หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » Phra Soravit Aphipanyo (Duangchai) » วิถีแห่งพุทธะกับการสร้างความสามัคคีในชาติ
 
เข้าชม : ๒๔๒๘๘ ครั้ง

''วิถีแห่งพุทธะกับการสร้างความสามัคคีในชาติ''
 
พระสรวิชญ์ อภิปญฺโญ (2556)

(บทความวิชาการ)

“วิถีแห่งพุทธะกับการสร้างความสามัคคีในชาติ”

 

 

พระสรวิชญ์  อภิปญฺโญ

พธ.บ.(ครุศาสตร์), ป.บัณฑิต.(การวิจัยสังคม),ศศ.ม.) จิตวิทยาชุมชน

Phra SORAVIT APHIPANYO

อาจารย์ประจำภาควิชาปริยัติธรรมและจริยศึกษา คณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajvidyalaya University

 

 

 

     หลายองค์กรได้เรียกร้องหาความสามัคคี ความปรองดอง ความสมานฉันท์ สุดแล้วแต่จะสร้างวาทกรรมเพื่อเรียกร้องให้เกิดการกระทำที่สังคมคาดหวัง  และเมื่อเร็วๆนี้ ในงานวันจำนงค์ ทองประเสริฐ ได้มีการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “ร่วมสร้างความสามัคคี ทำดีเพื่อในหลวง”  ซึ่งได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานและผลงานทางวิชาการของท่านศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ซึ่งเป็นบูรพาจารย์คนสำคัญของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยากรร่วมเสวนา ประกอบด้วย พระเทพสุวรรณโมลี ศ.ดร.วิษณุ เครื่องงาม รศ.บุญเรือง อินทวรันต์ นาวาอากาศเอกพิเศษสุรินทร์  คุ้มจั่น ดำเนินการ ร้อยโทหญิงชลรัศมี งาทวีสุข มีผู้เข้าร่วมฟังเสวนาจำนวน มากกว่า ๒๐๐ รูป/คน จากการเสวนาดังกล่าว สามารถ ประมวล สรุป และเขียนเป็นบทความเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างความสามัคคีในสังคมไทย ดังนี้

 

วิถีไทยวิถีธรรม กับการสร้างความสามัคคี

สังคมไทยกำลังเผชิญกับปัญหาที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของคนในชาติอยู่หลายด้าน        ซึ่งหากจำแนกเป็นประเด็นสำคัญแล้วพบว่า [1] สังคมไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติที่เป็นอันตรายอยู่ ๔ อย่าง ด้วยกัน คือ ๑. อันตรายจากความขัดแย้งทางการเมือง  ๒. อันตรายจากความขัดแย้งระหว่างประเทศ ๓. อันตรายจากวิกฤติทางเศรษฐกิจ และ ๔. อันตรายจากภัยธรรมชาติ

ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างคุณภาพของคนในสังคมให้มีคุณธรรมตามวิถีแห่งพุทธะ การสร้างความสามัคคีความปรองดอง หรือความสมานฉันท์ หากจะวิเคราะห์เนื้อหาแล้วจะพบว่า ความสามัคคีจะเกิดขึ้นได้ต้องใช้หลักอปริหานิยธรรม ๖ ประการ ซึ่งหากจะยุบรวมเป็นประเด็นที่จดจำได้ง่ายและนำไปสู่ภาคปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดความสามัคคีได้อย่างแท้จริงนั้นสามารถสรุปได้ ๔ประการ เท่านั้น ได้แก่ ประการที่ ๑ ต้องตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม (กระทำ พูด คิด) ที่ประกอบด้วยเมตตา ประการที่ ๒ ต้องรู้จักจัดสรรประโยชน์ให้ลงตัว ประการที่ ๓ ยืดถือมาตรฐานเดียวกันและประการที่ ๔  ต้องสร้างความคิดเห็นให้เข้ากันได้ ถึงแม้ว่าจะมีการโต้เถียงกันเพื่อหาข้อยุติ เมื่อเกิดข้อยุติแล้วทุกคนต้องมีความเห็นที่เข้ากันได้ เป็นไปในแนวทางเดียวกันมองเป้าหมายของสังคมหรือองค์กรเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการฝึกจิตใจให้เกิดความเมตตา หวังดี ปรารถนาดี สร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมให้มาก  ความรักความชัง สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกคนอยู่แล้ว แต่ปัญหามีอยู่ว่า ทั้งสองประการนี้ทำให้คนเป็นคนใจดีก็ได้ เป็นเทวดาก็ได้ เป็นมารก็ได้ หากใจดีก็ทำให้ตนเองและสังคมดี ขณะเดียวกัน หากจิตใจไม่ดี สังคมก็เสื่อมไปด้วย ซึ่งสังคมเกิดสันติสุขหรือเกิดความเดือนร้อนทุกวันนี้  ล้วนเกิดจากคนใจดีและใจร้ายทั้งนั้น แล้วอะไรเล่าที่ทำให้คนเป็นคนใจร้าย สิ่งที่ทำให้คนใจร้ายก็คือความเกลียดชัง นั้นเอง    

