ศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมอานิสงส์ภาคอีสาน
The Analysis of Profit of Literature in the Northeastern Region of Thailand
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชัย ศรีนอก
พธ.บ.(ภาษาอังกฤษ), พธ.ม.(พระพุทธศาสนา),
พธ.ด.(พระพุทธศาสนา)
นายบุญชู ภูศรี
ศศ.บ.(ภาษาไทย), พธ.บ.(ปรัชญา),
ศศ.ม.,(จารึกภาษาไทย)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ เพื่อวิเคราะห์วรรณกรรมอานิสงส์ภาคอีสาน เพื่อจะได้ข้อสรุปที่เป็นความรู้เรื่องวรรณกรรมอานิสงส์ภาคอีสาน เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยด้านวรรณกรรมพุทธศาสนาภาคอีสาน โดยศึกษาประเด็นความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับต้นฉบับวรรณกรรมอานิสงส์ รูปแบบ เนื้อหา วรรณศิลป์ องค์ความรู้ อิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวอีสาน
ผลการวิจัย พบว่า ด้านรูปแบบมีความหลากหลายของต้นฉบับ คือ ฉบับล่องรัก ฉบับล่องชาด ฉบับชาดทึบ ฉบับลานดิบ ฉบับรักทึบ แต่ตัวอักษรที่ใช้บันทึกนั้น เป็นตัวอักษรธรรมอีสานทั้งหมด รูปแบบการแต่งได้อาศัยรูปแบบพระสุตตันตปิฎกในการดำเนินเรื่อง แต่จะเพิ่มในส่วนของอวสานพจน์เข้ามา ด้านวรรณศิลป์นั้น ใช้ภาษาผู้แต่งได้ใช้ภาษาบาลี และภาษาถิ่นอีสาน มีสำนวนโวหาร ภาพพจน์ อธิพจน์ และการใช้ฉากโลกมนุษย์ และสวรรค์
องค์ความรู้ที่ปรากฏในวรรณกรรมสลอง เป็นองค์ความรู้ด้านพุทธศาสนาแนวประชาชน และพุทธศาสนาตามคัมภีร์หลักของพุทธศาสนา และวรรณกรรมอานิสงส์ได้ส่งผลต่ออิทธิพลของชาวอีสานในด้านองค์ความรู้ในศาสนา การสร้างเอกสารใบลาน และการสร้างทุนทางวัฒนธรรม
ดาวน์โหลด
|