การศึกษาหลักโยธินโสมนสิการกับการจัดการศึกษายุคใหม่
ตามแนวคิดของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
บทนำ
การศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญของมนุษย์ทุกคนและเป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพ
ของมนุษย์ทั้งด้านความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม สุขภาพ และการดำเนินชีวิตใน
สังคมอย่างมีความสุข ซึ่ง อริสโตเติล (Aristotle) เป็นนักปรัชญาการศึกษาได้ให้นิยามของ
การศึกษาว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อการสร้างคุณธรรมและคุณธรรมเกิดจากความรู้ และการฝึก
จิตใจให้มีศีลธรรม เรียกว่า Character Development การฝึกจิตให้มีศีลธรรมต้องฝึกภาคปฏิบัติ มิใช่เพียงสอนคุณธรรมในภาคทฤษฎี ๑ ซึ่งพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้ให้นิยามการศึกษาว่าเป็นการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ๒ นอกจากนั้นท่านยังได้กล่าวถึง การศึกษาอีกว่าหมายถึง การเรียนรู้ การฝึกฝน การพัฒนาตน การพัฒนาคนให้มีปัญญาที่จะทำกรรมได้ถูกต้องจึงต้องมีการศึกษาที่เรียกว่า สิกขา คือต้องศึกษา ต้องเรียนรู้ ต้องพัฒนาตนโดยไม่ประมาทการฝึกฝนแก้ไข ปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ ๓ ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นการเรียนรู้เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาภายในตัวตน ทั้งด้านร่างกาย สังคม จิตใจ และสติปัญญา เพื่อให้เป็นบุคลากรที่ดีในองค์การ เป็นประชาชนที่ดีของสังคม ทั้งนี้ตลอดชีวิตของมนุษย์ จำเป็นต้องทำการศึกษา ดูเนื้อหาฉบับเต็ม
|