 

วาทกรรมกับการสร้างความสามัคคี

หากจะตั้งคำถามว่า มนุษย์เราทำไมต้องเกลียดกัน เพราะหากว่าเราเกลียดชั่งใครแล้วเราก็จะกลายเป็นคนใจร้าย ขณะเดียวกันหากเรามีความเมตตาปราณี ปรารถนาดีต่อกัน มีความรัก ความเอื้ออาทรต่อกันความสุขก็จะเกิดขึ้นที่ใจเรา  มีคำกล่าวว่า “จิตเหมือนปลา  เมตตาเหมือนน้ำ จิตไร้เมตตา เหมือนปลาขาดน้ำ”ทำให้เข้าใจถึงวิถีทางแห่งการตื่นรู้สู่แนวทางการสร้างความปรองดองได้อย่างแท้จริง เพราะธรรมชาติของปลาต้องอยู่กับน้ำ...น้ำที่ปลาอยู่ต้องเป็นน้ำที่ ใส สะอาด และเย็น จากข้อความข้างต้นทำให้นึกถึงวิถีแห่งพุทธะของคนไทยที่มีปกติเอื้อเฟื้อ พึ่งพิง พึ่งพา อาศัยซึ่งกันและกัน มีความเป็นพี่เป็นน้องกัน เมื่อเกิดข้อขัดแย้งเกิดขึ้นหากจะสร้างเมตตาบารมีให้แก่กันและกัน ส่งความรัก ความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันก็จะทำให้สังคมน่าอยู่ แต่หากว่าเรามีความเกลียดชั่งเป็นพื้นฐานเราจะไม่สามารถสร้างเมตตาบารมีเกิดขึ้นที่ใจของเราได้เพราะความเกลียดชังจะบีบบังคับเราให้ห่างจากความดีงามไปทุกขณะ

                   การใช้วาทกรรมในการสร้างความสามัคคีมิใช่แต่พูดอย่างเดียวจะบรรลุเป้าหมายได้ บางครั้งบุคคล หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ก็ยังเข้าใจผิดว่า การใช้วาทกรรมที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปจากของเดิมจะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์จากการปฏิบัติ  แม้แต่คำว่า สามัคคี บางแห่งก็ใช้คำว่า สมัค  สมาน  สามัคคี สมังคี หลังๆ นี้ใช้คำว่า ปรองดองบ้าง สมานฉันท์บ้าง ที่จริงแล้ว ความสามัคคีถือว่าเป็นคุณธรรมที่ดีของประเทศชาติ ไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ความสามัคคีเป็นความงดงามของสังคมที่เราเป็นอยู่ หากสังคมใดขาดความสามัคคีสังคมนั้นก็จะเกิดวิกฤติในการดำเนินชีวิตทันที

