้อหาวิชาและการสอน เข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเข้ากับระบบเครือข่ายทั่วโลก ในลักษณะการเรียนการสอนออนไลน์
๘. ในการพัฒนาบทเรียนครั้งต่อไป ควรศึกษากระบวนการวิเคราะห์และออกแบบเนื้อหาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีเนื้อตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาทุกแง่มุม เพื่อให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีคุณค่าต่อการนำไปใช้
๙. ควรจัดทำบทเรียนที่มีความหลากหลาย เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นให้การบริการแก่ผู้สนใจทั่วไป
๑๐. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่ควรจำกัดเวลาของผู้เรียนมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้ผู้เรียนเกิดความกดดันและเกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียนการสอนได้
๑๑. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีคู่มือการใช้โปรแกรม เช่น หนังสือคู่มือการใช้โปรแกรมสำหรับครูและนักเรียน เพื่อสะดวกในการใช้โปรแกรมและทำให้การเรียนการสอนราบรื่นด้วยดี
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระกาเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, ๒๕๔๕.
__________. คุณภาพและความเสมอภาคทางการศึกษา ๑๑๐ ปี กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: (ม.ป.พ.) ๒๕๔๕.
__________. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, ๒๕๔๕.
__________. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, ๒๕๔๕.
พรเทพ เมืองแมน. การออกแบบและพัฒนา CAI Multimedia ด้วย Authorware. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, ๒๕๔๔.
สุกรี รอดโพธิ์ทอง. “การออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน” ในโครงการฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. หน้า ๑-๙ นครสวรรค์ วิทยาลัยพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์, ๒๕๔๐.
สุวิน ทองปั้น, ดร. และคณะ. พระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์ประสานมิตร (ปสม.) จำกัด, ๒๕๔๖.
เอกรินทร์ สี่มหาศาล. พระพุทธศาสนา ๕. กรุงเทพฯ: บริษัท อักษรเจริญทัศน์ จำกัด, ๒๕๔๖.
_________. พระพุทธศาสนา ๖. กรุงเทพฯ: บริษัท อักษรเจริญทัศน์ จำกัด, ๒๕๔๖.
|