ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นความหมายแห่งคำ ที่ได้ตั้งเอาไว้เป็นอารัมภบทคำว่า ใจ นัยแรก
คำว่า ใจ หมายเอาสิ่งที่อยู่ตรงกลางจะเป็นรูปทรงลักษณะกลม แบน สี่เหลี่ยม หรือรูปลักษณะ
ใดๆ ก็แล้วแต่ ตรงนั้นท่านเรียกว่า “ใจกลาง” (the middle) อีกนัยหนึ่ง ใจ หมายเอาสิ่งที่
เป็นประธาน เป็นนามธรรม มองไม่เห็น สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ยกเว้น “ใจ” ที่มาจากคำว่า “จิ”
ธาตุ (ภาษาบาลี) ในความก่อ ในความคิด สอดคล้องตามความหมายอย่างชัดเจน คำว่า “จิต”
คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพนึกคิด, ความคิด, ใจหรือวิญญาณ (mind thought :consciousness)
พระเดชพระคุณพระธรรมปิฎก๑ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) หรือ พระพรหมคุณาภรณ์(ปัจจุบัน) ได้อธิบายขยายให้ชัดเจน คำว่า “ใจ” มีไวพจน์หรือบริบทที่ต่างกันเพียงรูป แต่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน ใช้แทนกันได้หลายคำ เช่น มโน, หทัย, บัณฑร, มนายตนะ, มนินทรีย์และวิญญาณ เป็นต้น คำเหล่านี้มีความหมายเกยกัน ไม่ใช่ตรงกันโดยสมบูรณ์ ใช้แทนกันได้ในบางโอกาส มิใช่เสมอไป ดูเนื้อหาฉบับเต็ม
|