                   ซึ่งหากจะอุปมาความสามัคคีเหมือนกับดอกไม้..ก็จะพบว่า ดอกไม้มีหลากสี มาจากหลายต้น มีสภาพพื้นที่การเจริญพันธ์ที่แตกต่างกัน หากมีเชือกมาร้อยรัดเป็นพวงมาลัย อยู่ในเส้นด้ายเดียวกัน ก็จะมีค่ามีราคา มีความสวยสดงดงาม ความสามัคคี ระเบียบวินัยก็เสมือนกับเส้นด้ายที่ผูกยึดดอกไม้ให้รวมกันอยู่ไม่ให้กระจัดกระจาย ฉะนั้นความสามัคคีจึงมีความสำคัญต่อสังคมมนุษย์....แม้แต่บางยุคบางสมัยผู้นำทางการเมือง ก็ยังเรียกร้องให้คนในประเทศมีความสามัคคีกันเพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศ เช่น ในยุคของพลเอก ป.พิบูลย์ สงคราม เคยมีวาทกรรมที่แสดงถึงการเรียกร้องให้ประชาชนช่วยกันพัฒนาประเทศความว่า... “เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย”.. เป็นต้น

 

การโต้แย้งการแสดงความคิดเห็น..ที่ประกอบด้วยจิตที่บริสุทธิ์..เป็นกระบวนการที่สร้างความสามัคคี..เมื่อยุติแล้วต้องถือว่ายุติ..และต้องคล้อยตามกัน ในระระยะแรกของการแสดงความคิดเห็น อาจจะโต้เถียงกันได้..แต่เมื่อเป็นที่ยุติแล้วก็ต้องว่าไปตามกันเพื่อไปสู่เป้าหมายของชุมชน สังคม ประเทศชาติ ขณะเดียวกัน ผู้นำต้องมีจิตที่เป็นธรรม หากบอกว่าเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย”....ผู้นำจะต้องชี้ให้เห็นว่า จะนำองค์กรหรือหน่วยงานไปในทิศทางใดและอะไรคือเป้าหมายของหน่วยงาน หลังจากนั้นก็ประชุมหารือกันเพื่อหาข้อยุติร่วมกัน ความสามัคคีเป็นเรื่องที่ต้องรักษาไว้เพราะเป็นสัญชาติญานของมนุษย์ที่ต้องปฏิบัติร่วมกัน

 

 

 

 

จากการเสวนา เรื่อง “ร่วมสร้างความสามัคคี ทำดีเพื่อในหลวง” เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔  งานวันจำนงค์ ทองประเสริฐ ครั้งที่ ๙ ณ อาคาร มวก.๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ได้ให้แนวทางการสร้างความสามัคคีของคนในชาติไว้ว่า

๑. ต้องทำให้กฏหมายเป็นกฏหมาย

๒. ต้องทำศีลธรรมให้เป็นศิลธรรม

๓. ต้องมีผู้นำในการสร้างความสามัคคี

๔. ต้องสร้างเมตตาบารมีให้เกิดขึ้น

๕. ต้องมีอภัยทานต่อกัน

 

ตามที่จริงเพียงแค่ ข้อ ๑ และข้อ ๒ ก็เพียงพอต่อการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในสังคมได้แล้ว แต่หากทำได้ทั้ง ๕ ข้อ ก็ยิ่งยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อสังคมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการสร้างเมตตาบารมีด้วยการสวดมนต์ก่อนนอน การแผ่เมตตาแล้วตั้งตนอยู่ในหลักฆราวาสธรรม ๔ ประการ ประกอบด้วย สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ มีความจริงใจ อดกลั่น อดทน บริจาคทาน รวมทั้งมีคุณธรรมประจำจิตก็คือ ความกตัญญูกตเวที.. เพชรดี พลอยดี มีความงามเป็นเครื่องหมาย คนดีต้องมีความกตัญญูเป็นเครื่องหมาย ในเรื่องความกตัญญูกตเวทีนี้ ถ้าเราเกิดมามีชีวิต..ไม่มีใครมาอาบน้ำให้..เมื่อเกิดความหิวก็ไม่มีใครให้กิน เมื่อเราหนาว ก็ไม่มีใครห่มผ้าให้ เราจะมีชีวิตรอดมาได้อย่างไร เราเกิดมาในแผ่นดินไทยถือว่าเรามีบุญรักษา ฉะนั้นเราต้องรักษาบุญของเราด้วยการกตัญญูรู้ต่อแผ่นดิน สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในครอบครัว สังคม ประเทศชาติ

