มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาที่มีการเติบโตด้าน กายภาพอย่างรวดเร็วนั่นคือ มีศูนย์กลางการบริหารอยู่ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและกระจายเป็นวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ห้องเรียน หน่วยวิทยบริการและสถาบันสมทบอยู่ ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และขยายวงกว้างไปยังต่างประเทศอีกหลายแห่ง จึงทำให้เป็นที่รู้จักกัน อย่างแพร่หลายยิ่งขึ้นกว่าเมื่อ ๑๐ ปีก่อนอย่างเห็นได้ชัดเจน นับเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่ง ในแง่ของการเติบโตด้านปริมาณ สำหรับประเด็นที่ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากร ของมหาวิทยาลัยจะได้ร่วมกันพัฒนากันต่อไปก็คือคุณภาพของการจัดการศึกษาที่ต้องสนองพันธกิจของมหาวิทยาลัย ทั้ง ๔ ด้าน คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัยและพัฒนา การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ในที่นี้ผู้เขียนจะวิเคราะห์ประเด็น หัวข้อ “สังคมไทยกับพุทธศาสตรบัณฑิต” เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับพิธีประสาทปริญญา แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปี ๒๕๕๓ ต่อไป กว่าจะเป็นพุทธศาสตร์บัณฑิต ความสำเร็จด้านการศึกษาที่สง่างามและภาคภูมิใจในชีวิตของพุทธศาสตรบัณฑิตไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่ายดายหรือโดยความบังเอิญแน่นอน หากแต่อยู่ที่ความมุ่งมั่น ขยันและอดทนอย่างตั้งใจและอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งผู้เขียนจะได้นำมาประมวลจากประสบการณ์ตนเองซึ่งจบพุทธศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ ๔๓ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยผนวกกับข้อมูลที่ได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดในฐานะเป็นอาจารย์ประจำอยู่ ณ วิทยาเขตแพร่ ตั้งแต่ ดูเนื้อหาฉบับเต็ม