                   มนุษย์หากว่าไม่ให้อภัยกัน..คงไม่เกิดความรักขึ้นมาได้...เราต้องนึกถึงความจริงอย่างหนึ่งว่า ในตัวเรานั้นมีสิ่งที่น่ากลัวที่อยู่กับตัวเราทุกคน...เป็นสิ่งที่คนอื่นไม่อยากได้..ก็คือ ความเกลียดชั่งและความโกรธ.(โกรธ)  เป็นสิ่งที่น่ากลัว..ใครโกรธเรา ๆ ก็ไม่อยากเข้าใกล้..ไม่อยากสนทนาด้วย แต่หากให้อภัยแล้วก็เป็นสิ่งที่ไม่น่ากลัว..เป็นสิ่งที่คนเราต้องการ..บุคคลอื่นที่อยากจะได้จากเราก็คือความรัก ความห่วงใย ความเอื้ออาทร ..หากเรามีความรัก การให้อภัยก็เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อเรารักแล้วจะไม่มีการจับผิดเพ่งโทษกัน..การให้อภัยจึงเป็นเรื่องสำคัญและถือว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ..ปัญหาก็คือ..การให้อภัยที่จะสร้างความสามัคคีต้องนึกถึงระดับคนที่จะสร้างความสามัคคีว่าระดับของเราจะสร้างความสามัคคีได้ไหม..ในครอบครัว..มีลูก 5 คนทะเลาะกัน..คนที่จะทำให้ลูกสามัคคีปรองดองคือใคร.ตัวลูกเองหรือว่าพ่อแม่...คนที่จะให้อภัย..ในสังคมจะต้องอยู่ในฐานะของความเป็นผู้ใหญ่ ก็คือพ่อแม่..ก็คือผู้นำ... ผู้นำจะทำอย่างไร?ให้เกิดความสามัคคี...ทำกฎหมายให้เป็นกฎหมาย....ทุกสังคมมีทั้งคนดีและคนชั่ว..เหมือนกับตัวเรานี้และ..มีทั้งดีและไม่ดี..เช่น..อุจาระ..เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ..เกิดจากอะไร..ก็เกิดจากอาหาร ความสามัคคีเกิดจากการให้อภัย

กล่าวโดยสรุป การสร้างความปรองดอง ด้วยวิถีไทยวิถีธรรมนั้น ต้องทำใจให้มีอภัยทานต่อกัน สิ่งที่ทำให้เกิดข้อขัดแย้งที่ไม่รู้จบ คือ การคิดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต พวงแต่เรื่องอนาคตมากไป จึงทำให้แก้ปัญหาข้อขัดแย้งไม่รู้จบ วิธีแก้ไขก็ต้อง ลืมอดีต..ไม่ต้องพวงถึงอนาคต ให้อยู่กับปัจจุบัน โดยสร้างชุมชนแห่งสังฆะให้เกิดขึ้นในสังคมไทย เป็นชุมชน ๓ จ. ได้แก่ ๑. ให้ใจ ๒.เชื่อใจ ๓.วางใจ ขณะเดียวกันต้องมีอิทธิบาท ๔ เป็นหลักชัยในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีพลานุภาพมาก ผู้ใดเจริญให้มากจะทำให้มีอายุยื่น



[1] ศ.ดร.วิษณุ  เครืองาม, อดีตรองนายกรัฐมนตรี,เสวนาทางวิชาการ งานจำนงค์ ทองประเสริฐ ครั้งที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๕๔

(ที่มา: บทความวิจัย)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